การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว 6-7 เดือน กำไรประมาณไร่ละ 12,000-15,000 บาทต่อไร่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สำหรับในเมืองไทยนั้น ต้องบอกว่าเป็นเมืองที่ถือได้ว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำเลยทีเดียว เพราะมีอาหารการกินที่หลากหลาย ผลไม้พืชพันธุ์ต่างๆ ก็มีความอุดมสมบูรณ์ การเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคก็มีมากมาย ทำให้หลายคนเรียกอย่างนี้เลยทีเดียว การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว

พูดถึงเรื่องของปลา เมืองไทยนั้นมีการเลี้ยงปลาที่หลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นปลานิล ปลาตะเพียน ปลาหมอ ปลาดุก ฯลฯ ต่างก็เป็นได้ทั้งปลาสวยงามและปลาเพื่อบริโภค โดยครั้งนี้เราจะมาพูดถึงปลาตะเพียนขาว ว่าเป็นปลาที่มีลักษณะอย่างไร เลี้ยงไว้ทานหรือเลี้ยงเพื่อความสวยงาม เรามาดูกัน

1.เป็นปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยงด้วย
1.เป็นปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยงด้วย

การเพาะเลี้ยงปลาตะเพียนขาว 

ปลาตะเพียนขาวนั้นจัดได้ว่าเป็นปลาที่อยู่ในท้องถิ่นของเมืองไทยมาอย่างยาวนาน และสามารถที่จะพบได้ทั่วทุกภูมิภาคของเมืองไทย โดยปลาตะเพียนขาวนั้นนับได้ว่าเป็นสายพันธุ์ปลาที่ได้รับความนิยม และแนะนำให้มีการเพาะพันธุ์เกิดขึ้น เพราะว่าปลาชนิดนี้จะมีการเพาะขยายพันธุ์ได้ค่อนข้างง่าย ทำให้ได้รับคัดเลือกให้เป็นปลาที่ควรเพาะเลี้ยง อีกทั้งยังเป็นที่นิยมทั้งในหมู่คนไทยในเมืองและตามต่างจังหวัดอีกด้วย

ต้องยอมรับว่าปลาตะเพียนขาวนั้นเป็นปลาที่มีความขึ้นชื่ออย่างมากในเมืองไทย เมื่อเทียบกับพวกปลานิล ปลาหมอ ปลาดุก ปลาตะเพียนขาวก็เป็นอีกหนึ่งพันธุ์ปลาที่ยังคงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันเองก็ได้มีการเพาะเลี้ยงเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งในการเพาะเลี้ยงนั้นก็มีทั้งแบบธรรมชาติและผสมเทียม ทำให้ปัจจุบันวงการปลาตะเพียนขาวได้รับความสนใจจากหลายๆ ภาคส่วนเป็นอย่างมาก เชื่อเลยว่าในอนาคตจะมีการเพาะพันธุ์ปลาตะเพียนขาวเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

2.ได้รับความนิยมในการนำไปปล่อยตามแหล่งน้ำธรรมชาติ
2.ได้รับความนิยมในการนำไปปล่อยตามแหล่งน้ำธรรมชาติ

สภาพพื้นที่เลี้ยงปลาตะเพียนขาว

ปลาตะเพียนขาว หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า ปลาตะเพียนนั้น เป็นปลาน้ำจืดที่มีถิ่นกำเนิดไปทั่วทวีปเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม และศรีลังกา ซึ่งในเมืองไทยนั้นหากจะบอกว่าปลาชนิดนี้เข้ามาเมื่อไหร่ เชื่อได้เลยปลาชนิดนี้เข้ามาตามแม่น้ำ ลำคลอง ได้นานพอสมควร ซึ่งตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัยก็มีการค้นพบลายปลาตะเพียนอยู่ตามข้าวของเครื่องใช้แล้ว นับได้ว่าเป็นปลาที่เข้ามาตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัยเสียอีก

