เครื่องรีดยาง เป็น ยางเครป คุณภาพ แบบผ่อนได้ ช่วยเพิ่ม ราคายาง 5-6 บาท/กก.

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ภาพรวมของ ยางพารา ไทย

ประเทศไทยมีเนื้อที่ปลูกยางพารามากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศอินโดนีเซีย และมีปริมาณการส่งออกยางพารามากเป็นอันดับ 1 ของโลก (อ้างอิงจากศูนย์สารสนเทศการเกษตรสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) เมื่อปี 2558 ประเทศไทยมีเนื้อที่ปลูกยางพารารวม 46.50 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 59.92 ของพื้นที่ปลูกยางพาราในโลก

และมีผลผลิตยางพารารวมทั้งประเทศ 8.36 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 69.67 ของผลผลิตยางพาราในโลก (อ้างอิงจากศูนย์บริการการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์) จำนวนชาวสวนยางพาราในประเทศมีทั้งหมด 6 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ (อ้างอิงจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 2558) การส่งออกยางพาราของประเทศไทยเมื่อปี 2559 มีมูลค่า 155 ล้านล้านบาท/ปี (อ้างอิงจากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม)

จากข้อมูลของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดบุรีรัมย์ปี 2556 ระบุไว้ว่าจังหวัดบุรีรัมย์มีพื้นที่ปลูกยางพารามากกว่า 240,000 ไร่  มีจำนวนเกษตรกรที่ปลูกยางพารามากกว่า 24,000 ราย ปริมาณผลผลิตยางพาราทั้งจังหวัดมีมากกว่า 39,000 ตัน

โดยอำเภอที่ปลูกยางพารามากที่สุด ได้แก่ อ.บ้านกรวด อ.ละหานทราย อ.สตึก และ อ.แคนดง ทั้งนี้พื้นที่สวนยางพาราที่สหกรณ์กองทุนสวนยางโนนสุวรรณ อ.โนนสุวรรณ จ.บุรีรัมย์ รับผิดชอบดูแลมี 30,000 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ที่สามารถเปิดกรีดได้ 20,000 ไร่ และต้นยางมีอายุมากกว่า 7 ปีขึ้นไป

1.เครื่องรีดยางเครป-ยี่ห้อยิปต้า
1. เครื่องรีดยาง เครป-ยี่ห้อยิปต้า
คุณนาวิน-จันทนิตย์-ผจก.ฝ่ายขายและการตลาด-บ.-ยิปต้า-จักรกลการเกษตร-เทรดดิ้ง-จก.
คุณนาวิน-จันทนิตย์-ผจก.ฝ่ายขายและการตลาด-บ.-ยิปต้า-จักรกลการเกษตร-เทรดดิ้ง-จก.

แปรรูปยางพาราและสร้างมูลค่า ราคายาง เพิ่มเฉลี่ยกิโลกรัมละ 5-6 บาท

ปัจจุบัน ราคายาง ประมูลยางแผ่นรมควัน ชั้น 3 ณ ตลาดกลางยางพารา อ.หาดใหญ่ อยู่ที่ 55.00 บาท/กก. ด้วย ราคายาง ที่ค่อนข้างต่ำและผันผวน ทำให้รัฐบาลชุดปัจจุบันแนะทางออกให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ได้มาตรฐาน

และสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น แปรรูปเป็นยางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่ได้มาตรฐาน GMP การแปรรูปยางแผ่นรมควันเป็นแผ่นปูสนามฟุตซอล หรือลานกีฬาในร่ม และการทำอิฐปูพื้นทางเดินจากยางพารา ที่ได้มาตรฐาน มอก. เป็นต้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ดังนั้นเมื่อสหกรณ์กองทุนสวนยางโนนสุวรรณก่อตั้งเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2540 มี คุณสมปอง ชำนิจ เป็นประธานสหกรณ์ฯ คนปัจจุบันเล็งเห็นปัญหา ราคายาง ตกต่ำนี้แล้ว จึงมองหาทางออกด้วยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางพาราเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยการแปรรูปน้ำยางพาราผลิตเป็นยางแผ่นรมควันชั้น 3 เพื่อให้ได้มาตรฐาน GMP

และแปรรูปยางก้อนถ้วยเป็น ยางเครป สามารถดูดซับปริมาณน้ำยางจากสมาชิกสหกรณ์ฯได้ปีละมากกว่า 5,000 ตัน  เพิ่มมูลค่ายางได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5-6 บาท ทำให้มีรายได้จากการประกอบกิจการมาปันผลให้แก่สมาชิกชาวสวนยางในสหกรณ์ฯได้

