จุลินทรีย์ผลไม้ ในบ่อกุ้ง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
กุ้งที่เลี้ยงด้วยจุลินทรีย์
กุ้งที่เลี้ยงด้วยจุลินทรีย์

จุลินทรีย์ผลไม้

การลับมาภาคใหม่ไม่เหมือนเดิม คุณสนิทเปลี่นวิธีคิดหันมาเลี้ยงกุ้งแบบพอเพียงใช้ชีวภาพ คือ ปล่อยกุ้งให้บาง 50,000 ตัว/ไร่ ร่วมกับการใช้จุลินทรีย์ EM ผสมน้ำ ผสมอาหาร เลี้ยงกุ้ง ผลที่ตามคือดีขึ้น กุ้งเริ่มแข็งแรง ไม่ตายง่ายเหมือนก่อน แต่ด้วยคุณสนิทมีความจริงจังกับอาชีพสูง อยากรู้ว่าจุลินทรีย์ EM ดีอย่างไร เลยคิดตอ่ไปที่บริษัท คิวเฟ ซึ่งเป็นเจ้าของจุลินทรีย์ EM จากญี่ปุ่น และได้มีโอกาสเข้าไปอบรมเรื่อง “จุลินทรีย์” เป็นเวลา 2 วัน พร้อมกับการทำจุลินทรีย์ EM ให้มีประสิทธิภาพด้วยการนำมาหมักกับผลไม้ เมื่อกลับมาคุณสนิทจึงลงมือทำน้ำหมักจุลินทรีย์ผลไม้ โดยผสมในอาหารกุ้งให้กุ้งกินทุกวัน ทุกมื้อ จนกระทั่งจับขาย ของคุณสนิทจะเลี้ยงนานประมาณ 90-100 วัน ไซส์อยู่ 50-60 ตัว ต่อกิโลกรัม ผลที่ได้กลับมาถือว่าคุ้มค่ามากกับการลงทุน มีข้อดีมากมายดังนี้

  1. กุ้งแข็งแรง เจริญเติบโตดี ไม่ค่อยเป็นโรค พบคราบกุ้งในยอเป็นประจำ
  2. เนื้อกุ้งมีรสชาติดี หอม หวาน แบบเดียวกับกุ้งมาจากทะเล คนที่แพ้กุ้งก็ยังนำมาทานได้
  3. ขี้เลนที่พื้นบ่อจะมีปริมาณน้อย กลิ่นไม่เหม็น
  4. ช่วยรักษาสภาพน้ำ ลดปัญหาน้ำเน่าเสีย ขจัดแก๊สพิษ
  5. ทำให้ยืดระยะเวลาการเลี้ยงออกไป ทำราคาไปหาไซส์ใหญ่
ลักษณะน้ำหมักจุลินทรีย์จากผลไม้
ลักษณะน้ำหมักจุลินทรีย์จากผลไม้

จุลินทรีย์ EM

เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ EM ชนิดน้ำ สายพันธุ์ญี่ปุ่นของ บริษัท คิวเฟ (Kyusei) อัดแน่นไปด้วยจุลินทรีย์คุณภาพสูงกว่า 80 ชนิด ช่วยกันทำงาน แบ่งออกเป็น 5 พวก ตามลักษณะหน้าที่การทำงาน

  1. จุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย พวกนี้ต้องการออกซิเจนในการทำงาน เป็นตัวเร่งการย่อยสลายอินทรียวัตถุ ลดปัญหาของเสียสะสม
  2. จุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง ใช้แสงแดดเป็นตัวเร่งสังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่น้ำ เช่น ไนโตรเจน กรดอะมิโน น้ำตาล วิตามิน ฮอร์โมน
  3. จุลินทรีย์พวกใช้ในการหมัก จะเป็นตัวเสริมการทำงานของพวกสังเคราะห์แสง ช่วยบำบัดเส้นใย สลายแก๊สพิษ
  4. จุลินทรีย์พวกตึงธาตุไนโตรเจน เป็นกลุ่มของสาหร่ายและแบคทีเรียที่มีประโยชน์
  5. จุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก จะสร้างกรดแลคติก ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นโทษ

การทำน้ำหมักจุลินทรีย์ผลไม้

คุณสนิทจะใช้ผลไม้พื้นบ้านของไทย หาได้ง่ายในท้องถิ่น คือ สับปะรด กล้วยน้ำว้า มะละกอ และฟักทอง หากสมาชิกมีผลไม้ก็เอามาขายให้กับกลุ่มได้ กลุ่มจะรับซื้อเพื่อสมาชิกมีรายได้เสริม เมื่อได้มาแล้วจะล้างให้สะอาดเพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อระหว่างการหมัก มีการใช้ส่วนผสมดังนี้

โฆษณา
AP Chemical Thailand
  1. สับปะรด จำนวน 10 กิโลกรัม นำมาปอกเปลือกบางๆ สับให้ละเอียด
  2. มะละกอสุก จำนวน 2 กิโลกรัม เอาเม็ดออก สับให้ละเอียด
  3. ฟักทองแก่ จำนวน 2 กิโลกรัม เอาเม็ดออก สับให้ละเอียด
  4. กล้วยน้ำว้าสุก จำนวน 2 กิโลกรัม ปอกเปลือกออก สับให้ละเอียด
  5. จุลินทรีย์ EM จำนวน 250 ซีซี.
  6. กากน้ำตาล จำนวน 250 ซีซี.

