การยางแห่งประเทศไทย (กยท) ติดเขี้ยวเล็บ ทำธุรกิจยางเต็มตัว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

กยท หรือ การยางแห่งประเทศไทย (Rubber Authority of Thailand) ติดเขี้ยวเล็บ ทำธุรกิจยางเต็มตัว

  1. ไม้ยางพารา
  2. คุณณกรณ์ ตรรกวิรพัท
  3. การทำน้ำยาง
  4. โครงการล้อยางประชารัฐ
  5. การแปรรูปยาง

“ น้ำยาง และไม้ยาง ” มองผิวเผินก็เป็นเรื่องปกติ เพราะคนไทยอยู่กับยางพารามาร่วม 100 ปี จนกลายเป็นผู้ส่งออกยางอันดับหนึ่งของโลก แต่ส่วนใหญ่ยังไม่รู้  “ คุณค่า ” เชิงลึก ของน้ำยาง และไม้ยาง ว่ามันถูกนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทั่วโลก

แค่ผลิตภัณฑ์หลักจากยางพารา 2 ตัว คือ ล้อรถยนต์ และถุงมือยาง ก็มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล ในอดีตประเทศไทยไม่ได้มุ่งงานวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิดอุตสาหกรรมปลายน้ำอย่างจริงจัง แต่วันนี้เราได้เดินหน้าวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างงานนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการเพิ่มมูลค่ายางพารามากยิ่งขึ้น

2.คุณณกรณ์-ตรรกวิรพัท
2.คุณณกรณ์-ตรรกวิรพัท

พระราชบัญญัติการยางแห่งเทศไทย พ.ศ. 2558

จากพระราชบัญญัติการยางแห่งเทศไทย พ.ศ. 2558 ที่มอบขอบข่ายและอำนาจหน้าที่ในธุรกิจยางพาราอย่างชัดเจน พูดง่ายๆ ว่า กฎหมายฉบับนี้ได้ติดเขี้ยวเล็บให้กยท.เดินหน้าลุยด้านธุรกิจยางพาราอย่างครบวงจร ดังนั้น ในปี 2560

กยท.จึงวางแผนธุรกิจ เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพการผลิตยางในภาคเกษตรกรให้ขับเคลื่อนเป็นรูปธรรม และเป็นระบบมากยิ่งขึ้น

“ เรื่องนี้ การยางแห่งประเทศไทย ได้วางแผนดำเนินงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ชนิดที่เรียกว่า ลงลึกตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

กยท หรือ การยางแห่งประเทศไทย

คุณณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ด้านอุตสาหกรรมยางและการผลิตยาง เปิดเผยว่ากยท .ได้เดินหน้า โครงการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน (Forest Stewardship Council : FSC) เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพการทำสวนยางอย่างถูกต้องตามหลักการที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ซึ่งกยท.สนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางจัดการสวนยางของตนเองให้อยู่ในมาตรฐานนี้มาตลอด เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันที่ต่างให้ความสำคัญด้านการตรวจสอบคุณภาพซึ่งไม่ใช่แค่สินค้าเท่านั้น แต่รวมถึงวัตถุดิบและแหล่งที่มาต้องสามารถตรวจสอบได้ด้วยเช่นกัน

3.การทำน้ำยาง
3.การทำน้ำยาง

ทุกอย่างต้องเป็นเรื่องของการตรวจสอบย้อนกลับได้ สามารถยืนยันได้ว่าน้ำยางมาจากต้นยางพาราที่ปลูกในสวนที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ  

โดยปกติคนจะมองต้นยางแค่ น้ำยางเปียก หรือยางแห้ง  แท้จริงแล้ว ต้นยางยังมีรากยาง กิ่ง และไม้ยางที่เกิดจากการโค่นเมื่อต้นยางเสื่อมสภาพหรือไม่สามารถให้ผลผลิตได้อย่างเต็มที่แล้ว มีโอกาสนำไปแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า และใช้ประโยชน์จากต้นยางได้มากยิ่งขึ้น เช่น เปลือกยางเอาไปทำพลังงานส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น

