การเลี้ยงไก่เนื้อระบบปิด กับ 2 บริษัท มีกำไรตลอด ยืนยันโดย กำนันโทน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในปัจจุบันที่โลกและทุกชีวิตยังคงหมุนวนไป การเลี้ยงสัตว์ก็เช่นกัน มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยงเพื่อให้เท่าทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งในเรื่องของต้นทุนในการเลี้ยง ราคาขาย การจัดการต่างๆ เช่นเดียวกับ ศรีมงคลฟาร์ม ฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อที่ได้ปรับตัวจนกลายเป็นฟาร์มที่เลี้ยงไก่เนื้อที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี การเลี้ยงไก่เนื้อระบบปิด

1.คุณศรีชน-สระทองมอญ-หรือกำนันโทน
1.คุณศรีชน-สระทองมอญ-หรือกำนันโทน

การเลี้ยงไก่เนื้อ

คุณศรีชน สระทองมอญ หรือรู้จักในนาม กำนันโทน อายุ 65 ปี ปัจจุบันเลี้ยงไก่เนื้อแบบไก่ประกันกับเบทาโกร และไทยฟู้ดส์ ศรีมงคลฟาร์ม ตั้งอยู่ที่ 17 ม.11 ต.หนองพันจันทร์ อ.บ้านคา จ.ราชบุรี ฟาร์มแห่งนี้เปิดกิจการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2530

โดยกำนันโทนได้เล่าให้ทีมงานนิตยสารสัตว์บกฟังว่า ในช่วงแรกที่เริ่มเลี้ยงไก่ตนไม่มีความรู้อะไรมากมายนัก ก็เลี้ยงแบบบ้านๆ เป็นการเลี้ยงแบบระบบเปิด รูปแบบโรงเรือนยังเป็นแบบมุงจากอยู่เลย ตอนนั้นเลี้ยงประมาณ 20,000 ตัว เนื่องจากการเลี้ยงต้องมีค่าใช้จ่ายมาก ทั้งค่าซ่อมแซมเล้า ค่าน้ำ ค่าไฟ ทำให้แบกรับภาระพวกนี้ไม่ไหว จึงตัดสินใจหยุดเลี้ยงไปประมาณ 1 ปี ช่วงนั้นตนเองก็ป่วยถึงขั้นล้มหมอนนอนเสื่อ ไม่มีทิศทางในการใช้ชีวิต

จนหลังจากที่หายจากอาการป่วยทำให้เขาคิดได้ว่า ชีวิตคนจะอยู่ได้อีกกี่วันก็ยังไม่รู้ เราต้องทำอะไรที่สามารถมีคนมาแทนเราได้หากเราไม่อยู่แล้ว และต้องไม่ทำจนเกินตัว ทำเท่าที่เราทำไหว ที่สำคัญ คือ ไม่ควรทำสิ่งไม่ดี ต้องทำสิ่งที่คู่ควรกับการเกิดเป็นมนุษย์ให้มากที่สุดจุดนี้เองที่ทำให้กำนันโทนมีทิศทางในการใช้ชีวิตมากขึ้น จึงกลับมาคิดใหม่อีกครั้ง คนอื่นทำได้ เราก็ต้องทำได้ ลองหาวิธีการทำงานใหม่ ลงมือทำเองให้มากขึ้น ศึกษาให้รู้และเข้าใจมากขึ้น

กำนันเผยแรงบันดาลใจในการเลี้ยงไก่เนื้อว่า ผมเริ่มมองหาธุรกิจที่เราสามารถฝึกฝนได้เอง ได้อยู่ใกล้บ้าน จุดนี้เองทำให้ผมกลับมานั่งคิดว่าจะทำอะไรดีในการเริ่มต้นอาชีพให้อยู่อย่างพอเพียง ไม่ได้คิดว่าจะร่ำรวย

หลังจากได้กลับมาเลี้ยงไก่เนื้อใหม่อีกครั้ง โดยทำร่วมกับสหฟาร์ม เลี้ยงได้ประมาณ 2-3 ปี โดยการเลี้ยงแบบระบบเปิดเช่นเดิม แต่มีเทคนิคที่น่าสนใจตรงที่กำนันโทน อาบน้ำให้ไก่ เพราะไก่น็อคจากอากาศที่ร้อนจัด ฟาร์มอื่นส่วนใหญ่แก้ปัญหาโดยติดตั้งระบบพ่นหมอกเพื่อให้ไก่รู้สึกเย็นขึ้น แต่ผลเสียที่ตามมา คือ ไก่จะเป็นหวัดง่าย เนื่องจากละอองน้ำเข้าไปในระบบทางเดินหายใจของไก่ ส่งผลให้ในช่วงก่อนจับมีเปอร์เซ็นต์สูญเสียสูงเกินกว่า 10%

