ถุงมือ ยาง กยท.ผนึกสภาการยางฯ ตะลุย ถุงมือ ยาง ป้อนตลาดโลก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ถุงมือ ยาง กยท.ผนึกสภาการยางฯ ตะลุย “ถุงมือยาง” ป้อนตลาดโลก

สภาวะโลกร้อนที่รุนแรงต่อเนื่อง กระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ แม้ยูเอ็นจะรณรงค์ให้ลด “ก๊าซเรือนกระจก” แต่ได้ผลน้อยมาก เพราะประเทศมหาอำนาจหลายแห่งไม่ให้ความร่วมมือ ดังนั้น “มหันตภัย” จึงรุนแรง โดยเฉพาะ “ภัยชีวภาพ” หลากหลายรูปแบบ ที่ปะทุอย่างรวดเร็ว

จนมนุษย์ต้องเร่งหามาตรการป้องกัน เช่น “ถุงมือ ยาง” และ “ถุงมือ แพทย์/อนามัย” เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้อุตสาหกรรมยางพาราที่ซบเซาฟื้นคืนชีพทันที และยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์ฟันธงว่า ไวรัสโคโรนา (โควิด-19) จะเบาบางลงเมื่อไหร่ ก็ยิ่งทำให้ยางพารากลับมาเป็นพืชเศรษฐกิจอีกครั้ง

1.กยท.จับมือทุกภาคส่วน ผลักดันการผลิตถุงมือยาง
1.กยท.จับมือทุกภาคส่วน ผลักดันการผลิตถุงมือยาง

การผลิต ถุงมือ ยาง

ประเทศไทยเป็น “เมืองยาง” เพราะส่งออกน้ำยาง ยางแท่ง และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น มาหลายทศวรรษ มีขบวนการผู้ปลูกยางทั่วประเทศหลายล้านคน

ยางพาราจึงเป็น “พืชเศรษฐกิจ” ที่หล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจไทยระดับมหัพภาคมาตลอด

แน่นอนอุตสาหกรรมยางพาราของไทยยังมีบทบาทอยู่ในอุตสาหกรรมกลางน้ำเป็นหลัก จึงกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในระดับ “จุลภาค” เมื่อราคาน้ำยางตลาดเป็นของผู้ซื้อ หรือโอเวอร์ซัพพลาย ซึ่งรัฐบาลไทยเข้าไปซัพพอร์ตด้วยมาตรการต่างๆ มาตลอด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่เมื่อตลาดยางพาราโลกขยายตัว เพราะดีมานด์ยางเพิ่มขึ้น เหตุจากวิกฤตโควิด-19 ซึ่งผลิตภัณฑ์ถุงมือ ยางกลายเป็นสินค้าที่จำเป็นต้องใช้ ทำให้ดีมานด์พุ่งขึ้น จึงฉุดให้ทุกห่วงโซ่อุปทานในธุรกิจยางต้องขยายกำลังการผลิต เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของตลาด

2.น้ำยางที่กรีดได้นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
2.น้ำยางที่กรีดได้นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ

การแปรรูปน้ำยาง

ประเทศไทยมีความสามารถในการผลิต “น้ำยางข้น” เพราะมีปริมาณต้นยางที่กรีดได้ และมีโรงงานผลิตน้ำยางข้นที่เพียงพอ ซึ่งรองรับ “อุตสาหกรรมถุงมือยาง” เป็นอย่างดี

น้ำยางข้น คือ น้ำยางธรรมชาติ ที่มี “เนื้อยาง” 25-30% ต้องมาทำให้มีเนื้อยางเพิ่ม 55-45% ซึ่งเมื่อ 96 ปีที่แล้ว มีคนพยายามทำให้สำเร็จ ด้วยการจดสิทธิบัตร B.P ด้วยวิธีครีมมิ่ง และวิธีเซนติฟิวส์ ถึงปี 1929 บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอุตสาหกรรมที่นอน “ดันลอปฯ” ได้จดสิทธิบัตร B.P 319, 410 และในปีต่อๆ มาก็จดอีกหลายใบ จึงเกิดหลายวิธี แต่ที่นิยมในปัจจุบัน คือ เซนติฟิวส์ เพราะได้เนื้อยางมากในเวลาสั้นๆ

ดังนั้น “น้ำยางข้น” ที่เก็บไว้ได้นาน จึงเป็นวัตถุดิบสำคัญ ในการผลิตถุงมือยาง ถุงมืออนามัย จุกนม ยางยืด และกาว เป็นต้น