รวมถึงไม้ยางพาราที่บริหารจัดการตามมาตรฐาน ก็สามารถขยายตลาดเพื่อการส่งออกไปยังประเทศผู้ซื้อได้อีกหลายประเทศ ทั้งนี้ กยท. ได้จับมือกับ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) นำไม้ยางจากสวนยางที่นาบอนจำนวน 5,000 ไร่ เข้าร่วมการแปรรูปไม้ยางตามโครงการ FSC  รองผู้ว่าการ กยท. กล่าว

ยกระดับมาตรฐานสินค้า การจัดการโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ การยาง. ยังเดินหน้ายกระดับมาตรฐานสินค้า การจัดการโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพให้เป็นไปตามมาตรฐาน Good Manufacturing Practices for Rubber Smoked Sheet หรือ GMPโดยได้สนับสนุนสหกรณ์ที่มีกำลังในการแปรรูปยางให้ได้มาตรฐาน GMP ขณะนี้ มีสหกรณ์จำนวน 6 โรง ในจังหวัดตรัง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สามารถดำเนินการแปรรูปที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน มีการจัดการน้ำเสีย การจัดการกลิ่น คนงานมีสุขภาพดีขึ้น ลดการสูญเสียที่ไม่จำเป็นในกระบวนการอุตสาหกรรม และอื่นๆ ได้ดี ตามมาตรฐาน GMP ได้แล้ว สิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดตามมา

นั่นคือ ผู้บริโภคก็มั่นใจในคุณภาพ หากมีสินค้าที่ดีมีคุณภาพ เป็นพรีเมี่ยมเกรด ผู้ซื้อหรือผู้ใช้จะพิจารณาและเลือกซื้อของที่มีคุณภาพอย่างแน่นอน เมื่อมีสินค้าที่มีคุณภาพ ย่อมขายได้ในราคาที่สูงตามมา มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น

การยกระดับการผลิตด้วยมาตรฐาน GMP เป็นอีกแนวทางที่ การยาง. เห็นถึงความสำคัญ

ตอนนี้กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสหกรณ์ หลายกลุ่มให้ความสนใจเรื่องนี้มาก โดยในปีนี้เราตั้งเป้าไว้  64 สหกรณ์ และภายใน 5 ปี การยาง.จะเร่งดำเนินการส่งเสริมให้สถาบันเกษตรกรได้รับรองมาตรฐาน GMP จำนวน 100 โรงงาน เพราะอยากให้คนไทยขายของที่มีคุณภาพ ระดับพรีเมี่ยมเกรด เพราะตลาดตอนนี้มีความต้องการสินค้าที่แม้จะจ่ายแพงกว่าเล็กน้อย แต่มั่นใจในคุณได้แน่นอน

รองผู้ว่า กยท. กล่าวเพิ่มว่า สำหรับมาตรฐาน GMP กยท. ได้ลงมือทำแล้วที่จังหวัดตรัง กระบี่ สุราษฎร์ฯ และสงขลา อย่างไรก็ตาม การผลักดันโรงงานแปรรูปยางด้วยมาตรฐาน GMP จะต้องเกิดขึ้นจากความต้องการของเกษตรกร ที่ต้องการให้โรงงานของตนเองมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ขายยางได้ราคาสูง

4.โครงการล้อยางประชารัฐ
4.โครงการล้อยางประชารัฐ

ทั้ง 2 แนวทาง ที่กล่าวมา คือการดำเนินงานในขั้นของต้นทาง และกลางทางเท่านั้น แต่การยกระดับมาตรฐานยางและเพิ่มมูลค่ายางแล้ว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การยาง. ต้องผลักดันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้น โครงการในระดับปลายทาง คือ โครงการยางประชารัฐ คุณณกรณ์ เปิดเผยกับทางยางเศรษฐกิจว่า ทางการยาง. ได้ร่วมมือผู้ผลิตล้อยางรถยนต์ บริษัท ดีสโตน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของคนไทย ที่มีมาตรฐานผลิตและส่งออกล้อรถยนต์ทั่วโลก

