กากเนื้อในปาล์ม มีมูลค่า สามารถเป็น วัตถุดิบอาหารสัตว์ ปีกและ อาหารสุกร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

กากเนื้อในปาล์ม มีมูลค่า สามารถเป็น วัตถุดิบอาหารสัตว์ ปีกและ อาหารสุกร

กระบวนการบีบหรือ สกัดน้ำมันปาล์ม

กากเนื้อในปาล์ม (Palm kernel meal) เป็นผลพลอยได้ หรือเป็นกากที่ได้จากการแยกเอาน้ำมันออกจากเนื้อในของผลปาล์ม ด้วยกระบวนการบีบหรือ สกัดน้ำมันปาล์ม โดยผลปาล์มจะถูกแยกเอาเปลือกออก และไปบีบเอาน้ำมันออกต่างหาก ส่วนที่เหลือ ได้แก่ ส่วนกะลา และเนื้อใน จะถูกแยกเอาส่วนกะลาออก เหลือแต่เนื้อในปาล์ม และถูกแยกเอาน้ำมันออกโดยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้

1.การบีบน้ำมัน (expellered) โดยส่วนนี้ในปาล์มจะถูกแยกเอาไขมันออก โดยวิธีการบีบน้ำมัน (expellered) กากเนื้อในปาล์มชนิดนี้จะยังมีระดับไขมันสูง และมีค่าพลังงานใช้ประโยชน์ได้สูงตามไปด้วย แต่จะมีระดับโปรตีนต่ำ

2.การ สกัดน้ำมันปาล์ม ด้วยตัวทำละลาย (solvent extraction) โดยส่วนของเนื้อในปาล์มจะถูกบดละเอียด แล้วถูก สกัดเอาน้ำมันปาล์ม ออก โดยการใช้ตัวทำละลาย ซึ่งสามารถ สกัดน้ำมันปาล์ม ออกจากเนื้อในปาล์มให้หมดมากกว่า และ กากเนื้อในปาล์ม ชนิดนี้จะมีระดับไขมันต่ำมาก หรือไม่มีเลย และมีค่าพลังงานใช้ประโยชน์ได้ต่ำลงด้วย แต่การ สกัดน้ำมันปาล์ม จะมีระดับโปรตีนสูงกว่าชนิดบีบน้ำมัน

ปรึกษาฟรี (หากบอกว่ามาจากพลังเกษตร.com) ความรู้เรื่องปาล์มน้ำมัน 

โทร. 077-599-680

โฆษณา
AP Chemical Thailand
กากเนื้อในปาล์ม
กากเนื้อในปาล์ม
1.กากเนื้อในปาล์ม อาหารสุกร วัตถุดิบอาหารสัตว์ สกัดน้ำมันปาล์ม
1.กากเนื้อในปาล์ม อาหารสุกร วัตถุดิบอาหารสัตว์ สกัดน้ำมันปาล์ม
2.คุณค่าทางอาหารของกากเนื้อในปาล์ม
2.คุณค่าทางอาหารของกากเนื้อในปาล์ม

คุณค่าทางอาหารของกากเนื้อในปาล์ม

คุณค่าทางอาหารของกากเนื้อในปาล์ม ทั้งชนิดบีบน้ำมันและสกัดน้ำมัน

กากเนื้อในปาล์ม”บีบน้ำมัน” มี

  • โปรตีน 14-15%
  • ไขมัน 8%
  • เยื่อใย 18%

และมี พชด.สุกร และสัตว์ปีก 1,696 และ 2,414 กค./กก. ตามลำดับ

ในขณะที่กากเนื้อในปาล์ม”สกัดน้ำมัน” มี

  • โปรตีน 17-18%
  • ไขมัน 2.55%
  • เยื่อใย 18.4%

และมีพชด.สุกร และสัตว์ปีก 1,588 และ 2,197 กค./กก. ตามลำดับ

จะเห็นได้ว่ากากเนื้อในปาล์มชนิดสกัดน้ำมันด้วยตัวทำละลายมีระดับโปรตีนสูงกว่า แต่มีระดับ พชด.ต่ำกว่ากากเนื้อในปาล์มบีบน้ำมัน ทั้งนี้เพราะกากเนื้อในปาล์มสกัดน้ำมันมีระดับไขมันหลงเหลืออยู่น้อยกว่านั่นเอง กากเนื้อในปาล์มทั้ง 2 ชนิด มีระดับเยื่อใยสูงมากพอๆ กัน ที่ประมาณ 14-15 เปอร์เซ็นต์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

