การเลี้ยงไก่ไข่ในครัวเรือน ไม่ต้องลงทุนสูง ใครๆก็ทำได้ สร้างอาชีพที่ยั่งยืน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อาชีพการเลี้ยงไก่ไข่เป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยง ทั้งในระดับอุตสาหกรรมการผลิต ฟาร์มขนาดกลาง ใหญ่ หรือเกษตรกรชาวบ้านทั่วไป ในด้านการลงทุนหลายคนมองว่าต้องใช้เงินทุนจำนวนมากในด้านระบบโรงเรือน อาหาร สายพันธุ์ และการตลาด การเลี้ยงไก่ไข่ในครัวเรือน

องค์ประกอบเหล่านี้อาจจำเป็นสำหรับเกษตรกรรายกลางหรือใหญ่ที่ต้องการลงทุนกับอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ในรูปแบบการเลี้ยงคอนแทรคกับบริษัทรายใหญ่ หรือการเลี้ยงอิสระในลักษณะของธุรกิจ แต่คงเป็นได้ยากในเรื่องการตลาดสำหรับฟาร์มไก่ไข่ที่เลี้ยงในรูปแบบหลัง

ส่วนนี้จึงทำให้อาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ส่วนใหญ่เป็นในรูปแบบฟาร์มที่เป็นลูกเล้าของบริษัท รวมทั้งบริษัทรายใหญ่เองที่เข้ามาทำอาชีพตรงนี้ ส่งผลให้เกษตรกรรายย่อยลดจำนวนลง ที่ได้กล่าวข้างต้นอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หลายคนมองว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่ไกลตัว

1.คุณปรมินทร์-เกือกแก้ว
1.คุณปรมินทร์-เกือกแก้ว ส่งเสริมสนับสนุน การเลี้ยงไก่ไข่ในครัวเรือน การเลี้ยงไก่ไข่ในครัวเรือน

การเลี้ยงไก่ไข่ในครัวเรือน

นิตยสารสัตว์บก จึงขอนำเสนออีกหนึ่งมุมมองของผู้ชายคนหนึ่งที่อยู่ในวงการไก่ไข่มาหลายสิบปี ซึ่งเขาคนนี้อาจไม่ใช่คนที่มีชื่อเสียงหรือเป็นที่รู้จักในวงการปศุสัตว์ แต่สำหรับโครงการและแนวคิดด้านอาชีพไก่ไข่ของเขาอาจเป็นแรงบันดาลใจให้เกษตรกรบางรายสามารถมองมุมกลับในอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ก็เป็นได้

คุณปรมินทร์ เกือกแก้ว เกษตรกรผู้ประกอบอาชีพไก่ไข่ ปัจจุบันผันตัวเองมาส่งเสริมอาชีพ การเลี้ยงไก่ไข่ในครัวเรือน  เดิมประกอบอาชีพเป็นชาวสวน จ.อยุธยา พ่อแม่ทำนา เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา มาตั้งแต่เกิด ไก่ที่เริ่มเลี้ยงเป็นไก่ไข่รุ่นหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ (สุวรรณ เรศานนท์)

โดยรับธุรกิจต่อจากพ่อ ซึ่งพ่อมีความเชี่ยวชาญในเรื่องการเลี้ยงไก่ไข่โดยเฉพาะ อาชีพการเลี้ยงไก่ไข่เป็นอาชีพที่สมถะ เรียบง่าย เป็นอาชีพที่ได้เงินทุกวัน เพราะสามารถขายไข่ไก่ทุกวัน ไม่เหมือนเลี้ยงหมู เพราะหลายเดือนกว่าจะได้จับ แต่การเลี้ยงไก่ไข่เด็กก็ทำได้ คนแก่ก็ทำได้ ไก่เป็นสัตว์เล็ก ดูแลง่าย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ทุกวันนี้อาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ถูกยึดไปจากเกษตรกรรายย่อยโดยสิ้นเชิง เดิมอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่เป็นอาชีพเสริมของเกษตรกรรายย่อย ที่ทำไร่ ทำนา ในภาคกลาง โดยเลี้ยงประมาณคนละ 500 ตัว อย่างพ่อของคุณปรมินทร์เองจะเลี้ยง 500 ตัว พอได้ไข่ไก่จะนำไปขายในกรุงเทพ เพราะสมัยโบราณคนอยุธยายังกินไข่ไก่ไม่เป็น พอตอนหลังวงการไก่ไข่ได้มีการขยายธุรกิจเพิ่มมากขึ้น

