สยามคูโบต้า ร่วมกับ กลุ่มวังขนาย ยกระดับศักยภาพชาวไร่อ้อย ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ด้วย KUBOTA (Agri) Solutions

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การส่งเสริมเกษตรกรชาวไร่อ้อยร่วมกับ กลุ่ม วังขนาย ปลูกอ้อยด้วย KUBOTA

บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมกับ กลุ่ม วังขนาย และบริษัท คูโบต้ามหาสารคาม จำกัด ส่งเสริมเกษตรกรชาวไร่อ้อย ปลูกอ้อยด้วย KUBOTA (Agri) Solutions เกษตรครบวงจร นำเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรเข้ามาช่วยในการเพาะปลูกทำการเกษตรในทุกขั้นตอน พร้อมให้คำปรึกษา สนับสนุนข้อมูลอันเป็นประโยชน์ เพื่อยกระดับศักยภาพชาวไร่อ้อย ให้สามารถลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต รวมทั้งการบริหารปัจจัยการเพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.ไร่อ้อยที่มีการปลูกด้วยวิธี-KAS
1.ไร่อ้อยที่มีการปลูกด้วยวิธี-KAS

 

2.นายสมศักดิ์-มาอุทธรณ์-กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส-บ.สยามคูโบต้าฯ
2.นายสมศักดิ์-มาอุทธรณ์-กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส-บ. สยามคูโบต้า

นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้การทำเกษตรครบวงจร หรือ KAS มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในระยะยาว ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกรรมของประเทศ โดยที่ผ่านมา สยามคูโบต้า ได้ร่วมมือกับภาครัฐขับเคลื่อนการทำเกษตรครบวงจรด้วยวิธี KAS และการทำเกษตรแบบประณีตมาโดยตลอด เช่น โครงการนาแปลงใหญ่ประชารัฐเกษตรสมัยใหม่

สำหรับภาคเอกชน สยามคูโบต้าได้ร่วมมือกับกลุ่ม วังขนาย เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกร หรือสมาชิก ชาวไร่อ้อย ภายในพื้นที่ และรอบบริเวณโรงงานน้ำตาลกลุ่ม วังขนาย หันมาปลูกอ้อยด้วยวิธี KAS ในทุกขั้นตอนการเพาะปลูกอ้อย โดยเฉพาะการ “ปลูกอ้อยออร์แกนิค” เพื่อ “ผลิตน้ำตาลออร์แกนิค” ของ “กลุ่ม วังขนาย ”  เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพผลผลิต ประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน ลดการใช้สารเคมีในไร่อ้อย ปลอดภัยต่อทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค

อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาศักยภาพชาวไร่อ้อยของไทยให้มีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้ที่ดี และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นอกจากนี้สยามคูโบต้ายังได้ถ่ายทอดการทำเกษตรครบวงจรให้กับร้านค้าผู้แทนจำหน่ายสยามคูโบต้า ผ่านโครงการ AD Solutions Provider

เพื่อให้ร้านค้าผู้แทนจำหน่ายมีความรู้ ความเข้าใจ ในการทำเกษตรด้วยวิธี KAS และการทำเกษตรแบบประณีต เพื่อส่งมอบองค์ความรู้ส่งต่อไปยังเกษตรกรภายในพื้นที่ของตนเอง ควบคู่ไปกับการแนะนำ และการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการ และเหมาะสมกับสภาพพื้นที่การใช้งานของเกษตรกรเป็นหลัก

เพื่อให้การเพาะปลูกของเกษตรกรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโครงการดังกล่าวไม่เพียงแต่จะเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับร้านค้าผู้แทนจำหน่ายเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่การต่อยอดและพัฒนาเกษตรกรในพื้นที่ให้มีความรู้ ความสามารถ ในการทำเกษตรได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.ผลผลิตอ้อยที่เพิ่มขึ้น
3.ผลผลิตอ้อยที่เพิ่มขึ้น

