สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ ยืนหยัดให้ผู้เลี้ยงมีกำไร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ ยืนหยัดให้ผู้เลี้ยงมีกำไร ภาคที่มี “ความชื้น” สูง เพราะฝนและแดดอย่างภาคใต้ แต่มีการเลี้ยงไก่ไข่แบบพัฒนาเหมือนภาคอื่นๆ เป็นการผลิต ไข่ไก่ เพื่อทดแทนการนำเข้า

ที่สำคัญ ก็คือ ผู้เลี้ยงไก่เชิงอาชีพหลายฟาร์มได้รวมตัวกันเป็น สมาคม สำเร็จ มีกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง นายกสมาคม ได้เป็นกรรมการของเอ้กบอร์ด

คนใต้แต่ละคนมี จุดยืน มีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง ยากที่จะรวมเป็นองค์กรอาชีพ แต่ที่สำเร็จเพราะผู้นำค่อนข้างมีคุณสมบัติที่สมาชิกยอมรับ

1.สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้01

การประชุมสามัญประจำปี 2566

โดยเฉพาะ คุณสุเทพ สุวรรณรัตน์ เจ้าของฟาร์ม ค่อนข้างมี บารมี เห็นได้จากการประชุมสามัญประจำปี 2566 ที่จังหวัดภูเก็ต มี นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต มาเป็นประธานเปิดงานต้อนรับสมาชิกสมาคม

“ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่จังหวัดภูเก็ต ด้วยความยินดียิ่ง ต้องขอบคุณสมาคมที่เลือกใช้สถานที่ในการประชุมสามัญประจำปี 2566 ผมคิดว่าเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผมมองว่าคนหนึ่งกินไข่วันละกี่ฟอง แต่นายแพทย์ที่เป็นภรรยาท่านนายกรัฐมนตรีบอกว่าต้องกินวันละ 3 ฟอง เพื่อป้องกันอัลไซเมอร์สำหรับผู้สูงอายุ และบำรุงสมองสำหรับเด็ก

ดังนั้นการเลี้ยงไก่ไข่ถือว่าเป็นธุรกิจที่จำเป็นสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ดีใจที่พวกเรามาที่นี่ ก็ขอให้กิจการของท่านก้าวหน้า ส่วนปัญหาย่อมมีทุกธุรกิจ ทุกอาชีพ….” ส่วนหนึ่งของคำกล่าวเปิดงานของผู้ว่าโรงงาน จากนั้นท่านมอบโล่ให้กับผู้สนับสนุนหลักในการจัดงาน ได้แก่ CPF เบทาโกร บีดี อกริคัลเจอร์ (ประเทศไทย) และ ชิงเต่า อีควิปเมนท์ แมนูแฟคทอริ่ง 4 บริษัท เปิดตัวสนับสนุนการประชุมเป็นทางการ

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.คุณสมคิด วรรณลุกขี รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร
2.คุณสมคิด วรรณลุกขี รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร
3.คุณเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร
3.คุณเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหารธุรกิจอาหารสัตว์บก บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF)

ทำอย่างไรให้ราคาไข่ดี    

คุณสมโชค พุธารักษ์ เลขาฯ สมาคม ได้เชิญ นายสุเทพ สุวรรณรัตน์ เป็นผู้ดำเนินการประชุมตามวาระต่างๆ โดยเฉพาะการเลือก “นายกสมาคม” ปรากฏว่าที่ประชุมได้เลือกนายสุเทพเป็นนายกต่อไป แสดงว่าสมาชิกศรัทธาว่าจะนำพาสมาคมและสมาชิกสู่เป้าหมายที่ดีกว่าเดิม

