บึงกาฬ นำอีสานพลิกฟื้นชาวสวนยาง ยกระดับ ราคายางก้อนถ้วย GAP คุณภาพส่งออก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ผ่านพ้นไตรมาสแรกของปี พ.ศ.2561 จนถึงขณะนี้ดูเหมือนว่าชาวสวนยางทั่วประเทศได้อุ่นใจ และได้หายใจหายคอบ้าง เมื่อราคายางปรับตัวกระเตื้องขึ้น เช่น ปัจจุบันยางแผ่นดิบ ราคา 46.56 บาท ยางแผ่นรมควัน และน้ำยางสด (ณ โรงงาน) ราคา 48 บาท (ข้อมูลช่วงต้นเดือนมีนาคม พ.ศ.2561)

อีกทั้งเมื่อต้นปีมานี้ สมาคมยางพาราไทย โดย นายไชยยศ สินเจริญกุล นายกสมาคมยางพาราไทย ได้เปิดเผยถึงสถานการณ์ยางพาราในปี 2561 ประเมินว่า จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในทิศทางเดียวกับการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโตที่ 3.7 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2561 เพิ่มขึ้นจาก 3.6 เปอร์เซ็นต์ ในปีที่ผ่านมา

โดยมีปัจจัยหลักจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศตลาดเกิดใหม่ และประเทศกำลังพัฒนาเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัว 2.3 เปอร์เซ็นต์ ในปี 61 จาก 2.2 เปอร์เซ็นต์ ในปีที่ผ่านมา จะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์อินเดีย ซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่จะเติบโตเร็วที่สุดในเอเชีย จะขยายตัว 7.4 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2561 จาก 6.7 เปอร์เซ็นต์ ในปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ชาวสวนยางยังได้รับทราบข่าวดีหลังจากภาครัฐลุงตู่ประกาศกร้าวได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ยางพารา 20 ปี (พ.ศ.2560-พ.ศ.2579) เพื่อแก้ปัญหาในระดับโครงสร้างตลาดยางพารา และเพื่อวางรากฐานให้อุตสาหกรรมยางพาราไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้วิสัยทัศน์ “ประเทศผู้ผลิตยางคุณภาพดี เกษตรกรมีรายได้มั่นคง” 

อีกทั้งด้านสมาคมยางพาราไทยยังคงมีความเห็นเชิงบวกว่ายางพารามีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจดี และมีความร่วมมืออันเข้มแข็งของประเทศสมาชิกสภาไตรภาคียางระหว่างประเทศ (ITRC) ซึ่งประกอบด้วยประเทศไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยมีมาตรการสำคัญ ได้แก่ มาตรการควบคุมการผลิต (SMS) มาตรการจำกัดการส่งออก (AETS) มาตรการเพิ่มการใช้ยางในประเทศ (DPSC) การจัดตั้งตลาดกลางยางพาราระดับภูมิภาค (RRM) และโครงการแข่งขันเพื่อชิงรางวัลนักประดิษฐ์นวัตกรรมยาง

1.บึงกาฬ นำอีสานพลิกฟื้นชาวสวนยาง ยกระดับ ราคายางก้อนถ้วย GAP คุณภาพส่งออก
1.บึงกาฬ นำอีสานพลิกฟื้นชาวสวนยาง ยกระดับ ราคายางก้อนถ้วย GAP คุณภาพส่งออก

อย่างไรก็ตามเพื่อไม่ให้เป็นบทเรียนเมื่อครั้งอดีตที่ชาวสวนยางต้องทนทุกข์ระทมน้ำตาตกจากพิษผลพวงราคายางตกต่ำมาอย่างยาวนาน หลายครั้งหลายคราว และอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นวันนี้ชาวสวนยางทั่วประเทศอย่ามัวแต่ยืมจมูกคนอื่นหายใจ แต่ต้องพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา พร้อมเรียนรู้ศึกษาคิดค้นนวัตกรรม และมองหาวิธีสร้างโนว์ฮาวเพื่อลดต้นทุนการผลิต และทำทุกวิถีทางเพื่อแปรรูปและเพิ่มมูลค่ายาง โดยเฉพาะตลาดส่งออกต่างประเทศ ให้สมกับเป็นเกษตรยุคไทยแลนด์ 4.0

