ไม้พาเลท อนาคต ไม้ยางไทย 11.5 ล้านตัน ( ปลูกยางต้องอ่าน! )

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ไม้พาเลท อนาคต ไม้ยางไทย 11.5 ล้านตัน (ปลูกยางต้องอ่าน!)

หรือไม่ว่า โค่นต้นยาง 1 ไร่ จะได้ “ไม้ท่อน” ที่นำไปใช้ประโยชน์ เพียง 50%

ที่เหลือ อีก 50% คือเศษไม้ กิ่งไม้ และขี้เลื่อย ถือเป็นไม้เสียหรือไม้ทิ้ง (Waste) ส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมไม้อัด MDF  (Medium Density Fiber Board) และ ปาร์ติเกิ้ลบอร์ด (Particle Board) เป็นต้น

ปกติประเทศไทยมีการโค่นต้นยางไม่เกินปีละ 300,000 ไร่

หากแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมโค่นต้นยางเพิ่มเป็นปีละ 500,000 ไร่ เพื่อลดปริมาณการผลิตยางของประเทศหวังแก้ปัญหา “ซัพพลายยาง” ล้นตลาด ให้ราคายางพาราดีดตัวสูงขึ้น

ปัญหาต่อเนื่องแบบ “ลูกระนาด” ก็คือ ปริมาณไม้ยางที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิม 200,000 ไร่ “แผลงฤทธิ์เดช” ทำให้ไม้ยางล้นความต้องการ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ก่อนจะฉุดกระชากราคาไม้ยางตกต่ำ จากราคา 3 บาท/กก. เหลือเพียง 1.60 บาท/กก. พร้อมๆ กับการเพิ่มขึ้นของเศษไม้เหลือทิ้ง ประมาณ  11.6 ล้านตัน จนเกิดความต้องการของอุตสาหกรรมไม้บอร์ด

ผลก็คือ เศษไม้ยางราคาร่วงระนาว จนแทบไม่มีราคา

“ปกติหน้าโรงงานเปิดรับซื้อไม้พวกนี้ กก.ละเกือบ 1 บาท หรือตันละ 800-900 บาท แต่ตอนนี้ปริมาณเยอะมาก ราคาซื้อแค่ 350 บาท/กก. เฉพาะค่าขนส่งก็ตันละ 300 บาทแล้ว เท่ากับว่าขายแทบไม่ได้อะไรเลย ถ้าไม่ขายโรงเลื่อยก็ไม่มีที่เก็บ”

นายสุทิน พรชัยสุรีย์ เจ้าของโรงเลื่อย บริษัท เขามหาชัยพาราวู้ด จำกัด สะท้อนวิกฤติราคาไม้ยางยุคนี้

คำนวณตัวเลขคร่าว วันนี้อุตสาหกรรมไม้ยางมีเศษไม้เหลือทิ้งประมาณ 11.6 ล้านตัน/ปี

หากแต่ขยะจากโรงเลื่อยยังพอมีความหวังอยู่เล็กน้อย เมื่อ เศษไม้ยางเหล่านี้ เมื่อนำไปสับ เป็น “ไม้ชิป” (Wood Ship)  จะเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลอย่างดี ของ โรงไฟฟ้าชีวมวล (Biomass) ซึ่งยุคหนึ่งได้รับการส่งเสริมอย่างมีอนาคตในพื้นที่ภาคใต้ แหล่งใหญ่ของพื้นที่ปลูกยางของประเทศ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่เมื่อ โรงไฟฟ้าทุกประเภทถูกต่อต้านจากประชานในพื้นที่ ขณะที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ไม่เพิ่มระบบสายส่งรองรับ หนักกว่านั้นนโยบายภาครับไม่สนับสนุนชัดเจน โรงไฟฟ้าชีวมวลในภาคใต้จึง “แท้ง” ตั้งแต่ยังไม่เกิด

“สับสวิตซ์” อนาคตไม้ยางจนมืดมิด

จนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว วงการอุตสาหกรรมไม้ยาง มีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้ง ภายหลังจาก ประเทศเกาหลีใต้ ประกาศซื้อ “ไม้ยางอัดเม็ด) (Wood Pellet) จากไม้ยาง ราคา 170 เหรียญ/ตัน หรือ 5,000-6,000 บาท/ตัน

