ต้นทุนการเลี้ยงไก่เนื้อ ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง ให้มีกำไร รวยได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเลี้ยงไก่เนื้อ ต้นทุนการเลี้ยงไก่เนื้อ ในรูปแบบประกันราคา ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง ในปัจจุบันมีเกษตรกรที่หันมาเลี้ยงและประสบความสำเร็จในระบบดังกล่าวจำนวนมาก โดยลบภาพลักษณ์ที่หลายคนเคยมองว่าคอนแทรคฟาร์มมิ่ง คือ “สัญญาทาส” นั่นเอง

1.คุณอำพล-แสงกุล-บจก.อภิญญา-กรุ๊ป-และคุณภัทรา-การวัตร-เจ้าของภัทราฟาร์ม
1.คุณอำพล-แสงกุล-บจก.อภิญญา-กรุ๊ป-และคุณภัทรา-การวัตร-เจ้าของภัทราฟาร์ม ต้นทุนการเลี้ยงไก่เนื้อ

การเลี้ยงไก่เนื้อ

ปัจจุบันมีฟาร์มไก่เนื้อจำนวนไม่น้อยที่เป็นลูกเล้าชั้นดี พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเลี้ยงไก่เนื้อระบบคอนแทรคฯ ก็มีกำไร มีอิสระ เป็นเจ้านายตัวเอง มิใช่เป็นทาสอย่างที่หลายคนคิด

หนึ่งในเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อประกันราคา ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง ที่ประสบความสำเร็จ คือ ลูกเล้าของ บริษัท อภิญญา กรุ๊ป จำกัด (APINYA GROUP) ที่ดำเนินประกอบธุรกิจจำหน่ายเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ คือ คุณภัทรา การวัตร เกษตรกรเลี้ยงไก่เนื้อ ประสบการณ์เกือบ 20 ปี ปัจจุบันเป็นลูกเล้าของ “อภิญญา กรุ๊ป” เข้าสู่ปีที่ 3 แล้ว

สำหรับประวัติของ บริษัท อภิญญา กรุ๊ป จำกัด ดำเนินกิจการโดยประกอบธุรกิจเลี้ยงไก่เนื้อครบวงจรระบบฟาร์มปิดแบบ ‘อีแวป’ (Evap) ภายใต้รูปแบบการเลี้ยงประเภทผู้เลี้ยงอิสระ กล่าวคือ ใช้เงินทุนของตัวเอง โดยรับซื้อลูกไก่กับบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายลูกไก่รายใหญ่ในประเทศไทย ตลอดจนภาคีเครือข่าย รวมทั้งอาหาร และยา เมื่อเลี้ยงจนครบ 6 สัปดาห์ ถึงระยะจับขายก็ทำตลาดเอง

ตลอดจน อภิญญา กรุ๊ป ยังเปิดโอกาสให้เกษตรกรผู้สนใจทำ “คอนแทรคฟาร์มมิ่ง” ในการเลี้ยงไก่เนื้อกับ อภิญญา กรุ๊ป และประกันราคาให้อีกด้วย

ทั้งนี้ปัจจุบัน “อภิญญา กรุ๊ป” มีเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อในคอนแทรคฟาร์มมิ่งจำนวน 50 ราย จำนวนไก่เนื้อที่ส่งเลี้ยงประมาณ 600,000 ตัว โดยเฉลี่ยเกษตรกร 1 ราย เลี้ยงไก่เนื้ออยู่ที่ 10,000-20,000 ตัว/สัปดาห์ ซึ่งกระจายอยู่ในเขตพื้นที่ 4 จังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่ จ.ชลบุรี จ.ระยอง จ.จันทบุรี และ จ.ตราด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สำหรับพันธุ์ไก่เนื้อ ซึ่งอภิญญา กรุ๊ป ส่งเสริมและดูแลป้อนส่งให้เกษตรกรเลี้ยง คือ “อาร์เบอร์ เอเคอร์สเปอเรเต็ด” รวมถึงอาหาร และยา ซึ่งอภิญญา กรุ๊ป ดูแลและสนับสนุนให้เกษตรกรผู้เลี้ยงให้ทั่วถึงทุกราย   

2.คุณภัทรา-การวัตร-เกษตรกรเลี้ยงไก่เนื้อ
2.คุณภัทรา-การวัตร-เกษตรกรเลี้ยงไก่เนื้อ ต้นทุนการเลี้ยงไก่เนื้อ ต้นทุนการเลี้ยงไก่เนื้อ ต้นทุนการเลี้ยงไก่เนื้อ