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.ยางก้อนถ้วยที่เตรียมขาย
2.ยางก้อนถ้วยที่เตรียมขาย

การกรีดยาง ราคายาง และ ราคายางก้อนถ้วย

โดยเมื่อเอ่ยถึงตลาดส่งออกยางพาราของไทย ปัจจุบันยังคงเป็นจีนที่มีการนำเข้ายางพาราจากไทยเป็นอันดับหนึ่ง (ราวร้อยละ 65 ของการนำเข้ายางทั้งหมดของจีน) และส่วนใหญ่จีนมักนำเข้ายางพาราจากไทยมากที่สุดในช่วงไตรมาสแรกของทุกปี ตามความต้องการในตลาดรถยนต์ของจีน เพื่อนำยางไปผลิตเป็นยางล้อรถยนต์

เมื่อพิจารณาข้อมูลในช่วงไตรมาสแรกปี 2556-ไตรมาสที่สามของปี 2560 จะพบว่าจีนนำเข้ายางพาราจากไทยเฉลี่ยในไตรมาสแรกของปี 2556-2560 อยู่ที่ราว 450,000 ตัน ซึ่งหากมองต่อไปในไตรมาสแรกไปจนถึงครึ่งปีแรกของปี 2561 จีนยังคงมีความต้องการยางพาราจากไทยไม่ต่ำกว่า 450,000 ตัน เพื่อรองรับในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่มีแนวโน้มเติบโต โดยเฉพาะในไตรมาสแรกของปี โดยคาดว่าครึ่งแรกของปี 2561 ยอดการผลิตรถยนต์ของจีนอาจเฉลี่ยอยู่ที่ 31.52 ล้านคัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0

กลับมาสู่ตลาดยางในประเทศไทย ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าจังหวัดบึงกาฬถือเป็นทำเลทองของการปลูกยางในพื้นที่ภาคอีสาน โดยจังหวัดบึงกาฬมีพื้นที่ปลูกยางมากที่สุดในภาคอีสานประมาณ 1 ล้านไร่ เปิดกรีดแล้วประมาณ 7 แสนไร่ โดยมีโรงงานรับซื้อยางก้อนถ้วยรายใหญ่เกือบ 10 แห่ง ทั้งนี้เกษตรกรร้อยละ 80 มีอาชีพปลูกยางพารา และเกือบทั้งหมดทำการกรีดยางเอง

อย่างไรก็ตามราคายางมักผันผวนตามตลาดและสภาพเศรษฐกิจ ยกตัวอย่าง ช่วงปลายปี พ.ศ.2559 ราคายางก้อนถ้วย เฉลี่ย 13-15 บาท/กก. ต่อมาช่วงต้นปี พ.ศ.2560  ราคายางก้อนถ้วย ดีดตัวราคาสูงอีกครั้งเฉลี่ย 30-40 บาท/กก. ดังนั้นแม้ราคายางจะผันผวน ทว่าชาวสวนยางที่บึงกาฬก็สามารถปรับตัว และอยู่อย่างพออยู่ พอกิน ได้ ด้วยเหตุผลสำคัญนี้ทำให้มีนักลงทุนที่ตบเท้าแห่กันไปเพื่อหวังขุดทอง และเพื่อขยายพื้นที่ปลูกยางพารากันอย่างคึกคัก ตลอดจนสถานการณ์ตลาดยางพาราของภาคอีสาน โดยเฉพาะในจังหวัดบึงกาฬ ดูแล้วมีอนาคตที่สดใสมากที่สุดของประเทศไทยในขณะนี้ก็ว่าได้

3.คุณธนพล-พลพิสิฐกุล-ประธานชมรมพ่อค้ายางพาราจังหวัดบึงกาฬ
3.คุณธนพล-พลพิสิฐกุล-ประธานชมรมพ่อค้ายางพาราจังหวัดบึงกาฬ