ซึ่งปลาตะเพียนนั้นนับได้ว่าเป็นปลาพื้นเมืองของประเทศไทย โดยมีอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ แต่สำหรับการเลี้ยงเพื่อความสวยงามหรือการบริโภคนับว่าเป็นที่ต้องการสูงเลยทีเดียว แต่แค่ได้ยินชื่อว่าปลาตะเพียนขาว หลายๆ คนก็ออกอาการส่ายหัว เพราะว่าปลาตะเพียนขาวนั้นเป็นปลาที่มีก้างค่อนข้างเยอะ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ถ้านำไปบริโภคก็ต้องระวังในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก แต่ถ้าเลี้ยงเพื่อการเพาะพันธุ์เพื่อความสวยงามนับว่าเป็นปลาอีกหนึ่งชนิดที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะว่าปลาตะเพียนขาวนั้นเป็นพันธุ์ปลาที่มีผิวสวย ขาวละเอียด ทำให้หลายๆ คนเลือกที่จะนำไปเลี้ยงเพื่อความสวยงามมากกว่าการนำมาบริโภค ซึ่งบอกได้เลยว่าในประเทศนั้นมีการเพาะเลี้ยงปลาตะเพียนเป็นจำนวนมาก จึงไม่แปลกที่หลายๆ คนจะรู้จักกับปลาชนิดนี้เป็นอย่างดี

ลักษณะทั่วไปของปลาตะเพียนขาว

ปลาตะเพียนขาวนั้นจะมีลักษณะลำตัวแบนข้าง โดยขอบหลังจะโค้งสูงขึ้น หัวและปากจะค่อนข้างเล็ก มีหนวดเล็กๆ 2 คู่ เกล็ดตามเส้นข้างตัวนั้นจะมีสีเงิน และมีประมาณ 29-31 เกล็ด ซึ่งปลาตะเพียนขาวนั้นโตเต็มที่แล้วจะมีขนาดตัวประมาณ 50 เซนติเมตร โดยปกติแล้วปลาตะเพียนขาวนับว่าเป็นปลาน้ำจืด มักจะอาศัยอยู่ได้ทั่วไป ทั้งในแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง แต่จะเติบโตได้ดีในน้ำที่มีน้ำกร่อยเล็กน้อย ฉะนั้นจึงไม่แปลกเลยที่สามารถเลี้ยงปลาตะเพียนขาวได้ทั้งน้ำกร่อยและน้ำจืด รวมไปถึงอ่างเก็บน้ำ และนาข้าว  ถ้าเลี้ยงดีๆ ปลาตะเพียนขาวนั้นจะมีน้ำหนักได้ถึงครึ่งกิโลกรัมเลยทีเดียว

การแบ่งเพศผู้ เพศเมีย ในปลาตะเพียนนั้นจะแยกค่อนข้างยาก เพราะว่าจะมีลักษณะที่คล้ายกันเป็นอย่างมาก ถ้าเป็นในช่วงที่ใกล้ฤดูผสมพันธุ์จะทำให้แยกออกได้ง่ายและชัดเจนขึ้น โดยจะมีท้องที่อูมเป่ง พื้นท้องจะเริ่มนิ่ม และช่องเพศจะกว้างกว่าปกติ ในส่วนของเพศผู้นั้นท้องจะมีความแบนกว่าเพศเมีย พื้นท้องจะมีความแข็ง

ถ้าลองรีดบริเวณท้องของตัวผู้จะมีน้ำสีขาวขุ่นๆ ไหลออกมาในช่วงฤดูวางไข่ของปลาตะเพียนขาว หลังจากนั้นปลาตะเพียนขาวจะเริ่มวางไข่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ฝนเริ่มตก หลังจากที่ฝนตกหนักๆ เพียง 2-3 ครั้ง ก็จะเริ่มวางไข่จนหมด ซึ่งไข่ของปลาตะเพียนนั้นจะใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 8-12 ชั่วโมง ในอุณหภูมิของน้ำประมาณ 29-30 องศาเซลเซียส นับว่าเป็นเรื่องของรูปร่างและลักษณะของปลาตะเพียนเลยทีเดียว

3.บ่อดินเลี้ยงปลาตะเพียนขาวจะต้องเป็นบ่อที่ไม่มีเชื้อโรคจะเหมาะสมที่สุด
3.บ่อดินเลี้ยงปลาตะเพียนขาวจะต้องเป็นบ่อที่ไม่มีเชื้อโรคจะเหมาะสมที่สุด

