ชาวสวนยาง ขนอม จะไม่โค่น ต้นยาง ทิ้ง “ ปุ๋ยศักดิ์สยาม ตรา พลอยเกษตร” ลดต้นทุน เพิ่มน้ำยางได้จริง!

โฆษณา
AP Chemical Thailand

 

ยางพารา คือ พืชเศรษฐกิจของพื้นที่ภาคใต้ ที่มีการผลิตยางพาราเป็นลำดับต้นๆ ของไทย โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น มีการปลูกยางพาราเป็นแหล่งแรกๆ ของประเทศ จากแกนนำชาวสวนยางพาราคนเก่งที่ได้นำร่องบุกเบิกปลูกยางพาราในพื้นที่มานานหลายสิบปี ภายใต้สภาพดินและธาตุอาหารที่ย่อมจะค่อยๆ หมดไปตามกาลเวลา

ดังนั้นการเพิ่มธาตุอาหารด้วยปุ๋ยเคมีคุณภาพ ปุ๋ยเต็มสูตรทุกกระสอบ พร้อมด้วยการจัดการอย่างเหมาะสม ที่จะส่งผลให้ ต้นยาง พารามีการเจริญเติบโตที่ดี แข็งแรงสมบูรณ์ เพิ่มน้ำยางพารา ผลผลิตเพิ่มขึ้น แม้ว่าราคาผลผลิตยางพาราในวันนี้จะค่อนข้างตกต่ำ แต่ถ้าหากชาวสวนมีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ชาวสวนยางพาราอยู่ได้ มีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง

คุณสุชาติ ชุมสกุล ชาวสวนยางพาราต้นแบบ และอดีตผู้นำท้องถิ่น หรืออดีตผู้ใหญ่บ้านคนเก่ง ที่มุ่งมั่นพัฒนาพื้นที่และลูกบ้านให้มีความเจริญขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็น “ชาวสวนยางพารา” รุ่นแรกๆ ในพื้นที่ ต.ควนทอง อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช  ที่ได้นำพื้นที่ซึ่งเป็นดิน เป็นกรด ที่ปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นไม่ได้มาปลูกยางพารา

จากราคาที่สูง สู่ วิกฤติราคาผลผลิตยางพาราตกต่ำในปัจจุบัน ทำให้ชาวสวนยางหลายคนทั้งในและนอกพื้นที่ ต้องโค่นยางพาราแล้วหันไปปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นที่ราคาดีกว่ายางพารา หรือหันไปปลูกไม้ผลมากกว่า 80% แต่คุณสุชาติยังยืนยันที่จะปลูกยางพาราต่อไป และยังต้องยึดอาชีพปลูกยางพาราเป็นหลัก ไม่คิดจะเปลี่ยนพืช หรือโค่นยางเพื่อปลูกพืชอื่นตามกระแสนิยมแน่นอน

1.คุณสุชาติ-ชุมสกุล-ชาวสวนยางพาราที่-อ.ขนอม-จ.นครศรีธรรมราช
1.คุณสุชาติ-ชุมสกุล-ชาวสวนยางพาราที่-อ.ขนอม-จ.นครศรีธรรมราช

 

2.การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตราพลอยเกษตรในสวนยางพารา
2.การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตราพลอยเกษตรในสวนยางพารา
3.ต้นยางและน้ำยางคุณภาพจากสายพันธุ์-RRIT-251
3. ต้นยาง และน้ำยางคุณภาพจากสายพันธุ์-RRIT-251

การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตราพลอยเกษตรในสวนยางพารา

คุณสุชาติกล่าวว่า ในปี พ.ศ.2475 คุณพ่อของคุณสุชาติได้เดินทางไปที่จังหวัดตรัง เพื่อศึกษาการปลูกยางพารา จนเกิดความสนใจ จึงได้นำยางพาราเข้ามาปลูกในพื้นที่เป็นครั้งแรก ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของเพื่อนบ้านที่มองว่าเป็นไปไม่ได้ และยังคอยรอดูผลลัพธ์ที่จะได้รับจากการปลูกยางพาราครั้งนั้นด้วย