คุณธนพล พลพิสิฐกุล ประธานชมรมพ่อค้ายางพาราจังหวัดบึงกาฬ

ข้างหลังภาพแห่งความสำเร็จของพี่น้องกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางบึงกาฬ คือ การมีผู้นำที่ดี มีวิสัยทัศน์ที่ต้องการมุ่งมั่นยกระดับคุณภาพยางของภาคอีสานให้เป็นอันดับหนึ่งจำหน่ายในประเทศ และส่งออก ด้วยการใส่ใจคุณภาพตั้งแต่ต้นน้ำ เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต และต้นทุนค่าใช้จ่าย ในทุกกระบวนการของอุตสาหกรรมยางกลางน้ำ และปลายน้ำ ตลอดจนเป็นผู้นำที่พร้อมอยู่เคียงข้าง เคียงบ่า เคียงไหล่ กับพี่น้องชาวสวนยาง โดยไม่แสวงหาผลกำไร และคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน บุคคลที่กำลังเอ่ยถึง คือ คุณธนพล พลพิสิฐกุล ประธานชมรมพ่อค้ายางพาราจังหวัดบึงกาฬ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

บทบาทสำคัญของ คุณธนพล พลพิสิฐกุล คือ ประธานชมรมพ่อค้ายางพาราจังหวัดบึงกาฬ ซึ่งคุณธนพลดำรงตำแหน่งมาแล้ว  4 สมัยซ้อน (วาระ 2 ปี) จากความเชื่อมั่นและไว้วางใจจากพี่น้องสมาชิกชาวสวนยางจังหวัดบึงกาฬ และเครือข่ายภาคอีสาน จำนวนมากกว่า 100 กลุ่ม นอกจากนี้คุณธนพลยังถือเป็นบุคลากรที่สำคัญอีกท่านหนึ่งที่คร่ำหวอดอยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมและองค์กรที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยางพารา น้ำมันปาล์ม และสวนเกษตร ที่มุ่งเน้นระบบการบริหาร การจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน และมีการจัดการที่เป็นเลิศ

คุณธนพลได้ฉายภาพเล่าย้อนรอยถึงจุดเริ่มต้นและเส้นทางการค้ายางในจังหวัดบึงกาฬว่า ย้อนไปในอดีตมีพ่อค้าคนกลาง พ่อค้าเร่ จำนวนมาก เข้าไปรับซื้อยางจากหน้าสวนของพี่น้องเกษตรกรอย่างกระจัดกระจาย และไม่เป็นระเบียบแบบแผน บ้างก็มีการรับแลกยางกับปุ๋ย หรือแลกกับสารเคมี ส่งผลให้ราคายางไม่คงที่ โดยวิกฤตหนักสุดเกิดขึ้นเมื่อกว่า 15 ปีมาแล้ว ช่วงปี พ.ศ.2544-2545 เกษตรกรขายขี้ยางก้อนได้แค่ กก.ละ 5-6 บาท พ่อค้าคนกลางกดราคาซื้อยางกันอย่างหนักหน่วง บางรายถึงกับโกงตาชั่ง ไม่เกรงกลัวกฎหมายบ้านเมือง

“หลังจากช่วงปี 2545 เป็นครั้งแรกที่ผมได้เข้ามาร่วมขับเคลื่อนยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร ร่วมกับพี่น้องชาวสวนยางในจังหวัดบึงกาฬ  ผมได้สร้างโมเดลส่งเสริมให้ชาวสวนยางรวมกลุ่มในลักษณะวิสาหกิจชุมชน และกลุ่มเกษตรกร รวมถึงส่งเสริมการผลิตยางก้อนถ้วยให้มีคุณภาพมาตรฐานตรงความต้องการของตลาด

ส่งผลให้ปัจจุบันกลุ่มชาวสวนยางจังหวัดบึงกาฬมีศักยภาพสูง และมีโรงงานที่รับซื้อยางที่ให้ราคายางตามเปอร์เซ็นต์ยางแบบตรงไปตรงมา เพื่อส่งป้อนให้บริษัทรายใหญ่กลางน้ำ และปลายน้ำ ทั้งนี้กลุ่มชาวสวนยางจังหวัดบึงกาฬไม่ได้เกี่ยวข้องกับ 5 เสือ ที่ในอดีตพี่น้องชาวสวนยางได้ยินชื่อแล้วยังต้องขยาด” คุณธนพลกล่าว

4.ยางก้อนถ้วย
4.ยางก้อนถ้วย

แนวทางแก้ปัญหาราคายางตกต่ำ

ทั้งนี้คุณธนพลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในหลายๆ เหตุการณ์ที่มีปัจจัยต่างๆ มากระทบต่อชาวสวนยางบึงกาฬ ยกตัวอย่างเมื่อปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2560) คุณธนพลเคยเสนอแนวทางแก้ปัญหาในช่วงชาวสวนยางเผชิญวิกฤตราคายางตกต่ำ โดยบอกถึงวิธีการแก้ปัญหาราคายางร่วงติดดินไว้ 2 แนวทาง อย่างน่าสนใจ นั่นคือ

