Water Footprint คือ เครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ และ การอนุรักษ์พลังงาน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

น้ำ เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ และจุลินทรีย์ต่างๆ ก็ใช้น้ำในการดำรงชีวิต มนุษย์ใช้น้ำในการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ แปรรูปสินค้าเกษตร ใช้ในทางอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท รวมทั้งการแพทย์ และด้วยจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความต้องการอุปโภค บริโภค

สินค้าและบริการ จึงเพิ่มขึ้นตามลำดับ ด้วยเหตุนี้เองทำให้ทรัพยากรน้ำที่มีอยู่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้อย่างเพียงพอ อีกทั้งพฤติกรรมในการทำร้ายโลกอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนที่ร้อนแรงในปัจจุบัน และยังมีผลต่อการขาดแคลนน้ำด้วยเช่นกัน

1.-แหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกและการอุปโภคบริโภค
1.-แหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกและการอุปโภคบริโภค
2.น้ำเพื่อการเกษตรและเลี้ยงสัตว์น้ำ
2.น้ำเพื่อการเกษตรและเลี้ยงสัตว์น้ำ

ปัญหาน้ำ – ปัญหาโลก

– 3 ใน 4 ส่วนของโลก คือ น้ำ แบ่งเป็นน้ำจืด ร้อยละ 2.5 น้ำเค็ม ร้อยละ 97.5

– 2 ใน 3 ของปริมาณน้ำจืด อยู่ในรูปของน้ำแข็งตามขั้วโลกต่างๆ

– ที่เหลือประมาณ 1 ส่วน อยู่ในรูปของแหล่งน้ำต่างๆ เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ เป็นต้น

แม้โลกจะมีน้ำเป็นองค์ประกอบถึง 3 ใน 4 ส่วน แต่ประชากร 1 ใน 5 ของโลก กลับขาดแคลนน้ำสะอาดสำหรับการบริโภค ส่งผลให้มีคนเสียชีวิตจากโรคภัยที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำสะอาดสำหรับการบริโภคถึงปีละ 27 ล้านคน หรือ 1 คน ในทุก 8 วินาที

โฆษณา
AP Chemical Thailand

 

3.น้ำเพื่อการทำนาข้าวของเกษตรกรไทย
3.น้ำเพื่อการทำนาข้าวของเกษตรกรไทย

Water Footprint คือ อะไร?

“Water Footprint” เป็นตัวชี้วัดปริมาณการใช้น้ำ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนกระทั่งสินค้าถึงมือผู้บริโภค (Supply Chain) ซึ่งสินค้าที่มี Water Footprint น้อย ย่อมได้รับความสนใจมากกว่าสินค้าที่มี Water Footprint มาก เพราะมีการใช้น้ำ (Consumption) และทำให้น้ำสกปรก (Pollution) น้อยกว่า

 

4.การสร้างแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก
4.การสร้างแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก

 

Water Footprint แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1. Green Water Footprint คือ : เป็นปริมาณน้ำที่อยู่ในรูปของความชื้นในดิน เนื่องจากน้ำฝนที่ถูกใช้ไปในกระบวนการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตพืชผลทางการเกษตร การทำไม้ และทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์
  2. Blue Water Footprint คือ : เป็นปริมาณน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ น้ำผิวดิน และน้ำใต้ดิน ที่ถูกใช้ไปในกระบวนการผลิต เช่น น้ำในแม่น้ำ ทะเลสาบ และน้ำในอ่างเก็บกักน้ำต่างๆ รวมถึงน้ำบาดาล เป็นต้น
  3. Gray Water Footprint คือ : ปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งคำนวณปริมาณน้ำที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียที่เกิดในกระบวนการผลิตให้เป็นน้ำดีตามค่ามาตรฐานประเทศ ที่มีค่าเฉลี่ย Water footprint สูงสุด 10 อันดับแรก (คิดเป็นสัดส่วนต่อจำนวนประชากร) ได้แก่

ค่า Water footprint ของประเทศไทยสูงถึงอันดับ 3 ของโลก เป็นผลมาจากการใช้น้ำที่ขาดประสิทธิภาพ โดยมีการใช้น้ำต่อการผลิตสินค้า 1 หน่วย สูงมาก เมื่อเปรียบเทียบประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้น้ำในการเกษตรสูงถึง 2,131 ลูกบาศก์เมตร/คน/ปี ซึ่งเกิดจากการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นสำคัญ

5.เครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ
5.เครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ

ขอขอบคุณข้อมูล : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2940-5550-1, 0-2940-5553-4, 0-2940-5556-9