โรคขี้ขาว มุมมอง มาริโอกรุ๊ป

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อุปสรรคการเลี้ยงกุ้งในปัจจุบันคงหนีไม่พ้นเรื่องของโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะโรคตัวร้าย อย่าง “ โรคขี้ขาว ” ที่ระบาดหนักทุกปี สร้างความเสียหายให้เกษตรกรเป็นอย่างมาก ซึ่งสาเหตุการเกิดโรคมาจากหลากหลายปัจจัย ทั้ง คุณภาพลูกกุ้ง การเตรียมบ่อ ของเสียระหว่างการเลี้ยง สภาพอากาศ เป็นต้น

อย่างไรก็ดี โรคขี้ขาว ในปัจจุบันถือว่าเป็นอีกหนึ่งโรคประจำตัวของการเลี้ยงกุ้งขาวแวนาไมไปแล้ว เกษตรกรต้องเตรียมรับมือ หาวิธีป้องกัน และ แก้ปัญหา เมื่อเกิดโรคขี้ขาวในบ่อเลี้ยงของตน โดยคัดสรรหาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่สามารถตอบโจทย์ ป้องกัน และ บรรเทาอาการของโรคได้ เพื่อให้เลี้ยงกุ้งได้ตลอดลอดฝั่งยันวันจับ

1.ลูกกุ้งขาวอายุเดือนเศษ
1.ลูกกุ้งขาวอายุเดือนเศษ

ปัญหาและอุปสรรคการเลี้ยงกุ้ง

ทีมงานสัตว์น้ำมีโอกาสได้พูดคุยกับ บริษัทค้าปัจจัยรายใหญ่ อย่าง เครือ มาริโอกรุ๊ปฯ ที่มี คุณสัมพันธ์ เปาะทอง กรรมการผู้จัดการบริษัท ได้ให้ข้อมูลเรื่องโรคขี้ขาวที่น่าสนใจดังนี้ “ผมมองว่าโรคขี้ขาวถือว่าเป็นโรคประจำตัวของกุ้งขาวไปแล้ว สามารถพบเจอการระบาดของโรคได้ทั่วทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเลี้ยงในบ่อดินธรรมดา หรือ บ่อ PE และสามารถพบได้ทั้งใน น้ำเค็ม น้ำจืด และ น้ำกร่อย และมักพบเจอได้ในกุ้งช่วงอายุตั้งแต่ 20 วัน ยันวันจับ ซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้เกษตรกรเลี้ยงกุ้งไม่รอด

ที่สำคัญจะพบว่าหากฟาร์ม หรือ บ่อ ไหน กุ้งที่เลี้ยงเป็นโรคขี้ขาว ก็จะพบเจอเรื่อยๆ ซ้ำซาก ส่งผลให้กุ้งเจริญเติบโตไม่ดี กินอาหารลดลง กุ้งตัวหลวม กรอบแกรบ และทยอยตาย ทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตกุ้งไม่เป็นไปตามเป้าหมาย กำไรลดลง บางรายอาจจะขาดทุนไปเลยก็มีให้เห็น” คุณสัมพันธ์ ให้ความเห็นเรื่องโรคขี้ขาว

2.การเติมแร่ธาตุก่อนปล่อยลูกกุ้ง
2.การเติมแร่ธาตุก่อนปล่อยลูกกุ้ง

สาเหตุ / ปัจจัย โรคขี้ขาว มุมมอง มาริโอฯ

ในมุมมองของ มาริโอ กรุ๊ป คุณสัมพันธ์ได้อธิบายว่า โรคขี้ขาว มีสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหลักๆ อยู่ 4 ประการ

แบคทีเรีย : เชื้อแบคทีเรียตัวร้ายที่อาศัยอยู่ในน้ำ ซึ่งเชื่อเหล่านี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายกุ้งจะเข้าไปทำลายระบบย่อยอาหาร โดยเฉพาะเยื่อผนังลำไส้กุ้ง ทำให้เกิดการอักเสบ และเยื่อผนังลำไส้หลุดล่อนออกมา

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สารพิษ : จำพวกเชื้อรา ซึ่งอาจจะเกิดจากการปนเปื้อนจากวัตถุดิบในการผลิตอาหารกุ้ง ไม่ว่าจะทั้งก่อนและหลังการผลิต

พยาธิ/เชื้อโรค : โรคขี้ขาว บางครั้งอาจจะเกิดจาก พยาธิ หรือ เชื้อจำพวกกรีการีน ซึ่งเชื้อเหล่านี้จะเข้าไปทำลายระบบทางเดินอาหารของกุ้ง ทำลายผนังลำไส้ ผนังท่อ ส่งผลให้เกิดการอักเสบ และหลุดล่อนออกมา ซึ่งเชื้อกรีการีนส่วนใหญ่มักพบเจออยู่ในพาหะจำพวกหอย ดังนั้นเกษตรกรจำเป็นต้องกำจัดพาหะก่อนปล่อยกุ้งทุกครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดโรค

สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม : สภาพแวดล้อมถือเป็นเรื่องสำคัญในการเลี้ยงกุ้ง โดยเฉพาะความสะอาดของบ่อเลี้ยง เพราะกุ้งกินและขับถ่ายของเสียในบ่อเดียวกัน ดังนั้นความสะอาดของน้ำเลี้ยง และ พื้นบ่อ จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก บ่อที่มีของเสีย หรือ สารอินทรีย์สูง มักจะเกิดแพลงค์ตอนบูม และ ดรอปบ่อยๆ ซึ่งทำให้กุ้งเครียด และอาจจะทำให้เกิดขี้ขาวขึ้นได้

นี่คือ 4 ประเด็นหลักๆ ที่ทำให้เกิดโรคขี้ขาวขึ้นในบ่อเลี้ยงกุ้ง ดังนั้นหากเกษตรกรไม่อยากให้กุ้งที่ตนเลี้ยงเป็นโรคขี้ขาว จะต้องมีวิธีการดูแลตั้งแต่การเตรียมบ่อ เมื่อจับกุ้งเสร็จแล้ว สำหรับบ่อดินควรปรับพื้นบ่อดันเลน กำจัดของเสีย และใส่ปูนปรับสภาพดิน เพื่อลดแหล่งสะสมของเชื้อโรค และใส่ยาฆ่าเชื้อ BKC + GLUTA 20 + 25% ซึ่งยาฆ่าเชื้อกลุ่มนี้มีคุณภาพค่อนข้างดี สามารถลดเชื้อแบคทีเรีย และ กำจัดเชื้อโปรโตซัว รวมถึง พยาธิ ได้เป็นอย่างดี

โดยเกษตรกรจะต้องทำความสะอาดบ่อให้สะอาด โดยเฉพาะบ่อ PE ตามแนวตะเข็บผ้า ซึ่งจะเป็นแหล่งฝังตัวของเชื้อโรค ซึ่งปริมาณการใช้ BKC + GLUTA 20 + 25% ใช้เพียง 1 ลิตร / ไร่ / น้ำลึก 4 เมตร ซึ่งหลังจากที่ลงยาฆ่าเชื้อไปแล้ว เมื่อยาหมดฤทธิ์แนะนำให้ลงจุลินทรีย์ตามไปด้วย เพื่อต้องการให้จุลินทรีย์ตัวดีบูม เพื่อไปเบียดบังเชื้อจุลินทรีย์ตัวร้าย

“เราต้องให้จุลินทรีย์ตัวดีทำงานก่อน ก่อนที่เชื้อตัวร้ายจะเกิดขึ้น เพราะถ้าเชื้อตัวดีทำงานได้แล้ว หรือมีมากพอ ก็จะสามารถคุมเชื้อร้ายไม่ให้ระบาดหนักได้ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยป้องกันการเกิดโรคขี้ขาวได้เช่นเดียวกัน” คุณสัมพันธ์กล่าว

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.วิตามินเสริม ดีโปร
3.วิตามินเสริม ดีโปร
อาหารเสริมโปรตีน ซีรีส์ วัน
อาหารเสริมโปรตีน ซีรีส์ วัน

การป้องกันและกำจัดโรคขี้ขาว

โดยจุลินทรีย์ที่ มาริโอ แนะนำให้ลูกค้าเสมอมา คือ จุลินทรีย์กลุ่ม บาซิลลัส ซับติลิส ซึ่งมีให้เลือกหลายแบรนด์เลยทีเดียว เกษตรกรควรลงจุลินทรีย์ทุกๆ 7 – 10 วัน/ครั้ง หลังจากที่เริ่มปล่อยกุ้งแล้ว เพื่อให้คุณภาพน้ำเลี้ยงนิ่ง pH คงที่ สีน้ำไม่เข้มเกินไป และจุลินทรีย์จะยังช่วยคุมของเสียที่ตกค้างในบ่อเลี้ยงอีกด้วย

ที่สำคัญเจ้าของบ่อจะต้องคอยตรวจเช็ค ค่าน้ำ แอมโมเนีย ไนไตรท์ เป็นประจำ ซึ่งการเช็คหรือวัดค่าน้ำจะช่วยให้เกษตรกรทราบว่าคุณภาพน้ำตอนนี้เป็นอย่างไร ค่าของเสียเป็นอย่างไร และหาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยลดป้องกันการเกิดโรคขี้ขาวขึ้นได้

สิ่งสำคัญระหว่างการเลี้ยง เราแนะนำให้เกษตรกรใช้อาหารเสริม “ดีโปร” เป็นวิตามินรวม และ กรดอะมิโนเข้มข้น ผสมรวมกับเชื้อโปรไบโอติก มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อสัตว์น้ำอย่างยิ่ง โดยจะช่วยทำให้ระบบการย่อยอาหารของกุ้งดีขึ้น และเข้าไปคุมเชื้อโรคที่จะเกิดในลำไส้กุ้งอีกด้วย ทำให้สัตว์น้ำโตดี กินอาหารเก่ง ทำให้การดูดซึมอาหารดี สัตว์น้ำสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ส่งผลทำให้ FCR ต่ำ กุ้งสีสวย ได้น้ำหนักดี โดยแนะนำให้เกษตรกรนำ ดีโปร ไปคลุกอาหารให้กุ้งวันละ 1 มื้อ จะช่วยให้ระบบการย่อยอาหารของกุ้งดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน

สำหรับกุ้งที่มีอาการโรคขี้ขาวแล้ว คุณสัมพันธ์แนะนำว่า เกษตรกรควรคลุกวิตามินให้กุ้งกิน เพื่อให้วิตามินเข้าไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและเสียหาย นอกจากนี้ควรให้กุ้งกินสมุนไพรสกัด จำพวก กระเทียม ข่า ขมิ้น ซึ่งจะมีคุณสมบัติในการลดปริมาณเชื้อขี้ขาวลงได้อย่างชัดเจนภายใน 3 – 5 วัน โดยสมุนไพรเหล่านี้จะเข้าไปดีท็อกซ์ลำไส้ ขับสารพิษ ลดเชื้อแบคทีเรีย

ข้อดีของสมุนไพรสกัด คือ สามารถออกฤทธิ์และคงตัวได้ดีกว่าสมุนไพรสด ที่เกษตรกรเอามาหมักเอง เพราะนอกจากจะต้องใช้ในปริมาณที่มาก หรือหายจากขี้ขาวแล้ว ยังจะต้องใช้ให้หมดภายในเวลาอันรวดเร็ว เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรคได้

หลังจากที่เคลียร์เชื้อในลำไส้กุ้งแล้ว เกษตรกรต้องให้วิตามินเสริมอีก 1 ตัว ที่จะช่วยรักษาแผลในลำไส้กุ้ง ทำให้ลำไส้กุ้งกลับมาย่อยอาหารได้ดีเหมือนเดิม และเมื่อระบบการย่อยอาหารดีขึ้น กุ้งก็จะกลับมากินอาหารได้ตามปกติ ซึ่งวิตามินที่ว่านี้ คือ “ซีรีส์ วัน” ในตัวเขาจะมีวิตามินรวมกรดอะมิโนเข้มข้น มีค่าโปรตีนสูง จะเข้าไปช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่เสียหาย ทำให้กุ้งกลับมากินอาหารได้ตามปกติ

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.ลูกกุ้งขาวคุณภาพ
4.ลูกกุ้งขาวคุณภาพ

การบริหารจัดการบ่อกุ้ง

โดยเฉพาะตับและลำไส้ของกุ้ง เมื่อรักษาที่ตัวกุ้งให้สะอาดแล้ว สิ่งสำคัญ คือ “บ้านของกุ้ง” หรือ บ่อเลี้ยง จะต้องทำความสะอาดด้วยเช่นกัน โดยเกษตรกรจะต้องคุมเชื้อในน้ำด้วยการลงจุลินทรีย์ต่อเนื่องทุกๆ 7 – 10 วัน ยันวันจับกุ้ง ป้องกันการบูมของเชื้อก่อโรค สำหรับแนวทางการควบคุมและรักษาโรคขี้ขาวของ มาริโอกรุ๊ป ที่แนะนำกันไปนั้น เป็นวิธีที่รักษาและควบคุมการเกิดโรคขี้ขาวได้เป็นอย่างดี  เป็นที่ประจักษ์แล้ว และเห็นผลชัดเจนจากคำยืนยันของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง

“โรคขี้ขาวปัจจัยหลัก เกษตรกรต้องดูแลเรื่องความสะอาดของพื้นบ่อ สภาพทั่วไป การเตรียมบ่อต้องละเอียดมากขึ้น เพราะขี้ขาว มันเป็นโรคประจำตัวของกุ้ง สิ่งที่เราทำได้ คือ เราต้องป้องกันให้มีโอกาสเกิดน้อยมากที่สุด ตั้งแต่กระบวนการเตรียมบ่อ การคัดเลือกลูกกุ้ง รวมถึง การเลี้ยง การทรีตน้ำต่างๆ ต้องผ่านการฆ่าเชื้อ

ที่สำคัญควรเสริม วิตามิน อาหารเสริม แร่ธาตุ ให้กุ้งได้ใช้ ได้กิน เพื่อให้กุ้งมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง และยังสามารถป้องกันการเกิดโรคขึ้นในบ่ออีกด้วย ที่สำคัญถ้าเกิดโรคขึ้นแล้ว เกษตรกรจะต้องคัดสรรหาผลิตภัณฑ์ที่เข้าไปตอบโจทย์หรือแก้ปัญหาได้ตรงจุด เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน และรักษาผลกำไรตอนจับกุ้งนั่นเอง”

สนใจสั่งซื้อ สอบถาม ผลิตภัณฑ์ ดูแลสุขภาพกุ้ง ติดต่อได้ที่ บริษัท มาริโอ ไบโอโปรดักส์ จำกัด โทร.081-311-1511 / 02-988-7203 Facebook : มาริโอ กรุ๊ฟ

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 384