แนวทางแรก ชาวสวนต้องหันมาผลิตยางที่มีคุณภาพ โดยใช้กรดหยอดยางก้อนถ้วยที่ดี หรือกรดฟอร์มิกผสมเสร็จพร้อมใช้ ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกหลายยี่ห้อ เพราะกรดตัวนี้จะช่วยทำให้เปอร์เซ็นต์ DRC ของยางมีคุณภาพสูง ถ้าเป็นยางสดจะได้กว่า 58% แต่ถ้ายางค้างคืนไว้ยิ่งดี จะได้ถึง 65-70% ทำให้ขายได้ราคามากกว่า เมื่อเทียบกับยางที่ทำจากกำมะถัน หรือซัลฟิลริก นอกจากนี้การใช้กรดฟอร์มิกผสมเสร็จยังช่วยลดเรื่องกลิ่นเหม็น และน้ำเสีย ที่จะซึมลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะได้อีกด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อีกแนวทางหนึ่ง คือ ต้องมองถึงการแก้ปัญหาที่ผ่านมา โดยวิธีการนำเงินหรืองบประมาณไปแจกชาวสวนยางไร่ละ 500-1,000 บาท เป็นวิธีที่สูญเปล่า สู้นำไปสร้างโรงงานแปรรูปยาง หรือให้กลุ่มสหกรณ์ที่ขึ้นทะเบียนแล้วไปรับซื้อยางจะดีกว่า ซึ่งนี่คือ 2 แนวทาง จากแนวคิดที่อยากเห็นพี่น้องชาวสวนยางรอดพ้นจากวิกฤตราคาดิ่งเหวในช่วงวิฤตเมื่อปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2560)

อย่างไรก็ดีความต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยาง และแปรรูปผลผลิตยาง ให้มีคุณภาพ โดยการเข้าไปถ่ายทอดองค์ความรู้ในกระบวนการต่างๆ เพื่อเปลี่ยนวิถีชีวิต และเปลี่ยนแนวคิด ของชาวสวนยางในระยะแรกเริ่มไม่ใช่เรื่องง่าย โดยคุณธนพลเล่าย้อนให้ฟังว่าสมัยก่อนได้ขับรถเข้าสวนยางไปหัวไร่ปลายนาทุกพื้นที่ เพื่อพบปะกับพี่น้องเกษตรกร บอกเล่าให้ชาวสวนยางรวมกลุ่มกันขาย ชั่งน้ำหนักผลผลิตเอง และขายเอง เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ และการกดขี่โดนเอารัดเอาเปรียบเรื่องราคาจากพ่อค้าคนกลาง

อีกทั้งคุณธนพลได้เป็นธุระในการดำเนินการรับซื้อขี้ยางก้อนคละ เป็นการช่วยชาวสวนยางอีกทางหนึ่งในการเพิ่มช่องทางการจำหน่าย และสร้างรายได้ให้เกษตรกรชาวสวนยางได้มากยิ่งขึ้น

5.ยางก้อนถ้วยลำเลียงขึ้นรถ
5.ยางก้อนถ้วยลำเลียงขึ้นรถ ราคายางก้อนถ้วย ราคายางก้อนถ้วย ราคายางก้อนถ้วย ราคายางก้อนถ้วย

การรับซื้อผลผลิตยาง หรือขี้ยาง

สำหรับสเป็คที่บริษัท และโรงงานผลิตยางรายใหญ่รับซื้อผลผลิตยาง หรือขี้ยาง จากชาวสวนยางในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน มีเงื่อนไขยกตัวอย่างสรุปได้ดังนี้