3.คุณอำนวย ปะติเส ประธานสภาการยาง แสดงความยินดี
3.คุณอำนวย ปะติเส ประธานสภาการยาง แสดงความยินดี

การจัดตั้งสมาคมน้ำยางข้นไทย

โรงงานที่ผลิตน้ำยางข้นส่วนใหญ่กระจุกอยู่ในภาคใต้ตอนล่าง และมีการรวมตัวเป็นสมาคมน้ำยางข้นไทย สำนักงานอยู่ที่หาดใหญ่ มี คุณชัยพจน์ เรืองอรุณวัฒนา เป็นนายกสมาคม คุณพงศ์นเรศ วนสุวรรณกุล เป็นเลขาฯ และ คุณสุจิน กาญจนศิราธิป โทร.086-480-0824 เป็นผู้จัดการ

มีสมาชิกสามัญ 48 โรงงาน และวิสามัญ 40 โรงงาน กระจายอยู่ทั่วประเทศ ดังนั้นอุตสาหกรรมถุงมือยาง และอื่นๆ จึงมีวัตถุดิบเพียงพอ ถ้าอุตสาหกรรมกลาง/ปลายน้ำ ขยายตัว ชาวสวนยาง และองค์กรชาวสวนยาง จะลงทุนทำ “น้ำยางสด” โดยออโต้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

25 กรกฎาคม 2563 กิจกรรมเลี้ยงต้อนรับ ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย คุณณกรณ์ ตรรกวิรพัท เกิดขึ้น โดยมีภาคเอกชน และอดีตนักการเมืองสายเกษตร มาร่วมแสดงความยินดี ได้แก่ คุณอำนวย ปะติเส (อดีต รมช.เกษตร และ รมช.คลัง) คุณประชัย กองวารี อดีตนายกสมาคมถุงมือยาง คุณธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คุณไชยยศ สินเจริญกุล นายกสมาคมยางพาราไทย คุณอุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย และอีกหลายท่านที่สนใจยางพารา

ซึ่งการเลี้ยงต้อนรับวันนี้ นอกจากจะกระชับความสัมพันธ์ภาครัฐและเอกชนด้านอุตสาหกรรมยางแล้ว ยังเป็นการวางแผนเป้าหมายการผลิต “ถุงมือยาง” ปีละ 4 หมื่นล้านบาท ให้ได้ ซึ่งเป็นภารกิจร่วมกัน ซึ่งผู้ว่าการยางยอมรับว่ากยท.จะต้องเป็นหน่วยงานหลัก ในการสนับสนุน และบริการทุกภาคส่วน ทั้งชาวสวนยาง องค์กรชาวสวนยาง และผู้ประกอบการ และทำงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม

อย่างไรก็ดี กยท.ยังได้ขับเคลื่อนให้สอดรับกับนโยบายรัฐบาล เช่น การใช้ยางในประเทศ โดยให้หน่วยงานภาครัฐเป็นหลักผลักดันตลาดกลางยางพารา เชื่อมโยงโครงการ EEC โดยให้จังหวัดระยองเป็นศูนย์กลาง เพราะเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็ง เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนายางภาคตะวันออก

นอกจากนี้ กยท.ยังต้องเดินหน้ายกระดับ “รายได้” เกษตรกรชาวสวนยาง ตามโครงการประกันรายได้ระยะ 2 เวลา 5 เดือน (ส.ค.-ธ.ค.63) วงเงิน 2.7 หมื่นล้านบาท ชาวสวนยาง 1.8 ล้านราย ซึ่ง กยท.มีข้อมูลพร้อมทั้งหมด

ในส่วนของภาคเอกชน หรือผู้ประกอบการ อย่าง สมาคมยางพาราไทย ที่มี คุณไชยยศ สินเจริญกุล เป็นนายกสมาคม ยอมรับว่า ขณะนี้กำลังการผลิตของสมาชิกเหลือไม่ต่ำกว่า 15 ล้านตัน เพราะตลาดหดตัว อันเนื่องมาจากโควิด-19 จึงเห็นด้วยในการส่งออกผลิตภัณฑ์ เช่น ถุงมือยาง ให้มากขึ้น

แม้แต่ คุณประชัย กองวารี อดีตนายกสมาคมถุงมือยางอาเซียน ก็เห็นว่า วิกฤตโควิด-19 คือ โอกาสของอุตสาหกรรมถุงมือยางไทย

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.บรรยากาศในการเลี้ยงต้อนรับผู้ว่าการยาง
4.บรรยากาศในการเลี้ยงต้อนรับผู้ว่าการยาง