ไม้อัด ปาร์ติเกิ้ลบอร์ด
ไม้อัด ปาร์ติเกิ้ลบอร์ด

ไล่หลังจากเกาหลีไม่นาน ประเทศที่ประสบปัญหาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่าง ญี่ปุ่น หันมาสนับสนุนโรงไฟฟ้าชีวมวล เตรียม “ยกขันหมาก” มาขอซื้อ ไม้พาเลท จากไทยเช่นเดียวกัน

อุตสาหกรรมไม้ยาง “ถูกหวย” เตรียมรวยกันอย่างไม่ต้องสงสัย

โรงเลื่อยหลายแห่ง จึงลงทุนสร้างโรงงานผลิตไม้ยางอัดเม็ดขนาดใหญ่หลายแห่ง ลงทุน โรงละไม่ต่ำกว่า 200-300 ล้านบาท ยังไม่รวมโรงผลิตขนาดกลางและขนาดเล็กอีกนับไม่ถ้วน ทั้งหมด “ปูทางส่งออก” ไปที่ญี่ปุ่นและเกาหลี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่ดูเหมือนไม้ยางจะ “ทำบุญมาน้อย” เมื่อเกาหลี กดราคา ไม้พาเลท เหลือ 100 เหรียญ/ตัน ไม่คุ้มค่ากับการผลิตและขนส่ง

ซ้ำด้วยญี่ปุ่น กลับคำไม่ซื้อ ไม้พาเลท จากไม้ยาง เพียงเพราะไม่อยู่ในระบบของไม้เศรษฐกิจสากล ที่ต้องผ่านรับรองการปลูกหมุนเวียนอย่างยังยืน ตามมาตรฐานของ FSC ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกับที่ไม้ยางถูกกีดกันจากกลุ่มประเทศยุโรป

นี่คือ “วิกฤติ” ที่กำลังจะพัฒนาสู่ “จุดตกต่ำ” ของไม้ยาง

อนาคตของอุตสาหกรรมไม้ยางจะดำเนินไปในทิศทางใด จะก้าวเข้าสู่ “ทางตัน” หรือค้นพบ “ทางออก” และถ้าจะแก้วิกฤตินี้จะต้องทำอย่างไร ยางเศรษฐกิจฉบับต้อนรับปีวอก 2559 นี้มีคำตอบ

ผลิตไม้ชิปจาก กิ่งและรากยาง ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศ
ผลิตไม้ชิปจาก กิ่งและรากยาง ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศ

เศษไม้ยาง ชีวมวลต้นทุนต่ำ พลังงานสูง

ไม้ยางพาราเมื่อมีอายุถึง 20 -25 ปีจะถูกตัด เพื่อปลูกใหม่ ไม้ยางพาราที่ถูกตัดจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ รากหรือตอไม้ ปลายไม้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้วลงมา

และไม้ท่อนมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้วขึ้นไป ไม้ท่อนจะถูกตัดให้ได้ความยาว1.05ม.เพื่อส่งโรงเลื่อย และโรงงานเฟอร์นิเจอร์ซึ่งจะได้เศษไม้หลายแบบคือ ปีกไม้ ตาไม้(ส่วนที่มีตำหนิ) ขี้เลื่อย และขี้กบ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ส่วนที่นำไปใช้ ปีก ไม้และขี้เลื่อย จะหาได้จากโรงเลื่อยไม้ยางพารา ตาไม้และขี้กบ จะหาได้จากโรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ปลายไม้และรากไม้ จะหาได้จากสวนยางพารา

การนำไปใช้งาน ในส่วนของขี้เลื่อยจะนำไปเพาะเห็ด ทำธูป ใช้คลุมเผาถ่าน เศษไม้อื่นๆจะนำไปเป็นเชื้อเพลิง สำหรับโรงบ่มยางพารา เผาถ่าน ใช้ในขบวนการผลิต ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับ ไม้อัดยางพารา (Plywood) Medium densityboard และ Chip board นอกจาก นี้ยังนำไปใช้ในงานก่อสร้าง เช่นเสาเข็ม ใช้ทำเป็น ไม้พาเลท ลังไม้ เป็นต้น

