ถ่านกะลามะพร้าว อัดแท่ง สร้างรายได้ ต่อยอดอาชีพชาวสวนมะพร้าว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การผลิตถ่านกะลามะพร้าวอัดแท่ง

“ด้วยพื้นที่ส่วนใหญ่ของ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นพื้นที่ที่มีการปลูกมะพร้าวเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว จึงมีวัตถุดิบอย่าง “กะลามะพร้าว” อยู่เป็นเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน จึงเป็นที่มาของการผลิตถ่านกะลามะพร้าวขึ้นภายในพื้นที่ อ.บางสะพาน เพื่อต่อยอดอาชีพเดิมให้กับชาวสวนมะพร้าวได้เป็นอย่างดี

จนกระทั่งมีการผลิตถ่านกะลามะพร้าวในรูปแบบ “ถ่านกะลามะพร้าวอัดแท่ง” ขึ้นอย่างเต็มตัว โดย คุณสุทธิเกียรติ สุขบุญรักษา หรือ คุณนิว ที่นำมาซึ่งการสร้างรายได้เพิ่มให้กับชาวสวนมะพร้าว การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของเสียจากภาคการเกษตร และการพัฒนาชุมชน โดยให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากวัตถุดิบที่มีอยู่แล้ว”

1.ผลผลิตมะพร้าวภายในพื้นที่
1.ผลผลิตมะพร้าวภายในพื้นที่
ผลิตและจำหน่ายถ่านกะลามะพร้าวอัดแท่ง
ผลิตและจำหน่ายถ่านกะลามะพร้าวอัดแท่ง

การรับซื้อถ่านกะลามะพร้าว

คุณนิวยอมรับว่า เดิมทีครอบครัวได้ยึดอาชีพการทำ ถ่านกะลามะพร้าว มาตั้งแต่รุ่นพ่อ จนกระทั่งตกทอดมาสู่รุ่นลูก จึงหันมาพัฒนาการผลิตถ่านกะลามะพร้าว โดยแบ่งปันให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแชร์ธุรกิจตรงนี้ขึ้นมา โดยการส่งเสริมให้ชาวบ้านซึ่งเป็นเจ้าวัตถุดิบหันมา “ผลิตถ่านกะลามะพร้าวด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน” ที่มีอยู่

ก่อนที่คุณนิวจะทำการรับซื้อถ่านกะลามะพร้าวจากชาวสวน และชุมชนรอบๆ โรงงาน เข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นถ่านอัดแท่งภายในโรงงาน ก่อนที่จะแสวงหาตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อจำหน่ายสินค้า ซึ่งทิศทางตลาดในวันนี้ยังไปได้ดี

อีกทั้งยังมีวัตถุดิบภายในพื้นที่ จึงสามารถลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดี ซึ่งราคาวัตถุดิบที่รับซื้อจากชาวสวนนั้นจะขึ้นตรงกับราคาถ่านกะลามะพร้าว ในแต่ละช่วงเป็นหลัก มีราคาต่ำสุด คือ 5-12 บาท

ขณะที่กะลามะพร้าวก็จะมีช่วงฤดูกาล บางช่วงมีปริมาณมาก และบางช่วงมีปริมาณน้อย เช่นเดียวกัน เพราะการผลิตที่นี่เน้นการใช้กะลามะพร้าวอย่างเดียว โดยในช่วงที่มีวัตถุดิบมากก็จะทำการรับซื้อวัตถุดิบสต๊อกไว้  นอกจากนี้ยังมีพันธมิตรด้านวัตถุดิบเพื่อรองรับการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง เช่น วัตถุดิบจากพันธมิตรภาคใต้ตอนล่าง และภาคอื่นๆ ซึ่งรับซื้อทั่วๆไป เป็นต้น ภายใต้กำลังการผลิตที่ประมาณ 1 ตัน/วัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.การสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชน
2.การสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชน

 

3.โรงงานแปรรูปเป็นถ่านกะลามะพร้าวอัดแท่ง
3.โรงงานแปรรูปเป็น ถ่านกะลามะพร้าวอัดแท่ง

การแปรรูป ถ่านกะลามะพร้าว         

การที่เราทำถ่านกะลาอัดแท่งมีส่วนช่วยชุมชน คือ เดิมกะลามะพร้าว เป็นของเหลือใช้  เหลือทิ้ง ซึ่งแต่ก่อนชาวบ้านไม่รู้จักวิธีการนำมาใช้ประโยชน์ได้ ทำให้กลุ่มชาวบ้านที่ต้องการมีอาชีพนี้ยึดตรงนี้เป็นอาชีพได้ มีรายได้เกิดขึ้นภายในครอบครัว ภายในชุมชน ได้เป็นอย่างดี นี่คือเหตุผลที่เราสามารถเก็บวัตถุดิบจากชาวบ้านได้อีกทางหนึ่งด้วย เป็นอาชีพได้ แปรรูปผลผลิตที่เหลือกิน เหลือใช้ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ สร้างรายได้ได้อีกทางหนึ่ง รวบรวมวัตถุดิบเข้าสู่โรงงานได้ดี

ตอนนี้ชุมชนรู้จักโรงงานเรามากขึ้น จากเดิมที่เราต้องเข้าไปสอนให้ชาวบ้านรู้จักการเผากะลากัน แต่ตอนนี้เขาเริ่มมีองค์ความรู้ขึ้นมา และสามารถสอนกันเองได้แล้ว มีคนสนใจเข้ามาทำมากขึ้น โดยไม่ต้องไปบอกเขา เราให้ชาวบ้านเผา และเรารับซื้อเข้ามา  ก่อนจะแปรรูปวัตถุดิบเป็นถ่านกะลาอัดแท่งเพื่อจัดจำหน่ายภายในประเทศ ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นหลัก

ส่วนการส่งออกจะมีเข้ามาบ้างเป็นล็อตๆ และเป็นครั้งคราว ตามความต้องการของลูกค้า ด้วยการจำน่ายที่หน้าร้านเรา และตัวแทนจำหน่ายแต่ละพื้นที่ ขณะที่การทำธุรกิจตรงนี้ยังไปได้ดี ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการต้นทุนมากกว่า เราต้องต่อยอด ต้องปรับปรุงพัฒนา ต่อไปเรื่อยๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาในธุรกิจมากขึ้น” คุณนิวกล่าวทิ้งท้าย