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.ติดสปริงเกลอร์ในโรงเรือนไก่เนื้อ
2.ติดสปริงเกลอร์ในโรงเรือนไก่เนื้อ การเลี้ยงไก่เนื้อระบบปิด การเลี้ยงไก่เนื้อระบบปิด การเลี้ยงไก่เนื้อระบบปิด

การบำรุงดูแลไก่เนื้อ

กำนันโทนจึงเลือกใช้วิธีการติดสปริงเกลอร์แบบเดียวกับที่ใช้รดต้นไม้ในสวน หลักการทำงาน คือ เปิดสปริงเกลอร์ประมาณ 5 นาที แล้วเราเดินไปตั้งแต่หน้าเล้าไปถึงท้ายเล้า สังเกตได้เมื่อคนเดินเข้าไปใกล้ตัวไก่ มันจะเดินหนี ทำให้มันต้องเดินผ่านในจุดที่มีน้ำ ทั้งไก่และพื้นก็จะเปียกน้ำไปด้วย เป็นวิธีการช่วยระบายความร้อนให้กับตัวไก่

ข้อดีของพื้นที่เปียกแต่ไม่ชื้น คือ เมื่อไก่นอนก็จะรู้สึกเย็น ด้วยโรงเรือนที่เป็นแบบเปิดที่มีการระบายอากาศตามธรรมชาติ รวมกับน้ำที่พื้นทำให้เกิดการระเหยของน้ำ ส่งผลให้อุณหภูมิภายในโรงเรือนลดต่ำลง โดยหนึ่งโรงเรือนติดสปริงเกลอร์สองแถวตามความยาวของโรงเรือน

ทั้งนี้การอาบน้ำให้ไก่นั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละวัน หากอากาศร้อนก็สามารถเปิดสปริงเกลอร์ได้ประมาณ 2-3 ครั้งต่อวัน ด้วยวิธีการแบบนี้ทำให้การเลี้ยงไก่เริ่มมีกำไรเกิดขึ้น และทำให้กำนันโทนมีทุนพอที่จะขยายโรงเรือนเลี้ยงไก่เพิ่มขึ้น

3.บรรยากาศใน การเลี้ยงไก่เนื้อระบบปิด
3.บรรยากาศใน การเลี้ยงไก่เนื้อระบบปิด

สภาพพื้นที่เลี้ยงไก่เนื้อ

ปัจจุบันกำนันโทนขยายธุรกิจการเลี้ยงไก่เนื้อได้ถึง 4 ฟาร์ม ดังนี้

  • ศรีมงคลฟาร์ม 1 ร่วมกับทางบริษัท ไทยฟู้ดส์ จำกัด จำนวน 7 เล้า เลี้ยงประมาณ 25,000 ตัว/เล้า
  • ศรีมงคลฟาร์ม 2 ร่วมกับทางบริษัท เบทาโกร จำกัด จำนวน 14 หลัง เลี้ยงประมาณ 35,000 ตัว/เล้า
  • ศรีมงคลฟาร์ม 3 ร่วมกับทางบริษัท ไทยฟู้ดส์ จำกัด จำนวน 7 เล้า เลี้ยงประมาณ 30,000 ตัว/เล้า
  • ศรีมงคลฟาร์ม 4 ร่วมกับทางบริษัท ไทยฟู้ดส์ จำกัด จำนวน 6 เล้า เลี้ยงประมาณ 30,000 ตัว/เล้า

กำนันโทนบอกเหตุผลที่เลือกเลี้ยง 2 บริษัท ว่า

1.ลดความเสี่ยงในด้านการตลาดลง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

2.ไทยฟู้ดส์ครอบคลุมการเลี้ยงไก่เนื้อในพื้นที่จังหวัดราชบุรี

3.ค่าขนส่งอาหารของทางไทยฟู้ดส์ถูกกว่า เพราะระยะทางขนส่งที่ใกล้กว่ากันถึง 2 เท่า

ด้วยเหตุนี้จึงตัดสินใจเลี้ยงไก่ร่วมกับเบทาโกรและไทยฟู้ดส์ ซึ่งกำนันก็มีความมั่นใจในการเลี้ยงแบบระบบประกันราคากับทั้ง 2 บริษัท

4.เตรียมลงลูกไก่เนื้อ
4.เตรียมลงลูกไก่เนื้อ การเลี้ยงไก่เนื้อระบบปิด การเลี้ยงไก่เนื้อระบบปิด การเลี้ยงไก่เนื้อระบบปิด 