การบริหารจัดการบ่อปลาตะเพียนขาว

สำหรับการเริ่มต้นใน การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว นั้นส่วนใหญ่แล้วจะต้องรู้จักลักษณะและนิสัยของปลาก่อนว่าปลามีนิสัยอย่างไร ชอบน้ำประเภทไหน สามารถเลี้ยงในบ่อเก่าหรือบ่อใหม่ได้หรือไม่ เพราะว่าปลาตะเพียนขาวเป็นสัตว์ที่มีลักษณะนิสัยไม่แน่นอน ทำให้ก่อนที่จะเริ่มเลี้ยงหรือเพาะพันธุ์นั้นต้องมีการศึกษามาก่อน เพื่อที่จะได้ผลผลิตที่ดี และได้ปลาที่มีคุณภาพ พร้อมขยายพันธุ์ในช่วงเวลาต่อไป

ซึ่งการเตรียมบ่อดิน รวมไปถึงวิธีการเลี้ยงดูปลาตะเพียนให้ได้ผลผลิตที่ดีนั้นก็มีวิธีการต่างๆ ได้ดังนี้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

บ่อเลี้ยง

สำหรับ การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว นั้น ขนาดของบ่อเลี้ยงก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยบ่อเลี้ยงควรจะมีขนาดประมาณ 400 ตารางเมตร หรือไปถึงขนาด 1 ไร่ อาจจะมากกว่านี้ก็ได้ ในส่วนของความลึกนั้นควรจะอยู่ที่ 1 เมตรขึ้นไป โดยความลึกประมาณนี้จะใช้เลี้ยงลูกปลาที่มีความยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร ปริมาณ 3-4 ตัวต่อตารางเมตร หรือ 5,000 ตัวต่อไร่

บ่อใหม่

คือ บ่อที่เพิ่งทำการขุดขึ้นมาใหม่ และจะทำการเริ่มเลี้ยงเป็นครั้งแรก ซึ่งบ่อลักษณะนี้จะไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องของโรคพยาธิที่ตกค้างอยู่ในบ่อมากนัก เพียงแต่ว่าบ่อใหม่นั้นจะมีอาหารที่อยู่ตามธรรมชาติค่อนข้างน้อย ถ้าบ่อนั้นมีคุณสมบัติน้ำและดินไม่เหมาะสมก็ควรจะต้องมีการปรับปรุง เช่น ดินเป็นกรด-ด่างต่ำกว่า 6.5 ก็ใช้ปูนขาวช่วยปรับสภาพน้ำ โดยให้เอาน้ำเข้าบ่อเล็กน้อยประมาณ 10 เซนติเมตร ทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วค่อยใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ตามลงไป จากนั้นก็เพิ่มน้ำเข้ามาอีกประมาณ 50 เซนติเมตร และทิ้งไว้อีก 5-7 วัน แล้วหลังจากนั้นจึงค่อยปล่อยน้ำเข้ามาในระดับ 1-1.5 เมตร แล้วค่อยทำการปล่อยปลาตะเพียนขาวเพื่อเริ่มเลี้ยงได้

ในส่วนของบ่อเก่าหรือบ่อที่ผ่านการเลี้ยงมาแล้วนั้น หลังจากที่จับปลาที่เลี้ยงไว้ออกหมดแล้ว ให้ทำการสูบน้ำเก่าทิ้ง โดยสูบออกให้หมดจนบ่อนั้นแห้งสนิท ทิ้งไว้อย่างน้อยประมาณ 1-2 วัน หลังจากนั้นให้นำปูนขาวมาช่วยฆ่าเชื้อโรคและพยาธิ พร้อมทั้งต้องปรับสภาพความเป็นกรดและด่างของพื้นบ่อด้วย แต่ถ้าเป็นบ่อที่มีเลนอยู่ค่อนข้างมากควรจะทำการลอกเลนขึ้นก่อนแล้วค่อยใส่ปูนขาวตามทีหลัง หลังจากนั้นก็ให้ทำการตากบ่อทิ้งไว้อีกประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วค่อยทำเหมือนกับบ่อที่ทำใหม่ แต่ทั้งนี้ถ้าไม่สามารถที่จะสูบน้ำให้แห้งได้ก็ต้องกำจัดศัตรูของปลาออกให้หมดก่อนแล้วค่อยทำการปรับบ่อใหม่