ตัวแทน 4 บริษัท ผู้สนับสนุนหลัก ได้แก่ คุณสมคิด วรรณลุกขี ผอ.ใหญ่ธุรกิจไก่ไข่ CPF คุณนภัส ชูสุดรักษ์ ผช.กรรมการผู้จัดการใหญ่ภาคใต้ตอนบนเบทาโกร คุณกฤติพงษ์ กันธพงษ์ บีดี อะกริคัลเจอร์ฯ และ MR.WONG TONG ประธานชิงเต่าฯ จึงเห็นได้ว่า สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ ไม่ธรรมดา

“ยินดีที่ได้เป็นนายกต่อ ก็จะทำให้สุดความสามารถที่จะทำได้ ก็ต้องขอแรงชาวไก่ไข่ทุกท่านได้ช่วยกัน ก่อนจะมาถึงตรงนี้ได้ บริษัทใหญ่ๆ อย่าง ซีพี เบทาโกร แสงทอง เป็นต้น และบริษัทขายอุปกรณ์ วันนี้นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ คุณมาโนช ไม่ได้มา แต่ส่งคุณคีตามาแทน RPM เฮียอู๋จากเชียงใหม่ จรัญฟาร์ม เฮียปุ๋ยจากเชียงราย กรมปศุสัตว์ ท่านอธิบดี ติดงานเชียงใหม่ แต่มอบหมายให้คุณกิตติพัฒน์มาเป็นหัวหน้าทางภาคใต้

สมาคมไก่ไข่ก็ต้องร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ ถ้าเรื่องราคาต้องคุยกับกรมการค้าภายใน พวกเราทำอย่างไรจะอยู่ร่วมกันได้ ไม่ขาดทุน กำไรไม่มาก ขอ 4 บาท ก็แล้วกัน” คุณสุเทพ ให้ข้อคิดเห็น และยืนยันว่าต้องอาศัย CPF และเบทาโกร จึงจะมีกำไร การประชุมครั้งนี้ ทางสมาคมได้เชิญวิทยากรมืออาชีพมาให้ความรู้ เช่น “ทำอย่างไรให้ราคาไข่ดี” โดยมี นายสัตวแพทย์กิตติ ทรัพย์ชุมพล เป็นวิทยากร

“โจทย์วันนี้ของไทยมีธุรกิจเดียวที่อยู่รอดปลอดภัย คือ ไก่ไข่ คำถามคือทำอย่างไรให้คงระดับนี้หรือดีขึ้น?” คุณหมอกิตติ เปิดประเด็นด้วยคำถาม แล้วตอบว่าถ้าจะให้ไข่ขายดีต้องไม่มีของเถื่อน”

พูดง่ายๆ ทางสมาคมต้องจับมือกับกรมปศุสัตว์ ขจัด ไข่เถื่อน ไม่ให้เข้ามา

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.คุณมงคล พิพัฒสัตยานุวงศ์ นายกสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ (เฮียคี้)
4.คุณมงคล พิพัฒสัตยานุวงศ์ นายกสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ (เฮียคี้)
5.นพ.วัชระ พุ่มประดิษฐ์ ผู้อำนวยการบริษัท คะตะลิสต์ จำกัด
5.นพ.วัชระ พุ่มประดิษฐ์ ผู้อำนวยการบริษัท คะตะลิสต์ จำกัด

ต้นทุนอาหารไก่ไข่

เรื่องต้นทุนอาหารไก่ไข่ก็เป็นประเด็นหลัก ซึ่งวันนี้มี เอ้กบอร์ด มี บิ๊กดาต้า และมี กองทุนไก่ไข่ ก็พอจะแก้ปัญหาได้

มีการจัดเสวนาเพื่อหาทางออก เพื่อความยั่งยืนของชาวไก่ไข่ ทั้งเรื่องวัตถุดิบ ต้นทุนการผลิต เสถียรภาพ กองทุนพัฒนาอุตสาหกรรมไก่ไข่และพันธุ์สัตว์