รายได้จากการเก็บเกี่ยวอ้อย

เช่นเดียวกับ “บริษัท คูโบต้ามหาสารคาม จำกัด” ที่ได้นำพนักงานเข้าร่วมอบรมโครงการ AD Solutions Provider แล้วนำองค์ความรู้ KAS ไปใช้พัฒนาการปลูกอ้อยร่วมกับโรงงานน้ำตาล วังขนาย ในปี 2558-2559 ณ บ้านโคกล่าม อ.บรบือ จ.มหาสารคาม จำนวน 8 ไร่ โดยมีผลการดำเนินงานเป็นรูปธรรม คือ ได้ผลผลิตจำนวน 26.64 ตัน/ไร่ ใช้ต้นทุนประมาณ 8,400 บาท/ไร่ และได้กำไรอยู่ที่ 24,000 บาท/ไร่ (ไม่รวมค่าตัดอ้อย และค่าขนส่ง  เนื่องจากขายเป็นอ้อยพันธุ์)

4.ชาวไร่อ้อยที่ปลูกอ้อยด้วยวิธี-KAS
4.ชาวไร่อ้อยที่ปลูกอ้อยด้วยวิธี-KAS
ไร่อ้อยมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ไร่อ้อยมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การปลูกอ้อยด้วยวิธี KAS

นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาการปลูกอ้อยด้วยวิธี KAS                จึงถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยสนับสนุนให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น และมีรายได้ที่มั่นคงขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ “กลุ่ม วังขนาย ” ได้ “วัตถุดิบคุณภาพ” ป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลที่มีคุณภาพ สามารถนำไปผลิตเป็น “น้ำตาลออร์แกนิค” ที่ได้มาตรฐานสากลอีกด้วย

5.สยามคูโบต้าร่วมกับกลุ่มวังขนาย-และ-บ.คูโบต้ามหาสารคาม-จก.
5. สยามคูโบต้า ร่วมกับกลุ่ม วังขนาย -และ-บ.คูโบต้ามหาสารคาม-จก.

การให้ความรู้แก่เกษตรกร

สยามคูโบต้า ยังคงเดินหน้าถ่ายทอดการทำการเกษตรครบวงจรให้กับเกษตรกรในหลายพื้นที่ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการเกษตร ให้มีการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยให้ดีขึ้น อีกทั้งยังร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการวิจัยการทำเกษตรด้วยวิธี KAS กับพืชอีกหลากหลายชนิด และมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ KAS ให้กับร้านค้าผู้แทนจำหน่าย ครอบคลุมทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและยั่งยืนให้กับเกษตรกรต่อไป

6.การเปิดตัวปฏิทินเพาะปลูกข้าว
6.การเปิดตัวปฏิทินเพาะปลูกข้าว

สยามคูโบต้า เปิดตัว “ปฏิทินเพาะปลูกข้าว” หนุนชาวนาไทย ทำเกษตรแบบปราณีต

นอกจากนี้ บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ยังเปิดตัวปฏิทินเพาะปลูกข้าว ลิขสิทธิ์เฉพาะของ สยามคูโบต้า ที่ผ่านการคิดค้น วิจัย และพัฒนา ร่วมกับอาจารย์ซึโทมุ มิยาโกชิ ที่ปรึกษาเชี่ยวชาญพิเศษด้านเทคนิคการปลูกข้าวจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นแนวทางให้ชาวนาไทยทำนาข้าวอย่างมีประสิทธิภาพ

นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า การจัดทำปฏิทินข้าวเกิดจากความตั้งใจของ สยามคูโบต้า ที่ต้องการส่งเสริมให้ชาวนาไทยหันมาทำเกษตรแบบประณีต และเกษตรแม่นยำสูงกันมากขึ้น ซึ่งปฏิทินข้าวนี้เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเหลือเกษตรกรในการตัดสินใจ และวางแผนการเพาะปลูก ใช้เป็นข้อมูลในการควบคุมและวิเคราะห์การเจริญเติบโตของข้าวในแต่ละระยะ

ทำให้สามารถวางแผนจัดการความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในแต่ละแปลง รวมถึงผลผลิตที่ควรจะได้ในแต่ละสภาพพื้นที่ และยังสามารถนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงแผนการผลิตในฤดูกาลถัดไปได้อีกด้วย โดยสยามคูโบต้าได้นำปฏิทินการเพาะปลูกหลายๆ รูปแบบมาทำการศึกษา

โฆษณา
AP Chemical Thailand

พร้อมกับได้รับคำแนะนำจาก อาจารย์ซึโทมุ มิยาโกชิ ที่ปรึกษาเชี่ยวชาญพิเศษด้านเทคนิคการปลูกข้าวจากคูโบต้า ประเทศญี่ปุ่น ถึงหลักการในการทำปฏิทินเพาะปลูกข้าวของประเทศญี่ปุ่น จึงได้นำหลักการนั้นมาศึกษา ทดลอง และปรับใช้ เพื่อให้เหมาะสมกับพันธุ์ข้าว และสภาพแวดล้อมของประเทศไทย

พร้อมทั้งนำองค์ความรู้จาก “KUBOTA (Agri) Solutions” เกษตรครบวงจร นวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร และนวัตกรรมการเพาะปลูกที่มีประสิทธิภาพ เข้ามารวบรวมด้วย เพื่อช่วยเกษตรกรในการลดต้นทุน เพิ่มปริมาณผลผลิต และรายได้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยให้ดีขึ้น และสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน

7.เครื่องจักรขนาดเล็กเข้าทำงานในไร่อ้อยได้ทุกขั้นตอนการผลิต
7.เครื่องจักรขนาดเล็กเข้าทำงานในไร่อ้อยได้ทุกขั้นตอนการผลิต

ขั้นตอนการทำงานของปฏิทินเพาะปลูกข้าว

สำหรับขั้นตอนในการทำงานของปฏิทินเพาะปลูกข้าวของประเทศญี่ปุ่น จะประกอบด้วยข้อมูลหลักๆ คือ กำหนดเป้าหมายของข้อมูลผลผลิต จากนั้นทำการเก็บข้อมูล ปรับปรุงวิธีการ และทดสอบซ้ำ จนได้ข้อมูลที่มีความแม่นยำ และสามารถเผยแพร่ให้กับเกษตรกรทั่วไปสามารถใช้ได้

ซึ่งขั้นตอนในการจัดทำปฏิทินเพาะปลูกข้าวสำหรับประเทศไทยนั้น มีขั้นตอนหลักๆ อยู่ 5 ขั้นตอน โดยบริษัทฯ ได้เริ่มต้นจากศึกษาข้อมูล ทำการวิเคราะห์พื้นที่ที่จะทำการทดสอบปฏิทินปลูกข้าวจริง และทำการเก็บข้อมูลจากการลงพื้นที่จริงทุกขั้นตอน นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ผล และสุดท้ายนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาจัดทำเป็นปฏิทินเพาะปลูกข้าว

โดยจะพิจารณาจากองค์ประกอบและศักยภาพผลผลิตของข้าวแต่ละพันธุ์ เช่น ตัวอย่าง ต้องการให้ได้ข้าว 1 ตัน จะต้องวางแผนย้อนกลับไปว่าจะต้องมีองค์ประกอบผลผลิตที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง แล้วสามารถทำได้ตามมาตรฐานหรือไม่ ถ้าไม่ได้จะทำการย้อนกลับไปดูว่ามีการผิดพลาดตรงจุดไหน เพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงแปลงในฤดูถัดไป โดย “ปฏิทินการเพาะปลูก” ที่สยามคูโบต้าจัดทำขึ้นประกอบด้วยข้อมูล 2 หน้า

