เผยเทคนิคบริหาร รับซื้อน้ำยางสด คุณภาพเข้าโรงรม สู่กระบวนการแปรรูปเป็น ยางแผ่นรมควัน 

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สถานการณ์ยางพาราที่ยังคงผันผวน โดยเฉพาะราคาน้ำยางสด และ ยางแผ่นรมควัน ที่ราคาแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจน จึงทำให้ร้านรับซื้อน้ำยางสดจากชาวสวนหลายรายหันมาแปรรูปเป็น ยางแผ่นรมควัน เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับน้ำยางสด เป็นที่ทราบกันดีว่าเรื่องคุณภาพของยางในการนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ “ ยางแผ่นรมควัน ” ย่อมเป็นยางที่มีสมบัติทางกายภาพดีที่สุด โดยเฉพาะแผ่นยางที่มาจากโรงรมควันมาตรฐาน แม้จากการที่ยางธรรมชาติในปัจจุบันมีราคาค่อนข้างผันผวน ทำให้โอกาสการแข่งขันเชิงธุรกิจทำได้ยาก

การพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสของโรงรม “วัฒนชัย การยาง” โดย คุณจรรยา เจริญ และครอบครัว ผู้ผลิต ยางแผ่นรมควัน ทำยางที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน สร้างมูลค่าเพิ่ม มีต้นทุนการผลิตต่ำลง ลดระยะเวลาในกระบวนการผลิต มีระบบการจัดการของเสียและมลภาวะที่เกิดขึ้นที่ดี ทำให้เกิดการต่อยอดทางด้านธุรกิจ เป็นที่รู้จักกันดีในชุมชน และละแวกใกล้เคียง  เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพ และยังรับซื้อผลผลิตน้ำยางสดด้วยราคายุติธรรมอีกด้วย

1.คุณจรรยา-และสามี-ผู้บริหารธุรกิจโรงรมควันยางแผ่นแบบครอบครัวครบวงจร
1.คุณจรรยา-และสามี-ผู้บริหารธุรกิจโรงรมควันยางแผ่นแบบครอบครัวครบวงจร
2.การผลิตยางแผ่นดิบในแต่ละวันของภายในโรงรม
2.การผลิตยางแผ่นดิบในแต่ละวันของภายในโรงรม

การผลิตยางแผ่นดิบ

กว่าจะมาเป็น “วัฒนชัย การยาง” สาขา 1 ที่ก่อกำเนิดเกิดขึ้นจากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวปักษ์ใต้ ที่ยึดอาชีพการทำสวนยางพาราที่เปรียบเสมือนเป็นกระดูกสันหลังก็ว่าได้ โดยคุณจรรยาได้เล่าถึงความเป็นมาก่อนที่จะผันตนเข้าสู่ธุรกิจโรงรมควันยางแผ่นให้กับทีมงาน นิตยสารพืชเศรษฐกิจ (กลุ่มยางพารา) ฟังว่า ตนและครอบครัวประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ และสวนยางพารา มา 10 ปี บนเนื้อที่มากกว่า 100 ไร่ ป

ระกอบกับสามีเป็นประธาน และตนเป็นสมาชิกของสหกรณ์ยางพารา ได้คลุกคลีอยู่กับวงการยางมาพอสมควร และเห็นว่าการทำธุรกิจยางพาราสามารถสร้างรายได้ดีกว่าการทำสวน จึงเกิดแรงจูงใจให้ตั้งโรงรมเป็นของตนขึ้นในปี พ.ศ.2553 บนเนื้อที่ 7 ไร่ ซึ่งเป็นสวนยางเก่าที่โค่นต้นเพื่อสร้างโรงรมสาขา 1 ใน ต.ละอาย อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช บริหารงานโดยสามีและลูกสาวของตน มีคนงานทั้งหมด 7 คน

3.วัฒนชัย-การยาง-สาขา-2-ที่มีผู้บริหารรุ่นใหม่ลูกชายของคุณจรรยา
3.วัฒนชัย-การยาง-สาขา-2-ที่มีผู้บริหารรุ่นใหม่ลูกชายของคุณจรรยา