และเป็นขีดจำกัดในการใช้กากเนื้อในปาล์มเป็น วัตถุดิบอาหารสัตว์ ปีกและ อาหารสุกร กากเนื้อในปาล์มไม่มีสารพิษใดๆ ที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ แต่จะมีลักษณะหยาบ ฟ่าม และเบา (ชนิดสกัดน้ำมัน) ทำให้สุกรไม่ค่อยชอบกิน ต้องใช้ระยะเวลานานในการปรับตัวให้เข้ากับสูตรอาหารผสมกากเนื้อในปาล์ม

โดยทั่วไปกากเนื้อในปาล์มสามารถใช้ในสูตรอาหารสัตว์ได้ไม่เกิน 20-25 เปอร์เซ็นต์ในอาหาร การใช้กากเนื้อในปาล์มระดับสูงกว่านี้ในสูตรอาหารอาจทำให้อาหารมีระดับเยื่อใยสูงขึ้นมาก และอาหารมีความฟ่ามสูงมากขึ้น และทำให้สัตว์กินอาหารได้น้อยลง ส่งผลให้สมรรถภาพการผลิตของสัตว์ลดลง

3.กากเนื้อในปาล์ม
3.กากเนื้อในปาล์ม

กากเนื้อในปาล์มสามารถใช้เป็น วัตถุดิบอาหารสัตว์ ปีก และสุกร 

ทวีศักดิ์ นิยมบัณฑิต (2529) ได้ทดลองการใช้กากเนื้อในปาล์มชนิดบีบน้ำมันผลิตได้ในประเทศไทย เป็น อาหารสุกร ในระดับ 0, 15, 25 และ 35% ในสูตร อาหารสุกร ระยะรุ่น-ขุน ดังผลการทดลองที่แสดงไว้ท้ายบทความ ซึ่งปรากฏว่าการเพิ่มกากเนื้อในปาล์มถึงระดับ 35% ในสูตรอาหาร มีผลทำให้สมรรถภาพการผลิตของสุกรมีแนวโน้มลดลง

โดยเฉพาะลักษณะประสิทธิภาพการใช้อาหาร หรืออาหาร/นน.เพิ่ม ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าอาหารผสมกากปาล์มระดับสูงมีระดับเยื่อใยสูงขึ้นด้วยนั่นเอง การใช้กากเนื้อในปาล์มที่ระดับ 25% ใน อาหารสุกร ระยะรุ่น-ขุน ไม่มีผลทำให้สมรรถภาพการผลิตของสุกรเสียไปแต่ประการใด

กากเนื้อในปาล์มทั้ง 2 ชนิด สามารถใช้เป็น วัตถุดิบอาหารสัตว์ ปีกและ อาหารสุกร ได้ทุกระยะ แต่ระดับการใช้ในสูตรอาหารควรขึ้นอยู่กับระดับเยื่อใยในอาหารที่สัตว์ชนิดนั้นทนได้ กากเนื้อในปาล์มควรใช้ในระดับต่ำในอาหารสัตว์ระยะเล็ก-รุ่น และใช้ได้มากขึ้นในอาหารสัตว์ระยะขุน ระยะโตเต็มวัย หรือในระยะสืบพันธุ์

กากเนื้อในปาล์มใช้ได้สูงสุดไม่เกิน 25% ในอาหารสุกรระยะรุ่น-ขุน นอกจากนี้กากเนื้อในปาล์มยังสามารถใช้ได้ดีในอาหารแม่สุกรอุ้มท้องที่ต้องการอาหารเยื่อใยสูง และในอาหารไก่สาวก่อนไข่ที่ต้องการอาหารเยื่อใยสูง และพลังงานต่ำ การใช้กากเนื้อในปาล์มชนิดบีบน้ำมันซึ่งมีระดับโปรตีนและไขมันใกล้เคียงกับรำละเอียดในการเป็น วัตถุดิบอาหารสัตว์ จึงเท่ากับเป็นการทดแทนรำละเอียดไปในตัว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่หากเป็นกากเนื้อปาล์มสกัดน้ำมันซึ่งมีลักษณะเป็นฝุ่นสูง และมีระดับ พชด.ต่ำ การใช้กากปาล์มดังกล่าวในระดับสูงอาจมีผลทำให้อาหารมีลักษณะเป็นฝุ่นสูงมาก สัตว์กินอาหารได้น้อย อีกทั้งอาหารดังกล่าวจะมีระดับ พชด. ในอาหารต่ำตามไปด้วย