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายถุงมือยาง

เมื่อไปดู “หุ้นยาง” ที่ซื้อขายอยู่ในตลาด ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พุ่งขึ้นตลอด เช่น หุ้นของ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) STA หรือ บริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ทั้งบริษัทแม่และลูกทำธุรกิจยางครบวงจร ตั้งแต่ต้น กลาง และปลายน้ำ อุตสาหกรรมยางพารา มีกำไรเป็น 100%

บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TRUBB มีธุรกิจยางพาราครบวงจร เริ่มตั้งแต่สวนยาง ผลิตน้ำยางข้น ถุงมือ ยาง ถุงมือ แพทย์ ถุงยางอนามัย เส้นด้าย ยางยืด กาว ลูกโป่ง จุกหัวนม โฟม และหมอน/ที่นอน ส่งออก 40%  ราคาหุ้นขึ้น 128%  และ บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER  ผลิตยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และยางผสม ขายให้อุตสาหกรรมยานยนต์ และพ่อค้าคนกลาง ราคาหุ้นขึ้น 40.71% เพราะเริ่มส่งออกสินค้าได้บ้างแล้ว โดยเฉพาะส่งประเทศจีน

พูดง่ายๆ ว่า ขณะนี้ยางพาราไทยกำลังจะเทคออฟทะยานขึ้น เพราะอิทธิพลของโควิด-19 และสุขอนามัยของชาวโลก ที่ต้องการถุงมือยางป้องกันโรคมากขึ้น เช่นเดียวกับถุงมือยางทางการแพทย์ที่ร้อนแรงมาตลอด ดังนั้นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมถุงมือยางพาราที่ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ นอกจากได้กำไรชัดเจนแล้ว ก็มีโอกาสขายพันธบัตร ระดมทุนจากประชาชนได้อีกทาง

ขณะที่ตลาดโลกต้องการถุงมือยางมากขึ้นนั้น ปี 62 ต้องการ 256 พันล้านชิ้น ปี 63 ธนาคาร KEN ANGA INVESTMENT BANK มาเลฯ คาดว่า จะเพิ่มเป็น 360 พันล้านชิ้น และปี 64 เพิ่มเป็น 420 พันล้านชิ้น 45% เป็นถุงมือยางทางการแพทย์ แต่ปริมาณถุงมือยางไม่พอ ขาด 3 หมื่นล้านชิ้น และปี 64 จะขาด 34,000 ล้านชิ้น

5.ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน พร้อมหน้าแสดงความยินดี
5.ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน พร้อมหน้าแสดงความยินดี

แนวทางแก้ปัญหาการผลิต ถุงมือ ยาง

ด้วยเหตุนี้คนในวงการยางทุกระดับนี้ จึงได้ประชุมกันเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2563 ที่ กยท. เพื่อผลักดันสภาการยางแห่งประเทศไทยให้มีบทบาทที่ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะจะต้องเป็นองค์กรรวมของทุกฝ่ายในห่วงโซ่อุปทานยางทั้งระบบ เพราะองค์กรนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อปี พ.ศ.2449 โดยมีไทย มาเลฯ และอินโดฯ เป็นผู้ก่อตั้ง และในไทยได้ตั้งเมื่อปี 2549 มี คุณอุทัย สอนหลักทรัพย์ เป็นประธาน คุณวรเทพ วงศาสุทธิกุล และ คุณหลักชัย กิตติพล เป็นรองประธาน คุณบุญหาญ อู่อุดมยิ่ง เป็นเลขาฯ คุณประชัย กองวารี เป็นเหรัญญิก เป็นต้น

เมื่อโควิด-19 คือ “โอกาส” ที่ประชุมจึงได้เลือก คุณอำนวย ปะติเส เป็นประธานสภาการยางแห่งประเทศไทย เป้าหมายระยะสั้น คือ หาแนวทางแก้ปัญหาการขาดแคลน ถุงมือ ยางในตลาดโลก จึงได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา เพื่อขับเคลื่อนให้ภาคเอกชนผลิต ถุงมือ ยาง ซึ่งวันนี้ผู้ประกอบการยังมีปัญหาหลายด้าน เช่น เงินทุน หรือเครื่องจักร เป็นต้น ซึ่งสภาการยางฯ มีเวลาเพียง 8 เดือน เท่านั้น ที่จะต้องทำให้สำเร็จ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นี่คืองานท้าทายของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และสภาการยางแห่งประเทศไทย (สยท.) ที่ 2 องค์กร จะต้องผนึกกำลังกัน แก้ปัญหาและพัฒนาให้เกิดอุตสาหกรรม ถุงมือ ยางในทางธุรกิจที่แท้จริง

อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร ฉบับที่ 15