ผู้ร่วมสัมมนา ได้แก่ คุณเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหารธุรกิจอาหารสัตว์บก CPF คุณสมคิด วรรณลุกขี รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส CPF คุณมงคล พิพัฒสัตยานุวงศ์ นายกสมาคมผู้ผลิตผู้ค้าและส่งออกไก่ไข่ (เฮียคี้) คุณณภัทร ชูสุกรักษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ภาคใต้ตอนบน บมจ.เบทาโกร คุณกฤติพิพัฒน์ รัตนาวินกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมและพัฒนาสัตว์ปีก กรมปศุสัตว์ คุณพรชัย ชั้นสกุล พรชัยฟาร์ม อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ นพ.วัชระ พุ่มประดิษฐ์ ผู้อำนวยการ บริษัท คะตะลิสต์ จำกัด รศ.ดร.จำเริญ เที่ยงธรรม ภาควิชาสัตวบาล ม.เกษตรศาสตร์ และ ดร.วิศรา ไชยสาลี นักวิชาการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

6.รศ.ดร.จำเริญ เที่ยงธรรม ภาควิชาสัตวบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
6.รศ.ดร.จำเริญ เที่ยงธรรม ภาควิชาสัตวบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
7.ดร.วิศรา ไชยสาลี นักวิชาการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
7.ดร.วิศรา ไชยสาลี นักวิชาการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

เรื่อง “อาหารสัตว์” ถูกหยิบขึ้นมานำเสนอ โดยคุณเรวัตระบุว่า 3 ปีกว่า วัตถุดิบอาหารสัตว์โปรตีนแพงมาก เช่น ข้าวโพดแห้ง ราคาเข้าโรงงานอาหารสัตว์ กก.ละ 8-9 บาท กากถั่ว 14-15 บาท พอปี 63 กลางปี จนถึงไตรมาส 4 ปี 65 กากถั่วขึ้นเป็น 23-24 บาท/กก. เพิ่งอ่อนลงเมื่อกลางปี 66 และ 60% วัตถุดิบทั้งหมดต้องนำเข้า เพราะข้าวโพดผลิตได้เพียง 4.8-4.9 ล้านตัน แต่วงการอาหารสัตว์ต้องการ 8 ล้านตัน หากใครนำเข้า ข้าวสาลี มาทดแทน 1 ส่วน ต้องซื้อข้าวโพดในประเทศ 3 ส่วน อย่างไรก็ดี ข้าวโพดปีนี้จะไม่แพง เพราะนำเข้าต่างประเทศ เพื่อนบ้าน อย่าง ลาว เขมร พม่า ได้ นอกจากนี้ กากถั่วเหลือง ก็คงจะไม่แพง เพราะการเลี้ยงสัตว์ในจีนลดลง จึงเป็นข่าวดีของเกษตรกรไทย

8.ผู้ถามคำถาม คุณพรชัย ชั้นสกุล พรชัยฟาร์ม อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้
8.ผู้ถามคำถาม คุณพรชัย ชั้นสกุล พรชัยฟาร์ม อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้

แนวโน้มสถานการณ์ไข่ไก่

เรื่อง กองทุนไก่ไข่ ก็ถกประเด็นนี้พอสมควร เฮียคี้ ให้ความเห็นว่า วงการไก่ไข่ได้นำเงินจากกองทุนมาใช้เป็นเงินส่วนต่าง 50 ล้านบาท เพราะช่วงเทศกาลกินเจ ราคาไข่ถูกลง “เรามีไข่ถัวเฉลี่ย 40 ล้านฟอง/วัน ถ้าไข่ไหลลงไป 60 สตางค์ ต้องใช้วันละ 24 ล้าน เดือนละ 720 ล้านบาท เราประคองได้ 2 เดือนครึ่ง จากที่เราทำกิจกรรม เราสามารถเซ็ทเงินขึ้นมาได้พันกว่าล้าน และกองทุนก็มีประโยชน์กับอุตสาหกรรมอย่างมาก แต่หลังเดือน ธันวาคม ไปแล้ว เราไม่สามารถทำโครงการต่อ เพราะกองทุนเรามีจำกัด ราคาไข่จึงไหลลงถึงปัจจุบัน”

