JAPFA เจ้าพ่อสุกรอันดับ 3 ของเวียดนาม 3 ปี กำไรรวด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โรค ASF ถล่มธุรกิจสุกรพังเกือบทุกประเทศ  ่JAPFA เจ้าพ่อสุกรเวียดนาม

ประเทศไทยก็ถูกเล่นงานอย่างหนักจาก ASF หรือ AFRICAN SWINE FEVER VIRUS : ASF เป็นไวรัสกลุ่ม ASFIVIRUS ที่ระบาดในสุกร ทำลายต่อมน้ำเหลือง เป็นไข้สูง และเลือดอกตามผิวหนัง ยังไม่มี วัคซีน ป้องกันแต่อย่างใด

แต่ในเวียดนาม รัฐคอมมิวนิสต์ รัฐบาลทำงานฉับไว ใช้กลไกรัฐเข้าไปป้องกันและแก้ปัญหา จน ธุรกิจสุกร กลับมา ทำให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศมั่นใจฝีมือรัฐบาล

1.JAPFA01

การเลี้ยง ไก่เนื้อ และ สุกร

เช่น บริษัท JAPFA COMFEED INDONESIA จำกัด (JAPFA) บริษัทยักษ์ใหญ่ สัญชาติอินโดนีเซีย ที่ลงทุนธุรกิจปศุสัตว์ในเวียดนาม ทั้งไก่เนื้อ สุกร และ โรงงานอาหารสัตว์ เป็นต้น

โดยเฉพาะ “ธุรกิจสุกร” เป็นเบอร์ 3 ของประเทศ โดย JAPFA มาลงทุนในเวียดนามไม่ต่ำกว่า 20 ปี มีผู้บริหารคนไทยไม่ต่ำกว่า 3 คน หนึ่งในนั้น คือ คุณกิดดิวงศ์ สมบุญธรรม บริหารด้านเทคนิเชียลอาหารสัตว์ และดูแลลูกค้าด้านสุกร และอาหารสัตว์

คุณกิดดิวงศ์เปิดเผยว่า JAPFA TAN YONG NANG ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดูแลพนักงานดีมาก มีจิตใจอารี รักลูกน้อง ดังนั้นในอินโดนีเซีย ธุรกิจไก่เนื้อมาอันดับ 2 ส่วนวัวนมในจีนเลี้ยงกว่าแสนแม่ และในเวียดนามไก่เนื้อติดอันดับ 2 สุกรอันดับ 3 นอกจากนี้ JAPFA ได้ลงทุนธุรกิจปศุสัตว์อีกหลายประเทศ เช่น อินเดีย บังกลาเทศ และ พม่า เป็นต้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในเวียดนาม JAPFA ได้บุกหนักอาหารสัตว์ที่ภาคเหนือ 3 โรงงาน และภาคใต้ 4 โรงงาน ผลิตทั้งอาหารสัตว์ และอาหารสัตว์น้ำ เพื่อใช้เอง และขายให้ลูกค้า โดยเฉพาะ อาหารสัตว์บก ทั้งไก่เนื้อ และสุกร เวียดนามเป็นประเทศที่รัฐบาลใส่ใจอย่างจริงจัง

ไก่สี หรือไก่เนื้อพันธุ์พื้นเมือง ที่ถูกพัฒนาด้วยใช้ไก่ไข่ตัวเมียที่ออกไข่เยอะผสมกับพ่อไก่ชน จนได้ลูกผสม เลี้ยงเป็น ไก่เนื้อ รสชาติอร่อยกว่า ไก่ขาว หรือไก่บอยเลอร์ “คนเวียดนามกินไก่สี เพราะเขาเป็นคนจีน อพยพจากกวางตุ้ง คนกวางตุ้งชอบกินไก่สี ไม่ชอบกินไก่เนื้อ ที่มีเนื้อยุ่ยๆ ที่โตเร็ว” คุณกิดดิวงศ์ ให้ความเห็น ดังนั้น JAPFA จึงต้องทำธุรกิจไก่เนื้อครบวงจร ตั้งแต่ฟาร์ม โรงงาน อาหารไก่ โรงชำแหละไก่ และ ช็อปในห้างโมเดิร์นเทรด

2.JAPFA02

การผลิตอาหารสัตว์

ธุรกิจสุกรของ JAPFA เกือบจะครบวงจร ขาดโรงฆ่าเท่านั้น ขณะที่ธุรกิจสัตว์น้ำ JAPFA ผลิตอาหารปลาป้อนผู้เลี้ยงปลาดอลลีเป็นหลัก เพราะคนเวียดนามนิยมเลี้ยง ปลาเนื้อขาวดอลลีไซซ์ใหญ่ป้อนโรงงานแปรรูปเป็นฟิลเล อาหารพรีเมียมที่พร้อมด้วยโปรตีนและโอเมก้า 3 นอกจากนี้ชาวเวียดนามชอบกิน ปลาหนัง ไม่นิยมกินปลาเกล็ด เพราะไม่อร่อย