ปัญหาและอุปสรรคในฟาร์มไก่เนื้อ

ในปี 2545 ที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกอย่างหนักในประเทศไทย ทำให้ทุกฟาร์มไก่ถูกสั่งให้ปลดไก่ และมีการพักเล้าการเลี้ยงไปนานถึง 6 เดือน กำนันเปิดใจว่า “ช่วงนั้นฟาร์มตนก็ต้องปลดไก่ทั้งหมดเช่นกัน ทั้งที่ไก่เลี้ยงได้แค่ 21 วัน เท่านั้น แต่ก็ได้เงินชดเชยจากทางภาครัฐ และหันไปปลูกอ้อยแทนเพื่อให้มีรายได้มาใช้ภายในครัวเรือน

จุดเริ่มต้นทำโรงเรือนแบบระบบปิด (Evap)

จุดนี้ทำให้กำนันโทนหันมาเลี้ยงไก่ร่วมกับทางเบทาโกร และทางเบทาโกรก็แนะนำให้ทำโรงเรือนแบบระบบปิด (Evap) แต่ติดปัญหาเรื่องต้นทุนที่ต้องใช้ทำโรงเรือนสูงเกินกว่าจะทำได้ กำนันโทนแก้ปัญหาโดยนำกำไรที่ได้จากการเลี้ยงไก่ในแต่ละรุ่นมาต่อยอด ค่อยๆ ปรับปรุงโรงเรือน ใส่วัสดุที่จำเป็นก่อนโดยไม่มีการกู้ยืมเงินเป็นการนำทุนมาต่อทุนแทนร่วมกับทำไร่อ้อยด้วย จนปัจจุบันฟาร์มของกำนันเลี้ยงในระบบปิดทั้งหมด และนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ในการเลี้ยงไก่ร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว

ในการสร้างโรงเรือนแต่ละที่นั้นถือว่ามีความสำคัญมาก เนื่องจากจะเป็นรากฐานในการดำเนินธุรกิจในอนาคต หากวางรากฐานมาดี ผลที่ได้ตามมาก็ย่อมดี กำนันโทนเล็งเห็นความสำคัญในข้อนี้จึงสร้างและปรับปรุงให้ได้มาตรฐานมากที่สุด ทั้งประตูทางเข้า ความลาดเอียงของพื้นเพื่อไม่ให้เกิดน้ำขัง ทั้งร่องน้ำที่อยู่ด้านใต้โรงเรือนที่ก่อจากปูนซึ่งจะร้อน ทำให้พวกสัตว์และแมลงต่างๆ อาศัยอยู่ไม่ได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การติดตั้งคูลลิ่งแพค 11 ก้อน ต่อพัดลม 1 ตัว ปกติการใช้งานคูลลิ่งแพคต้องใช้น้ำที่สะอาดเท่านั้น ทางกำนันโทนใช้น้ำผิวดิน (น้ำบ่อสระ) ไม่ใช้น้ำบาดาลเพราะมีตะกอนในน้ำ ทำให้เกิดการอุดตันของตะกอนที่คูลลิ่งแพค โดยจะมีบ่อพักน้ำก่อนดึงน้ำไปใช้กับคูลลิ่งแพค วิธีนี้ทำให้ทางฟาร์มยืดอายุการใช้งานได้มากถึง 20 ปี  และใช้คูลลิ่งแพคอย่างดี

กำนันมั่นใจเลือกใช้สินค้าจาก บริษัท มุนเตอร์ส จำกัด  ส่วนพัดลมเลือกใช้ของ บริษัท ฟาร์มโปร จำกัด จำนวน 17 ตัว ขนาด 48 นิ้ว เพราะลูกปืนทน ดูแลง่าย ทำความสะอาดง่าย ไม่ต้องรอแจ้งเซอร์วิสเราก็สามารถดูแลจัดการเองได้ และตัวใบพัดนั้นไม่มีการล้าในระหว่างการทำงาน

5.ไซโลอาหารไก่เนื้อ
5.ไซโลอาหารไก่เนื้อ การเลี้ยงไก่เนื้อระบบปิด การเลี้ยงไก่เนื้อระบบปิด การเลี้ยงไก่เนื้อระบบปิด 