2.คุณสมปอง-ชำนิจ-ประธานสหกรณ์กองทุนสวนยางโนนสุวรรณ
2.คุณสมปอง-ชำนิจ-ประธานสหกรณ์กองทุนสวนยางโนนสุวรรณ

 

3.อาคารผลิตยางแผ่นดิบ
3.อาคารผลิตยางแผ่นดิบ

ต้นทุน กำลังการผลิต ยางเครป และยางแผ่นรมควัน

ต้นทุนการผลิต ยางเครป แนวคิดในการทำ ยางเครป สืบเนื่องมาจากหลายสาเหตุ สาเหตุที่

  1. เกิดจากสมาชิกของสหกรณ์มีความต้องการที่จะทำยางก้อนถ้วยแทนการทำน้ำยางสด เพราะโรงงานรับซื้อน้ำยางสดอยู่ไกลถึงจังหวัดชลบุรี สาเหตุที่
  2. มาจากการหาแรงงานคนมากรีดยางหาได้ยากขึ้นกว่าเดิม และ
  3. การทำยางก้อนถ้วยไม่ยุ่งยากซับซ้อนเหมือนการทำน้ำยางสด ทางสหกรณ์จึงตอบสนองความต้องการของสมาชิก และคณะกรรมการจึงมีมติเห็นชอบรับซื้อยางก้อนถ้วยจากสมาชิก และซื้อ เครื่องรีดยาง เครปมาแปรรูปยางก้อนถ้วยเป็น ยางเครป

เนื่องด้วย เครื่องรีดยาง เครป ที่สหกรณ์ต้องการ คือ เครื่องรีดยาง ที่สามารถสับ และรีดยาง ภายใน เครื่องรีดยาง เดียวกันได้ เพื่อประหยัดพื้นที่อาคาร จึงไปปรึกษาพ่อค้าที่รับซื้อ ยางเครป ในพื้นที่ว่าเขาใช้ เครื่องรีดยาง เครปยี่ห้ออะไร ซื้อมาจากไหน จึงได้คำแนะนำมา และซื้อ เครื่องรีดยาง เครปมาในราคา 690,000 บาท  และเดิน เครื่องรีดยาง เครปเมื่อวันที่ 20  เม.ย. 2560

ในการผลิต ยางเครป จะมีเครื่องจักร คือ เครื่องรีดยาง เครปที่ใช้เงินสดของสหกรณ์ซื้อมาจาก บริษัท ยิปต้า อะโกร อินดัสทรี จำกัด จ.อุดรธานี ซื้อมา 1 เครื่องรีดยาง ราคา 690,000 บาท ในส่วนของการติดตั้งทางบริษัทก็มีทีมงานมาติดตั้งให้พร้อมทั้งให้คำแนะนำการใช้งาน หากมีปัญหาสามารถโทรเรียกช่างมาดูให้ได้ แต่ทว่าตั้งแต่ใช้มายังไม่พบปัญหาเลย

รวมต้นทุนทุกอย่างในการผลิตยางเครป ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าขนส่งต่างๆ การผลิตยางเครปตกกิโลกรัมละ 50 สตางค์ ยางเครปของบริษัทผลิตยางเครปรายใหญ่ ราคายาง ขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 40 บาท ในกรณี่ที่ DRC 100% แต่ยางเครปของสหกรณ์ฯที่นำไปขายมี DRC 72-73 % จึงได้ ราคายาง กิโลกรัมละ 28-29 บาท

โฆษณา
AP Chemical Thailand
ยางแผ่นดิบที่อยู่ในตะกง
ยางแผ่นดิบที่อยู่ในตะกง

 

4.ยางแผ่นดิบผึ่งไว้กลางแจ้ง-24-ชม.รอเข้าห้องอบรมควัน
4.ยางแผ่นดิบผึ่งไว้กลางแจ้ง-24-ชม.รอเข้าห้องอบรมควัน

 

วัตถุดิบในการผลิตยางเครป คือ ยางก้อนถ้วย

วัตถุดิบในการผลิตยางเครป คือ ยางก้อนถ้วย ถึงแม้ว่าปีนี้เป็นปีแรกที่ผลิต ยางเครป คือ เริ่มผลิตตั้งแต่วันที่ 20 เม.ย. 2560 แต่ก็มียางก้อนถ้วยจากสมาชิกของสหกรณ์ป้อนเข้ามาเรื่อยๆ เฉลี่ยแล้ววันละ  4-5 ตัน เดือนหนึ่งก็สามารถผลิตและจำหน่าย ยางเครป ได้ 60-70 ตัน กำลังการผลิตตอนนี้สามารถผลิต ยางเครป ได้วันละ 10-20 ตัน เดือนหนึ่งสามารถส่งขายได้ไม่น้อยกว่า 60-70 ตัน