โดยจะเลี้ยงกันแถวอยุธยา สระบุรี นครปฐม แปดริ้ว ไข่ไก่จึงเกิดการล้นตลาดในภาคกลาง เกษตรกรในภาคกลางจึงให้พ่อคุณปรมินทร์หาทางออก โดยการเอาไข่ไก่ไปขายทางภาคอีสาน ตอนนั้นยังไม่มีการตอบรับ เนื่องจากคนทางภาคอีสานนิยมกินแต่ไข่เป็ด ไข่ไก่ที่นำไปขายจึงต้องขายในราคาถูก ลูกละประมาณ 1 สลึง จนกระทั่งคนทางภาคอีสานเริ่มหันมาสนใจบริโภคไข่ไก่

2.ผลผลิตไข่ไก่
2.ผลผลิตไข่ไก่

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายไข่ไก่

ตนเองจึงตัดสินใจซื้อตึกแถวอยู่ที่ จ.ขอนแก่น เพื่อทำเป็นศูนย์กระจายไข่จากภาคกลาง กล่าวคือรถทุกจังหวัดจะต้องมารับไข่จากที่นี่ โดยคุณปรมินทร์จะเป็นคนรวบรวมไข่จากแปดริ้ว อ่างทอง อยุธยา สระบุรี ขึ้นไปไว้ที่ขอนแก่น แล้วให้ร้านไข่ทุกร้านไปรับไข่ไก่ที่ขอนแก่น

ประมาณ ปี พ.ศ. 2525 ตนเกิดความเหนื่อยและความท้อ จึงไปหาซื้อที่ที่ปากช่อง เพราะเวลาที่คุณปรมินทร์เอาไข่ไก่ไปขายที่ขอนแก่นจะต้องไปรับข้าวโพดจากเมืองเลยเพื่อนำมาผสมอาหารที่อยุธยา ซึ่งโดยความจริงปากช่องเป็นแหล่งรวมของข้าวโพด พ่อค้าข้าวโพดรายใหญ่ของประเทศจะอยู่ที่ปากช่องทั้งหมด จะสังเกตได้ว่าข้าวโพดทุกจังหวัดทั่วประเทศจะต้องไปรวมกันที่ปากช่อง ก่อนที่จะไปส่งบริษัทผลิตอาหาร จึงคิดว่าถ้าไปอยู่ใกล้แหล่งผลิตอาหาร ต้นทุนก็จะถูกไปด้วย เพราะในช่วงแรกที่เลี้ยงไก่ไข่ เกษตรกรต้องผสมอาหารเอง ตอนหลังทางบริษัท CP มีการผสมอาหารสำเร็จรูปขายให้กับเกษตรกร

3.เลี้ยงแบบระบบเปิด-มีตาข่ายปิดป้องกันนก-หนู-เข้าไป
3.เลี้ยงแบบระบบเปิด-มีตาข่ายปิดป้องกันนก-หนู-เข้าไป