จุดเริ่มต้นการเลี้ยงไก่เนื้อ

ย้อนกลับมาสำหรับคุณภัทราลูกเล้าชั้นดี ที่ปัจจุบันประสบความสำเร็จกับ อภิญญา กรุ๊ป โดยก่อนหน้าที่จะเป็นลูกเล้าของ อภิญญา กรุ๊ป คุณภัทราเคยเป็นลูกเล้าไก่เนื้อของบริษัทผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์ชั้นนำของประเทศรายหนึ่งมาตลอดกว่า 15 ปี โดยเธอกล่าวบอกเหตุผลสั้นๆ ว่า ส่วนตัวหากมีผู้ที่หยิบยื่นโอกาสดีๆ และน่าสนใจเข้ามาก็พร้อมเปิดใจและเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ฟาร์มไก่เนื้อเติบโตต่อไป

คุณภัทราเล่าให้ฟังว่าในอดีตครอบครัวเดิมทีทำสวนผลไม้ ส่วนตนเองไม่มีความรู้เลี้ยงไก่เนื้อแต่อย่างใด โดยมองว่าการทำสวนผลไม้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เพียงปีละครั้ง ซึ่งรายรับและรายจ่ายไม่สมดุลกัน จึงมองหาอาชีพใกล้ตัวที่จะช่วยให้มีรายได้เสริมมากขึ้น ก่อนมาลงเอยที่เลี้ยงไก่เนื้อ เนื่องจากมีญาติๆ ประกอบอาชีพเลี้ยงไก่เนื้ออยู่ และการเลี้ยงไก่เนื้อใช้เวลาเลี้ยงสั้นประมาณ 45 วัน/รอบการเลี้ยง ก็สามารถจับขายได้แล้ว เธอจึงเริ่มศึกษาหาความรู้จากญาติพี่น้อง ทดลองเลี้ยงเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

3.ต้นทุนการเลี้ยงไก่เนื้อ
3.ต้นทุนการเลี้ยงไก่เนื้อ

สภาพพื้นที่เลี้ยงไก่เนื้อ

ปัจจุบันคุณภัทราสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อจำนวน 2 โรงเรือน ภายใต้ระบบการเลี้ยงอีแวป โดยโรงเรือนที่ 1 ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 60 เมตร จำนวนการเลี้ยงไก่เนื้อประมาณ 7,500-8,000 ตัว ส่วนโรงเรือนที่ 2 ขนาดกว้าง 16 เมตร ยาว 60 เมตร จำนวนการเลี้ยงไก่เนื้อประมาณ 15,000 ตัว สำหรับสายพันธุ์ไก่เนื้อที่เลี้ยงจะมีทั้งรอส (Ross) และสายพันธุ์คอบบ์ (Cobb)

คุณภัทรากล่าวว่าหลังจากเปลี่ยนมาเป็นลูกเล้าของ อภิญญา กรุ๊ป มีรายได้และกำไรจากการเลี้ยงไก่เนื้อส่งขายค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ โดยรับลูกไก่ตัวเล็กเพิ่งฟักจากบริษัทฯ นำเข้ามาทำการกกในฟาร์ม ซึ่งคุณภาพของลูกไก่ที่นำเข้ามาถือว่าน่าพอใจ โดยอัตราสูญเสียจากขั้นตอนการขนส่งลูกไก่เข้ามามีเกิดขึ้นบ้าง แต่ไม่เกิน 10% ซึ่งเมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการเลี้ยงจะเกิดอัตราการสูญเสียลดน้อยลงเฉลี่ยแค่ 3-5% เท่านั้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเอาใจใส่ของผู้เลี้ยง สภาพอากาศ น้ำ/อาหาร และการบริหารจัดการในโรงเรือนด้วยเช่นกัน

4.อาหารไก่-เบทาโกร-203
4.อาหารไก่-เบทาโกร-203 ต้นทุนการเลี้ยงไก่เนื้อ ต้นทุนการเลี้ยงไก่เนื้อ ต้นทุนการเลี้ยงไก่เนื้อ
ลูกไก่แข็งแรง-โตไว
ลูกไก่แข็งแรง-โตไว ต้นทุนการเลี้ยงไก่เนื้อ ต้นทุนการเลี้ยงไก่เนื้อ ต้นทุนการเลี้ยงไก่เนื้อ