4.สายพันธุ์ปลาตะเพียนขาวที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน
4.สายพันธุ์ปลาตะเพียนขาวที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน

การให้อาหารปลาตะเพียนขาว

อาหารที่เหมาะสมกับปลาตะเพียนขาว ปกติแล้วปลาตะเพียนขาวนั้นสามารถที่จะกินอาหารได้หลากหลายชนิด แต่โดยหลักการตามธรรมชาติแล้วนั้นปลาตะเพียนขนาดเล็กไม่เกิน 3 นิ้ว จะกินพวกแพลงก์ตอนพืชเป็นหลัก รวมไปถึงแพลงก์ตอนที่เป็นพวกสัตว์ด้วย

พอมีขนาดตัวที่เริ่มใหญ่ขึ้นจึงค่อยเปลี่ยนมากินอาหารที่เป็นพวกพืชน้ำชั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว เพื่อให้ผลผลิตที่สูง จำเป็นที่จะต้องมีการสร้างอาหารตามธรรมชาติในบ่อเลี้ยงในระยะเริ่มต้น เพื่อที่จะลดอัตราการตายของปลาที่จะเกิดขึ้น เพราะว่ามีการเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารของปลา

พร้อมทั้งการให้อาหารโดยอาจจะมีการสมทบกับโปรตีนในอาหารที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน เราจะให้ในปริมาณ 3-10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวปลาที่ได้ทำการเลี้ยง หรือปลา 100 กรัม จะให้อาหารได้ประมาณ 3-10 กรัม โดยขึ้นอยู่กับอายุและขนาดของตัวปลาตะเพียนขาวด้วยว่ามีขนาดเล็กหรือใหญ่ ถ้าเป็นปลาขนาดเล็กอาจจะต้องให้อาหารที่มากกว่าปลาขนาดใหญ่ โดยให้วันละ 1-2 ครั้ง การให้ควรจะทำให้ตรงเวลาและสม่ำเสมอในบริเวณเดียวกันทุกครั้ง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.วิธีการแยกเพศในปลาตะเพียนขาว
5.วิธีการแยกเพศในปลาตะเพียนขาว

การเพาะพันธุ์ปลาตะเพียนขาว

สำหรับการเพาะพันธุ์ปลาตะเพียนขาวนั้นควรจะต้องมีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ด้วยตัวเอง โดยอาจจะมีบ่อขุนเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์โดยเฉพาะ โดยทำเป็นบ่อดินประมาณ 400 ตารางเมตร ถึง 1 ไร่ โดยปล่อยปลาเพศผู้ เพศเมีย แยกออกกันในประมาณ 800 ตัวต่อไร่ โดยให้ผักต่างๆ หรืออาหารที่มีการผสมประมาณร้อยละ 3 ของน้ำหนักตัวปลา

ซึ่งการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลานั้นอาจจะเริ่มเลี้ยงช่วงเดือนตุลาคม หรือพฤศจิกายน โดยให้ทำการคัดปลาที่มีอายุประมาณ 8 เดือน แยกเพศ และปล่อยลงบ่อเพาะเลี้ยง เมื่ออากาศเริ่มอุ่นขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ก็ให้ตรวจสอบพ่อแม่ปลา ถ้าอ้วนเกินไปก็ต้องลดการให้อาหาร หากผอมเกินไปก็ต้องเร่งอาหาร จะเริ่มได้ประมาณเดือนมีนาคมถึงกันยายนโดยพ่อแม่พันธุ์จะมีความพร้อมที่สุดในเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์นั้นควรจะต้องคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีความแข็งแรงและสมบูรณ์ โดยปลาเพศเมียนั้นจะมีไข่แก่จัด ท้องจะอูมโป่งและนิ่ม ผนังท้องจะบาง ช่องเพศและช่องทวารค่อนข้างพองและยื่น ส่วนในปลาเพศผู้นั้นแทบจะไม่ค่อยมีปัญหาอะไร เรื่องความพร้อมเนื่องจากว่าสามารถสร้างน้ำเชื้อได้ตลอดทั้งปี