สภาพพื้นที่เลี้ยงไก่ไข่

เมื่อเริ่มมีพื้นที่ที่ปากช่องจึงได้เริ่มเลี้ยงไก่ไข่ 5,000 ตัว เลี้ยงเป็นแบบระบบเปิด แต่ก็จะมีตาข่ายปิดเพื่อป้องกันไม่ให้นก หนู หมา เข้าไป ไม่ทำเป็นระบบอีแวป เพราะตนเคยทำวิจัยร่วมกับกรมวิชาการแพทย์พบว่าไก่ที่เลี้ยงในระบบพัดลม เมื่อนำไปตรวจวัดค่าไขมัน คอเลสเตอรอล ยาปฏิชีวนะ พบว่าไก่ที่เลี้ยงในระบบธรรมชาติจะกินได้มาก ขับถ่ายได้เยอะ

โดยเอาไก่ในชุดเดียวกัน สายพันธุ์เดียวกัน อายุเท่ากัน ไปทดลองเลี้ยงใน 2 ระดับ พบว่าไขมันมีมาก เนื่องจากอุณหภูมิในโรงเรือนปิดมันเย็น พอมันเย็นไก่ก็จะดึงเอาไขมันมาสะสมในตัวไก่แล้วถ่ายทอดสู่ไข่ ก็เลยมีปัญหาคอเลส เตอรอลสูง ซึ่งเป็นปัญหาต่อสุขภาพของมนุษย์ คือ จะเป็นความดัน โรคหัวใจ ก็เพราะว่าเรากินไข่แบบนี้

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ
4.เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ การเลี้ยงไก่ไข่ในครัวเรือน การเลี้ยงไก่ไข่ในครัวเรือน การเลี้ยงไก่ไข่ในครัวเรือน

จุดเริ่มต้นส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่

ตรงนี้จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นด้านการส่งเสริมให้เกษตรรายย่อยหันมาสนใจเลี้ยงไก่ไข่ในครัวเรือนมากขึ้น และอยากให้บริษัทใหญ่ๆ ที่ได้กำไรจากตรงนี้ คือ ทุกวันนี้ไก่ไข่ 1 ตัว สามารถให้กำไร 1 บาทต่อวัน ถ้าบริษัทไหนมีไก่ไข่ 5 ล้านตัว ก็จะได้วันละ 5 ล้านบาท เกษตรกรรายย่อยจะได้ตรงส่วนนี้

ส่วนตัวคิดว่ามันเป็นอะไรที่ไม่ยุติธรรมต่อมวลมนุษยชาติ ทำไมไม่แบ่งอาชีพอันนี้ให้เกษตรรายย่อยบ้าง ทำไมคนเราจะต้องผลิตอาหาร ผลิตพันธุ์สัตว์ แล้วก็เลี้ยงไก่เองทั้งหมด จริงๆ แล้วผมมีแนวคิดว่าทำไมเราไม่แบ่งให้เกษตรกรที่ทำไร่ ทำนา เลี้ยงครอบครัวละ 500-1,000 ตัว เพื่อแชร์ความสุข

และเพื่อเป็นการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์  ซึ่งมันต้องใช้มูลไก่เป็นตัวหลัก ในการทำปุ๋ย การทำอาหารสัตว์ การทำอาหารปลา อาหารกบ และการปลูกพืชทุกชนิด ผมจะใช้มูลไก่อย่างเดียว คือ มันจะดีกว่าขี้หมู ขี้วัว ผมไม่ได้พูดเอง ผมได้ทดลองเอาไปใส่ในพืชดูแล้ว มันมีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตร เขาวิจัยมาแล้วว่ามีธาตุอาหารครบทุกตัว และมีธาตุอาหารรองอีกมาก และมีมากกว่าสัตว์อื่น เช่น ในหมู บางตัวก็มีมาก บางตัวก็มีน้อย วัวก็เหมือนกัน