ทำแต่ละครั้งในส่วนผสม มีน้ำหนักประมาณ 100 กิโลกรัม คุณสนิทจะเอาส่วนผสมทั้งหมดใส่ในถัง 500 ลิตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นใช้ผ้ายางคลุมไว้ ใช้เชือกมัดให้แน่น อย่าให้อากาศเข้า หมักไว้ 15-30 วัน คุณสนิทบอกว่ายิ่งนานยิ่งดี ครบ 10 วัน เปิดดูจะเห็นฝ้าสีขาวลอยอยู่บนผิวน้ำ มีกลิ่นหอม อมเปรี้ยว ถือว่าใช้ได้ เชื้อเดินได้ดี หลังจากการเปิดควรใช้หมดภายใน 2 เดืดน และอย่าปล่อยให้โดนแสงแดดและอากาศนานเกินเพราะเชื้อจะเสียเร็ว

เมื่อจะใช้จุลินทรีย์ผลไม้ คุณสนิทบอกว่า ต้องเอามาเจือจางก่อน โดยใช้จุลินทรีย์ผลไม้กับน้ำสะอาดในอัตราส่วน 1:1 มาปั่นให้ละเอียด กรอกใส่ภาชนะปิด คุณสนุทบอกว่าตอนนี้พร้อมใช้แล้ว เวลาใช้จะผสมในอาหารกุ้ง คลุกเคล้าให้ทั่ว ผึ่งให้แห้ง อัตราส่วนอยู่ที่น้ำหมักจุลินทรีย์ผลไม้ 1 แก้วน้ำ 250 ซีซี. ต่ออาหารกุ้ง 2 กิโลกรัม ให้กุ้งกินทุกวัน ทุกระยะ จะช่วยให้กุ้งสุขภาพดี ต้านทานโรคดี เลี้ยงง่าย และช่วยลดต้นทุน นอกจากนี้น้ำหมักจุลินทรีย์ผลไม้ยังใช้ได้กับการเลี้ยงปลาหรือใช้กับพืช เป็นฮอร์โมนพืชก็ได้ผลดี

ผสมกับอาหาร
ผสมกับอาหาร

ดังนั้นเพื่อการันตีความพิเศษของจุลินทรีย์ผลไม้ คุณสนิทจึงพาทีมงานนิตยสารสัตว์น้ำไปหาเกษตรกรที่ใช้จุลินทรีย์ผลไม้เลี้ยงกุ้งอยู่ในขณะนี้ คุณพิกุล แดงพยนต์ หนึ่งในสมาชิกของกลุ่มประมงพัฒนาเกษตรพอเพียง 49 แรกเริ่มคุณพิกุลทำสวนผลไม้ ปลูกส้มและองุ่นบนพื้นที่ประมาณ 30 ไร่ ช่วงหลังขาดแคลนแรงงาน มีค่าใช้จ่ายสูง และได้ผลผลิตช้า เลยตัดสินใจโค่นสวนผลไม้แล้วหันมาเลี้ยงกุ้งขาวเต็มตัวได้ 5 ปี แล้ว ตั้งแต่ปี 2552 มีทั้งหมดร่วม 20 บ่อ มีหลายขนาด ใหญ่สุด 5 ไร่ ระยะหลังเลี้ยงกุ้งไปได้แค่ 30 วัน เจอปัญหากุ้งทยอยตายเป็นประจำ ทำให้ผลผลิตเสียหาย เลยลองเปิดดูในเว็ปไซต์หาความรู้เพิ่มเติมและปรึกษากับสมาชิกในกลุ่ม พบว่าการเลี้ยงกุ้งในแบบชีวภาพกำลังมาแรง ลดความเสี่ยง เลี้ยงกุ้งได้ สอดคล้องกับจุลินทรีย์ผลไม้ของคุณสนิทพอดี ทำให้คุณพิกุลสนใจและลองใช้ดูได้ประมาณ 2 เดือน ควบคู่ไปกับการเลี้ยงกุ้งในแบบฉบับของตนเอง

การเตรียมบ่อ

หลังจากจับกุ้งจะฉีดเลนกำจัดของเสีย ตามปรับสภาพดินด้วยปูนขาวไร่ละ 20 ลูก ตากบ่อทิ้งไว้ 7 วัน ปล่อยน้ำเข้าให้ได้ 1.5 เมตร จากนั้นใส่ยาฆ่าพาหะ พวกหอย ลูกปลา แมลงน้ำ พักบ่อให้ยาสลายตัว 10 วัน ช่วงนี้คุณพิกุลบอกว่าจะเกิดอาหารหน้าดิน คือ หนอนแดง ต่อด้วยใส่คลอรีนแบบเจือจางฆ่าเชื้อโรค ทิ้งไว้ 1 วัน ถือว่าพร้อมแล้วที่จะต้อนรับลูกกุ้ง ความเค็มที่ใช้ คือ 1 ppt.

