โรคสุกรที่สําคัญ การจัดการ และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ แม่หมู ทั้งฝูง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โรคสุกรที่สําคัญ การจัดการ และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ แม่หมู ทั้งฝูง แม่หมู แม่สุกร การเลี้ยงแม่หมู โรคสุกร

บริษัท เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ (ไทย) จำกัด ได้จัดงานสัมมนาเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานในฟาร์มสุกร โดยเรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารจัดการแรงงาน จากสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ร่วมกับการบรรยายเชิงวิชาการเกี่ยวกับโรคและการจัดการเทคโนโลยีการเลี้ยงสุกรสมัยใหม่ จากงานประชุมวิชาการในประเทศสหรัฐอเมริกาและไอร์แลนด์ เพื่อถ่ายทอดความรู้ใหม่ๆให้กับเกษตรกร

น.สพ.วินัย ทองมาก ผู้จัดการ บริษัท ไลฟ์ อินโฟร์เมติคส์ จำกัด ได้กล่าวถึงเรื่องงานประชุมวิชาการ ในประเทศสหรัฐอเมริกาและไอร์แลนด์ โดยสรุปว่าจากงานวิจัยปี 2016 ทำให้ทราบว่าฟาร์มทั่วโลกจะชอบเก็บรวมข้อมูล นิยมใช้ซอฟต์แวร์ใหม่ๆเพื่อนำมาเก็บข้อมูลของตนเอง

แต่สิ่งที่เหมือนกันทั่วโลก คือมีข้อมูลแล้ว แต่ไม่มีการนำมาวิเคราะห์ และไม่นำข้อมูลนั้นมาใช้อย่างจริงจัง  เรื่องนี้ถือเป็นจุดอ่อนอย่างยิ่ง เพราะในการพัฒนาการเลี้ยงสุกรนั้นจะเก็บข้อมูลอย่างเดียวไม่ได้ แต่จะต้องนำเอาข้อมูลนั้นมาคิดวิเคราะห์เพื่อให้เกิดการพัฒนา

จากการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เห็นได้ว่าปัจจัยที่จะทำให้แม่สุกรแสดงประสิทธิภาพระบบสืบพันธุ์ เช่นอัตราการเข้าคลอด การให้ลูกดก ผสมติดง่าย และเลี้ยงลูกเก่ง ซึ่งจากผลวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆที่ทำให้แม่สุกรมีระบบสืบพันธุ์ที่ดี แบ่งเป็นสองระดับคือ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อแม่สุกรโดยตรง (Sow level factors) และ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อแม่สุกรทั้งฝูง (Herd level factors)

โดยจะมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

  1. การบรรยายเกี่ยวกับโรคและการเลี้ยงสุกรสมัยใหม่
  2. ผลกระทบต่อแม่สุกรโดยตรง
  3. อัตราการสูญเสียตั้งแต่หลังหย่านมถึงสุกรขุน
  4. ผลกระทบต่อแม่สุกรทั้งฝูง
1.บ.เบอริงเกอร์จัดงานสัมมนา-ทันโรคยุคใหม่-รู้ใช้กฎหมายแรงงาน
บ.เบอริงเกอร์จัดงานสัมมนา-ทันโรคยุคใหม่-รู้ใช้กฎหมายแรงงาน
2.การบรรยายเกี่ยวกับโรคและการเลี้ยงสุกรสมัยใหม่
การบรรยายเกี่ยวกับโรคและการเลี้ยงสุกรสมัยใหม่

เมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาอัตราลูกรอด/แม่/ปี หรือ  PSY จาก 20 ตัวเป็นสาม 30 ตัว อนาคตคาดว่าจะพัฒนาให้ได้ PSY 40 ตัว ฉะนั้นลูกที่คลอดในแต่ละครอกต้องมีประมาณ 16 – 17 ตัว/ครอก ซึ่งปัจจุบันฟาร์มในประเทศไทยหลายฟาร์มสามารถทำได้ 15 ตัว/ครอก บางครอกอาจจะมีมากถึง 18 – 22 ตัว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ฉะนั้นในอนาคตคิดว่าเกษตรกรไทยทำได้แน่นอน เพราะฉะนั้นสายพันธุ์ที่ใช้ในอนาคตจะต้องให้ลูกแรกเกิดตัวโต มีมดลูกขนาดใหญ่ มีเต้านม 8 คู่ขึ้นไป กินเก่ง ทนทานต่อโรคและสิ่งแวดล้อม

4.ผลกระทบต่อแม่สุกรโดยตรง
ผลกระทบต่อแม่สุกรโดยตรง

ผลกระทบต่อแม่สุกรโดยตรง (Sow level factors)

  1. ลำดับท้อง มีอิทธิพลต่อแม่พันธุ์มากที่สุดคือ โดยปกติในสุกรสาวจะมีปัญหา คือเมื่อนำสุกรสาวขนาดเล็กเข้ามาผสม สุกรสาวจะเป็นแม่ที่ไม่ดี เนื่องจากยังเด็กอยู่ เมื่อคลอดออกมาจะเลี้ยงลูกไม่ค่อยเก่ง และการนำสุกรสาวเข้าฟาร์มยังเป็นการนำพาโรคเข้าสู่ฟาร์มด้วย