สำหรับ ธุรกิจสุกร ก็ได้รับผลกระทบจากโรค ASF เมื่อป้องกันได้แล้วก็ขยายฟาร์มปู่ย่า (GGP) ส่วนฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ได้เช่าฟาร์มของเกษตรกร ส่วนหมูขุน หรือหมูคอมเมอร์เชียล ได้ทำสัญญากับเกษตรกรแบบคอนแทรคฟาร์ม จากแม่พันธุ์ทั้งหมด 80,000 แม่ สามารถผลิตหมูขุนไม่ต่ำกว่า 1 ล้านตัว/ปี ภายในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา และปีนี้จะไม่ขยายกำลังการผลิต แต่จะบริหาร ต้นทุน ให้มีกำไรดีกว่า เพราะต้นทุนเป็นเรื่องใหญ่ แม้จะมีต้นทุนเฉลี่ยทั้งประเทศให้เห็น แต่ต้นทุนทางธุรกิจจะต้องทำให้ต่ำกว่าด้วยการใช้ฝีมือ เพราะโรคยังประมาทไม่ได้ ถ้าเก่งบริหารต้นทุนตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ กำไรจะชัดเจน

เมื่อถามถึงบริษัทที่เป็นคู่แข่ง คุณกิดดิวงศ์ให้ความเห็นว่า การตั้งราคาขายสินค้า เช่น อาหารสัตว์ แต่ละบริษัทจะควบคุมและถ่วงดุลกันเอง ใครขายราคาสูงจะขายยาก “บริษัทคุณก็รู้ ผมก็รู้ วัตถุดิบส่วนใหญ่นำเข้ามาเท่าไหร่ คุณก็รู้ ถ้าเอากำไรมาก ผมก็ลดราคา ดึงลูกค้าคุณเข้ามา” คุณกิดดิวงศ์ ยกตัวอย่างราคาอาหารสัตว์

สมมติว่า 3 เสือธุรกิจสุกรของเวียดนาม ขายลูกหมูพ่วงอาหารหมู แต่บางบริษัทขายอาหารอย่างเดียว ไม่มีลูกหมูขาย ก็แนะนำให้เกษตรกรซื้อลูกหมูมาเลี้ยง แล้วตนเองก็ลด “ราคา” อาหารให้ต่ำกว่าอาหารของ 3 เสือ แต่ต้องซื้อใน “จำนวน” ตามข้อตกลง แถมตอนขายหมู ทางบริษัทจะคืนเงินให้ส่วนหนึ่ง/หมู 1 ตัว อีกด้วย ขณะเลี้ยงก็มีนักวิชาการของบริษัทมาดูแลแนะนำตลอด นี่คือกลยุทธ์ของยักษ์ใหญ่อาหารสัตว์ที่ไม่เข้าไปส่งเสริมเกษตรกรระดับกลาง ซึ่งมีมากขึ้นในเวียดนาม ซึ่งมีบริษัทต่างชาติมาลงทุนอาหารสัตว์มากขึ้น อำนาจต่อรองจะเป็นของเกษตรกร “ยักษ์ใหญ่มาลงทุนมีกำไรแน่นอน ความมั่นคงของผู้เลี้ยงก็โอเค ดีกว่าเมืองไทย แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่มีราคาตก หรือไม่มีราคาแพง แต่ตอน 2017 เป็นช่วงที่ขาดทุนหนัก” คุณกิดดิวงศ์ ให้ความเห็น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

3.JAPFA03

แนวโน้มอุตสาหกรรมปศุสัตว์ของเวียดนาม

เรื่องอุตสาหกรรมปศุสัตว์ของเวียดนาม คุณกิดดิวงศ์มองว่า ภาครัฐ เข้ามามีบทบาทมากๆ ด้วยการวางแผนและปฏิบัติตามแผนให้ ดีมานด์ กับ ซัพพลาย สมดุลกัน เริ่มตั้งแต่ “ที่ดิน” กรรมสิทธิ์เป็นของรัฐ เอกชนเป็นเพียงผู้ครอบครองสิทธิเพื่อทำธุรกิจเท่านั้น และทุกโครงการที่จะทำฟาร์มปศุสัตว์ต้องยื่นผ่านรัฐ แล้วจะดูว่าถ้าราคาปศุสัตว์ดี ก็จะอนุมัติโครงการ แต่ถ้าดูว่าราคาปศุสัตว์แย่ แสดงว่าซัพพลายมากกว่าดีมานด์ ก็จะไม่อนุมัติโครงการ และถ้าได้รับการอนุมัติก็จะต้องปฏิบัติตามระเบียบใบอนุญาต 7 ใบ และถ้าไม่เลี้ยงตามโครงการภายใน 2 ปี ที่ดินยังไม่ได้พัฒนา รัฐจะยึดคืน และถูกปรับด้วย

ดังนั้นการที่รัฐเข้ามาส่งเสริมและกำกับธุรกิจปศุสัตว์อย่างเป็นรูปธรรม ได้เกิดนักลงทุนจากต่างชาติที่มีฝีมือและโปร่งใส สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีต่างๆ ให้ชาวเวียดนาม ซึ่ง JAPFA คือ 1 ในตัวอย่าง ที่โดดเด่นด้านธุรกิจสุกร  3 ปีที่ผ่านมา ทำกำไรอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางโรค ASF ที่รุนแรง แสดงถึง “ฝีมือ” การบริหารที่ชัดเจน

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 371