การสร้างโรงรมควันยางแผ่น สาขา 2

หลังจากที่เปิดดำเนินธุรกิจได้ 3 เดือน ก็สามารถสร้างเม็ดเงินจนขยายต่อเติมโรงรมให้ใหญ่ขึ้นแบบครบวงจร กระทั่งขยายสาขาเพิ่มในพื้นที่ตำบลเดียวกัน “วัฒนชัย การยาง” สาขา 2 โดยคุณจรรยาและลูกชายจะดูแลบริหารงานที่นี่เป็นหลัก การขยายธุรกิจโรงรมแห่งนี้ใช้เม็ดเงินจากการเก็บออมจากสาขาแรกนำมาลงทุนสร้างมากถึง 7 ล้านบาท

ปัจจุบันเปิดสาขา 2 ได้ประมาณ 4-5 ปี เม็ดเงินที่หมุนเวียนในการทำธุรกิจโรงรมแห่งนี้ประมาณ 40-50 ล้านบาท/เดือน กว่าจะประสบความสำเร็จและมาถึงทุกวันนี้ได้ต้องหมั่นศึกษาตลาด ทั้งภายในและภายนอก ตลาดหุ้นในแต่ละวัน และตลาดกลางยางพารา อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันกับสถานการณ์ราคา ณ ปัจจุบัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ส่วนผลผลิต ยางแผ่นรมควัน จะส่งจำหน่ายให้กับบริษัทที่อยู่ อ.นาบอน และตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราช การศึกษาตลาดทำให้คุณจรรยาสามารถรู้ว่าราคา หรือช่วงเวลาไหนที่สามารถฝากขายแล้วสร้างกำไรได้ดี จึงทำให้ธุรกิจโรงรมแห่งนี้ขยายเติบโต สามารถเลี้ยงเกษตรกรชาวสวนยางในชุมชน และลูกค้าเครือข่ายที่ส่งน้ำยางสดทั้ง 15 ราย ได้อย่างดี แม้ว่าราคาน้ำยางจะตกต่ำ แต่ก็ยังสามารถยืนอยู่ได้ด้วยการจัดการที่ดี ด้วยความเป็นกันเอง โดยถือคำที่ว่า “เขาอยู่ได้ เราก็อยู่ได้” นั่นเอง

4.ปล่อยน้ำยางสดออกจากรถลงสู่บ่อพักน้ำยาง-และกรองให้น้ำยางสด-สะอาด
4.ปล่อยน้ำยางสดออกจากรถลงสู่บ่อพักน้ำยาง-และกรองให้น้ำยางสด-สะอาด
บ่อบำบัดน้ำเสียจากโรมรมควันยาง
บ่อบำบัดน้ำเสียจากโรมรมควันยาง

กระบวนการผลิตและแปรรูปน้ำยางสด

กระบวนการผลิตแปรรูปน้ำยางสดหลังจากที่รับซื้อจากเกษตรกรและเครือข่ายแล้วจะผ่านการผลิตวันต่อวัน เพื่อให้ได้คุณภาพตามตลาดต้องการ ค่า DRC จะอยู่ที่ 34-35%โดยในโรงงานจะมีบ่อรับน้ำยาง 2 บ่อ สำหรับใช้รับน้ำยาง ป้องกันความเสี่ยงต่อการผลิตและช่วงเวลาของน้ำยางสดที่เข้าสู่โรงงาน ผ่านกระบวนการกรองเพื่อให้ได้น้ำยางสดที่สะอาด ไม่มีสิ่งเจือปน

ทุกครั้งหลังการทำงานจะต้องล้างทำความสะอาดบ่อรับน้ำยาง เครื่องมือทุกอย่างให้สะอาดเสมอ รวมถึงการผลิตจะต้องมีคูระบายน้ำล้อมรอบบริเวณที่มีการใช้น้ำ หรือตะกงจับตัวยาง และทำให้การไหลของน้ำทิ้งไม่เกิดการขังตามคูระบายน้ำ มีบ่อล้างยางที่มีประสิทธิภาพ มีห้องเก็บสารเคมี และบริเวณเก็บวัสดุ อุปกรณ์ แยกเป็นสัดส่วน มีระบบการให้ความร้อนของห้องรมควันที่มีประสิทธิภาพดี และระบบการจัดการน้ำเสียในโรงรมยางที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