การฉีดฮอร์โมน โดยปกติแล้วจะใช้ต่อมใต้สมองของปลาชนิดอื่น ไม่ว่าจะเป็นปลาจีน ปลายี่สกเทศ โดยการฉีดประมาณ 1.5-2 โดยขึ้นกับความต้องการของแม่ปลาเป็นหลัก และจะฉีดเพียงเข็มเดียว โดยปลาเพศผู้จะไม่จำเป็นต้องฉีด ตำแหน่งที่นิยมฉีดนั้นมักจะอยู่บริเวณใต้ครีบหลังเหนือเส้นข้างตัว หรือบริเวณโคนครีบหู แต่บางทีก็จะนิยมใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ ฉีดในปริมาณ 20 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ควบคู่กับยาเสริมฤทธิ์ Domperidone ในปริมาณ 5-10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งจะช่วยให้ปลานั้นวางไข่ได้เช่นเดียวกัน

สำหรับการผสมพันธุ์ปลาตะเพียนขาว โดยปกติแล้วสามารถทำได้ 2 วิธี คือ

การผสมพ่อแม่พันธุ์ปลาแบบธรรมชาติ

การผสมพันธุ์แบบธรรมชาตินั้น คือ การปล่อยให้พ่อแม่พันธุ์ปลาตะเพียนขาวผสมพันธุ์กันเอง แต่ถ้าหากเลือกวิธีการฉีดฮอร์โมนเสร็จก็จะปล่อยพ่อแม่ปลาลงในบ่อเพาะรวมกัน โดยใช้ประมาณแม่พันธุ์ 1 ตัว ต่อพ่อพันธุ์ 2 ตัว ซึ่งบ่อเพาะนั้นควรจะมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 3 ตารางเมตร ความลึกประมาณ 1 เมตร เพื่อสะดวกต่อการแยกพ่อแม่ปลา อาจจะใช้อวนช่องตาห่างปูไว้ก่อนชั้นหนึ่งแล้วจึงค่อยปล่อยพ่อแม่ปลาลงไป

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ซึ่งเมื่อถึงช่วงที่แม่ปลาเริ่มวางไข่หลังจากที่ฉีดเชื้อไปประมาณ 4-7 ชั่วโมง โดยปลาพ่อแม่พันธุ์จะไล่รัดกันในน้ำ เมื่อเห็นว่าแม่ปลาวางไข่หมดแล้วก็ยกอวนที่ปูไว้ออก ซึ่งการผสมพันธุ์ด้วยวิธีนี้จะมีข้อดีตรงที่คุณภาพของไข่ที่ได้มักจะเป็นไข่ที่มีความสุกพอดี นอกจากนั้นผู้เพาะเลี้ยงยังไม่ต้องเสียเวลาที่จะรออีกด้วย แต่บางครั้งปลาตัวผู้อาจไม่ฉีดน้ำเชื้อเข้าไปผสม ทำให้ไข่นั้นไม่ฟักเป็นตัว นอกจากนั้นไข่ที่รวบรวมได้จะไม่สะอาดมากนัก

การผสมพันธุ์ด้วยวิธีการผสมเทียม

หลังจากที่เริ่มฉีดเชื้อไปแล้วประมาณ 4-5 ชั่วโมง ก็จะเริ่มรีดไข่ปลาได้ โดยปลาจะมีอาการกระวนกระวายว่ายน้ำไปมาอย่างรุนแรงและผิดปกติ บางตัวอาจจะขึ้นมาฮุบอากาศที่ผิวน้ำ เมื่อพบว่าปลามีอาการข้างต้นให้รีบตรวจดูความพร้อมของแม่ปลาได้

โดยการตรวจดูนั้นจะจับปลาหงายท้องขึ้นโดยตัวปลายังอยู่ในน้ำ และให้บีบบริเวณใกล้ช่องเพศเบาๆ หากพบว่าไข่พุ่งออกมาได้ง่าย ก็ให้นำแม่ปลามารีดไข่ได้เลย ซึ่งการผสมเทียมนั้นจะต้องทำให้ตัวปลาแห้ง และค่อยทำการรีดไข่อย่างเบามือ โดยรีดใส่ภาชนะที่แห้งสนิท และใช้ขนไก่เป็นตัวคนไข่กับน้ำเชื้อจนเข้ากันดี แล้วจึงเติมน้ำสะอาดเล็กน้อยพอให้ท่วมไข่