แต่ไก่มันมี N, P, K เยอะ และธาตุรองอีกมาก มันเป็นอะไรที่สุดยอดแล้ว ถามว่าทำไมถึงมีเยอะ เพราะว่าเขากินอาหารที่พิเศษมาก อาหารที่ใส่เข้าไปแต่ละตัวมีโปรตีนสูง พลังงานสูง แร่ธาตุก็สูง เพราะเราต้องการไข่ เราต้องอัพพวกนี้ขึ้นไปด้วย มูลที่ขับออกมาก็เลยมีคุณค่า ก็เลยต้องมีการส่งเสริมให้มีการเลี้ยงไก่แบบผสมผสานกับการทำไร่

คุณปรมินทร์กล่าวว่าที่ปากช่องก็จะมีหมู่บ้าน บางหมู่บ้านซึ่งรับโครงการตรงนี้ 100 % คือ ทุกครัวเรือนจะเลี้ยงไก่ไข่ภายในครอบครัว คือ หมู่บ้านภูไทยพัฒนา จะเป็นหมู่บ้านตัวอย่าง ที่คุณปรมินทร์ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงไก่ไข่ในทุกครัวเรือน ครัวเรือนละ 5-10 ตัว

โดยไก่ที่ส่งเสริมให้เลี้ยงจะไม่เอาไปเลี้ยงรวมกับสัตว์อย่างอื่น จะมีการสร้างที่อยู่ให้เขาโดยเฉพาะ คือ จะเลี้ยงแบบมีหลักการ ไม่ใช่อินทรีย์ที่ปล่อยรวมกับหมา กับแมว บางที่ปล่อยรวมกับเป็ด หากเป็ดเป็นโรคก็จะพากันตายทั้งหมด ในอนาคตอยากจะทำโครงการที่ส่งเสริมชาวเขา เพราะเห็นว่าชาวเขามีการบุกรุกป่าสงวนเพื่อทำไร่ข้าวโพดเป็นจำนวนมาก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โครงการต่อไปของผม คือ ผมจะให้ชาวเขาทดลองเลี้ยงไก่ไข่ โดยใช้ทุนของเราเอง ชาวเขาบางครอบครัวที่ขายข้าวโพดได้ปีละ 3-5 แสนบาท ต้องถางไร่ปลูกข้าวโพด จะใช้พื้นที่เป็น 100 ไร่ ซึ่งเป็นการทำลายธรรมชาติ เราก็ไปลดตรงนี้ได้ คือ ให้เขาเลี้ยงไก่แค่ 1,000 ตัวต่อครอบครัว แต่ทำข้าวโพดไม่ต้องถึง 100 ไร่ อาจจะทำแค่ 30 ไร่ เพราะต้องใช้แรงงานแบ่งมาดูไก่ หรือเรียกง่ายๆ ว่า แปรข้าวโพดมาเป็นไข่ สมมติว่าขายข้าวโพดกิโลละ 8 บาท แต่ถ้าเป็นไข่เราคำนวณเป็นตัวเงินที่เอามาให้ไก่กิน สามารถเพิ่มมูลค่าข้าวโพดตรงนี้เป็นไข่ จะได้กิโลกรัมละถึง 20 บาท

ปัจจุบันไก่ไข่ที่คุณปรมินทร์ส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงเป็นไก่ที่ได้จากบริษัททั่วไป ก็จะเอาไปให้เกษตรกรฝึกเลี้ยงอีกทีหนึ่ง ฝึกให้เขาเลี้ยงไก่เป็น และไม่ให้กลัวต่ออาชีพนี้ คนปากช่องส่วนใหญ่จะเก่งในเรื่องวัวนม แต่กลัวเรื่องไก่ไข่ ทุกวันนี้ก็ยังมีการส่งเสริมอยู่ คนปากช่องยังต้องซื้อไข่จากแปดริ้วมากิน เพราะไข่ที่ปากช่องตอนนี้ยังต้องสั่งจากที่อื่นเข้ามาประมาณ 100,000 ฟองต่อวัน ก็ยังไม่พอ