1.ขี้ยางก้อนคละแต่ละก้อนมีน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม
2.หากขี้ยางก้อนมีขนาดใหญ่เกิน 2 กิโลกรัม ต้องผ่าออกเพื่อตรวจสอบคุณภาพ และสิ่งปลอมปนที่แอบแฝงมาในก้อนยาง
3.ผู้ขายต้องทำความสะอาดเบื้องต้นโดยนำสิ่งแปลกปลอมออกให้หมด เช่น เชือก ขยะ ถุงปุ๋ย เศษพลาสติก เหล็ก หิน ดิน ทราย เป็นต้น
4.บริษัทมีข้อจำกัดไม่รับซื้อขี้ยางก้อนผสมปูนขาว แป้งมัน กากแป้งมัน กากแก๊ส ยางอื่นๆ ที่ไม่ใช่ยางพารา ซึ่งยางก้อนถ้วยที่มีคุณภาพจะต้องไม่มีสิ่งปลอมปนในวัตถุดิบ และยางก้อนถ้วยที่นำมาขายจะต้องผลิตตามกฎกติกา คือ เป็นยาง 8 มีด หรือกรีด 8 ครั้ง ใช้ระบบกรีด 2 วัน เว้น 1 วัน ซึ่งหากตรวจพบยางก้อนถ้วยผลิตต่ำกว่า 8 มีด บริษัทจะทำการหักราคารับซื้อทันที

ปัจจุบันเมื่อบริษัท หรือโรงงาน เข้าไปรับซื้อยางก้อนถ้วยจากกลุ่มเกษตรกร จะใช้วิธีประมูล โดยบริษัทจะส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกร, กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สคยท.) ได้มีส่วนร่วมประมูลด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบจากโรงงานอื่นๆ ที่ร่วมประมูล ซึ่งปัจจุบันมีกลุ่มร่วมประมูลแล้วกว่า 100 กลุ่ม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คุณธนพลเผยว่ายางก้อนถ้วยที่ผลิตในจังหวัดบึงกาฬ ถือเป็นยางที่สะอาด และมีคุณภาพ มากที่สุดในประเทศไทย ยกตัวอย่าง คุณภาพเกรด “ยางแท่ง” ที่ผลิตในจังหวัดบึงกาฬ มีคุณภาพสูงมาก โดยมีค่า Standard Thai Rubber ได้แก่ STR-10 และ STR-5 เหมาะสมสำหรับเพื่อการส่งออกมากที่สุด

ทั้งนี้โรงงานผลิตยางต้นน้ำในจังหวัดบึงกาฬมีกระบวนการอบยางให้สุกในอุณหภูมิที่เหมาะสม และได้มาตรฐานทุกขั้นตอน ก่อนเข้าสู่กระบวนการอัดแท่ง ชั่งน้ำหนักให้ได้ตามที่กำหนด จนถึงการบรรจุภัณฑ์ โดยยางจะผ่านกระบวนการทดสอบด้วยห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน ให้ผลทดสอบที่มีความแม่นยำสูง

และส่วนพันธุ์กล้ายางที่คุณธนพลแนะนำส่งเสริมว่าเหมาะสมกับการปลูกมากที่สุดในภาคอีสาน คือ RRIM600 เพราะทนทานต่อสภาพอากาศ ทั้งสภาพแล้ง หรืออากาศหนาว ตลอดจนเป็นพันธุ์ที่ปรับตัว และให้ผลผลิตได้ดีในเกือบทุกพื้นที่ ทนทานต่อการกรีดถี่ได้มากกว่าพันธุ์อื่นๆ และมีจำนวนต้นแสดงอาการเปลือกแห้งน้อย

6.ยางก้อนถ้วยที่สับแล้วเตรียมส่งให้บริษัทแม่ที่ระยอง
6.ยางก้อนถ้วยที่สับแล้วเตรียมส่งให้บริษัทแม่ที่ระยอง

เป้าหมายและทิศทางของกลุ่มชมรมพ่อค้ายางพารา จ.บึงกาฬ

เมื่อถามถึงเป้าหมายและทิศทางการขับเคลื่อนของกลุ่มชมรมพ่อค้ายางพาราจังหวัดบึงกาฬ และในภาคอีสาน สำหรับอนาคตคุณธนพลเผยว่าพร้อมขับเคลื่อนและยกระดับอุตสาหกรรม และคุณภาพชีวิตของชาวสวนยาง ภายใต้วิสัยทัศน์ 4 ข้อหลักสำคัญดังนี้