ประกอบกับ “ต้นกล้ายางพารา” ที่นำมาปลูกในช่วงนั้นเป็นยาง “พาราพันธุ์พื้นเมือง” ที่เริ่มต้นปลูกบนเนื้อที่ 30 ไร่ ภายใต้การดูแลที่ไม่มากนัก แม้สวนยางพาราจะไม่มีระบบน้ำรองรับ และเป็นการบุกเบิกพื้นที่ใหม่เพื่อปลูกยางพารา ก็ทำให้สวนยางเจริญเติบโตดี ให้น้ำยางดี ให้ผลผลิตที่ดีโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยบำรุงรักษามากนัก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จนกระทั่งในปี พ.ศ.2505 ได้เกิดวาตภัยขึ้นในพื้นที่ หรือที่รู้จักกันดีว่า “วาตภัยแหลมตะลุมพุก” ที่สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก ไม่เว้นแม้แต่สวนยางพาราแห่งนี้ที่ถูกทำลายจนราบเป็นหน้ากอง ส่งผลให้ภาครัฐต้องเข้ามาฟื้นฟูพื้นที่ และช่วยเหลือเกษตรกรด้วยการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยางพารา และต้นกล้ายาง

ในช่วงนั้นค่อนข้างขาดแคลน และหายากมาก  ทางครอบครัวคุณสุชาติจึงได้นำต้นกล้ายางจาก อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช เข้ามาปลูกในพื้นที่ นั่นก็คือ สายพันธุ์  “TJ1” ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับการส่งเสริมจาก “กองทุนสงเคราะห์ชาวสวนยางแห่งประเทศ ไทย” หรือ “การยางแห่งประเทศไทย” ในปัจจุบัน และเป็นพันธุ์แรกๆ ที่มีการปรับปรุงสายพันธุ์แบบติดตาขึ้นเป็นครั้งแรก

โดยโครงการได้ส่งเสริมให้ปลูกยางพารา ภายใต้การช่วยเหลือของภาครัฐที่มีข้อกำหนดให้ปลูกในระยะ 3×8 เมตร ตามที่องค์การสวนยางแนะนำ ที่เน้นการจัดการวัชพืชเพียงอย่างเดียว เนื่องจากดินมีความอุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยมาก  เมื่อยางพารามีอายุครบ 7 ปี ก็สามารถกรีดยางขายผลผลิตได้

4.การใส่ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีจะช่วยให้ต้นยางเจริญเติบโตสมบูรณ์-กรีดง่าย-ให้น้ำยางดี
4.การใส่ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีจะช่วยให้ ต้นยาง เจริญเติบโตสมบูรณ์-กรีดง่าย-ให้น้ำยางดี

ต้นยาง และน้ำยางคุณภาพจากสายพันธุ์ RRIT 251

คุณสุชาติเปิดเผยว่า น้ำยางที่ได้มาเมื่อก่อนจะนำมาทำเป็น “ยางแผ่นรมควัน” ขายในราคา 6-7 บาท/กิโลกรัม ซึ่งยาง 1 แผ่น จะมีน้ำหนัก 2-3 กิโลกรัม เพราะเครื่องจักรในสมัยนั้นเป็นเครื่องจักรที่ใช้มือหมุน ทำให้ยางแผ่นมีขนาดที่หนามาก อีกทั้งการขายผลผลิตสมัยก่อนจะนำยางแผ่นรมควันลงเรือไปขายที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี หรือในตัวเมืองนครศรีธรรมราช

ปัจจุบันได้โค่นยางเพื่อปลูกยางใหม่ด้วยสายพันธุ์ “RRIM 600” ที่เน้นการขาย “ยางก้อนถ้วย” หรือ “ขี้ยาง” ในราคา 20 กว่าบาท/กิโลกรัม นอกจากนี้ยังได้ปลูกยางพันธุ์ศูนย์วิจัยยาง “RRIT 251” ไว้บางส่วน ที่เน้นผลิตเป็นยางแผ่นรมควัน ด้วยคุณภาพน้ำยางที่ดีกว่า และได้ปริมาณน้ำยางที่มากกว่า ซึ่งปัจจุบันแผ่นยางรมควันมีน้ำหนัก 1.2-1.3 กิโลกรัม มีราคาขายที่ 51-60 บาท/กิโลกรัม

5.คุณสุชาติกับต้นยางพาราอายุ-30-กว่าปี-สายพันธุ์-RRIM-600-เน้นทำยางก้อนถ้วย
5.คุณสุชาติกับ ต้นยาง พาราอายุ-30-กว่าปี-สายพันธุ์-RRIM-600-เน้นทำยางก้อนถ้วย

สายพันธุ์ยางพารา

ปัจจุบันคุณสุชาติมีสวนยางพาราทั้งหมด 200 ไร่ ที่มีการโค่นยาง และปลูกใหม่ไปแล้วมากกว่า 3-4 รุ่น หรือมีอายุครบ 25-30 ปี เน้นตัด ต้นยาง พร้อมรื้อถอนตอให้ง่ายต่อการปรับพื้นที่ เพื่อให้ไถเตรียมดินปลูกยางใหม่ได้ง่ายขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยสวนยางทั้งหมดได้แบ่งปลูกยางสายพันธุ์ RRIM 600 จำนวน 140 ไร่ และ RRIT 251 จำนวน 70 ไร่ วันนี้จึงมี ต้นยาง ที่พร้อมกรีดน้ำยางขายได้ทั้งต้น ยางอายุ 25 ปี จำนวน 150 ไร่ และยางรุ่นอายุ 12 ปี จำนวน 40 ไร่ ที่กำลังให้ผลผลิตที่ดี