รวมไปถึงบ่อบำบัดน้ำเสียที่มีถึง 3 บ่อ ที่เติม EM หรือกากน้ำตาลทุกวัน เพื่อไม่ให้เกิดกลิ่นเหม็น และจะเติมปูนขาวลงไปในบ่อบำบัดน้ำเสียเพื่อเป็นการปรับสภาพดิน ในทุกปีช่วงหน้าแล้งจะดูดส่งน้ำจากบ่อบำบัดน้ำเสียไปยังแปลงปลูกปาล์มน้ำมันของน้องสาวที่อยู่ข้างๆ โรงงาน ซึ่งเป็นการจัดการบริหารระบบน้ำเสียนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์นั่นเอง

5.กระบวนการผลิต ยางแผ่นรมควัน - การกวนผสมน้ำยางเพื่อให้จับแข็งตัวเป็นยางแผ่น
5.กระบวนการผลิต ยางแผ่นรมควัน – การกวนผสมน้ำยางเพื่อให้จับแข็งตัวเป็นยางแผ่น
ตะกงในการผสมน้ำยางและแยกยางแผ่นก่อนการแปรรูป
ตะกงในการผสมน้ำยางและแยกยางแผ่นก่อนการแปรรูป
นำแผ่นยางดิบออกจากตะกงเพื่อทำความสะอาดในอ่างล้างยาง
นำแผ่นยางดิบออกจากตะกงเพื่อทำความสะอาดในอ่างล้างยาง
การรีดยางแผ่นและการแขวนตากบนราวไม้ไผ่
การรีดยางแผ่นและการแขวนตากบนราวไม้ไผ่
แขวนผึ่งตากให้สะเด็ดน้ำก่อนนำเข้าห้องอบโรงรมควันยาง
แขวนผึ่งตากให้สะเด็ดน้ำก่อนนำเข้าห้องอบโรงรมควันยาง
ยางแผ่นดิบที่ผ่านการรมควันแล้ว-3-4-วัน
ยางแผ่นดิบที่ผ่านการรมควันแล้ว-3-4-วัน
ยางแผ่นรมควันที่ผ่านการคัดแยกตามเกรด
ยางแผ่นรมควัน ที่ผ่านการคัดแยกตามเกรด

กระบวนการผลิต ยางแผ่นรมควัน

หลังจากที่ได้น้ำยางสดมาแล้วจะเข้าสู่กระบวนการแปรรูปทันที การผสมน้ำยาง 1 ตะกง จะใช้น้ำยางสด 120 กิโลกรัม ผสมน้ำสะอาด และใส่กรดฟอร์มิค (น้ำส้ม) 700 ซีซี. กวนผสมให้เข้ากัน ในระหว่างการกวนจะมีฟองอากาศเกิดขึ้นมาก ให้ช้อนฟองอากาศออกให้หมด ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที น้ำยางจะเริ่มจับตัว

แล้วนำแผ่นเสียบแยกแผ่นยางเสียบตามช่องในตะกงที่เตรียมผสมไว้ โดย 1 ตะกง จะได้แผ่นยางประมาณ 50 แผ่น ทิ้งไว้ประมาณ 30-40 นาที ยางจะเริ่มแข็งตัว จึงนำแผ่นเสียบแยกยางออกจากตะกง แล้วนำแผ่นยางไปแช่ในอ่างล้างยางเพื่อทำความสะอาด และง่ายต่อการลำเลียงเข้าสู่กระบวนการรีดแผ่นยาง ผ่านเครื่องจักรรีดยางลูกรีดเหล็ก 5 คู่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หลังจากที่แผ่นยางรีดออกมาจากเครื่องจักรจะนำมาแขวนบนราวไม้ไผ่แห้ง โดยไม้ 1 ราว จะตากยางได้ 3 แผ่น ราวตากแต่ละตัวจะบรรจุไม้แขวนได้ 270 ราว แขวนตากยางแผ่นได้ 810 แผ่น จากนั้นจะผึ่งให้สะเด็ดน้ำ 1 คืน หรือเสร็จสิ้นขั้นตอนการทำยางแผ่นดิบ ทันทีที่ตากยางจนแห้ง น้ำหยุดหยดจากแผ่นยางแล้ว จะนำแผ่นยางเข้าอบในโรงรม

ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เวลาในการรมควันประมาณ 3-4 วัน ภายในห้องอบ 1 ห้อง สามารถบรรจุราวตากได้ 6 ตัวกำลังการผลิตใน 1 วัน ผลิตยางแผ่นดิบได้ประมาณ 8 ตัวราวตาก กำลังในการอบแต่ละรอบประมาณ 4,860 แผ่น คิดเป็นยางแผ่นแห้งประมาณ 700 กิโลกรัมต่อราวตาก 1 ตัว หรือเป็นยางแห้งที่อบรมควันแล้วประมาณ 5,000 กิโลกรัม/วัน หรือประมาณแผ่นละ 1 กิโลกรัม

อุณหภูมิที่ใช้ในการอบ คืนที่ 1 และ 2 จะอยู่ที่ 40-50°C คืนที่ 3 และ 4 อุณหภูมิจะอยู่ที่ 50-60 °C แต่โรงรมแห่งนี้จะเน้นการเปิดห้องอบรมควัน เพื่อตรวจเช็คดูว่าแผ่นยางสุกแห้งได้ตามความต้องการหรือไม่ จากนั้นจะนำราวตากออกจากห้องอบรมควันเพื่อเก็บแผ่นยางแห้งในสต็อกรอขนส่งจำหน่ายสู่ตลาดกลาง และหลายๆ อุตสาหกรรมยางพารา

นอกจากนี้ไม้ฟืนที่ใช้ในการรมควันยางก็มีส่วนสำคัญอย่างมาก ยิ่งในสภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนต้องคอยหมั่นสำรวจดูไม้จากสวน หรือสถานที่ใกล้เคียงของชาวสวนในพื้นที่ เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการรมควัน ซึ่งเป็นการลดต้นทุนในการซื้อไม้ได้ดีกว่าซื้อจากลานไม้โดยตรง

“เศรษฐกิจแบบนี้ลดต้นทุนตรงไหนได้เราก็ต้องลด อย่าหยุดนิ่งอยู่เฉยๆ ต้องหมั่นดูตลาด และสถานการณ์ต่างๆ อยู่ตลอด และในแต่ละวันต้องดูว่าสวนไหนตัดไม้บ้าง เราก็จะไปขอซื้อปลายไม้เพื่อนำมาใช้ในการรมควัน ซึ่งการซื้อไม้โดยตรงจากเกษตรกรจะได้ราคาที่ถูกกว่าการสั่งซื้อจากลานไม้ ทำให้ลดต้นทุนได้ส่วนหนึ่ง” คุณจรรยาพูดถึงการลดต้นทุนในการผลิต

6.คุณคำพัน-สิทธิประภา-หัวหน้านายเตามากฝีมือมากกว่า-2-ทศวรรษ
6.คุณคำพัน-สิทธิประภา-หัวหน้านายเตามากฝีมือมากกว่า-2-ทศวรรษ