ส่วนปัญหาแม่พันธุ์แก่  ให้ลูกดกก็จริงแต่มีอัตราการคลอดช้า และมีอัตราการตายของก่อนหย่านมสูง ถึงแม้จะให้ลูกดกแต่ก็เลี้ยงลูกไม่ค่อยเก่ง เนื่องจากเต้านมคู่หลังจะหายไป และไม่ค่อยมีน้ำนม กินอาหารมากแต่จำนวนลูกหย่านมไม่ได้แตกต่างกับแม่สุกรสาว เพราะฉะนั้นการที่มีแม่สุกรแก่อยู่ในฟาร์มจะทำให้ต้นทุนการผลิตลูกสุกรสูง

  1. ฤดูกาล และสภาพอากาศ ในช่วงที่มีอากาศร้อนจะมีผลกระทบต่อระบบฮอร์โมนของแม่พันธุ์เป็นอย่างยิ่ง เช่นฮอร์โมนต่อมใต้สมอง ซึ่งมีผลต่อรังไข่ ทำให้อัตราการผสมติดต่ำ ส่งผลให้อัตราการเข้าคลอดต่ำลง เพราะฉะนั้นสายพันธุ์ที่เลือกต้องเหมาะกับอากาศประเทศนั้นๆ
  2. การกินได้ในเล้าคลอด จะมีผลต่อระบบสืบพันธุ์โดยตรง การกินได้ในสัปดาห์แรกหลังคลอดจะมีผลโดยตรงต่อขนาดครอกถัดไป และช่วยให้แม่สุกรที่หย่านมสามารถกลับสัดเร็ว เมื่อกลับสัดภายใน 7 วันหลังหย่านมโอกาสผสมติดง่าย ลูกดก เพราะฉะนั้นการกินได้ในเล้าคลอดจึงเป็นปัจจัยหลักของทุกๆประเทศ หากจะพัฒนาฟาร์มสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรก คือหาทางทำให้แม่สุกรในเล้าคลอดกินอาหารให้ได้เยอะที่สุด เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 5.5 กิโลกรัม/วัน
  3. จำนวนครั้งในการผสม ถ้าเกษตรกรจับสัดแม่นยำ การผสม 2 ครั้ง จะดีกว่าการผสม 3 ครั้ง/รอบ
  4. เหตุการณ์ก่อนและหลังคลอด ในช่วง 4 สัปดาห์ก่อนคลอดและหลังคลอดจะมีเปอร์เซ็นการตายของแม่สุกรร้อยละ 68% ยิ่งแม่สุกรแก่ยิ่งมีเปอร์เซ็นต์การตายสูง ยิ่งมีสภาพอากาศร้อนแม่สุกรสาวจะยิ่งตาย และถ้ามีสภาพอากาศยิ่งหนาวแม่สุกรแก่ก็ยิ่งตาย และอีกส่วนหนึ่งมาจากความเครียดก่อนคลอด หอบและกัดกรงตาย ซึ่งสามารถแก้ได้ด้วยการตักดีเกลือให้กิน
5.อัตราการสูญเสียตั้งแต่หลังหย่านมถึงสุกรขุน
5.อัตราการสูญเสียตั้งแต่หลังหย่านมถึงสุกรขุน

7.ช่วงหย่านมถึงช่วงผสม การผสมครั้งแรกมีผลต่อแม่อย่างมาก แม่ที่ดีที่สุดคือแม่ที่หย่านมและกลับสัดประมาณ 5 วัน ส่วนแม่ที่หย่านมถึงผสมครั้งแรกมีการกลับสัดเกิน 7 วัน จนถึง 17 วัน แม่สุกรจะประสบปัญหาเรื่องการอุ้มท้องได้ไม่ตลอด

8.ลูกเกิดมีชีวิต หากสุกรสาวให้ลูกดกตั้งแต่ท้องแรก โอกาสท้องต่อไปก็จะลูกดก

9.น้ำหนักแรกเกิด ทุกๆ 1 กรัมของน้ำหนักแรกเกิดจะมีผลต่อน้ำหนักหย่านม 3 กรัม

10.หย่านมต่อครอก จะต้องคัดสายพันธุ์ที่มีความเป็นแม่สูง อย่าเลือกแม่ที่ให้ลูกดกเพียงอย่างเดียว ควรเลือกแม่สุกรที่มีจิตวิญญาณในความเป็นแม่ เรียกลูกให้เข้ามากินนมได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand
Ad-Boehringer
Ad-Boehringer

11.อายุสุกรสาวที่ถูกผสม จะต้องมีอายุมากกว่า 240 วัน หรืออายุ 36 สัปดาห์ขึ้นไป

12.ลูกตายแรกคลอด ถือเป็นปัญหาบ่งชี้ที่สำคัญมาก บางฟาร์มหากอยากทราบว่าฟาร์มมีปัญหาหรือไม่ให้ดูจากเปอร์เซ็นต์การตายแรกคลอด เมื่อไหร่ที่มีลูกสุกรตายแรกคลอดสูง หมายความว่าแม่สุกรใช้ระยะเวลาในการคลอดนาน แม่สุกรอาจป่วยหรือมีปัญหาอื่นๆ