6.สวนยางพาราทั้ง-2-สายพันธุ์-ของคุณสุชาติที่มีถนนเป็นเส้นเขตแดน
6.สวนยางพาราทั้ง-2-สายพันธุ์-ของคุณสุชาติที่มีถนนเป็นเส้นเขตแดน

การใส่ปุ๋ยตราพลอยเกษตร จากกลุ่มบริษัท ปุ๋ยศักดิ์สยาม ฯ

ด้านการจัดการสวนยางนั้นคุณสุชาติเน้นกำจัดวัชพืชด้วยสารกำจัดวัชพืช และใช้เครื่องตัดหญ้าช่วยบ้าง ในช่วงเดือนพฤษภาคม หลังจากนั้นจะใส่ปุ๋ยสูตร 20-8-20 แม็กซ์-พลัส  “ตราพลอยเกษตร”  ของ กลุ่มบริษัท ปุ๋ยศักดิ์สยาม ฯ ที่ “ร้านท่าหินการเกษตร” เน้นการใส่ปุ๋ย 2 ครั้งต่อปี ในช่วงต้นฝนและปลายฝน

โดยในรอบแรกจะใส่ปุ๋ยตราพลอยเกษตร 15 กระสอบ ( 50 กก./กระสอบ) /พื้นที่ 10 ไร่  ส่วนรอบที่ 2 จะใส่ปุ๋ยในช่วงเดือนธันวาคมด้วยปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพ “ตราพลอยเกษตร” เพื่อบำรุงดินและเพิ่มธาตุอาหารรองและเสริมในดินได้ดี ที่สำคัญ ปุ๋ยตราพลอยเกษตรใช้แล้วประทับใจ และพอใจมาก เพราะเป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพ  ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มน้ำยางพารา ได้ดีมาก ได้น้ำยางที่สม่ำเสมอ น้ำยางมีคุณภาพ สภาพดินดีขึ้น ต้นยาง พาราเปลือกนิ่มขึ้น กรีดยางง่ายขึ้น ด้วยปริมาณน้ำยางที่ได้มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เพื่อนบ้านและญาติสนใจเข้ามาสอบถาม และหันมาใช้ปุ๋ยตราพลอยเกษตร เพิ่มคุณภาพผลผลิต เพิ่มน้ำยางพารา กันมากขึ้น

7.ชาวสวนยางมั่นใจใช้ปุ๋ยศักดิ์สยามฯ-ตราพลอยเกษตร-เพิ่มผลผลิตยางพาราได้ดี
7.ชาวสวนยางมั่นใจใช้ ปุ๋ยศักดิ์สยาม ฯ-ตราพลอยเกษตร- เพิ่มน้ำยางพารา ได้ดี

การกรีดยางพารา

ที่สำคัญคุณสุชาติจะเน้นกรีดยางด้วยระบบ 4:1 คือ กรีด 4 วัน และเว้นกรีด 1 วัน โดยจะกรีดยางเพียง 2 รอบ ที่จะสามารถเก็บน้ำยางขายได้ประมาณ 1 กิโลกรัม/ถ้วย โดยเน้นการทำ “ยางก้อนถ้วย” สำหรับสวนยางพันธุ์ RRIM 600 ภายใต้แรงงานกรีดยางที่หายากขึ้น และราคาผลผลิตยางพาราก็กำลังตกต่ำ

ในขณะสวนยางสายพันธุ์ RRIT 251 ที่ได้น้ำยางค่อนข้างดี และมีคุณภาพ จะเน้นผลิตเป็น “ยางแผ่นรมควัน” เพราะน้ำยางมีความเข้มข้นสูง เนื้อยางมากกว่า หรือมีค่า DRC สูง ได้น้ำยางมากขึ้น ที่ใช้คนงานประจำเพียง 2 คน เท่านั้น โดยมีการแบ่งรายได้แบบ 50:50 โดยชาวสวนจะได้น้ำยางที่นับเป็นยางก้อนถ้วยมีดละ 400-500 กิโลกรัม เลยทีเดียว

8.อาจารย์วิลิตรเจ้าของร้านท่าหินการเกษตร-ตัวแทนจำหน่ายของกลุ่มบริษัทปุ๋ยศักดิ์สยามฯ
8.อาจารย์วิลิตรเจ้าของร้านท่าหินการเกษตร-ตัวแทนจำหน่ายของกลุ่มบริษัท ปุ๋ยศักดิ์สยาม ฯ