ซึ่งการคนเล็กน้อยจะทำให้เชื้อตัวผู้เข้าไปผสมกับไข่ได้ จากนั้นค่อยเติมน้ำจนเต็มภาชนะ และให้ถ่ายน้ำเป็นระยะๆ เพื่อที่จะได้ล้างไข่ปลาให้สะอาดไปด้วย ไข่ก็จะค่อยๆ พองขึ้น และขยายขนาดจนเต็มที่ ภายในเวลาประมาณ 20-25 นาที ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวนี้เราจะต้องคอยทำการเทน้ำอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ไข่บางส่วนนั้นเสียหาย เมื่อไข่พองเต็มที่แล้วค่อยย้ายเข้ากรวยฟักต่อไป

6.นำไปอนุบาลเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์ในครั้งต่อไป
6.นำไปอนุบาลเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์ในครั้งต่อไป การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว

การอนุบาลลูกปลาตะเพียนขาว

สำหรับบ่อที่ใช้ในการอนุบาลลูกปลาโดยเฉพาะนั้นควรมีขนาดบ่อประมาณครึ่งหนึ่งของไร่ หรือจะประมาณ 1 ไร่ ก็ได้ โดยให้ความลึกอยู่ที่ 1 เมตร ก่อนปล่อยลูกปลานั้นต้องมีการเตรียมบ่อให้ดีเพื่อกำจัดศัตรู และเพิ่มอาหารของลูกปลาในบ่อ และควรปล่อยลูกปลาให้มีระดับน้ำประมาณ 30-40 เซนติเมตร พอปล่อยลูกปลาลงบ่อแล้วจึงค่อยๆ ทำการเติมน้ำลงไปสัปดาห์ละ 10 เซนติเมตร เพื่อที่รักษาคุณสมบัติของน้ำให้มากที่สุด

ส่วนการใส่ปุ๋ยนั้นหากวางแผนจะอนุบาลด้วยอาหารสมทบเพียงอย่างเดียวก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใส่เท่าไหร่นัก เมื่อเริ่มย้ายลูกปลาได้แล้วก็สามารถที่จะให้อาหารได้ ซึ่งอาหารที่เหมาะสมนั้นอาจจะเป็นไข่แดงละลายน้ำและกรองให้ละเอียด จากนั้นก็นำมาฉีดพ่นให้ทั่วผิวน้ำ ซึ่งไข่ที่ให้นั้นก็จะขึ้นอยู่กับพื้นที่ของบ่อ อาจจะปล่อยปลูกปลาประมาณ 1,000-1,500 ตัว ต่อตารางเมตรก็ได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เมื่อลูกปลาโตขึ้นก็จะเริ่มลดอาหารและรำละเอียด โดยค่อยๆ โรยทีละน้อยรอบบ่อ เมื่ออนุบาลไปได้ 2 สัปดาห์ลูกปลาจะเริ่มขึ้นมากินอาหารที่ผิวน้ำ สังเกตได้จากการกินอาหารได้ง่ายขึ้น โดยจะโรยรำด้านเหนือลม รำจะค่อยๆ ลอยโปร่งตรงข้ามกัน ต้องคอยสังเกตดีๆ ว่าเศษรำนั้นลอยมาติดขอบบ่อมากหรือน้อยเพียงใด เพราะว่าถ้ามากเกินไปก็ควรลดปริมาณการให้ลง

ส่วนอาหารสำหรับลูกปลาที่เริ่มโตแล้วนั้นส่วนใหญ่จะมีการผสมปลาป่นร่อนแล้ว โดยให้รำต่อปลาป่นประมาณ 3 ต่อ 1 ซึ่งการให้รำนั้นอาจจะให้วันละ 3-4 ครั้ง ก็ได้ในระยะแรก และค่อยลดลงจนเหลือ 2 ครั้ง โดยปกติแล้วเมื่ออนุบาลได้ 4-6 สัปดาห์ ก็จะได้ลูกปลาประมาณ 1 นิ้ว อัตราการรอดอยู่ที่ร้อยละ 30-40 ซึ่งก็คือ จะได้ลูกปลาประมาณ 48,000-64,000 ตัวต่อไร่เลยทีเดียว

7.การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว ได้ผลผลิตปลาตะเพียนขาวช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาได้อย่างมาก
7.การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว ได้ผลผลิตปลาตะเพียนขาวช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาได้อย่างมาก