การบำรุงดูแลไก่เนื้อ

ในส่วนอาหารไก่เนื้อใช้ของบริษัทผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์ชั้นนำของประเทศรายหนึ่ง และอุปกรณ์ในฟาร์มเลือกใช้ของ บริษัท เอเซีย เวท เทค จำกัด เพราะเป็นสินค้าคุณภาพมาตรฐาน ไม่ค่อยเจอปัญหาจุกจิก ใช้มามากกว่า5  ปีแล้ว และจะใช้ต่อไป พอใจในคุณภาพและการบริการ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ด้านเทคนิคการดูแลไก่เนื้อตั้งแต่เป็นลูกไก่ไปจนถึงการบริหารจัดภายในฟาร์ม คุณภัทราบอกว่าดูแลกันเองภายในครอบครัว มีจ้างคนงานแค่ 1 คน เท่านั้น โดยระบบการให้อาหารเป็น Auto Feed (ให้อาหาร/น้ำดื่มตลอด 24 ชั่วโมง) ส่วนเรื่องของยาและทำวัคซีนได้รับคำแนะนำจาก อภิญญา กรุ๊ป เป็นอย่างดี โดยให้ตามโปรแกรมการเลี้ยง และส่วนของวัคซีนให้ทุกๆ 7 วัน, 14 วัน และ 21 วัน ก่อนจับ

“ทางฟาร์มเลี้ยงตั้งแต่นำลูกไก่เล็กๆ ที่เพิ่งออกฟักจากไข่เข้ามาผ่านขั้นตอนการกก 7 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่ที่สภาพอากาศด้วย โดยอุณหภูมิกกที่ตั้งไว้มาตรฐาน คือ 33 องศาฯ ส่วนเทคนิคการเลี้ยงไม่มีอะไรพิเศษ สิ่งสำคัญ คือ น้ำ และอาหาร ในโรงเรือนห้ามขาด

ทั้งนี้ในฟาร์มฯ  ของเราจะมีการเดินไก่ตอนกลางคืน  คือ  กระตุ้นให้ไก่กินในตอนกลางคืนด้วย  โดยการเดินเข้าไปในโรงเรือน เปิดไฟ และธรรมชาติของไก่เมื่อมีแสงสว่าง และได้ยินเสียง ก็จะตื่นแล้วลุกขึ้นมากินอาหาร จะทำให้ไก่เติบโต และจับขายได้น้ำหนักดี ซึ่งมาตรฐานของน้ำหนักหลังจากเลี้ยง 45 วัน/รอบ เฉลี่ยทั้งไก่เนื้อเพศผู้และเพศเมียจะไม่น้อยกว่า 2.5 กิโลกรัม”

5.เครื่องปั่นไฟ
5.เครื่องปั่นไฟ
คูลลิ่่งแพด
คูลลิ่่งแพด

การบริหารจัดการโรงเรือนไก่เนื้อ

ด้านการบริหารจัดการโรงเรือน หลังจากจบที่รอบการเลี้ยงในแต่ละครั้ง คุณภัทราจะทำการพักเล้าประมาณ 20-30 วัน ระหว่างนั้นจะทำความสะอาด โกยขี้ไก่ โดยนำไปใช้ประโยชน์ใส่ปุ๋ยในสวนผลไม้ของตนเอง (สวนยางฯ, สวนทุเรียน) นอกจากนี้ยังมีคนเข้ามารับซื้อขี้ไก่อีกด้วย ส่วนที่เหลือจะแจกจ่ายให้กับชาวบ้านในพื้นที่ เป็นต้น

จากนั้นทำความสะอาดล้างเล้าใหม่ ฉีดยาฆ่าเชื้อ ลงแกลบใหม่ (ใช้ปริมาณ 7-8 ตันต่อการเลี้ยงในแต่ละรอบ) ทั้งนี้เพื่อเตรียมลงไก่รอบใหม่ต่อไป

ต้นทุนการเลี้ยงไก่เนื้อ

ในเรื่องการประกันราคา สำหรับการเลี้ยงไก่เนื้อกับ อภิญญา กรุ๊ป เป็นไปอย่างน่าพอใจ เรียกว่าได้ประโยชน์ทุกฝ่าย โดยราคาเลี้ยงแต่ละช่วงจะไม่เท่ากันอยู่ที่สถานการณ์ไก่เนื้อ ซึ่งหักต้นทุนทุกอย่างแล้ว ใน 1 รอบการเลี้ยงเฉลี่ยเหลือกำไรประมาณ 10-12 บาท/ตัว/รอบการเลี้ยง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ทั้งนี้แต่ละรอบการเลี้ยงจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่างที่กล่าวไป คุณภัทราเผยว่าก็ยังเป็นที่น่าพอใจ เพราะรอบการเลี้ยงสั้น ใน 1 ปี สามารถเลี้ยงได้ 5-6 รอบ ดีกว่าทำสวนผลไม้ และตอนนี้ไก่เนื้อก็กลายเป็นรายได้หลักเลี้ยงดูครอบครัวไปแล้ว