 

ปล่อยบาง จุลินทรีย์ผลไม้ ปลานิล

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คุณพิกุลใช้บริการลูกกุ้ง Fo ของซีพี ขนาด P12 ที่เรื่องการเติบโตไม่เคยเป็นรองใคร ราคาตัวละ 14 สตางค์ จะเลือกปล่อยกุ้งตอนช่วงเย็น ปล่อย 50,000 ตัว ต่อไร่ ค่อยให้อาหารในวันถัดไป โดยจะผสมจุลินทรีย์ผลไม้ให้กินทุกมื้อ ให้อาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น อาหารที่ใช้เป็นของซีพี พอลูกกุ้งอายุได้ 7 วัน คุณพิกุลจะไปซื้อลูกปลานิลมาปล่อย 300 ตัว ต่อไร่ เพื่อรักษาสภาพน้ำ ช่วยกำจัดของเสีย ตลอดการเลี้ยงคุณพิกุลจะเช็คคุณภาพน้ำทุกอาทิตย์ เติมแร่ธาตุที่ขาด ส่วนใหญ่จะเป็นเกลือ โปแตสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม ที่จำเป็นต่อการลอกคราบของกุ้ง เพิ่มการเจริญเติบโต มีการใช้จุลินทรีย์แบบผงหว่านทั่วบ่อ เพื่อบำบัดน้ำเสียและย่อยสลายของเสีย ตอนนี้ผ่านมาเกือบ 60 วัน ยังไม่มีปัญหาอะไร กุ้งเจริญเติบโตดี สุขภาพแข็งแรง คุณพิกุลตั้งใจจะเลี้ยงต่อถึง 80 วัน รอให้ปลานิลได้ขนาดด้วย ปลานิลจะโตเร็ว เพราะกินอาหารกุ้ง มีน้ำหนักประมาณ 400-600 กรัม สามารถขายปลานิลได้ สร้างรายได้เสริม

การรวมกลุ่มกันของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกิดเป็นรากฐานที่เข้มแข็ง ใช้การเลี้ยงกุ้งแบบพอเพียง ต้นทุนต่ำ ยึดแนวทางชีวภาพเป็นหลัก เน้นปล่อยกุ้งแบบบาง ลดความหนาแน่น เลี้ยงร่วมกับปลานิล ลดความเสี่ยง นำน้ำหมักจุลินทรีย์ผลไม้มาใช้เลี้ยงกุ้ง ทำให้กุ้งสุขภาพดี แข็งแรง ไม่ตายงาย การเลี้ยงกุ้งด้วยแนวทางชีวภาพเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ พร้อมแล้วที่จะติดปีกให้เกษตรกรเคลื่อนที่ไปข้างหน้าสง่างาม

สำหรับเกษตรกรที่สนใจน้ำหมักจุลินทรีย์ผลไม้สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ กลุ่มประมงพัฒนาเกษตรพอเพียง 49 ตำบลดอนราง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ติดต่อ คุณสนิท แดงพยนต์ ประธานกลุ่มประมงพัฒนาเกษตรพอเพียง 49 โทร.08-9410-3344

ขอขอบคุณ คุณสนิท แดงพยนต์, คุณพิกุล แดงพยนต์ และคุณดาริน แดงพยนต์ เป็นอย่างมาก ที่ให้โอกาสนิตยสารสัตว์น้ำเข้าเยี่ยมชมสถานที่ รวมถึงสอบถามข้อมูลเปิดเผยเรื่องราวดีๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรต่อไป

กุ้งในยอที่ได้
กุ้งในยอที่ได้

นิตยสารสัตว์น้ำ

tags: จุลินทรีย์ผลไม้ จุลินทรีย์ em หัวเชื้อจุลินทรีย์ การทําหัวเชื้อจุลินทรีย์ น้ำหมักจุลินทรีย์ ปุ๋ยจุลินทรีย์ วิธี ทํา ปุ๋ย ชีวภาพ จาก ผล ไม้ จุลินทรีย์ผลไม้

[wpdevart_like_box profile_id=”377357182296025″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]

โฆษณา
AP Chemical Thailand