รายได้จากผลผลิตปลาตะเพียนขาว

โดยปกติแล้วการลงทุนทุกอย่างจำเป็นที่จะต้องมีเงินมาลงทุน และต้องได้ผลตอบรับหรือกำไรที่ดี การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว ก็เช่นกัน โดยปลาตะเพียนขาวที่เลี้ยงกันทั่วไป ตามอัตราการปล่อยปลาแล้วจะให้ผลผลิตไร่ละ 800-1,000 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับราคาปลากิโลกรัมละ 15 บาท จะได้กำไรหรือรายรับประมาณไร่ละ 12,000-15,000 บาทต่อไร่

โดยทั้งนี้อาจจะใช้เวลาประมาณ 6-7 เดือน กว่าจะได้ แต่เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว ไม่ว่าจะเป็นค่ารำ ประมาณ 1,400 บาท กากถั่วเหลือง 2,200 บาท รวมถึงค่าแรงงานสำหรับผู้เลี้ยง หรือเจ้าของ ตกไร่ละประมาณ 875-900 บาท ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมดนี้รวมทั้งสิ้นแล้วประมาณ 4,500 บาทต่อไร่

ซึ่งผู้ที่เลี้ยงปลาตะเพียนขาวจะได้กำไรประมาณ 7,525 บาทโดยประมาณ ซึ่งถือว่ากำไรที่ได้นั้นค่อนข้างสูงเลยทีเดียว ยิ่งมีการปรับปรุงและดูแลอย่างใกล้ชิดแล้ว ผลผลิตที่ได้ก็จะสูงขึ้น และมีคุณภาพมากขึ้น ทำให้ได้กำไรเพิ่มขึ้นกว่านี้อีกเท่าตัวเลยทีเดียว ซึ่งปลาตะเพียนขาวนั้นจะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 6 เดือน ก็จะได้น้ำหนักตัวของปลาประมาณ 3-4 กิโลกรัมต่อตัวเลยทีเดียว ถ้าเลี้ยงด้วยการดูแลอย่างดีอาจจะได้ถึง 5 กิโลเลยก็ว่าได้

8.เลี้ยงปลาตะเพียนขาวไว้ในตู้เลี้ยงปลา สร้างความสวยงามให้กับผู้พบเห็นเป็นอย่้างมาก
8.เลี้ยงปลาตะเพียนขาวไว้ในตู้เลี้ยงปลา สร้างความสวยงามให้กับผู้พบเห็นเป็นอย่้างมาก

ปัญหาและอุปสรรคใน การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว

โดยปกติแล้วการเลี้ยงปลาหรือการเกษตรอื่นๆ ก็มักจะต้องพบกับอุปสรรคและปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว ซึ่งปัญหาทั่วไปที่มักจะพบเจอได้ใน การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว เลย ก็คือ ปลาจะไม่เจริญเติบโตได้เต็มที่ เกิดจากการที่เจ้าของบ่อไม่ได้มีการถ่ายน้ำบ่อยเท่าที่ควร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จึงเป็นเหตุที่ทำให้เกิดเห็บปลาและหนอนสมอที่เป็นตัวก่อพยาธิของปลา หรือโรคจากบักเตรีซึ่งเกิดจากการเลี้ยงปลาหนาแน่นจนเกินไปด้วยนั่นเอง ส่วนด้านศัตรูของปลาตะเพียนขาวก็จะมีพวกปลาช่อน ปลาชะโด ปลาดุก กบ เขียด งูกินปลา และนก เป็นต้น ซึ่งการเลี้ยงในบ่อควรจะระวังในเรื่องนี้ให้เป็นอย่างมาก ยิ่งพวกนกก็จะอันตราย ต้องคอยดูไม่ให้นกบินเข้ามาใกล้บ่อได้

ปัญหาอีกหนึ่งอย่างที่มักจะพบได้เป็นประจำเลย คือ การลักขโมยที่มักจะเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ในบ่อเลี้ยงที่ได้รับกำไรเป็นจำนวนมากจากผลผลิตที่จำหน่ายออกไป ซึ่งการขโมยนั้นก็มีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ตาข่าย การใช้แห กระชัง หรือลอบ ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้เลี้ยงปลาหลายรายต้องพบเจอและประสบปัญหาขาดทุนเป็นอย่างมาก ซึ่งหลายคนก็มีวิธีการเฝ้าระวังที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็มานอนเฝ้า บ้างก็ใช้รั้วมากั้นรอบๆ บ่อ แต่ปัญหาเหล่านี้ผู้ที่เลี้ยงอาจจะต้องศึกษาและแก้ไขอย่างใกล้ชิด หรือขอคำปรึกษาและคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่กรมประมงให้เข้ามาช่วยเป็นที่ปรึกษาก็ได้เช่นกัน