การรมควันยางแผ่น

การรมควันยางแผ่นต้องอาศัยการสังเกต และประสบการณ์ รวมถึงความรู้ เทคนิคเฉพาะตัว ที่สะสมมานานมากกว่า 20 ปี ของ คุณคำพัน สิทธิประภา หรือคุณลุงพัน หัวหน้านายเตาชาวจังหวัดสกลนคร ได้เผยถึงที่มาก่อนการเข้ามาทำงานที่โรงรม เนื่องจากหนีความแห้งแล้งของพื้นที่ภาคอีสาน และความลำบากยากจนในการประกอบอาชีพ จึงได้มารับจ้างทำงานก่อสร้างสนามกอล์ฟที่หาดใหญ่ จนได้มารู้จักกับคนใต้ที่ทำงานก่อสร้างด้วยกัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หลังจากที่สร้างสนามกอล์ฟเสร็จแล้ว จึงได้ชักชวนมาทำงานโรงรมยางของสหกรณ์เมื่อปี พ.ศ.2541 นานวันจากการทำงานคลุกคลีอยู่กับโรงรมยางจนเกิดประสบการณ์มากขึ้นทุกวัน และตนได้มีโอกาสมาช่วยงานน้องชายที่ทำงานอยู่โรงรมยางของสหกรณ์ยางพารา จึงทำให้รู้จักกับคุณจรรยา เจ้าของโรงรมควันยางแผ่น “วัฒนชัย การยาง” ประกอบกับคุณจรรยามีการขยายธุรกิจโรงรมยางเพิ่มเป็นสาขา 2 ตนจึงได้อาสาขอมาดูแลงานที่นี่เมื่อประมาณปี พ.ศ.2556-2557 หรือประมาณ 4-5 ปี พร้อมกับลูกทีมที่เป็นญาติพี่น้องชาวสกลนครด้วยกันทั้งหมด 9 คน

ซึ่งในสภาวะเศรษฐกิจที่แย่ลง การจ้างงานก็น้อย คุณพันมองว่าอาชีพการทำโรงรมยางเป็นอาชีพที่สร้างรายได้เป็นอย่างดีให้ตนและครอบครัว เฉลี่ยรายได้มากกว่า 1,000 บาท/วัน ส่วนการจัดการบริหารคนงาน คุณพันจะเน้นการพึ่งพาอาศัยอยู่กันแบบพี่น้อง แบ่งหน้าที่กันทำงาน และช่วยเหลือกัน ทุกคนมีความเท่าเทียมกันหมด รวมถึงค่าตอบแทนก็เช่นเดียวกัน ไม่มีใครได้มาก หรือได้น้อยกว่ากัน เมื่อรับค่าจ้างจากคุณจรรยาแล้วจะแบ่งจ่ายให้กับลูกทีมทุกวันศุกร์ของสัปดาห์

ดังนั้นการทำ ยางแผ่นรมควัน ให้มีคุณภาพไม่ใช่เรื่องที่ง่าย ถ้าขาดประสบการณ์และความรู้ ตามหลักแล้วจะถูกแบ่งเกรดตามพื้นฐานของความสะอาดเป็นหลัก โดยคัดแยกแบ่งเป็น 5 เกรด โดยเริ่มตั้งแต่การสรรหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพ การล้างทำความสะอาด ส่งเข้าห้องรมควันที่ควบคุมอุณหภูมิ และระยะเวลารมควันอันเหมาะสม แล้วส่งไปคัดเกรดโดยลูกทีมมืออาชีพ

7.คุณจรรยา-และคุณแอม-ลูกสาวผู้บริหาร-วัฒนชัย-การยาง-สาขา-1
7.คุณจรรยา-และคุณแอม-ลูกสาวผู้บริหาร-วัฒนชัย-การยาง-สาขา-1

ฝากถึงเกษตรกร และผู้ประกอบการ

“แม้สภาวะเศรษฐกิจยางพาราจะต่ำลง แต่ความต้องการผลิตภัณฑ์ยางพารามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ทำให้ธุรกิจยางพาราจำเป็นต้องขยายตัว ในขณะที่ราคาน้ำยางสด หรือยางแผ่นกลับลดลง ทำให้เกษตรกรขาดทุน ไม่สามารถทำต่อไปได้ เกษตรกรหรือผู้ประกอบการเองต้องปรับตัว และลดการใช้จ่ายให้น้อยลง เพื่อให้สอดคล้องกับรายรับที่ได้ เพื่อความอยู่รอด และสามารถหมุนค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้อย่างไม่เกินกำลัง” คุณจรรยาฝากข้อคิดทิ้งท้ายในการดำเนินชีวิตในช่วงที่สภาวะเศรษฐกิจเป็นพิษในปัจจุบัน

ขอขอบคุณโรงรมควันยางแผ่น “วัฒนชัย การยาง” คุณจรรยา เจริญ 238 หมู่ที่ 7 บ้านโคกยาง ต.ละอาย อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช 80250 โทร.080-143-9981