ขั้นตอนการผลิต ยางเครป

ขั้นตอนการผลิตยางเครป มีวิธีการผลิตคร่าวๆ ดังต่อไปนี้ ในทุกๆ วันจะมีสมาชิกนำยางก้อนถ้วยมาส่งให้ทางสหกรณ์ฯ จากนั้นเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ฯโนสุวรรณก็จะชั่งน้ำหนักและจดบันทึกไว้เป็นรายบุคคล จากนั้นนำยางไปรีดเปียก โดยเปิดน้ำให้ชะล้างสิ่งสกปรกออกขณะรีด เพื่อทำความสะอาดยางไปในตัว หลังจากนั้นก็จะรีดแห้งเพื่อให้ยางเป็นแผ่นที่มีความหนาตามที่ต้องการ หลังจากนั้นสุ่มตัวอย่างไปชั่งน้ำหนัก และคำนวณหาค่า DRC เพื่อใช้คำนวณร่วมกับน้ำหนักยางก้อนถ้วยของสมาชิก แล้วจะได้ ราคายาง ที่ต้องจ่ายให้กับสมาชิกออกมา

การหาค่า DRC

การหาค่า DRC วิธีนี้เป็นวิธีที่เป็นกลางที่สุด ข้อดีของการหาค่า DRC โดยคำนวณจากน้ำหนักก่อนรีดและหลังรีดยางแทนการประเมินด้วยการเหยียบยาง คือ ช่วยลดปัญหาคำติของสมาชิกที่นำยางมาขาย แล้วอ้างว่ายางจำนวนมีดเท่ากันกับเจ้านั้น แต่ทำไมได้ DRC และ ราคายาง ไม่เท่ากัน การหาค่า DRC ด้วยการชั่งน้ำหนักก่อนรีดและหลังรีดยางนี้จะเป็นหลักฐานอ้างอิงได้ และมีความน่าเชื่อถือ ต่างจากวิธีการของพ่อค้าคนกลางที่จะประเมินค่า DRC ด้วยวิธีทางกายภาพ โดยการใช้เท้าเหยียบ การใช้มือบีบจับ ในการประเมินค่า DRC ให้ชาวสวนยาง

5.อาคารเก็บยางแผ่นรมควันชั้น-3
5.อาคารเก็บยางแผ่นรมควันชั้น-3
ภายในห้องรมควันยาง
ภายในห้องรมควันยาง

การผลิตยางแผ่นรมควันชั้น 3 

สหกรณ์ฯโนนสุวรรณเริ่มผลิตยางแผ่นรมควันเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2560 ที่ผ่านมา วัตถุดิบในการผลิตยางแผ่นรมควัน คือ น้ำยางสดที่รับซื้อจากสมาชิกของสหกรณ์โดยจะเปิดรับซื้อทุกวัน เริ่มตั้งแต่เดือน พ.ค. ถึงเดือน ก.พ. ของปีถัดไป และจะงดรับซื้อในช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย. เพราะเป็นช่วงที่ชาวสวนปิดกรีดยางในหน้าแล้ง

เนื่องจากหน้าแล้งปริมาณน้ำยางจะน้อย โดยจะรับซื้อในช่วงเช้าตั้งแต่เวลา 6.00 – 13.00 น. วันหนึ่งก็จะมีน้ำยางจากสมาชิกเข้ามาเฉลี่ยแล้ว 60 ตัน/วัน ราคาน้ำยางที่จ่ายให้สมาชิกจะยึดตาม ราคายาง ตลาดกลางยางพาราที่อัพเดตทุกวัน ถือว่าเป็น ราคายาง ที่เป็นกลาง และยุติธรรมที่สุด สำหรับเกษตรกร และเกษตรกรส่วนมากพอใจกับ ราคายาง ที่ได้

รวมต้นทุนทุกอย่างในการผลิตยางแผ่นรมควันอยู่ที่แผ่นละ 4 บาท  และไม่ว่า ราคายาง จะขึ้นหรือลงเท่าไหร่ก็ตาม ทางสหกรณ์ฯจะคิดค่าบริหารจัดการจากสมาชิกกิโลกรัมละ 6 บาท  และปัจจุบันทางสหกรณ์ฯโนนสุวรรณสามารถผลิตยางแผ่นรมควันได้วันละ 18 ตัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ขั้นตอนการผลิตยางแผ่นรมควันชั้น 3