เงินทุนที่ซื้อไก่ไปแจกจ่ายเกษตรกรเป็นเงินส่วนตัว แล้วเกษตรกรก็มาซื้ออีกทีหนึ่ง คือ ราคาซื้อมาเท่าไหร่ ราคาที่ขายก็จะขายในราคาเดิม เช่น ซื้อมาตัวละ 26 บาท ผมก็จะขาย 26 บาท เท่าเดิม แต่ถ้าจะฝากให้ผมเลี้ยงก่อน หรือฝากให้ผมตัดปากให้ ผมก็จะคิดค่าอาหารเพิ่ม เช่นเกษตรกรบางรายต้องการไก่ 1 เดือน, 2 เดือน หรือ 3 เดือน ผมก็จะเลี้ยงให้ก่อน แต่เราต้องคุยราคากับเขาด้วย

5.โรงเรือน การเลี้ยงไก่ไข่ในครัวเรือน แบบระบบเปิด มีตาข่ายปิดป้องกันนก หนู เข้าไป
5.โรงเรือน การเลี้ยงไก่ไข่ในครัวเรือน แบบระบบเปิด มีตาข่ายปิดป้องกันนก หนู เข้าไป

การบริหารจัดการโรงเรือนไก่ไข่

การทำวัคซีนก็จะทำวัคซีนหลัก คือ นิวคาสเซิล หลอดลม ตามเกณฑ์การทำ เพราะการที่จะเพาะไก่แต่ละชุดต้องทำวัคซีนตัวที่จำเป็นก่อน เสร็จแล้วก็จะให้ไก่เก็บวัคซีนในท้องถิ่น คือ ภูมิคุ้มกันโรคที่เก็บไว้ในตัวแม่ไก่ ให้ส่งต่อสู่ลูกไก่เอง โดยที่คุณปรมินทร์จะไม่ขายแม่ไก่ออกสู่ตลาดหมด สมมติว่าเราเอาลูกไก่ชุดใหม่มา เราจะให้แม่ไก่ชุดใหม่ไปอยู่กับลูกไก่ด้วย เพื่อที่จะให้มันถ่ายทอดโรคต่างๆ ที่มันมีอยู่ให้แก่ลูกไก่ ซึ่งอันนี้จะเป็นวัคซีนรอง แนวคิดอันนี้จะไม่มีในวิชาการ เป็นวิชาส่วนตัว

ทุกวันนี้คุณปรมินทร์มีรายได้มาจากการทำอาหารสัตว์ โดยบางครั้งเกษตรกรไม่ยอมปรุงอาหารเอง คุณปรมินทร์ก็จะทำขายให้ กำลังในการผลิตจะตกอยู่วันละ 10 ตัน แต่ตอนเลิกทำแล้ว ผมเอาสูตรอาหารให้กับบริษัทรายย่อย ซึ่งมาร่วมเป็นเครือข่ายของคุณปรมินทร์ (ไม่ขอเปิดเผยรายชื่อบริษัท) คุณปรมินทร์ก็จะได้เปอร์เซ็นต์จากตรงนี้ และคุณปรมินทร์ยังมีโครงการที่จะทำไข่ไอโอดีน และตั้งเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ เพื่ออนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อการนี้โดยเฉพาะ