จุดเด่น ยังมีเศษไม้ยางพาราคือ รากไม้ และกิ่งไม้ เหลืออีกมากที่ยังไม่ได้นำไปใช้งาน

จุดด้อย มีขนาดใหญ่ และถ้าเป็นเศษไม้สดจะมีความชื้นค่อนข้างสูง ประมาณ 50 % ประสิทธิภาพในการเผาไหม้จึงไม่ค่อยสมบูรณ์ ดังนั้นอาจจะต้องเพิ่มขบวนการย่อยและลดความชื้นก่อนนำไปเผา

 

รัฐไม่ ไฟเขียว โรงไฟฟ้าชีวมวล อนาคตที่มืดมิดของไม้ยาง

2 ปีก่อน โรงไฟฟ้าชีวมวล ถูกหยิบขึ้นมาเป็นทางแก้วิกฤติไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ เมื่อมีความต้องการไฟฟ้าสูงสุด 2,468 เมกะวัตต์ แต่มีกำลังผลิตเพียง 2,359 เมกะวัตต์ ขณะที่โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน มีแนวโน้มสะดุด เพราะถูกต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่

โรงไฟฟ้าชีวมวล ที่ใช้เชื้อเพลิงจากผลผลิตเหลือให้ทางการเกษตรในภาคใต้ อย่าง เศษไม้ยาง คือ หนึ่งในทางออก โดยมีนักลุงทุนหลายรายในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้สนใจ มีกำลังผลิตรวมมากกว่า 100 เมกะวัตต์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จากการประเมินความพร้อมเรื่องวัตถุดิบไม้ยางในพื้นที่ภาคใต้ มีเพียงพอ สำหรับป้อนโรงไฟฟ้าในระยะยาว โดยไม่ต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนสาธารณูปโภคเพิ่มเติม

กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ให้ข้อมูลว่า ภาคอุตสาหกรรมมีความพยายามในการนำเศษเหลือทิ้งจากไม้ยาง ซึ่งมีค่า (Feed stock) สำหรับผลิตพลังงานทดแทนสูง นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวล และผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งส่งออก ซึ่งคาดว่าจะมีเชื้อเพลิงจากเศษไม้ยางสำหรับป้อนโรงไฟฟ้าอีกปีละกว่า 10 ล้านตัน/ปี

ทั้งนี้โรงไฟฟ้าขนาด 1 MW จะใช้เชื้อเพลิงชีวมวลประมาณ 10,000 ตัน/ปี ดังนั้น เศษไม้ยางในภาคใต้มีเหลือพอสำหรับโรงไฟฟ้า 1,000 MW

ข้อดีของการนำเศษไม้ยางมาเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล จะสร้างรายได้อีกทางให้เกษตรกรชาวสวนยาง โดยเฉพาะภาคใต้ ซึ่งปลูกยางกว่า 11 ล้านไร่ และเป็นต้นยางที่เริ่มหมดอายุกว่าปีละ 500,000 ไร่ เพื่อปลูกต้นใหม่ทดแทน

การตัดต้นยางตามอายุมีข้อดี คือ ลดปริมาณน้ำยางส่วนเกินและช่วยรักษาเสถียรภาพราคายาง เมื่อต้นยางหมดอายุ และให้น้ำยางน้อย จึงจำเป็นต้องตัด ก่อนหน้านี้เป็นภาระของเจ้าของสวนยางต้องว่าจ้างให้คนมาตัดเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 2,000 บาท/ไร่ ปัจจุบันเจ้าของโรงเลื่อยต้องรับภาระการตัดและซื้อต้นยางดังกล่าวไร่ละ 30,000 – 40,000 บาท/ไร่

สำหรับเศษเหลือทิ้งจากไม้ยางพารา อาทิ ราคากิ่งไม้ทำฟืนราคา 700 บาท/ตัน ปีกไม้ราคา 500 บาท/ตัน ไม้แปรรูปราคา 2,300 บาท/ตัน ขี้เลื่อยราคา 700 บาท/ตัน และ รากไม้ตันละ 400 บาท/ตัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่ปัญหาใหญ่ของโรงไฟฟ้าชีวมวลภาคใต้คือ รัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนเรื่องนโยบายรับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากกลุ่มชีวมวลมากขึ้น ซึ่งจะเป็นหลักประกันระยะยาวของการลงทุน

อีกปัญหาคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ยังไม่มีความพร้อมวางระบบสายส่งไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ และปัญหาที่ทำให้โรงไฟฟ้าชีวมวลไม่เกิดในภาคใต้

กิ่งไม้ยาง นำไปบดเป็นขี้เลื่อย ผลิตเป็น Wood Pellet
กิ่งไม้ยาง นำไปบดเป็นขี้เลื่อย ผลิตเป็น Wood Pellet

โรงไฟฟ้าชีวมวล อ่วม ขายทิ้งเลหลัง

ขณะเดียวกันโรงไฟฟ้าชีวมวลในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ กำลังประสบปัญหาต้นทุนเชื้อเพลิงมีราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิตไฟฟ้าชีวมวลขาดทุน และเตรียมประกาศขายทิ้งกว่า 10 โรง

เรื่องนี้ถูกเปิดเผยโดย นายนที สิทธิประศาสน์ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เขาให้ข่าวว่า ขณะนี้กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าชีวมวลประสบปัญหาอย่างหนัก จนบางโรงต้องตัดปัญหาด้วยการประกาศขายโรงไฟฟ้า ราคา 500-1,000 ล้านบาท/โรง ส่วนใหญ่เป็นโรงไฟฟ้าที่เดินเครื่องผลิตไฟฟ้ามาแล้วประมาณ 10 ปี

สาเหตุหลักมาจากหลายปัจจัย เช่น

1.วัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น เช่น ราคาแกลบจากช่วงเริ่มต้นโครงการมีราคาที่ประมาณ 400 บาท/ตัน ราคาขยับขึ้นมาตั้งแต่ระดับ 1,200 บาท/ตัน จนถึง 2,000 บาท/ตัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

2.แต่ละพื้นที่ไม่มีการกำหนดโซนนิ่ง (Zoning) ทำให้บางพื้นที่มีการขอสร้างโครงการเพิ่มเติมเข้ามามาก เมื่อมีการอนุมัติโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กมาก หรือ VSPP เพิ่มเติม ทำให้ผู้ประกอบการแย่งวัตถุดิบ จนต้องสั่งซื้อจากพื้นที่อื่นเข้ามา รวมถึงกลุ่มโรงสีข้าวที่เคยขายแกลบให้ กลับมาลงทุนก่อสร้างทำโรงไฟฟ้าแทนเพราะมีวัตถุดิบของตัวเอง

3.การกำหนดสูตรราคารับซื้อที่ไม่ได้อิงตามต้นทุนจริง และโรงไฟฟ้าชีวมวลแต่ละประเภทมีต้นทุนที่แตกต่างกัน เช่น ในช่วงเริ่มต้นโครงการภาครัฐใช้สูตรอิงจากราคาน้ำมันเตา จากนั้นปรับสูตรใหม่เป็นอิงกับราคาก๊าซธรรมชาติ ถัดมาคืออิงกับราคาถ่านหิน ล่าสุดอิงกับราคาค่าไฟฟ้าที่จำหน่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งความเป็นจริงราคาแกลบ เศษไม้หรือทะลายปาล์มไม่สามารถอิงกับราคาเหล่านี้ได้

เขาบอกว่า ภาครัฐไม่ได้ดูความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ว่าควรมีโรงไฟฟ้าจำนวนเท่าไร ควรกำหนดให้โรงไฟฟ้าซื้อวัตถุดิบในระยะไม่เกิน 200 กิโลเมตร ไม่ดูดีมานด์ ซัพพลายในพื้นที่ อย่างแกลบปัจจุบันมีอยู่ 7 ล้านตัน/ปีเท่านั้น แต่กลับอนุมัติโครงการใหม่ๆ เข้ามาในพื้นที่มากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลางและภาคอีสาน

“ตอนนี้หันมาสั่งซื้อทะลายปาล์มเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงแทนแกลบ และเมื่อหลายๆ โรงหันมาซื้อทะลายปาล์มมากขึ้น ราคาก็จะปรับเพิ่มขึ้น ปัญหาก็จะขยายวงไปสู่เชื้อเพลิงอื่น บางโรงตอนนี้หยุดเดินเครื่องก็มี ในบางรายก็ต้องเดินเครื่องแบบขาดทุน”