ขั้นตอนการผลิตยางแผ่นรมควันชั้น 3 เมื่อรับน้ำยางมาจากสมาชิกแล้วก็นำไปชั่งน้ำหนัก จากนั้นสุ่มตัวอย่างน้ำยางไปอบ และชั่งน้ำหนักหลังอบ เพื่อใช้คำนวณค่า DRC ซึ่งใช้เวลาไม่น้อยกว่า 24 ชม. จากนั้นรวบรวมน้ำยางลงในอ่างพักน้ำยาง

เมื่อได้น้ำยางในปริมาณที่มากพอแล้วก็จะเทน้ำยางลงตะกรงที่มีสารละลายน้ำกรดที่เตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว ตะกงแต่ละอันสามารถทำแผ่นยางได้ 50  แผ่น  น้ำหนักเฉลี่ยแผ่นละ 1 กก. หรือหนึ่งตะกงจะได้แผ่นยางทั้งหมด 50 กก. จากนั้นใช้แผ่นเหล็กเสียบลงไปในตะกงเพื่อแบ่งยางออกเป็นแผ่นๆ ทิ้งไว้ 2-3 ชม.เพื่อให้ยางเซตตัว

หลังจากนั้นนำแผ่นยางไปแช่ลงน้ำ เพื่อทำความสะอาดให้น้ำกรดเจือจาง แยกแผ่นยางออกเป็นแผ่นๆ พร้อมที่จะรีด หลังจากนั้นนำไปรีด เมื่อรีดเสร็จแล้วก็ต้องล้างน้ำยางอีกครั้งก่อนที่จะตาก หลังจากนั้นนำยางแผ่นดิบที่ได้ไปผึ่งแดดไว้ 24 ชม. เพื่อไล่ความชื้นออกไปก่อนนำเข้าโรงอบยางในเช้าวันถัดไป เพื่อที่จะร่นระยะเวลาการอบยางสั้นลง และประหยัดเชื้อเพลิง

เช้าวันถัดมานำยางแผ่นดิบเข้าโรงอบรมควัน ใช้อุณหภูมิในการอบ 40-70 องศาเซลเซียส ตามความชื้นของแผ่นยาง ถ้าชื้นมาก เช่น วันที่ฝนตกก็จะเพิ่มอุณหภูมิในการอบ ในช่วง 1-2 วันแรกของการอบ จะใช้อุณหภูมิค่อนข้างสูง เมื่อเข้าวันที่ 3 จะลดอุณหภูมิลง เนื่องจากยางเริ่มสุกแล้ว รวมเวลาในการอบ 4 วัน ระหว่างอบต้องเติมฟืนทุกๆ 2 ชม.

เมื่อยางสุกก็จะนำออกจากห้องรมควัน และนำยางแผ่นดิบชุดใหม่เข้าเพื่ออบต่อ  โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนที่อบยางทุกวัน แต่ละวันจะมีการเปลี่ยนกะกันทำงาน เพื่อเฝ้าเตาอบทั้งวัน ทั้งคืน เมื่ออบเสร็จแล้วนำยางออกมาจากเตาทิ้งไว้ให้เย็นประมาณ 1 ชม. แล้วทำการคัดแยกยางที่สุกกับแผ่นที่ไม่สุกออกจากกัน นำยางที่อบสุกทั่วทั้งแผ่นไปพับเรียงกันบนพาเลทเพื่อรอจำหน่ายต่อไป

ในส่วนของยางที่อบสุกแล้วแต่มีฟองอากาศมาก ก็จะคัดแยกเป็นยางฟองเพื่อขายอีกราคา ยางแผ่นที่อบสุกแต่ที่มีสิ่งสกปรกเจือปน หรืออบไม่สุก บางส่วนจะใช้กรรไกรตัดบริเวณที่ไม่สุกนั้นออกเป็นยางคัตติ้ง แล้วรวบรวมกันไว้ขายอีกราคา

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ถ้าแผ่นไหนที่อบไม่สุกเกือบทั้งแผ่นจะนำเข้าไปอบใหม่อีกรอบ หลังอบยางแล้วยางแต่ละแผ่นจะมีน้ำหนักประมาณ 1 กก. ในแต่ละวันน้ำยางจะเข้าสหกรณ์วันละ 60 ตัน และสามารถผลิตยางแผ่นรมควันได้วันละ 18,000 แผ่น