คุณพรชัย ตั้งคำถามว่า “กองทุน PS ตัวละ 50 บาท ได้ 20 กว่าล้าน ใช้ไม่พอ ดังนั้นถ้าเราเก็บจากเกษตรกรใบละ 50 สตางค์ จาก PS ตัวละ 50 บาท PS จำกัด 4:4 ก็ได้ และเก็บจากเกษตรกร สมมติว่า เข้าไก่ 5 หมื่นตัว เก็บตัวละ 50 สตางค์ ก็ต้องจ่าย 25,000 บาท หรือเก็บ PS ก่อนก็ได้ เพราะ PS กำไร 28 บาท ตั้งแต่ พ.ย.62 ราคาลูกไก่ 28 บาท 4 ปีเต็ม เป็นไปได้มั๊ยที่ PS จะลดลูกไก่ลดลง 2-3 บาท ก็แล้วแต่คณะกรรมการกองทุนไก่ไข่จะพิจารณา”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เฮียคี้ไม่ตอบคำถามนี้ โดยไปให้คุณสมคิดตอบ คือ โยนต่อไปให้คณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาอัตราการเก็บ PS ซึ่งเรื่องนี้คุณเรวัตเห็นด้วยที่จะให้ 16 บริษัท ได้พิจารณา

อย่างไรก็ดี ในทัศนะของคุณเรวัตมองว่า จะเก็บเงินจากผู้ขาย PS หรือจะเก็บจากเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ มันขึ้นอยู่กับว่าจะยืดอายุการปลดไก่หรือไม่ในช่วงที่ไข่เยอะๆ “พอมีกำไรเยอะๆ 4 บาทปุ๊บ ทุกคนแฮปปี้ ขยายการเลี้ยงออกไป จึงมีปัญหาบ้าง ตอนนี้ไข่เยอะขึ้น พ่อแม่พันธุ์ PS ก็มีกำไรเยอะขึ้น ก็ดูซิว่า 72 สัปดาห์ จะปลดมั๊ย ผมเห็นว่าเราหละหลวมตรงนี้” คุณพรชัย ให้ความเห็น

9.คุณกฤติพิพัฒน์ รัตนนาวินกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านส่งเสริมและพัฒนาสัตว์ปีก กสส. กรมปศุสัตว์
9.คุณกฤติพิพัฒน์ รัตนนาวินกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านส่งเสริมและพัฒนาสัตว์ปีก กสส. กรมปศุสัตว์

การจัดตั้งกองทุนไก่ไข่

คุณกฤติพิพัฒน์ รัตนนาวินกุล กรมปศุสัตว์ ให้ความเห็นว่าจะตั้งกองทุนไก่ไข่ได้ ต้องล้มลุกคลุกคลานมาตลอด เมื่อผู้ประกอบการขอร้องให้กรมช่วย จึงได้ตั้งกองทุน โดยตอนแรกใช้เงิน คชก. จนถึงวันนี้ 4 ปี กองทุนฯ เป็นเครื่องมือสำคัญ แต่การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของเงินในกองทุน ช่วงไหนมีการใช้ก็เพิ่มขึ้น ช่วงไหนไม่ใช้ก็น้อยลง จึงเชื่อมั่นว่าตัวเลขที่กรมดูแลมันเคลื่อนไหวตลอดเวลา เชื่อมั่นได้ เพราะติดตามปริมาณไก่ตลอดเวลา ไข่เท่าไหร่ ใช้คนงานเท่าไหร่ ไข่จึงอยู่ในระบบได้ยาวๆ ยั่งยืน จนถึงวันนี้ และจะมี คณะกรรมการที่ปรึกษา มาจากผู้แทน 16 บริษัท และจากสหกรณ์ นำประเด็นต่างๆ เข้าพูดคุยรับข้อเสนอแนะต่างๆ