 

ไม้พาเลท อนาคตใหม่เศษไม้ยาง

เมื่อโรงไฟฟ้าในประเทศไม่เกิด เศษไม้ยางจำนวนมากจึงล้นตลาด ราคาจึงตกต่ำ และรากยาวลงไปถึงราคาซื้อไม้ยางจากสวนยางของเกษตรกร จากไร่ละ 30,000-40,000 บาท ปัจจุบันเหลือเพียงไร่ละ 20,000 บาทเท่านั้น

แนวทางหนึ่งซึ่งมีความสดใสไม่น้อย คือ การนำเศษไม้ยางไปย่อยแล้วอัดแท่ง ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าชีวมวล ในต่างประเทศมีการใช้เชื้อเพลิงประเภทนี้มาหลายสิบปีแล้ว และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในช่วงเกือบสิบปีที่ผ่านมา มีประเทศแคนาดาเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ ปีละ 22 ล้านตัน  ขณะที่ประเทศไทยมีศักยภาพผลิต 3 ล้านตัน/ปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การโตของ ไม้พาเลท ได้รับแรงผลักดันจากกฎเกณฑ์ของหลายประเทศที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy)

ยกตัวอย่างเช่น สหภาพยุโรปที่กำหนดเป้าหมายให้การบริโภคพลังงานขั้นสุดท้ายมาจากพลังงานหมุนเวียนร้อยละ 20 ภายในปี 2563 เป็นต้น ทั้งนี้ จุดเปลี่ยนสำคัญมาจากพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ต่อท้ายอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ซึ่งกำหนดให้ประเทศที่ลงนามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับระดับในปี 2533

ทวีปเอเชีย มีการใช้เชื้อเพลิงไม้อัดแท่งทั้งในการผลิตไฟฟ้า และการทำความร้อน ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน โดยมีจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เป็นประเทศผู้บริโภคสำคัญ

อย่างไรก็ตาม จีนเป็นประเทศที่ผลิตเชื้อเพลิงไม้อัดแท่งเพื่อใช้ในประเทศเป็นส่วนใหญ่  ทำให้มีการนำเข้าจากต่างประเทศต่ำ

เชื้อเพลิงไม้อัดแท่งเป็นเชื้อเพลิงประเภทหนึ่งที่ผลิตจากขี้เลื่อยหรือเศษไม้ยางมาบดให้เป็นผงละเอียด จากนั้นนาไปอบแห้งเพื่อลดค่าความชื้น แล้วนามาเข้าเครื่องอัดโดยใช้แรงดันสูง เพื่อให้สารลิกนินในเนื้อไม้ละลายออกมา ส่งผลให้ไม้เกาะติดกัน

ข้อดีของเชื้อเพลิงไม้อัดแท่ง ได้แก่ ความสะดวกในการขนส่ง การปล่อยขี้เถ้าน้อยกว่าถ่านหิน การให้พลังงานความร้อนสูง (ประมาณ 4,500 กิโลแคลลอรีต่อกิโลกรัม) และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ต่ำ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ธุรกิจการผลิตเชื้อเพลิงไม้อัดแท่งในไทย ผลิตจากขี้เลื่อยและเศษไม้จากไม้ยางเป็นวัตถุดิบสำคัญ และเป็นธุรกิจที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา โดยถูกมองว่าเป็นธุรกิจที่มีอนาคต ทำให้มีผู้ประกอบการสนใจที่จะลงทุนมากขึ้น ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการประมาณ 20 ราย คาดว่าในปี 2558 จะมีโรงงานเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว

ทั้งนี้แรงดึงดูดสำคัญมาจากความต้องการของประเทศเกาหลีใต้ ที่สั่งซื้อเชื้อเพลิงไม้อัดแท่งจากไทยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากโรงไฟฟ้า ซึ่งเป็นภาคส่วนที่ใช้เชื้อเพลิงไม้อัดแท่งมากที่สุดได้รับเครดิตการใช้เชื้อเพลิงชนิดนี้ค่อนข้างสูง และสูงกว่าเชื้อเพลิงหลายประเภท ซึ่งช่วยให้ดำเนินงานตามเกณฑ์ Renewable Portfolio Standard (RPS)1 ได้ง่ายขึ้น ประกอบกับการผลิตในประเทศไม่ เกาหลีใต้นำเข้าเชื้อเพลิงไม้อัดแท่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 300

 

ชีวมวลในประเทศตัน ต้องเร่งส่งออกในรูป ไม้พาเลท

นายสุทิน พรชัยสุรีย์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันปริมาณไม้ยางพาราที่ล้นระบบแต่ไม่สามารถพัฒนาโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ใช้เศษไม้เป็นเชื้อเพลิงได้ เนื่องจากติดปัญหา 3 ประเด็น คือ

1.ประชาชนในพื้นที่ต่อต้านโรงไฟฟ้าทุกประเภท

2.ปัญหาสายส่งของระบบจำหน่ายไม่พอรองรับ แม้ว่าจะมีการทำหนังสือขอผลิตไฟฟ้าไปยัง กฟผ. และ กฟภ. แต่ไม่มีการรับรองโครงการในช่วงที่ผ่านมา

3.ผังเมืองใหม่ระบุว่าไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าทุกประเภทโดยเฉพาะในพื้นที่มี ศักยภาพ เช่น จ.นครศรีธรรมราช ทำให้ไม่สามารถพัฒนาโครงการได้ ขณะนี้อยู่ในระหว่างแก้ไขผังเมืองเพิ่มเติม คาดว่าจะใช้เวลานาน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งแก้ไขปัญหา

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากนี้ผู้ประกอบการไม้ยางยังเจอปัญหาจากนโยบายให้เกษตรกรผู้ปลูกยางไล่ตัดไม้ ยางทิ้ง และจูงใจด้วยการชดเชยเพิ่มจากกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จากเดิมที่ราคา 16,000 บาท/ตัน ปรับเพิ่มเป็น 26,000 บาท/ตัน ส่งผลให้ปริมาณไม้ยางล้นตลาดและถูกกดราคารับซื้อหน้าโรงงานจากเดิมที่เคยรับ ซื้ออยู่ที่ 900 บาท/ตัน มาอยู่ที่ราคา 330 บาท/ตันเท่านั้น

ภาคอุตสาหกรรมโรงเลื่อยไม้เอง พยายามหาทางออกกับวัตถุดิบมหาศาลเหล่านี้ โดยตั้งความหวังไว้กับการสนับสนุนโรงไฟฟ้าชีวมวลในภาคใต้ ที่ใช้เศษไม้ยางเป็นวัตถุดิบ เพราะโรงไฟฟ้าขนาด 9 เมกะวัตต์ จะใช้เศษไม้ประมาณ 350 ตัน/วัน แต่ก็ไม่เกิดเพราะนโยบายรัฐที่ไม่ชัดเจน และไม่มีความพร้อม  เรื่องสายส่ง

ขณะที่โรงฟ้าที่เกิดขึ้นอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ จะใช้ไม้ในโซนนั้น ซึ่งกำลังการผลิตต่ำ ใช้ไม้น้อยมาก

แต่แหล่งไม้ยางใหญ่ของประเทศ คือ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กลับไม่มีโรงไฟฟ้าเลย แหล่งที่มีวัตถุดิบกลับไม่มีโรงไฟฟ้า แต่แหล่งที่มีน้อยกลับมีโรงไฟฟ้า อาจจะเป็นเพราะรัฐบาลส่งเสริมให้อุตสาหกรรมไปเกิดที่นั่น

“การผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลในพื้นที่มีศักยภาพสูงมาก แต่ก็มีปัญหามากมายในช่วงที่ผ่านมา ไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาแก้ปัญหาให้ ควรทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่เป้าหมายว่า โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในเมื่อภายในประเทศสามารถผลิตเศษไม้ได้มากก็ควรส่งเสริมให้มีการใช้ผลิต ไฟฟ้ามากขึ้น”

เมื่อไม้ยางโอเวอร์ซัพพลาย โรงไฟฟ้าก็ไม่เกิด แต่เมื่อ 2-3 ปีก่อน เราเริ่มเห็น “แสงแห่งความหวัง” จาก ไม้พาเลท