6.คนงานทำการแยกเกรดยางแผ่นรมควันหลังนำออกจากห้องรมควัน
6.คนงานทำการแยกเกรดยางแผ่นรมควันหลังนำออกจากห้องรมควัน

ผลตอบรับที่ได้และการปันผลให้สมาชิก

เมื่อผลิต ยางเครป และยางแผ่นรมควันได้ในปริมาณที่พอส่งขายได้แล้ว  ทางสหกรณ์ก็จะจัดส่งสินค้าไปยังโรงงานรับซื้อ โดย ยางเครป จะส่งขายที่ บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด ตั้งอยู่ที่ อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ ระยะห่างจากสหกรณ์ประมาณ 70 กม.

ส่วนยางแผ่นรมควันจะส่งขายวันเว้นวัน โดยส่งที่ จ.ระยอง จ.อุดรธานี หรือใน จ.บุรีรัมย์ คือ บริษัท ละหานทรายรับเบอร์ แอนด์ ลาเท็กซ์ จำกัด แต่ส่วนมากยางแผ่นรมควันจะส่งที่ จ.อุดรธานี มากกว่าเนื่องจากให้ราคาดีกว่า โดยทางสหกรณ์จะโทรไปถามบริษัทที่รับซื้อ 2-3 บริษัท ที่ส่งยางให้ประจำ เพื่อเปรียบเทียบราคากัน

หากบริษัทใดให้ราคาดีกว่าก็จะส่งบริษัทนั้น และบริษัทที่รับซื้อยางเหล่านี้ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์มี 3 แห่ง ได้แก่ บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด บริษัท ศรีตรังแอโกอินดัสทรี จำกัด(มหาชน) สาขาบุรีรัมย์ และบริษัท ละหานทรายรับเบอร์ แอนด์ ลาเท็กซ์ จำกัด

ตั้งแต่จัดตั้งเป็นสหกรณ์ฯโนนสุวรรณ มา 20 ปี สามารถดูแลพี่น้องชาวสวนยางพาราในพื้นที่รับผิดชอบได้ร้อยละ 90 จากทั้งหมด ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 10 อยู่ในความดูแลของพ่อค้าคนกลางข้างนอก อีกทั้งยังให้ความดูแลในเรื่องของปัจจัยการผลิตยางพาราให้แก่สมาชิก คือ ปุ๋ยเคมี และสารเคมีต่างๆ ที่ใช้ในการบำรุงสวนยางพารา

โดยให้เป็นเครดิตแก่เกษตรกรสวนยางนำปัจจัยการผลิตเหล่านี้ไปใช้ก่อน เมื่อถึงช่วงเปิดกรีดยางและขายผลผลิตได้แล้วค่อยนำเงินมาคืนให้ทางสหกรณ์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การปันผลก็จะปันผลให้ปีละ 1 ครั้ง

การปันผลก็จะปันผลให้ปีละ 1 ครั้ง หลังจากปิดบัญชีในเดือน ก.พ.แล้ว เดือน มิ.ย.ก็จะปันผลให้กับสมาชิก โดยจะคิดจากผลกำไรของสหกรณ์ในรอบปี สมาชิกแต่ละคนก็จะได้ปันผลเฉลี่ยคืนตามหุ้นและธุรกิจของตนเอง ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละราย

7. ยางเครป หลังรีดเสร็จ จาก เครื่องรีดยาง ช่วยเพิ่มมูลค่า ราคายาง
7. ยางเครป หลังรีดเสร็จ จาก เครื่องรีดยาง ช่วยเพิ่มมูลค่า ราคายาง

ประวัติสหกรณ์กองทุนสวนยางโนนสุวรรณ

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งสหกรณ์ฯโนนสุวรรณ คือ ต้องการเพิ่มมูลค่าน้ำยางพาราช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่ ให้มีรายได้ในครัวเรือนเพิ่มขึ้นเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม ด้วยการแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควันชั้น 3 และ ยางเครป

โดยมีกรมส่งเสริมสหกรณ์เข้ามาดูแลการดำเนินการจัดตั้งเป็นกลุ่มเกษตรกร สมาชิกเริ่มแรกตอนก่อตั้งสหกรณ์เริ่มแรก เป็นพี่น้องชาวสวนยางในพื้นที่ละแวกใกล้เคียงจำนวน 52 คน  ราคาหุ้นเริ่มแรกหุ้นละ 10 บาท สมาชิกแรกเข้าต้องซื้อหุ้นตั้งแต่ 50 หุ้น ขึ้นไป รวมเงินทั้งหมดจากหุ้นสมาชิกตอนนั้น 3-5  หมื่นบาท ปัจจุบันสหกรณ์ฯ มีสมาชิกมากกว่า 700 คน มีมูลค่าหุ้นทั้งหมด 11 ล้านบาท