9.เป็นปลาที่มีก้างเยอะมาก ในการบริโภคควรระมัดระวังเป็นอย่างมาก
9.เป็นปลาที่มีก้างเยอะมาก ในการบริโภคควรระมัดระวังเป็นอย่างมาก

ฝากถึงผู้ที่สนใจเพาะเลี้ยงปลาตะเพียนขาว

ปลาตะเพียนขาวนั้นนับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปลาสายพันธุ์ที่อยู่คู่กับคนไทยมา ประชาชนส่วนใหญ่ก็มีการนำมาบริโภค เพาะเลี้ยง นำไปเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม รวมไปถึงนำไปปล่อยตามแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ที่ผู้เลี้ยงจะชักชวนให้หลายคนมาเริ่มเพาะเลี้ยงปลาตะเพียนขาวกันมากขึ้น นั่นก็เพราะเป็นปลาที่โตง่าย และเลี้ยงง่าย ไม่วุ่นวาย จึงทำให้เป็นปลาที่ต้องการในท้องตลาดเป็นอย่างมาก

สำหรับการลงทุนในการผลิตหรือการเพาะเลี้ยงนั้นนับว่าไม่สูงมากเกินไป เพียงแต่อาจจะมีการลงทุนในการขุดบ่อและเตรียมบ่อเท่านั้น จึงบอกได้เลยว่า การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว นับเป็นสายพันธุ์ปลาอีกหนึ่งชนิดที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

สำหรับการเพาะเลี้ยงปลาตะเพียนขาวนั้นนับว่าเป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ปลาที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะว่าปลาตะเพียนขาวนี้เป็นปลาที่สามารถเติบโตได้ดีทุกสภาพน้ำที่มีความกร่อยนิดหน่อย อีกทั้งยังเจริญเติบโตได้เร็ว ทำให้เกษตรกรหันมาเลี้ยงเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริมเป็นอย่างมาก อีกทั้งถ้านำปลาตะเพียนขาวเลี้ยงไว้ในนาข้าวก็จะช่วยลดการระบาดของหอยเชอรี่ได้อีกด้วย ถึงแม้จะเป็นปลาที่นำมาประกอบอาหารบ้าง แต่ก็มีการนำมาเลี้ยงไว้เพื่อความสวยงามด้วยเช่นกัน เห็นได้เลยว่าปลาตะเพียนขาวนั้นยังคงเป็นปลาที่น่าสนใจที่จะนำมาเพาะเลี้ยงไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว

เรื่องราวของปลาตะเพียนยังมีอะไรให้น่าค้นหาอีกมาก ถ้าอยากรู้รายละเอียดมากขึ้นต้องสอบถามผู้ที่ความรู้และความเข้าใจเฉพาะด้านเกี่ยวกับปลาจะดีที่สุด อาจจะได้ข้อมูลที่แน่นและกระชับขึ้น ซึ่งบทความในครั้งนี้เป็นเพียงการนำข้อมูลส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นเรื่องราวให้ได้อ่านและทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เพียงเท่านั้นเองปลาตะเพียนก็ยังคงเป็นปลาที่อยู่คู่กับคนไทย อยากให้อนุรักษ์และเพาะพันธุ์ไว้เพื่อที่พันธุ์ปลาชนิดนี้จะได้อยู่กับเราไปนานๆ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว

https://www.baanjomyut.com/library_5/agricultural_knowledge/fishing/02_5.html,https://www.fisheries.go.th/sf-yala/web2/index.php?option=com_content&view=article&id=23:2009-08-25-09-51-00&catid=3:2009-07-14-06-22-42,https://www.fisheries.go.th/sf-naratiwas/tapian.html,https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/510341,http://nongtoob1.blogspot.com/2012/05/blog-post_5387.html การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว