สวนยาง แก่งหางแมว ผลิต ยางเครป ป้อนโรงงาน วันละ 1 ตัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand
ยางเครปจากน้ำยางสด มีลักษณะใกล้เคียงกับยางแท่ง STR 5L ตลาดจึงค่อนข้างแคบ มีบริษัทรับซื้อเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ไม่มาสารถขายตลาดประมูลยาง พ่อค้ายาง หรือ หากมีโครงการแทรกแซงราคายางจะเข้าร่วมโครงการไม่ได้
ยางเครปจากน้ำยางสด มีลักษณะใกล้เคียงกับยางแท่ง STR 5L ตลาดจึงค่อนข้างแคบ มีบริษัทรับซื้อเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ไม่มาสารถขายตลาดประมูลยาง พ่อค้ายาง หรือ หากมีโครงการแทรกแซงราคายางจะเข้าร่วมโครงการไม่ได้

แม้ว่าการผลิตยางคุณภาพจะเป็นแนวทางหนึ่งของการเพิ่มมูลค่ายางที่ดีที่สุดทางหนึ่งในยุคยางราคาตกต่ำ โดยเฉพาะการทำยางแผ่นดิบ ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่า

น้ำยางสดจากสวนมีปริมาณ 2-4 ตัน-วัน นำมาแปรรูปเป็นยางเครป ได้ 1 ตันกว่าๆ
น้ำยางสดจากสวนมีปริมาณ 2-4 ตัน-วัน นำมาแปรรูปเป็นยางเครป ได้ 1 ตันกว่าๆ

ยางประเภทอื่น แต่การทำยางแผ่นอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับสวนยางขนาดใหญ่ ที่มีแรงงานหลายครัวเรือน การทำยางแผ่นจึงมีคุณภาพต่ำ ขายไม่ได้ราคา สูงเสียรายได้มหาศาล ด้วยปัญหาเดียวกันนี้เอง สวนยางบนพื้นที่มากกว่า 1,000 ไร่ ของ นายวีระชัย เหล่าฤทธิ์ไกร เจ้าของบริษัท สยามทิมเบอร์ จำกัด ใน อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี จึงเลือกที่จะหยุดการทำยางแผ่นดิบ แล้วหันไปทำยางเครป แทน หากแต่การทำยางเครปของเขาแตกต่างจากการทำยางเครปทั่วไป ที่นิยมใช้ยางก้อนถ้วยเป็นวัตถุดิบ แต่เป็นยางเครปที่ผลิตจากน้ำยางสด นั่นเท่ากับว่าสวนยางของเขายังคงเก็บเกี่ยวน้ำยางสดจากต้นเช่นเดิม แทนที่จะหันมาทำยางก้อนถ้วยจากต้น

ขนาดความยาวและบาง ขอบแผ่นยางเครปประมาณ 1มม.กว่าๆ เท่านั้น
ขนาดความยาวและบาง ขอบแผ่นยางเครปประมาณ 1มม.กว่าๆ เท่านั้น

วิธีการทำยางเครปจากน้ำยางสดของที่นี่ เริ่มต้นจาก เก็บน้ำยางสดจากในสวน วันละ 3-4 ตัน มากรองให้

หลังจากยางจับตัวเป็นก้อน จึงนำมารีดด้วยเครื่องรีดยางเครป1 รอบ แผ่นยางเครปแผ่นบาง
หลังจากยางจับตัวเป็นก้อน จึงนำมารีดด้วยเครื่องรีดยางเครป1 รอบ แผ่นยางเครปแผ่นบาง

สะอาด ก่อนจะผสมน้ำสะอาดและน้ำกรดฟอร์มิค เช่นเดียวกับขั้นตอนการทำยางแผ่นดิบ ความแตกต่างคือ จะทำในตะกงขนาดใหญ่ และทำยางเป็นก้อนขนาดใหญ่ หลังจากยางจับตัวเป็นก้อน จึงนำมารีดด้วยเครื่องรีดยางเครป1 รอบ แผ่นยางเครปจะมีขนาดยาวและบางมาก ประมาณ 1 มม.กว่าๆ เท่านั้น จากนั้นจะใช้กรรไกรตัดเป็นแผ่นๆ ละประมาณ 60 ซม. ก่อนจะนำขึ้นตากผึ่งลมบนราวเกะจนเมื่อยางแห้งพอหมาด จึงนำเข้าเตาอบรมควันที่สร้างขึ้นอย่างง่าย ใช้ไม้ยางพาราเป็นเชื้อเพลิง ใช้ระยะเวลาการอบ 1 วัน 1 คืน หรือประมาณ 24 ชม.เท่านั้น เนื่องจากเป็นยางเครปแผ่นบางจึงใช้เวลาอบเร็ว ยางจะมีสีเหลืองนวลหลังการอบรมควัน นำยางมาแพ็กอัดเป็นก้อนๆ ละ 20 กก. พร้อมส่งขายโรงงานยาง บริษัท มหากิจรับเบอร์ จำกัด จ.ระยอง

ผู้จัดการสวนให้ข้อมูลว่า เริ่มต้นทำยางประเภทนี้มากว่า 7 ปีแล้ว ข้อดีของการทำยางประเภทนี้คือ กระบวนการทำและควบคุมคุณภาพการผลิตทำได้ง่าย เพราะนำน้ำยางสดทั้งหมดมาทำเป็นยางเครปรวมกัน

เวลาอบเสร็จก็นำมาอัดแพ็กเป็นก้อนๆ ละ 20 กก. ทำให้ระหยัดพื้นที่เก็บยาง เพราะถ้าเป็นยางแผ่นต้องใช้พื้นที่เก็บมหาศาล ราคาซื้อยางจะวัดจากเปอร์เซ็นต์ยางแห้งผู้จัดการสวนให้ข้อมูล

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่ข้อเสียของการทำยางประเภทนี้ คือ เรื่องตลาด เนื่องจากเป็นยางเครปจากน้ำยางสด มีลักษณะใกล้เคียงกับยางแท่ง STR 5L ตลาดจึงค่อนข้างแคบ มีบริษัทรับซื้อเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ไม่มาสารถขายตลาดประมูลยาง พ่อค้ายาง หรือ หากมีโครงการแทรกแซงราคายางจะเข้าร่วมโครงการไม่ได้
ก่อนที่ผู้จัดการสวนจะสรุปว่า ยางแบบนี้ราคาไม่สูงกว่ายางประเภทอื่นมากนัก แต่สะดวก และทำง่าย ต่อการบริหารจัดการของสวน

 

 

tags: สวนยาง แก่งหางแมว ผลิต ยางเครป ป้อนโรงงาน วันละ 1 ตัน ยางเครป แผ่นยาง ยางแผ่น การทำยางแผ่น แผ่นยางพารา สวนยาง ยางเครป แผ่นยาง ยางแผ่น การทำยางแผ่น สวนยาง

[wpdevart_like_box profile_id=”112152085551102″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]