ต้นทุนงบประมาณในการดำเนินกิจการของสหกรณ์

งบประมาณในการดำเนินกิจการของสหกรณ์ได้มาจาก 4 หน่วยงาน ได้แก่

  1. เป็นเงินทุนของทางสหกรณ์เอง
  2. เป็นเงินส่งเสริมสนับสนุนจาก กยท.
  3. เป็นเงินกู้ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ และ
  4. ได้รับเงินสนับสนุนมาจากงบประมาณของจังหวัดบุรีรัมย์ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มอบให้

นอกจากนี้สหกรณ์ฯโนนสุวรรณยังเข้าร่วมโครงการสนับสนุนสินเชื่อให้สถาบันเกษตรกรเพื่อแปรรูปยางพารา  เพื่อแก้ปัญหายางพาราทั้งระบบ ด้วยงบประมาณ 5,000 ล้านบาท  และทางสหกรณ์ฯได้รับการอนุมัติเงินมา 14 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 เพื่อนำมาปรับปรุงและสร้างอาคารในสหกรณ์เพิ่มขึ้น และนอกเหนือจากนี้ยังได้รับเงินทุนหมุนเวียนอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1% วงเงินกู้ 10,000 ล้านบาท และ 1,500 ล้านบาท

ผลิตภัณฑ์ของสหกรณ์ฯโนนสุวรรณที่ผลิตตอนนี้ ได้แก่ ยางเครป และยางแผ่นรมควัน โดยรับซื้อน้ำยางสดจากสมาชิกมาทำยางแผ่นรมควัน และซื้อยางก้อนถ้วยจากสมาชิกมาทำ ยางเครป โดยจะรับซื้อในช่วงที่เปิดกรีดยางพารา คือ ตั้งแต่เดือน พ.ค.-ก.พ. ของปีถัดไป และงดการรับซื้อในช่วงปิดกรีดในหน้าแล้ง ตั้งแต่เดือน มี.ค.- เม.ย. นอกจากนี้ยังเป็นผู้ขายน้ำยางสดให้โรงงานรับซื้อน้ำยางในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดชลบุรี อีกด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โรงงานที่ชลบุรีเป็นโรงงานผลิตน้ำยางข้น สาเหตุที่ต้องไปส่งไกลถึงชลบุรีเพราะในพื้นที่ใกล้เคียงไม่มีโรงงานทำน้ำยางข้นเลย เวลาขนส่งก็จะใช้รถของสหกรณ์เอง บางครั้งก็เป็นรถข้างนอกที่ไปจ้างมา ค่าขนส่งตกเดือนละ 50,000 บาท

อาคาร : ของสหกรณ์ฯโนนสุวรรณมี 3 อาคาร อาคารแรกได้รับเงินสนับสนุนจาก สกย. อาคารที่ 2 ใช้เงินกู้จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ งบประมาณ 3,200,000 บาท และอาคารที่ 3 ใช้งบประมาณ 3,500,000 บาท จากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งอาคารที่ 1 และอาคารที่ 2 เอาไว้รีดแผ่นยางรมควัน

ส่วนอาคารที่ 3 จุดประสงค์เดิม คือ เอาไว้ทำโรงอัดก้อน และตอนนี้มีเครื่องอัดก้อนแล้ว เพียงแต่รอความพร้อมในการดำเนินการเท่านั้น แต่ตอนนี้ใช้เป็นอาคารเก็บยางแผ่นรมควัน และเก็บปุ๋ยเคมีไว้ให้สมาชิกซื้อไปใช้ในสวนยางพาราไปก่อน ส่วนห้องรมควันมีทั้งหมด 5 ห้อง แต่ละห้องมีขนาดกว้าง 15 เมตร และยาว 20 เมตร

คนงาน : ตอนนี้แบ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในออฟฟิตมี 10 คน แรงงานรายวันอีก 10 คน และแรงงานรับเหมาอีก 80 คน รวมแรงงานคนในสหกรณ์ทั้งหมดมี 100 คน