ผลผลิตจากแผ่นยางและน้ำยาง

อีกทั้ง “ต้นทุน” หลักในการทำสวนยางพารา ก็คือ “การใส่ปุ๋ย” ที่ชาวสวนยางไม่สามารถลดปริมาณการใส่ปุ๋ยลงได้ เนื่องจาก “ปุ๋ย” เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการปลูกพืชทุกชนิด ด้วยสภาพพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่สมบูรณ์ เหมือนอดีตนั่นเอง แต่คุณสุชาติจะลดค่าใช้จ่ายด้วยการใช้น้ำหมักหรือปุ๋ยคอกที่หมักไว้ในสวนยาง เพื่อลดต้นทุน ควบคู่ไปกับการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่จะทำให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จากวิกฤติราคาผลผลิตยางพาราตกต่ำในปัจจุบัน ทำให้ชาวสวนยางหลายคนทั้งในและนอกพื้นที่ ต้องโค่นยางพาราแล้วหันไปปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นที่ราคาดีกว่ายางพารา หรือหันไปปลูกไม้ผลมากกว่า 80% แต่คุณสุชาติยังยืนยันที่จะปลูกยางพาราต่อไป และยังต้องยึดอาชีพปลูกยางพาราเป็นหลัก ไม่คิดจะเปลี่ยนพืช หรือโค่นยางเพื่อปลูกพืชอื่นตามกระแสนิยมแน่นอน

พร้อมกับให้แง่คิดไว้ว่าอาชีพชาวสวนยางเป็นอาชีพที่มีโบนัสในตัวอยู่แล้ว คือ ตอนโค่น ต้นยาง เจ้าของสวนสามารถขายไม้ยางได้ แม้ราคาผลผลิตยางพาราที่ตกต่ำในวันนี้ สิ่งที่ชาวสวนทำได้ก็คือ ต้องประหยัด อดออม โดยใช้แนวทางตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ ๙ มาใช้ในการดำเนินชีวิต ไม่ใช้จ่ายผิดประเภท จะทำให้ชาวสวนยางอยู่ได้

เมื่อเทียบกับอดีตที่ราคาผลผลิตยางพารามีราคาสูงที่ 100-130 บาท/กิโลกรัม ชาวสวนยางมีรายได้ที่ดี แต่ไม่เก็บหอมรอมริบ และวันนี้ที่ราคาผลผลิตตกต่ำที่แผ่นยางราคา 51-60 บาท/กิโลกรัม และน้ำยางอยู่ที่ 45 บาท/กิโลกรัม ชาวสวนยางก็ยังสามารถอยู่ได้ หากใช้จ่ายอย่างพอเพียง

อีกทั้งรัฐบาล หรือหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ควรหันมาส่งเสริมด้วยการตลาด และการแปรรูป ยางพารา ที่จะทำให้ชาวสวนยางในประเทศสามารถอยู่รอดต่อไปได้ …นี่คือข้อดีของชาวสวนยางที่เลือกใช้ปุ๋ยเคมีคุณภาพ “ตราพลอยเกษตร” ของ กลุ่มบริษัท ปุ๋ยศักดิ์สยาม ฯ ที่มุ่งมั่นคัดสรรวัตถุดิบชั้นดีจากทั่วโลกเข้าสู่กระบวนการผลิต ภายใต้เครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ที่มีความแม่นยำสูง เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยที่ดี มีคุณภาพ ได้ปุ๋ยเต็มสูตรทุกกระสอบ

นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีปุ๋ยเคมีคุณภาพ เต็มสูตรทุกกระสอบ “ตราสิงโตสยาม” ปุ๋ยคุณภาพ “ตราสามเอส”  และ “ตราลิดเดอร์ชีพ” เพื่อเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรในทุกสาขาอาชีพ เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตได้อย่างสม่ำเสมอเพราะ ปุ๋ยศักดิ์สยาม เข้าใจเกษตรกร เข้าใจพืช ปุ๋ยจริงที่ไม่ต้องจ่ายเกินจริง สอบถามติดต่อ  คุณสุชาติ ชุมสกุล ที่อยู่ 160 ม.2 ต.ควนทอง อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช โทร.08-7417-7751

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม “กลุ่มบริษัท ปุ๋ยศักดิ์สยาม ” 17/2 หมู่ 2 ถ.ลาดหลุมแก้ว-บางเลน ต.ขุนศรี อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี 11150 โทร/แฟกซ์:0-2921-9517,0-2921-9221,0-2921-9227 www.saksiaminter.co.th

โฆษณา
AP Chemical Thailand