KUBOTA-ปฏิทินข้าวนาหยอด
KUBOTA-ปฏิทินข้าวนาหยอด

หน้าแรก เป็นคำแนะนำสำหรับการทำนาหยอดแห้งสำหรับพื้นที่อาศัยน้ำฝน โดยมีพันธุ์ข้าวแนะนำ คือ ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105

โฆษณา
AP Chemical Thailand
KUBOTA-ปฏิทินข้าวนาดำ
KUBOTA-ปฏิทินข้าวนาดำ

หน้าที่สอง เป็นคำแนะนำสำหรับการทำนาดำสำหรับพื้นที่ชลประทาน โดยมีพันธุ์ข้าวแนะนำ คือ ข้าวพันธุ์ไม่ไวแสง อายุ 120 วัน ซึ่งแต่ละหน้าของปฏิทินจะมีองค์ประกอบ 6 ส่วน คือ

  1. พื้นที่แนะนำสำหรับปฏิทินเพาะปลูกชุดนี้
  2. พันธุ์ข้าว
  3. ช่วงเวลาการเพาะปลูก
  4. ค่ามาตรฐานของการเจริญเติบโตในแต่ละระยะ
  5. ระยะการเจริญเติบโตของข้าว
  6. การปฏิบัติในแปลงและจุดควบคุม โดยรายละเอียดในปฏิทินเพาะปลูกข้าวจะมีการอธิบายถึงวิธีการทำนาในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่การกำหนดวันเพาะปลูก การเตรียมดิน การใส่ปุ๋ย การจัดการน้ำ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว รวมทั้งการประเมินผลในแต่ละขั้นตอน และตัวอย่างที่ไม่เหมาะสมของข้าวในแต่ละระยะ
8.การจัดการไร่อ้อยด้วยเครื่องจักรกลการเกษตร
8.การจัดการไร่อ้อยด้วยเครื่องจักรกลการเกษตร

ความโดดเด่นของปฏิทินเพาะปลูกข้าว

ปฏิทินเพาะปลูกข้าวฉบับนี้ เป็นฉบับแรกที่ สยามคูโบต้า ได้จัดทำขึ้น มีความโดดเด่น คือ ค่ามาตรฐานของการเจริญเติบโตในแต่ละระยะ ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถวัดผลการเจริญเติบโตของต้นข้าว เพื่อปรับการดูแลรักษาต้นข้าวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ รวมถึงมีคำแนะนำเพิ่มเติมในแต่ละช่วงเวลาสำคัญของการเจริญเติบโต เช่น การงอก ออกรวง เก็บเกี่ยว

โดยในอนาคตบริษัทฯ จะทำการวิจัยและพัฒนาปฏิทินเพาะปลูกข้าวที่เหมาะสมกับพันธุ์ข้าวที่แนะนำในแต่ละพื้นที่ และยังคงพัฒนาและปรับปรุงข้อมูลปฏิทินเพาะปลูกข้าวตัวปัจจุบันให้มีความเหมาะสมกับประเทศไทยมากขึ้นอย่างน้อย 2-3 ปี และยังมีเป้าหมายที่จะขยายผลไปยังพื้นที่ หรือพันธุ์ใหม่ๆ คู่ขนานกันไป สำหรับในด้านการส่งเสริม  สยามคูโบต้า มีเครือข่ายเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต่างๆ ในหลายภูมิภาค โดยจะนำไปทดลองใช้และพัฒนาต่อในพื้นที่นั้นๆ เพื่อให้ได้ปฏิทินเพาะปลูกข้าวที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ต่อไป” นายสมศักดิ์ กล่าวเสริม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.kubotasolutions.com

บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด

คุณภัทรา  เรืองสวัสดิ์  09-6246-6635  [email protected]

โฆษณา
AP Chemical Thailand

บริษัท นิโอ ทาร์เก็ต จำกัด ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์

คุณสุดา ศรีบุศยดี 08-9068-4345 [email protected]