6.ผลกระทบต่อแม่สุกรทั้งฝูง
6.ผลกระทบต่อแม่สุกรทั้งฝูง

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อแม่สุกรทั้งฝูง (Herd level factors)

  1. ขนาดฝูง ฟาร์มขนาดใหญ่ จะมีโอกาสที่จะได้แม่สุกรที่มีประสิทธิภาพที่จะให้ลูกหย่านม/แม่/ปี สูงขึ้น เนื่องจากฟาร์มขนาดใหญ่จะมีการลงทุนสูง และต้องใช้บุคลากรในการดูแลมาก เมื่อมีการลงทุนสูงระบบที่ใช้จะดีขึ้นตามไปด้วย และมีผลกำไรดีขึ้น
  2. การจัดการระดับฝูง จากการสำรวจในอเมริกาพบว่า ปัจจัยที่ผลต่อมีระบบสืบพันธ์ที่ดี คือ เมื่อพบสุกรสาวเป็นสัดให้ผสมเลย ส่วนสุกรนางให้เว้นประมาณ 12 ชั่วโมงจึงผสม และสุกรสาวที่ผสมพันธุ์ครั้งแรแรกต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 240 วัน
  3. กลุ่มผสมต่อสัปดาห์ เกษตรกรจะต้องผสมสุกรอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5% ของจำนวนแม่พันธุ์ในฟาร์ม
  4. การเพิ่มหรือลดขนาดฝูงอย่างกะทันหัน จะทำให้ผลผลิตในฟาร์มไม่ดี เพราะการลดขนาดคือการนำสุกรแม่พันธุ์แก่ออก จึงจำเป็นต้องนำสุกรสาวเข้ามาทดแทน เมื่อนำสุกรสาวเข้ามาทดแทน ก็จะเกิดปัญหาขึ้นในระดับตัวแม่พันธุ์ที่กล่าวมาข้างต้น
  5. จำนวนและการใช้ประโยชน์ของซองคลอด ในแต่ละปีจะใช้ซองคลอด 10.4 รอบ ในหนึ่งปีจะต้องผลิตลูกสุกรในซองคลอดได้ 130 ตัว ที่ต้องคิดและวางเป้าหมายเนื่องจากหน่วยลงทุนในฟาร์มสุกร โรงเรือนคลอดจะเป็นส่วนที่ต้องลงทุนมากที่สุด
  6. คุณภาพน้ำเชื้อขาดการวิเคราะห์ร่วมกับประสิทธิภาพการผลิตในฝูงแม่
  7. ขาดการนำข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาฟาร์ม

ฉะนั้นสุกรสาวที่จะนำเข้าฝูงจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1. มีน้ำหนักและอายุได้ 2. สุกรจะต้องติดเชื้อหรือสัมผัสเชื้อที่ต้องการให้ติด เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันในร่างกายและส่งต่อภูมิคุ้มกันดังกล่าวสู่ลูกสุกร

แต่แม่สุกรสาวที่สัมผัสเชื้อจะต้องหยุดปล่อยเชื้อนั้นๆก่อนจึงจะสามารถนำไปผสมพันธุ์ได้  ซึ่งโรคดังกล่าวคือ PED PRRS  ไข้หวัดใหญ่สุกร และมัยโครพลาสมา 

Ad-InteQCอาหารหมู
Ad-InteQCอาหารหมู

โรคสุกรที่สําคัญ แม่หมู แม่สุกร การเลี้ยงแม่หมู โรคสุกร

แม่หมู แม่สุกร หมูตั้งท้องกี่เดือน การเลี้ยงแม่หมู เต้านมอักเสบ การเลี้ยงหมูขุน โรคสุกรที่สําคัญ การเลี้ยงหมูขุนให้โตเร็ว วิธีการเลี้ยงหมู การเลี้ยงสุกร วิธีเลี้ยงหมู เลี้ยงหมูขุน โรคสุกร โรคสุกรที่สําคัญ โรคปากเท้าเปื่อยในสุกร โรคสุกรที่สําคัญ โรคสุกรที่สําคัญ โรคสุกรที่สําคัญ โรคสุกรที่สําคัญ แม่หมู แม่หมู แม่หมู แม่สุกร แม่สุกร แม่สุกร แม่สุกร แม่สุกร แม่สุกร การเลี้ยงแม่หมู การเลี้ยงแม่หมู การเลี้ยงแม่หมู การเลี้ยงแม่หมู การเลี้ยงแม่หมู การเลี้ยงแม่หมู โรคสุกร โรคสุกร โรคสุกร โรคสุกร โรคสุกร โรคสุกร โรคสุกร โรคสุกร โรคสุกรที่สําคัญ โรคสุกรที่สําคัญ โรคสุกรที่สําคัญ

โฆษณา
AP Chemical Thailand