6.คุณอำพล-แสงกุล-ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมไก่ประกัน
6.คุณอำพล-แสงกุล-ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมไก่ประกัน ต้นทุนการเลี้ยงไก่เนื้อ ต้นทุนการเลี้ยงไก่เนื้อ

ข้อดีของระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง

คุณภัทราได้กล่าวถึงความประทับใจต่อ อภิญญา กรุ๊ป ไว้ด้วยว่า ประทับใจทั้งผู้บริหาร เซลล์ และทีมงานทุกคน ที่คอยให้คำปรึกษา แนะนำวิธีการดูแลเลี้ยงไก่เนื้อ การให้อาหาร รวมทั้งช่วยเตือนเรื่องโรค ฯลฯ และเรื่องบริการหลังการขาย ด้วยดีเสมอมา

คุณอำพล แสงกุล (ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมไก่ประกัน) ในนามตัวแทน “บริษัท อภิญญา กรุ๊ป จำกัด” ต้องขอขอบคุณ คุณภัทรา การวัตร เจ้าของภัทราฟาร์ม ที่ไว้วางใจเลือกระบบคอนแทรคฯ กับ “อภิญญา กรุ๊ป” ทางเราสัญญาว่าจะทำให้ดียิ่งขึ้น หากมีปัญหาอะไร สามารถติดต่อหาผมได้ตลอดเวลา และครึ่งปีหลังอาจได้ข่าวดีเกี่ยวกับไก่เนื้อ แล้วผมจะแจ้งให้ทราบครับ

ซึ่งตอนนี้ถ้ามีโอกาสก็จะอยากขยายฟาร์มเพิ่ม แต่ต้องดูพื้นที่การเลี้ยง และปัจจัยหลายๆ อย่างก่อน อย่างไรก็ตามถ้าขยายจะยังคงใช้บริการของ อภิญญา กรุ๊ป ต่อไปเหมือนเดิม คุณภัทรากล่าวทิ้งท้าย

“โดยส่วนตัวคิดว่าการเลี้ยงไก่เนื้อระบบคอนแทรคฯ จริงๆ ก็มีความอิสระ ซึ่งจริงๆ มันอยู่ที่ความพึงพอใจของคนเลี้ยง และจากการที่ได้พูดคุยกับบริษัท ซึ่งส่วนตัวก็ทำสัญญากับบริษัท แต่หากติดปัญหาเรื่องอะไร หรือต้องการคำปรึกษาจริงๆ บริษัทก็พร้อมที่จะช่วยเหลือ รับฟัง และเคารพในการตัดสินใจของลูกเล้าด้วยเช่นกัน

จึงขอฝากเกษตรกรที่กำลังมีความกังวลการเลี้ยงไก่เนื้อระบบคอนแทรคฯ ให้ลองเปิดใจพูดคุยกับบริษัทให้เคลียร์ทุกเรื่อง ซึ่งหากมีแนวคิดที่ตรงกัน ก็สามารถร่วมธุรกิจด้วยกันได้ โดยสุดท้ายแล้วไม่ว่าจะเลี้ยงรูปแบบใด ในเรื่องของคุณภาพ ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลเอาใจใส่ของผู้เลี้ยงเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุด ซึ่งแต่ละฟาร์มก็มีเทคนิค วิธีการเลี้ยง แตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้นขอให้เป็นตัวเราเอง และเลี้ยงให้ดีที่สุด ระบบคอนแทรคฯ ก็สามารถรวยได้ไม่ยาก”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ขอขอบคุณข้อมูล

คุณภัทรา การวัตร เจ้าของภัทราฟาร์ม  77 หมู่ 3 ตำบลกะเฉด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง 21100
โทร.080-830-3859

คุณอำพล แสงกุล (ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมไก่ประกัน)  บจก.อภิญญา กรุ๊ป จำกัด 99/1 หมู่ 1 ต.วังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง 21110 โทร.082-884-6061, 038-026-438

อ้างอิง :นิตยสารสัตว์บก