1.เพื่อป้องกันคนโกง ปกป้องเกษตรกรจากการโดนเอารัดเอาเปรียบของกลุ่มนายทุน
2.ดูแลสถานภาพวัตถุดิบสวนยางในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ และเครือข่ายภาคอีสาน
3.รักษาคุณภาพมาตรฐานและคุณลักษณะ ตลอดจนพัฒนาศักยภาพความสามารถของกลุ่มชาวสวนยาง
4.พร้อมรับมือ และปรับตัว ยืดหยุ่น เพื่อให้พี่น้องชาวสวนยางสามารถเอาตัวให้รอดได้ในทุกวิกฤต

ด้านการส่งเสริมการแปรรูปและเพิ่มมูลค่าสินค้าที่ผลิตจากยางพารา คุณธนพลให้แนวคิดไว้อย่างน่าสนใจว่าสินค้าในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกวันนี้กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ล้วนมีองค์ประกอบ และส่วนผสม ของยางพารายึดโยงอยู่แทบทั้งสิ้น อาทิ ยางรถยนต์ เบาะรองนั่ง รองเท้า ที่นอน ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง เครื่องมือแพทย์บางชนิด ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย เป็นต้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปัจจุบันชาวสวนยางบึงกาฬมีศักยภาพผลิตยางก้อนถ้วยเฉลี่ยต่อเดือนกว่า 10,000 ตัน และมีบริษัทรายใหญ่เข้ามารับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ เพื่อนำวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนเครื่องจักรที่ทันสมัย เพื่อรีดยาง และแปรรูปเป็นยางแท่ง ส่งต่อให้อุตสาหกรรมผลิตยางขั้นกลางน้ำ และปลายน้ำ ต่อไป

ซึ่งวันนี้ชาวสวนยางบึงกาฬมีความพร้อมที่จะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตยางที่เพียงพอรองรับความต้องการของนักลงทุนไทยต่างชาติ โดยเฉพาะนักลงทุนจากประเทศจีนที่ปัจจุบันได้เข้ามาจัดสร้างโรงงานแปรรูปยางจำนวนเกือบ 10 โรง อาทิ โรงงานแปรรูปหมอนยางพารา ที่นอน รองเท้า  หรือโรงงานแปรรูปน้ำยางข้น และโรงงานแปรรูปยางลูกขุน เป็นต้น

ในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งนับเป็นนิมิตหมายที่ดีชี้ให้เห็นถึงต่างชาติเล็งเห็นศักยภาพของผลผลิตยางพาราในประเทศไทย และยังช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้พี่น้องชาวสวนยางจังหวัดบึงกาฬ ให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราแห่งใหญ่ในประเทศไทยอีกด้วย

7.บ่อบำบัดน้ำเสียในโรงงาน
7.บ่อบำบัดน้ำเสียในโรงงาน ราคายางก้อนถ้วย ราคายางก้อนถ้วย ราคายางก้อนถ้วย ราคายางก้อนถ้วย
ถังเติมอากาศสำหรับบำบัดน้ำเสียเพื่อวนกลับมาใช้ใหม่
ถังเติมอากาศสำหรับบำบัดน้ำเสียเพื่อวนกลับมาใช้ใหม่

ฝากถึง…เกษตรกรชาวสวนยาง

ทั้งนี้คุณธนพลยังได้ฝากให้กำลังใจถึงพี่น้องชาวสวนยางทั่วประเทศด้วยว่าหลังจากมีประเด็น
ดราม่าเมื่อปลายปี 2560 ที่ผ่านมา ที่คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) มีมติเห็นชอบให้โค่นต้นยางเพื่อแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ พร้อมเพิ่มแรงจูงใจ เจ้าของสวนยาง โค่นต้นเก่า ปลูกต้นใหม่ จ่ายให้รายละ 16,000 บาท เมื่อมีข่าวออกมาส่งผลให้ชาวสวนยาง

โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ เช่น จังหวัดตรัง ที่ชาวสวนยางประสบปัญหาอย่างหนัก ราคายางตกต่ำเหลือเพียง กก.ละ 25-30 บาท ชาวสวนยางหลายรายมีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย เป็นหนี้ในระบบ และหนี้นอกระบบ ชาวสวนยางหลายรายจำเป็นต้องโค่นต้นยางทิ้ง ทั้งที่กรีดมากว่า 15 ปี และยังมีสภาพที่สมบูรณ์ ซึ่งจะสามารถกรีดเอาน้ำยางขายได้อีกนานหลายปี ซึ่งคุณธนพลไม่เห็นด้วย และไม่สนับสนุนแนวคิดนี้