ตามหลักการโรงงานจะซื้อยางจากเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อนำไปผลิตยางล้อรถยนต์ให้มีมาตรฐานความปลอดภัยระดับเดียวกับยางในท้องตลาด ซึ่งเราได้สั่งผลิตล้อยางขายเบื้องต้นจำนวน 4 รุ่น ทั้งเก๋ง และรถตู้ โดยมุ่งไปที่กลุ่มรถแท็กซี่ 7 หมื่นกว่าคัน

ส่วนรถตู้จะมุ่งไปที่รถราชการเป็นหลัก และต่อไปก็จะขยายเข้าไปยังรถกระบะ มอเตอร์ไซด์ และรถทหาร เป็นต้น

“โครงการนี้ เราตั้งเป้าไว้เบื้องต้นล็อตแรกจำนวน 30,000 เส้น และหากตลาดมีความต้องการซื้อเพิ่ม ก็สามารถผลิตออกมาจำหน่ายได้เรื่อยๆ เพื่อให้ล้อยางของเราเป็นสินค้าใหม่ ไม่ใช่สินค้าที่ผลิตมาเพื่อรอจำหน่าย ที่อาจทำให้คุณภาพสินค้าลดลงได้”

หากสหกรณ์รถแท็กซี่ใด และบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใดมีความสนใจเข้าร่วมโครงการ การยาง. ยินดีเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้เครือข่ายทุกภาคส่วนร่วมกันบูรณาการตามนโยบายของภาครัฐ ในการส่งเสริมการใช้ยางในประเทศร่วมกัน

5.การแปรรูปยาง
5.การแปรรูปยางโครงการล้อยางประชารัฐ

โครงการล้อยางประชารัฐ

สำหรับโครงการยางประชารัฐ การยาง นอกจากโครงการล้อยางประชารัฐ ที่วางเป้าไว้การใช้ยาง ปริมาณ 96,000 กิโลกรัม ร่วมกับสหกรณ์แท็กซี่ และหน่วยงานรัฐแล้ว ยังมีอีก 3 โครงการ ที่ต้องการจะนำยางไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในปีนี้ ได้แก่ โครงการยางปูพื้นสนามกีฬา

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เป้าหมายปริมาณการใช้ยางประมาณ 1,240,000 กิโลกรัม โดยร่วมกับกระทรวงมหาดไทย หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษา และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งขณะนี้ยางปูพื้นสนามของ การยาง. ได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน มอก. เป็น ที่เรียบร้อยแล้ว

ทุกภาคส่วน ที่สนใจสามารถจัดซื้อเพื่อใช้ในหน่วยงานของตนได้ ขณะเดียวกัน การยาง.ยังมีโครงการผลิตภัณฑ์ยางเพื่อสุขภาพ เป้าหมายการใช้ยางประมาณ 4,000,000 กิโลกรัม ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และมูลนิธิโรคหัวใจ และสุดท้าย

โครงการยางปูทางผ่านเสมอระดับทางรถไฟ วางเป้าปริมาณการใช้ยางประมาณ 500,000 กิโลกรัม โดยเบื้องต้น การยาง .จะขอความร่วมมือกับทางการรถไฟแห่งประเทศไทย

“โครงการยางประชารัฐนี้ จะเป็นโครงการนำร่องจาก การยาง. ที่จะชี้ให้เห็นว่า ยางพารา สามารถแปรรูปเป็นสินค้าที่ หลากหลาย และมีคุณภาพ ที่มีงานวิจัยรองรับ ได้รับมาตรฐานในระดับสากล สามารถใช้ทดแทนวัสดุอื่นๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ” รองผู้ว่าการฯ กล่าวปิดท้าย