โดยส่วนใหญ่คุณปรมินทร์จะประสานงานกับหน่วยงานราชการกับเอกชนให้ร่วมมือกัน คือ คุณปรมินทร์จะอยู่ตรงกลาง แล้วให้สองฝ่ายร่วมมือกัน ถ้าหน่วยงานราชการก็จะเป็นหน่วยงานของอำเภอ ผู้ใหญ่บ้าน คือ จะมีการเรียกประชุม ผู้ใหญ่บ้านก็จะมอบนโยบายการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ในครัวเรือน ถ้าเขตไหนมีการตอบตกลงรับโครงการ หากมีงบประมาณมาก็ให้เขียนโครงการ เอางบประมาณมาซื้อไก่ไข่แจกชาวบ้านเพื่อทดลองเลี้ยงก่อนเพื่อให้เกิดความมั่นใจ พอเกิดความมั่นใจเขาจะควักเงินทุนของตัวเองในการเลี้ยงรุ่นต่อไป แค่นี้ก็ประสบความสำเร็จแล้ว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเสริมไอโอดีน คือ คุณปรมินทร์คิดขึ้นมาเอง ไม่มีทีมงานช่วย โดยจะอาศัยประสบการณ์แล้วก็ส่งตรวจ เพราะคุณปรมินทร์อยู่กับไก่มานาน พ่อของคุณปรมินทร์จะให้ผมผสมอาหารตลอด โดยบริษัทรายย่อยที่ทำการผสมอาหารเขาจะทำเป็นแบรนด์ของเขาเลย คุณปรมินทร์ก็ไม่จำกัด เพราะต้องการให้ทุกแบรนด์สินค้ามีไอโอดีนอยู่แล้ว จริงๆ แล้วอยากให้มีถึงโอเมก้า 3 ด้วย แต่ติดที่ว่าราคามันจะสูงเกิน

6.ไก่ไข่
6.ไก่ไข่ ในโครงการ การเลี้ยงไก่ไข่ในครัวเรือน

การจัดโครงการส่งเสริม การเลี้ยงไก่ไข่ในครัวเรือน

คุณปรมินทร์เริ่มทำการส่งเสริมโครงการ การเลี้ยงไก่ไข่ในครัวเรือน ตั้งแต่ปี 47 แล้วก็จะค่อยๆ ถอดไก่ในฟาร์มออก เพราะคิดว่า “คนเราทำไมต้องหวงอาชีพนี้เพื่อความร่ำรวยของตัวเอง แต่ผมคิดกลับกันว่าทำอย่างไรก็แล้วแต่ เราแบ่งงานกันทำ ลูกหลานในหลวงเหมือนกัน” จริงๆ แล้วมนุษย์ในโลกนี้มีสิทธิ์เท่าเที่ยงกันในการดำเนินชีวิต ทำไมต้องไปทำมาตรฐานฟาร์ม ถามว่าจำเป็นไหม มันก็จำเป็นนะ แต่จำเป็นสำหรับคนที่จะเลี้ยงขนาดใหญ่เพื่อส่งออก

หน้าที่ในการทำโครงการ

  • จัดหาพันธุ์สัตว์มาให้เพียงพอต่อความต้องการ
  • จัดหาอาหารสัตว์
  • ดูแลเรื่องการขายผลผลิต

ในปี 47 ที่เริ่มโครงการส่งเสริม การเลี้ยงไก่ไข่ในครัวเรือน โดยเริ่มที่หมู่บ้านภูไทพัฒนา ต.วังไทร อ.ปากช่อง  หมู่บ้านภูไทยเป็นหมู่บ้านที่อพยพมาจากอีสาน ย้ายมาปากช่องตั้งแต่ยังเป็นป่าดงดิบอยู่ ที่ไปส่งเสริมก็เพราะมีผู้ว่าของจังหวัดโคราชอยากทำโครงการ เลยซื้อไก่จำนวน 200 ตัว คุณปรมินทร์ก็เลยบอกว่าไม่ต้องซื้อ ถ้าจะเอาไปแจกชาวบ้านคุณปรมินทร์จะแจกให้

โดยจะตามดูไก่ด้วย ไม่ใช่ว่าแจกไปแล้วจะเอาไปฆ่ากินหมด ถ้าไปตรวจไก่ต้องอยู่  เพราะตอนนั้นหวัดนกระบาด ก็กลัวว่าอาชีพนี้จะสูญพันธุ์ไปจากเกษตรกรรายย่อย เขาก็ไปประสานงานกับทางกรมปศุสัตว์อำเภออีกทีหนึ่ง ก็เลยเป็นจุดเริ่มต้นของการส่งเสริมมาโดยตลอด จากหมู่บ้านหนึ่งก็มีหมู่บ้านถัดๆไป ซึ่งก็มีหลายหมู่บ้าน หลายจังหวัด ที่เข้ามาดูงาน แล้วเขาก็เอาไปต่อยอดอีกทีหนึ่ง