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เกาหลี เป็นประเทศแรกที่เสนอตัวเข้ามาให้ความสนใจ ประกาศจะซื้อ ไม้พาเลท 175 เหรียญ/ตัน เป็นราคาที่น่าลงทุน คิดแล้ว ใครลงทุนรับทรัพย์มหาศาล

และเมื่อตรวจสอบแล้วว่า เกาหลีมีความต้องการจริง ซื้อจริง หลายโรงงานจึงลงทุนสร้างโรงงาน ไม้พาเลท โรงหนึ่งลงทุน 300-400 ล้าน และโรงขนาดกลางขนาดเล็กอีกหลายโรง ลงทุนกันรวมมูลค่า 1,000 ล้านบาท

แต่ปรากฏว่าโรงงานยังสร้างไม่ทันเสร็จ เกาหลีลดราคาจาก 175 เหลือ 100 เหรียญ/ตัน เกิดการช็อกอย่างแรง เพราะราคาขนาดนี้ทำไม่ได้ ทำก็ขาดทุน

เพราะเขาซื้อเวียดนามได้ราคานี้ เพราะเวียดนามมีการให้สัมปทานป่า (กระถินเทพา) และอยู่ใกล้กว่าไทย ค่าโลจิสติกส์ ต่ำ ทำราคา 100 เหรียญได้ แค่ค่าขนส่งก็ 50-60 เหรียญ/ตัน

 

ญี่ปุ่น ทางเลือกสุดท้ายของ ไม้พาเลท

ไม้ยางเริ่มมีความหวังใหม่อีกครั้งกับ ประเทศญี่ปุ่น มีความต้องการใช้ 6 ล้านตัน/ปี เพราะมีความต้องการใช้ woodpellet ป้อนโรงงานไฟฟ้า เมื่อรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน

โดยเฉพาะชีวมวลที่มีส่วนเพิ่มค่าไฟให้ผู้ผลิตที่ 24 เยน/กิโลวัตต์ หรือ 8 บาท/หน่วย ทำให้มีการนำเข้าเศษไม้ทั้งจากสหรัฐอเมริกาและยุโรปเพื่อผลิตไฟฟ้ามากขึ้น โดยตั้งราคาซื้อจากไทยไว้ 140 เหรียญ เป็นราคาที่พอลงทุนได้ ราคาที่เหมาะสม 140-150 เหรียญ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่ปรากฏว่า ญี่ปุ่นจัดให้การปลูกยางของประเทศไทย ไม่อยู่ในกฎเกณฑ์สากล  ไม่ใช่เป็นการปลูกป่าอย่างยั่งยืนตามระเบียบสากล ของ FSC  (The Forest Stewardship Council ) ไม้ยางไม่เข้าสู่มาตรฐานนี้ เหมือนกับไม้ยางที่ถูกต่อต้านจากตลาดยุโรป ญี่ปุ่น

ปัญหาที่ตามมาคือ เขา ไม้พาเลท ให้ญี่ปุ่นไม่ได้ เพราะโรงไฟฟ้าของญี่ปุ่น รัฐบาลจะให้เงินอุดหนุนเงิน (subsidy) กับโรงไฟฟ้า 24 เยน/กิโลวัตต์/ชั่วโมง หรือเท่ากับ 8 บาท/หน่วย หรือกับที่เราอุดหนุนโซลาร์ฟาร์ม

แต่ถ้าเป็นวัตถุดิบจากไม้ยาง เขาไม่ให้เงินอุดหนุน เนื่องจากไม้ยางไม่มีระบบการปลูกป่ายั่งยืน เขาบอกว่าเราควรต้องมีใบรับรอง ( Certificat) ที่เป็นสากลมารองรับ

ปัญหาที่เราจำเป็นต้องทำก็คือ ทำอย่างไรให้การปลูกยางเข้าไปอยู่ในระบบระเบียบสากล ทางสมาคมผู้ผลิตไม้ยางพาราไทย มีความพยายามประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การยางแห่งประเทศไทย เพื่อหารือปัญหาเรื่องนี้ แต่องค์การนี้ยังเพิ่งเริ่มตั้ง ยังไม่สมบูรณ์

แต่ปัญหาคือ องค์กรของเราเองไม่สามารถรับรองได้ว่าเรายั่งยืน  กยท.เองต้องไปทำให้เกิดมาตรฐานสากล นี่คือสิ่งที่เราต้องประชุมหารือ ว่าจะทำไม้ยางให้เข้าสู่สากลได้อย่างไร