ขณะนี้กองทุนฯ มีเงินเหลือ 58.8 ล้านบาท

10.คุณนภัทร ชูสุกรักษ์ ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ภาคใต้ตอนบน บมจ. เบทาโกร
10.คุณนภัทร ชูสุกรักษ์ ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ภาคใต้ตอนบน บมจ. เบทาโกร

ตัวแทนเบทาโกร คุณณภัทร ชูสุกรักษ์ หรือ คุณไก่ เปิดเผยว่า โควตา 15 ตู้ แต่ทำได้ประมาณ 13 ตู้ ที่ส่งออก โดยแยกเป็นฮ่องกง 30% และสิงคโปร์ 70% ส่วนการปลดไก่ภาคใต้ตอนบนมีตลาดไก่ปลดเป็นรายวัน รายวีค แต่เบทาโกรมี บิ๊กดาต้า เช่น การเคลื่อนย้ายไก่ ราคาขึ้นลงของไข่ เป็นต้น ซึ่งเรื่องการปลดไก่ เฮียคี้ ให้ความเห็นว่า เรื่อง ไข่เถื่อน ไม่กลัว แต่กลัว ไก่เถื่อน ที่อาจแฝงอยู่ในระบบของเรา มีการคุยกันว่าจะตั้ง กรรมการ ขึ้นมาสักชุดจากกลุ่มผู้เลี้ยงเพื่อตรวจสอบ เมื่อมีการร้องเรียนเรื่อง PS เถื่อน หรือนอกโควต้า “ทางกรมต้องตรวจสอบ ไม่งั้นเราทำไข่อุตสาหกรรม เวลา 4 บาท มันหอม หวาน ทุกคนอยากเข้ามาเพื่อเติมเข้าไปในระบบ เรามีข้อตกลงตั้งกรรมการจาก 4 นายกสมาคม และ 5 ประธานสหกรณ์ ร่วมตรวจสอบทวงถามสิ่งที่ถูกต้องกับ 16 บริษัท ผู้ผลิตพ่อแม่พันธุ์ว่า ท่านทำตามที่เรากำหนดหรือเปล่า” เฮียคี้ ให้ความเห็นต่อไปว่า “คนเลี้ยงไก่ไข่ต้องมีจิตใจแน่วแน่ คาดการณ์ล่วงหน้าได้ ไม่ใช่อ้างแต่ว่าปลดไก่ไม่ได้ ไก่ปลดมันเป็นระบบของมัน มีดีมานด์ของมัน ทุกวัน ทุกสัปดาห์ อยู่แล้ว”

เรื่องตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ พรชัยฟาร์ม เห็นด้วย “ดร.มานิจ ผลิตลูกไก่ บางคนบอกยังไม่รับรองพันธุ์ขายเข้าตลาด เปอร์เซ็นต์ไข่ดีหรือไม่ ผมไม่รู้ ถ้าเขาทำพันธุ์สัตว์ เขาน่าจะเอาเข้าระบบ ก็ขอเสนอว่าน่าจะหาแนวทางของ ดร.มานิจ มาเข้าในกล่องเป็นรายที่ 17”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จึงเห็นได้ว่า สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ พยายามทุกวิถีทางที่จะให้ผู้เลี้ยงไก่ไข่อยู่ได้ในอาชีพ โดยยืนหยัดลดปริมาณไข่ในช่วงราคาไข่ตกต่ำ ด้วยการให้ปลดแม่ไก่ 72 สัปดาห์

แต่ไม่ได้หาทางลด ต้นทุน การผลิต เช่น ใช้สายพันธุ์ที่กินอาหารแล้วให้ไข่ไวและดกกว่า หรือใช้อาหารที่ถูกกว่าแบรนด์ดังๆ ในท้องตลาด โดยคุณภาพเท่ากัน เป็นต้น แม้โรงเรือน-อุปกรณ์การเลี้ยงไก่ ก็จัดการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นภารกิจของผู้เลี้ยงไก่ไข่โดยตรง

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 372