ตอนนี้โครงการมีการขยายไป แม้กระทั่งสหกรณ์นิคมสร้างตนเอง ลำตะคอง มีสมาชิกทั้งหมด 4-5 พันคน ที่เข้าร่วม จากหมู่บ้านเดียวตอนนี้ก็ขยายเป็นอำเภอ จนเกิดเป็นสหกรณ์ขึ้น และตอนนี้ทางจังหวัดอื่นๆ ก็ได้เข้ามาร่วม แต่ผมบอกไปว่าผมทำไม่ไหว เพราะตัวผมเองก็ตัวคนเดียว ผมอยากให้บริษัทใหญ่ๆ หันมาทำโครงการแบบผมบ้าง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สิ่งที่คุณปรมินทร์ฝากถึงทุกภาคส่วน คือ ตัวโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ อยากให้แต่ละพื้นที่ที่เห็นดีด้วยกับโครงการ ของบประมาณอำเภอ งบประมาณจังหวัด ให้จัดเขียนงบประมาณได้เลยว่าการส่งเสริม การเลี้ยงไก่ไข่ในครัวเรือน และให้จัดหาพันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ มาแจกให้เกษตรกรทดลองเลี้ยง ว่าการเลี้ยงไก่ไม่ใช่เรื่องยาก เป็นอาชีพสมถะ เรียบง่าย ได้เงินทุกวัน กำไร 1 บาทต่อตัวต่อวัน แน่นอน (ในราคาไข่ปัจจุบัน) แต่ถ้าวันดีคืนดี เกษตรกรลุกขึ้นมาเลี้ยง สินค้ามันล้นตลาดมันก็เรื่องหนึ่ง คือ มีกินแล้วทำอาชีพอื่นก็ได้

คุณปรมินทร์ฝากบอกว่าขออาชีพนี้คืนให้กับเกษตรกรได้ไหม เพราะเดิมอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่มันเป็นอาชีพของเกษตรกรที่ทำมาอยู่แล้ว เดิมไม่ใช่อาชีพของนายทุน นายทุนควรทำอะไรที่ใหญ่ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงงานอาหารสัตว์ขนาดใหญ่ อาชีพอะไรก็ได้

แต่ขออาชีพเลี้ยงไก่ให้เกษตรกรรายย่อย แบ่งตรงนี้ให้เขา เพระว่าการทำไร่ ทำสวน ทุกวันนี้ไม่พอกินพอใช้อยู่แล้ว แล้วเอาไก่ไปไว้ในสวนยาง ในไร่ข้าวโพด กระจายไปทุกอำเภอ เราก็ไม่ต้องไปซื้อปุ๋ยใส่ จะได้ไม่ต้องไปซื้อไข่กิน ข้าวโพดในท้องถิ่นก็จะได้ไม่ต้องขนไปไกล

ต่อไปในอนาคตอาจจะได้กินไข่ฟองละ 1 บาท ก็ได้ ถ้าทำตามที่ผมว่า เพราะต้นทุนมันถูก ให้คนปลูกข้าวโพดเลี้ยงไก่ ทุกคนในประเทศไทยเป็นลูกหลานพ่อแม่เดียวกัน เป็นลูกหลานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเหมือนกัน ในเมื่อครอบครัวคนอื่นยังทุกข์ เราจะสบายอยู่คนเดียวได้อย่างไร เราก็มีมือ มีเท้า เราก็ทำกินไป ผมก็ถ่ายทอดโดยไม่ได้ปิดบัง ซึ่งเราก็จะได้ใจ ได้เพื่อน เมื่อเราไปขอความร่วมมือใครมันก็ง่าย