การบริหารจัดการ การเลี้ยงไก่เนื้อระบบปิด

ในเรื่องการจัดการทั่วไปนั้น กำนันเปิดเผยว่า การจัดการเป็นไปตามโปรแกรมที่สัตวแพทย์วางไว้ ทั้งเรื่องการทำวัคซีน อุณหภูมิ ความชื้น ทิศทางความเร็วลมภายในและภายนอกโรงเรือน โดยเพิ่มขึ้นตามอายุของไก่ สมมุติไก่อายุ 10 วัน เปิดน้ำได้แค่ 30-40 ซม. ถ้ามากกว่านี้จะทำให้มีความชื้นมากเกินไป ความชื้นสะสมบวกกับความเย็นอาจทำให้ไก่ป่วยได้ง่าย

สิ่งที่น่าสนใจ คือ ด้านแรงงานที่ใช้ในการเลี้ยงไก่ โดยปกติถ้าเลี้ยงไก่ประมาณ 200,000 ตัว เฉลี่ย 7-8 โรงเรือน ต้องใช้คนเลี้ยงประมาณ  4-5 คน แต่ทางศรีมงคลฟาร์มใช้คนไทยเพียงแค่ 2 คน เท่านั้น เพราะมีการนำนวัตกรรมที่ทันสมัยที่เป็นอัตโนมัติ และใช้คนน้อยลง ผู้เลี้ยงได้เงินเยอะมากขึ้นเข้ามาแทนที่

ถ้าหากช่วงที่ต้องใช้คนงานเยอะก็ใช้วิธีจ้างคนมา เช่น เวลาลงไก่ จับไก่ ซึ่งต้องมีการราดน้ำยาก่อนจับไก่ ก็จ้างคนนอกเข้ามาแบบชั่วคราว ไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าจ้างแรงงานตลอดการเลี้ยง ทำให้ลดค่าแรงลงได้มาก การโกยขี้ไก่ก็ใช้เครื่องมือทั้งหมดในการจัดการ โดยขี้ไก่ไม่ลงดินเลยแต่ลงพื้นปูนแล้วนำรถมาตัก โดยแบ่งขายบ้าง ใช้เองบ้าง และจะจัดการให้เสร็จภายในวันนั้นทันที ไม่มีกองทิ้งไว้

อย่างไรก็ดีเนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ไม่มั่นคงในช่วงนี้ ทำให้ส่งผลต่อราคาไก่เนื้อในปัจจุบัน และยังส่งผลถึงระยะเวลาในการปลดไก่ด้วย โดยระยะเวลาในการปลดไก่นั้นยาวขึ้น จากเดิมไม่เกิน 40 วัน ก็เปลี่ยนเป็นปลดไก่ที่ 45 วันแทน (น้ำหนัก 2.8-3.0 กก.ต่อตัว) การปลดไก่ช้าส่งผลให้ไก่มีน้ำหนักมากขึ้น การดูแลจัดการทำได้ยากขึ้น เพราะเมื่อไก่ใหญ่ขึ้นก็จะเริ่มมีปัญหาเรื่องข้อขา อก เพราะกินนอนนาน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในด้านสังคมกำนันโทนก็ไม่เคยละเลย ยังคงมุ่งดูแลเอาใจใส่สังคมรอบข้างอย่างสม่ำเสมอ ด้วยความเชื่อที่ว่า ถ้าเราไม่ใส่ใจดูแลสังคม สังคมก็จะตีกลับมาหาว่าเราใจดำ ถึงแม้ว่าจะเป็นคนดีแค่ไหนก็ตาม แต่ก็ยังคงมีการเสียดสี อิจฉาริษยากัน ในสังคมอยู่ดี ดังนั้นการช่วยเหลือสังคมจึงเป็นเรื่องสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะธุรกิจใดก็ตาม กำนันโทนมีความเชื่อในเรื่องนี้ และยังคงเดินหน้าช่วยเหลือตามที่ตนสามารถช่วยได้ต่อไป

สุดท้ายทุกความสำเร็จนั้นเกิดขึ้นได้ต้องมีความเอาใจใส่ในทุกเรื่อง มีคุณธรรมประจำใจ พูดในสิ่งที่สามารถทำได้ อะไรที่ไม่ควรทำก็ต้องไม่ทำ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อไก่ตายก็ไม่ควรขาย แต่ควรฝังอย่างเดียว ไก่ที่ตกไซส์ก็นำมาแจกให้ชาวบ้านรอบๆ ให้ได้มีกินไปด้วยกัน กำนันโทนตบท้ายด้วยข้อคิดเห็นอันแหลมคม

ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณศรีชน สระทองมอญ (กำนันโทน)

เจ้าของศรีมงคลฟาร์ม ตั้งอยู่ที่ 17 ม.11 ต.หนองพันจันทร์ อ.บ้านคา จ.ราชบุรี

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 315