โดยบอกว่าอุตสาหกรรมยางกำลังได้รับการพัฒนาส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง และยังมีอนาคตที่สดใส ซึ่งการตัดสินใจโค่นต้นยางทิ้งเป็นการทุบหม้อข้าวของพี่น้องชาวสวนยาง ซึ่งหากคิดจะปลูกใหม่ต้องรอคอยนานถึง 7 ปี จึงกรีดผลผลิตได้ใหม่ เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ไม่สนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“ผมขอให้กำลังใจชาวสวนยางทุกคนทั่วประเทศ อย่าเพิ่งท้อแท้ และอย่าเพิ่งหมดหวัง ขอให้อดทน โดยยังมีหลายๆ หน่วยงานที่กำลังดำเนินการช่วยเหลือแก้ไข และเยียวยาปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้พวกท่านอยู่ ทั้งนี้ชาวสวนยางไม่ควรรอคอยการช่วยเหลือแต่เพียงอย่างเดียว ควรเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการจัดการสวนยาง อาทิเช่น โดยการรวมตัวจัดตั้งกลุ่ม และทำเกษตรอย่างบูรณาการ และมีส่วนร่วมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน

ผมขอยกตัวอย่างย้อนกลับไปเมื่อปลายปี 2560 ที่ผ่านมา ราคายางที่ตกต่ำในขณะนั้นเหตุเพราะบริษัทใหญ่กดราคา เพราะต้องการกักตุนสต๊อกยางราคาต่ำไว้ เพื่อทำกำไรในช่วงปิดกรีด ซึ่งก็คือ ช่วงไตรมาสแรกของปี 2561 นี้  ทั้งนี้ทางชมรมฯ ได้มีการประเมินเฉพาะ 5 บริษัทผู้ค้ายางรายใหญ่ จะมีสต๊อกยางรวมกันไม่ตํ่ากว่า 1 ล้านตัน ดังนั้นทางออกของกระทรวง เกษตรฯ คือ

1.จะต้องจำกัดปริมาณส่งออกยาง

2.ปรับเงินเซสส์ (ค่าธรรมเนียมในการส่งออกยางพารา) ให้เป็นแบบขั้นบันได ไม่ใช่เก็บอัตราคงที่ 2 บาท/กก. เช่นในปัจจุบัน ซึ่งเป็นอีกต้นเหตุหนึ่งที่ผู้ส่งออกมากดราคายาง

3.ให้นำนวัตกรรมยางออกมาใช้ และบังคับให้ยางล้อทุกเส้นที่กองทัพใช้ให้เป็นยางที่ผลิตและใช้วัตถุดิบในประเทศ เป็นต้น

สุดท้ายนี้วิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้เองของพี่น้องชาวสวนยางทั่วประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงที่ราคาแผ่นยางดิบดิ่งลดลง เกษตรกรอาจหันไปทำน้ำยางข้นทดแทนก่อนได้ โดยราคาน้ำยางข้นบางช่วงที่ราคาจะดีกว่า เฉลี่ย กก.ละ 42-43 บาท เป็นต้น ดังนั้นเกษตรกรต้องหมั่นศึกษาว่าในแต่ละช่วงเวลานั้นๆ ตลาดต้องการอะไร ต้องปรับตัวให้ทัน ทั้งนี้ก็เพื่อความอยู่รอดในอาชีพของพี่น้องชาวสวนยางทุกคน”  ประธานชมรมพ่อค้ายางพาราจังหวัดบึงกาฬ กล่าวในตอนท้าย ราคายางก้อนถ้วย ราคายางก้อนถ้วย ราคายางก้อนถ้วย ราคายางก้อนถ้วย ราคายางก้อนถ้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ขอขอบพระคุณ คุณธนพล พลพิสิฐกุล ประธานชมรมพ่อค้ายางพาราจังหวัดบึงกาฬ 199 หมู่ 4 ต.นาดง อ.ปากคาด จ.บึงกาฬ 38190 ราคายางก้อนถ้วย ราคายางก้อนถ้วย ราคายางก้อนถ้วย ราคายางก้อนถ้วย ราคายางก้อนถ้วย