แต่เมื่อมองรูปแบบการผลิตไม้ยางกับไม้เศรษฐกิจของโลก เบื้องต้นเราทำได้ยาก เพราะเสื้อที่ยุโรปใส่กับเราใส่มันคนละไซส์กัน จุดประสงค์การปลูกยางเพื่อเกษตรกรรม ปลูกโดยเกษตรกรไม่มีขบวนการปลูกที่สากลเขายอมรับ เหมือนกับ ISO ของอุตสาหกรรม แต่ของเขาปลูกป่าเพื่อทำเป็นไม้เศรษฐกิจ

โฆษณา
AP Chemical Thailand
นายสุทิน พรชัยสุรีย์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย
นายสุทิน พรชัยสุรีย์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย

นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย เปิดเผยว่า เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2558 ทางกลุ่มได้เดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี

เพื่อใช้การเยือนครั้งนี้เจรจาให้ญี่ปุ่นนำเข้าชีวมวลอัดเม็ด ที่ใช้ไม้ยางเป็นวัตถุดิบ สำหรับการผลิตไฟฟ้า เนื่องจากปัจจุบันกำลังผลิตในประเทศมีศักยภาพสูง เพราะมีการปลูกไม้ยางทั่วประเทศสูงถึง 22 ล้านไร่

และจะมีการโค่นทุกปีที่ 400,000 ไร่ ซึ่งในการโค่นจะมีเศษไม้ประมาณ 11.6 ล้านตัน/ปี และในจำนวนนี้มีการใช้ในประเทศอยู่ที่ร้อยละ 50 ส่วนที่เหลืออีก 5.8 ล้านตัน

ยังไม่มีการใช้ประโยชน์ จึงมองถึงตลาดส่งออกโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น

แต่ญี่ปุ่นกลับมีนโยบายไม่ให้นำเข้าไม้ยาง โดยให้เหตุผลว่าไม้ยางเป็นการปลูกแบบไม่ได้มาตรฐานสากลกำหนด คือ การปลูกแบบยั่งยืนของ FSC (The Forest Stewardship Council)  และต้องมีหน่วยงานรัฐรับรอง

ฉะนั้นในการเยือนญี่ปุ่นของรัฐบาลครั้งนี้จะมีการให้ข้อมูลถึงการปลูกไม้ยางในไทยว่า ส่วนใหญ่เป็นการปลูกโดยชาวบ้าน เป็นพืชเกษตรกรรม รวมถึงในไทยไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงในการออกใบยืนยันการปลูกไม้ยาง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“ใช้เวทีนี้ให้ข้อมูลกับญี่ปุ่น ท่านรองนายกรัฐมนตรีค่อนข้างเข้าใจถึงปัญหานี้และพยายามจะช่วยผู้ประกอบการ ให้สามารถส่งออกชีวมวลอัดเม็ดให้ได้ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าเมื่อรัฐบาลรับทราบปัญหาในเรื่องนี้แล้ว จะมีการแก้ไขในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะการนำไม้ยางพาราเข้าสู่ระบบการปลูกให้ได้มาตรฐานสากล”

นายสุทินกล่าวเพิ่มเติมว่า ฉะนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการหวังคือการให้รัฐบาลได้รับรู้ถึงปัญหาของ อุตสาหกรรมนี้ว่า แม้แต่ใบรับรองการปลูกไม้อย่างยั่งยืนกลับไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ก่อนหน้านี้มีการแจ้งปัญหาไปทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงกระทรวงพาณิชย์ เพราะประเด็นนี้เกี่ยวข้องกับการกีดกันทางการค้าด้วย แต่ส่วนใหญ่ชี้แจงว่าการออกใบรับรองการปลูกป่าอย่างยั่งยืนไม่มีหน่วยงาน จากปัญหาที่ถูกหยิบยกขึ้นมาจะทำให้ภาครัฐดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามมาตรฐาน สากลต่อไป

ไม้พาเลท, พาเลทไม้, ไม้แปรรูป, ไม้ยางแปรรูป, ไม้ยางพารา, ไม้ยางพาราส่งออกญี่ปุ่น, วู้ดพาเลท