ซึ่งอาจแก้ปัญหาดังกล่าวได้ โดยการเสริมไขมันลงไปในสูตรอาหาร ได้แก่ น้ำมันปาล์ม หรือน้ำมันรำดิบ ฯลฯ จนอาหารมีระดับไขมันรวม 4-5% ก็จะช่วยทำให้อาหารนั้นหมดปัญหาเรื่องการเป็นฝุ่น สัตว์มีการกินอาหารตามปกติ และอาหารมี พชด.สูงขึ้น จนเพียงพอแก่ความต้องการของสัตว์

กากเนื้อในปาล์มที่จำหน่ายในท้องตลาดมีความผันแปรค่อนข้างมาก เพราะบางครั้งมีการปนด้วยกากปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นกากที่ได้จากการบีบน้ำมันปาล์มทั้งผล และมีคุณค่าทางอาหารต่ำ มีเยื่อใยสูง ฉะนั้นเกษตรกรก่อนจะทำการซื้อกากเนื้อในปาล์มกับผู้ขายรายใดรายหนึ่ง ควรส่งตัวอย่างไปวิเคราะห์หาคุณค่าทางอาหารก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าได้ซื้อกากเนื้อในปาล์มที่ตรงตามมาตรฐานจริงๆ กากเนื้อในปาล์มควรมีโปรตีนไม่น้อยกว่า 13-14%

4.การให้อาหาร
4.การให้อาหาร
อาหารที่ผสมกากเนื้อในปาล์ม
อาหารที่ผสมกากเนื้อในปาล์ม ซึ่งเป็น วัตถุดิบอาหารสัตว์

การให้อาหาร

สูตรอาหารที่ผสมกากเนื้อในปาล์มจะมีลักษณะหยาบ สัตว์ไม่ชอบกิน ฉะนั้นการเปลี่ยนสูตรอาหารต้องให้ระยะเวลาสัตว์มีการปรับตัวพอสมควร แต่สุดท้ายสุกรจะรับอาหารผสมกากเนื้อในปาล์มนั้น กากเนื้อในปาล์มชนิดสกัดน้ำมันมีไขมันน้อย อาจมีลักษณะฟ่าม และเป็นฝุ่น

หากสัตว์เกิดอาการระคายเคืองทางเดินหายใจขณะกินอาหาร ควรจะหาทางกำจัดฝุ่น โดยการผสมกากน้ำตาลในระดับ 3-4% หรือผสมไขมันจนสูตรอาหารมีระดับไขมัน 4-5% หรือทำการอัดเม็ดอาหาร หรือการให้อาหารลักษณะเปียก

5.ต้นปาล์มน้ำมัน
5.ต้นปาล์มน้ำมัน

สมรรถภาพการผลิตของสุกรรุ่น-ขุน

สมรรถภาพการผลิตของสุกรรุ่น-ขุน (น้ำหนัก 30-60 กก.) ที่กินอาหารผสมกากเนื้อในปาล์มในระดับ 0, 15, 25 และ 35% ในสูตรอาหาร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ที่มา : อาหารสุกร และสัตว์ปีกเชิงประยุกต์ โดย รศ.อุทัย คันโธ

          สมรรถภาพการผลิต ระดับกากเนื้อในปาล์มในสูตรอาหาร (%)

0

15

25

35

จำนวนสุกร (ตัว)

8

8

8

8

อัตราการเจริญเติบโต (กก./วัน)

0.72

0.67

0.70

0.65

ปริมาณอาหารที่กิน (กก./วัน)

2.01

2.00

1.99

1.95

ประสิทธิภาพการใช้อาหาร

2.80

3.02

2.86

3.01

พื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน (ซม.²)

30.88

30.70

30.50

29.35

เปอร์เซ็นต์เนื้อแดง

44.76

44.47

43.82

42.34

แหล่งที่มา : ทวีศักดิ์ นิยมบัณฑิต (2529)