เชื้อเพลิง : ที่ใช้ในการอบยางตอนนี้ใช้ฟืนที่รับซื้อจากชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง โดยชาวบ้านจะนำท่อนไม้มาจำหน่ายให้สหกรณ์ฯ ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้มะขาม ราคาที่ซื้อจะแยกตามประเภทของเนื้อไม้ ถ้าเป็นไม้เนื้อแข็งจะให้ราคา 800 บาท/ตัน ไม้เนื้ออ่อนราคา 650 บาท/ตัน และไม้เนื้อผสมราคา 700 บาท/ตัน  ปริมาณฟืนที่ใช้ในแต่ละวัน ถ้าในช่วงแรกของการเปิดกรีดยาง คือ ต้นฝนจะใช้ในปริมาณมาก เฉลี่ยแล้วใช้ฟืนวันละ 2 ตัน 

ปัญหาและการแก้ไขปัญหา

เนื่องจากสหกรณ์ฯโนนสุวรรณมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี นั่นหมายความว่าจะมีปริมาณยางพาราป้อนสหกรณ์เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ในขณะที่เครื่องไม้ เครื่องมือ เครื่องจักร ของสหกรณ์ยังมีเท่าเดิม ฉะนั้นทางสหกรณ์จะไม่สามารถแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควันและ ยางเครป ให้ทันกับปริมาณยางพาราจากสมาชิกที่ป้อนเข้าสหกรณ์ได้เลย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปัญหาตอนนี้ คือ เตาอบไม่เพียงพอ ระยะเวลาการอบยางยังไม่สามารถลดระยะเวลาการอบลงได้ ตอนนี้ต้องใช้เวลาอบ 4 วัน ถ้าลดเวลาเหลือประมาณ 3 วัน ก็จะสามารถรองรับปริมาณน้ำยางจากสมาชิกได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำเพิ่มในอนาคต คือ สร้างโรงอบยางเพิ่มขึ้น ต้องหาวิธีการหรือเทคโนโลยีในการประหยัดเชื้อเพลิงในการอบยางให้ประหยัดได้มากที่สุด

อีกทั้งปัญหาในเรื่องของ ราคายาง ที่ตกต่ำ ผันผวน ไม่มีเสถียรภาพ  นอกจากนี้ยังพบปัญหายางก้อนถ้วยสอดไส้ เช่น ดิน ทราย เพื่อให้ได้น้ำหนักยางมากขึ้น ทางสหกรณ์เองก็มีมาตรการในการรับมือ โดยการสุ่มตรวจก้อนยางด้วยการใช้เลื่อยผ่าก้อนยางดู หากพบก็จะเตือนสมาชิกให้ปรับปรุง หากเตือนแล้วยังพบอีกก็จะงดรับซื้อยางจากสมาชิกคนนั้น

8.คุณสมปอง-ชำนิจ-ประธานสหกรณ์กองทุนสวนยางโนนสุวรรณและคนงานในสหกรณ์ฯ
8.คุณสมปอง-ชำนิจ-ประธานสหกรณ์กองทุนสวนยางโนนสุวรรณและคนงานในสหกรณ์ฯ

ทิศทางและแผนการผลิตในอนาคต

ในอนาคตมีแนวความคิดที่จะเพิ่มการผลิตสินค้าตัวใหม่ 2 ชนิด ได้แก่ ยางอัดก้อน หรือยางลูกขุน และโรงงานผลิตน้ำยางข้น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม จากที่เคยไปดูงานตามโรงงานต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ และทางภาคใต้ ที่ทำยางลูกขุน ก็ทำให้มีความคิดว่าทำไม่ยาก เพียงนำยางแผ่นรมควันมาวางซ้อนๆ กัน แล้วใช้เครื่องกดทับไม่กี่นาทีก็เป็นยางลูกขุน สามารถเพิ่มมูลค่ายางแผ่นรมควันได้หลายบาท

ส่วนการทำน้ำยางข้นนั้นยังต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดถี่ถ้วน เพราะว่าการลงทุนทำโรงงานน้ำยางข้นต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง และคาดว่าต้องใช้เงินลงทุนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท หากทำไปแล้วต้องมีตลาดรองรับ และสามารถขายได้ในระยะยาว

ส่วนยางแผ่นรมควันตอนนี้กำลังศึกษาข้อมูลการขอมาตรฐาน GMP เพื่อยกระดับมาตรฐานยางแผ่นรมควันให้ได้มาตรฐาน GMP เมื่อได้มาตรฐานนี้มาแล้วจะสามารถขายยางแผ่นรมควันได้ราคาดี และเป็นที่ต้องการของโรงงานรับซื้อมากขึ้น

9.ภาพภายในสหกรณ์กองทุนสวนยางโนนสุวรรณ
9.ภาพภายในสหกรณ์กองทุนสวนยางโนนสุวรรณ

ฝากถึงพี่น้องชาวสวนยางพาราและรัฐบาลในช่วงที่ ราคายาง ตกต่ำ

ในช่วงที่ ราคายาง ตกต่ำ เกษตรกรชาวสวนยางต้องปรับตัวรับสภาพของการเปลี่ยนแปลงให้ได้ในเบื้องต้น ต้องหาวิธีการลดต้นทุนการผลิต เช่น เลือกใช้ปุ๋ยที่ดี มีคุณภาพ ราคาไม่สูงมากนัก และต้องหมั่นรักษาคุณภาพให้สม่ำเสมอ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะสามารถชดเชยและพยุง ราคายาง ได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

และฝากถึงรัฐบาลช่วงที่ ราคายาง ตกต่ำ ที่ผ่านมา กยท. ส่งเสริมเรื่องการให้ความรู้เกษตรกรมาตลอด การที่สหกรณ์ก็เกิดขึ้นได้ก็เพราะมี กยท.ที่ส่งเสริม ตั้งแต่การปลูก การแปรรูป นโยบายต่างๆ เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางพารา และทางสหกรณ์เองก็เห็นชอบให้ความร่วมมือมาโดยตลอด

ทางสหกรณ์ฯโนนสุวรรณต้องการให้ภาครัฐดูแลในเรื่อง ราคายาง ให้มีเสถียรภาพมากขึ้น ถ้า ราคายาง อยู่ระหว่าง 60-80 บาท ทางสหกรณ์และพี่น้องชาวสวนยางก็พอใจแล้ว และอยากให้ กยท..มาอบรมการดูแลรักษาต้นยางให้ถูกวิธี การกรีดยางที่ถูกวิธีโดยไม่ทำให้หน้ายางเสีย เป็นต้น รวมถึงอยากให้หาตลาดรับซื้อยางพาราที่มีประสิทธิภาพให้อย่างจริงจัง เครื่องรีดยาง เครื่องรีดยาง เครื่องรีดยาง เครื่องรีดยาง เครื่องรีดยาง เครื่องรีดยาง เครื่องรีดยาง

สรุปแล้วสหกรณ์ฯโนนสุวรรณ คาดว่าจะสามารถดึงน้ำยางสดจากสมาชิกมาทำ ยางเครป และยางแผ่นรมควันชั้น 3 ในแต่ละปี ได้อย่างละมากกว่า 2,500 ตัน และคาดว่าในแต่ละปีจะผลิต ยางเครป ได้มากกว่า 600 ตัน และผลิตยางแผ่นรมควันชั้น 3 ได้ประมาณ 4,500 ตัน สามารถเพิ่มมูลค่ายางได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5-6 บาท

อีกทั้งช่วยให้เกษตรกรได้ซื้อปุ๋ยเคมีและสารเคมีจากสหกรณ์ฯใน ราคายาง ที่ยุติธรรม เมื่อนำน้ำยางสดและยางก้อนถ้วยมาขายจะให้ทางสหกรณ์จะได้ราคาน้ำยางสดและยางก้อนถ้วยที่เป็นธรรม และที่สำคัญสมาชิกจะได้เงินปันผลทุกๆ ปี เครื่องรีดยาง เครื่องรีดยาง เครื่องรีดยาง เครื่องรีดยาง เครื่องรีดยาง เครื่องรีดยาง เครื่องรีดยาง เครื่องรีดยาง

หากท่านใดสนใจข้อมูลการทำ ยางเครป และยางแผ่นรมควัน เพื่อเพิ่มมูลค่ายางก้อนถ้วยและยางแผ่นรมควัน ในรูปแบบสหกรณ์ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สหกรณ์กองทุนสวนยางโนนสุวรรณ เลขที่ 109 ต.ดงอีจาน อ.โนนสุวรรณ จ.บุรีรัมย์ 31110 โทร. 089-845-8405 E-mail : [email protected]  Facebook : สหกรณ์กองทุนสวนยางโนนสุวรรณ จำกัด

สนับสนุนข่าวโดย บริษัท ยิปต้า จักรกลการเกษตร เทรดดิ้ง จำกัด อาคารเลขที่ 69/1 ม.9 ต.โคกสะอาด อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000 โทร 081-717-7127

โฆษณา
AP Chemical Thailand