ทุเรียนนอกฤดู การดูแลสวนทุเรียน ฉบับ เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การดูแลสวนทุเรียน ฉบับ เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ

ในที่สุด “ทุเรียนไทย” ที่เคยตกต่ำก็กลายมาเป็นผลไม้ราคาแพง เพราะคนจีนแผ่นดินใหญ่ได้สัมผัสในคุณค่าทางโภชนาการและรสชาติของทุเรียนไทยที่ทั้งหวาน มัน และหอม อร่อย  สมกับคำว่า “ราชาผลไม้เมืองร้อนชื้น” อย่างแท้จริง  ส่งผลให้ “เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติปี 59 ”  สาขาอาชีพพืชสวน

อย่าง “ คุณอุดม  วรัญญรัฐ ” ที่มีความโดดเด่นด้านการผลิต “ ทุเรียนนอกฤดู ” ป้อนตลาดทั้งในและต่างประเทศมานานหลายสิบปีจึงได้ส่งสรรพกำลังทั้งแรงกาย แรงใจ เงินตราและเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมให้ชาวสวนมุ่งมั่นผลิตทุเรียนเกรดพรีเมียมให้เป็นทางเลือกใหม่สำหรับตลาดและผู้บริโภคให้มีโอกาสได้ลิ้มรสชาติทุเรียนคุณภาพจากชาวสวนมืออาชีพอย่างแท้จริงที่มีกระบวนการดูแลที่ดีตั้งแต่เริ่มต้นไปจนเก็บเกี่ยวผลผลิต  สร้างรายได้ให้กับชาวสวน สร้างความมั่นใจให้กับพ่อค้า สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคทั้งในประเทศไทยและการส่งออกไปขายในแต่ละมณฑลของจีนแผ่นดินใหญ่ การดูแลสวนทุเรียน การดูแลสวนทุเรียน การดูแลสวนทุเรียน การดูแลสวนทุเรียน การดูแลสวนทุเรียน

พร้อมๆกับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิตทุเรียนคุณภาพเกรดพรีเมียมให้กับเกษตรกรทุกคนอย่างเต็มใจ ภายใต้ “ศูนย์เรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.)อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี”  การรวมกลุ่มสร้างความเข้มแข็งให้กับชาวสวนทั้งในวันนี้และอนาคต  การส่งมอบอาชีพให้กับทายาทสานต่อความตั้งใจ พัฒนาต่อยอดการผลิตทุเรียนคุณภาพให้คงอยู่สืบไปตราบลูกหลาน สร้างอาชีพที่มั่นคงและรายได้ที่ยั่งยืนให้กับครอบครัว ชุมชน

ปรึกษาฟรี! หากบอกว่ามาจาก พลังเกษตร.com หรือ นิตยสาร เมืองไม้ผล&พืชสุขภาพ

โทร 081-865-4846

1.สวนอุดมทรัพย์
สวนอุดมทรัพย์

สวนอุดมทรัพย์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

 

  1. การดูแลสวนทุเรียน แบบทุเรียนเกรดพรีเมียม บนเนื้อที่ 200 กว่าไร่
  2. ช่วงดอกเริ่มบาน-ติดผลอ่อน ของ ทุเรียนนอกฤดู
  3. การใส่ปุ๋ยในสวนทุเรียน
  4. การป้องกันโรคในสวนทุเรียน
  5. การเก็บเกี่ยวทุเรียน
  6. ล้งและห้องเย็นรองรับทุเรียนและการจัดการทุเรียนภายในล้ง

 

2.คุณอุดม-วรัญญรัฐ-เจ้าของสวนทุเรียนหมอนทอง
คุณอุดม-วรัญญรัฐ-เจ้าของสวนทุเรียนหมอนทอง

แนวคิดให้เกิด ทุเรียนเกรดพรีเมียม

คุณอุดม  วรัญญรัฐ เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติปี 2559 สาขาอาชีพพืชสวน คนนี้ยอมรับว่าเมื่อราคาทุเรียนพุ่งพรวดขึ้นมาอย่างนี้ แน่นอนชาวว่าชาวสวนในหลายพื้นที่ตั้งแต่ภาคตะวันออก  ภาคใต้ และภาคอื่นๆได้หันมาลงทุนสั่งต้นพันธุ์ทุเรียนตระกูล “หมอนทอง” ไปปลูกกันอย่างแพร่หลาย  เกิดเป็นกระแสที่ร้อนแรงของวงการทุเรียนไทยที่เหมือนเกษตรตัวอื่นๆ ที่ดึงดูดเกษตรกรเข้าสู่วงการด้วยกลไกด้าน “ราคา” ผลผลิตเป็นหลัก  โดยลืมปรากฏการณ์ด้าน ดีมานด์-ซัพพลายไปชั่วขณะและยังทักษะที่ดีใน  การดูแลสวนทุเรียน ให้เจริญเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ

เช่นเดียวกับการปรากฏขึ้นของพ่อค้าคนจีน หรือ “ล้งจีน” ที่เข้ามารับซื้อผลไม้สด ไม้ผลเศรษฐกิจของไทย ที่ได้จุดกระแสให้ผลไม้ไทยเกิดความร้อนแรงอีกครั้ง ถึงขั้นขนาดว่าหลายๆ คนต่างกังวลว่าเมื่อถึงวันที่พ่อค้าจีนยึดโยงผลไม้ไทยได้สำเร็จแล้ว ย่อมสามารถที่จะกำหนดทิศทาง “ราคา” ผลไทยได้หรือพูดง่ายๆ ก็คือว่าชาวสวนอาจตกอยู่ในกำมือพ่อค้าจีนก็เป็นได้ การดูแลสวนทุเรียน การดูแลสวนทุเรียน การดูแลสวนทุเรียน การดูแลสวนทุเรียน

แต่วันนี้สถานการณ์กลับตาลปัตรเพราะชาวสวนทุเรียนบางรายที่ไม่คำนึงถึงคุณภาพผลผลิตได้ดัดหลังพ่อค้าจีนที่วิ่งเข้าไปรับซื้อแบบเหมาสวนจนเกิดปัญหาการตัด “ทุเรียนอ่อน”  ส่งผลให้พ่อค้าจีนขาดทุนยับเยินเพราะล้งจีนยังไม่เข้าใจเรื่องทุเรียนอย่างแท้จริง เมื่อล้งจีนเจอปัญหานี้ก็เข็ดขยาดไปตามๆกันจนต้องถอยมาตั้งหลักพร้อมกับมีการซื้อขายกันตามปกติ การดูแลสวนทุเรียน การดูแลสวนทุเรียน การดูแลสวนทุเรียน การดูแลสวนทุเรียน

3.สวนทุเรียนบนเนื้อที่-200-กว่าไร่
การดูแลสวนทุเรียน บนเนื้อที่-200-กว่าไร่

มุ่งเน้น ทุเรียนนอกฤดู สวนทุเรียนบนเนื้อที่ 200 กว่าไร่

เพื่อความไม่ประมาทในอาชีพทำให้ชาวสวนทุเรียนหลายคนในภาคตะวันออก อย่างเช่น  คุณอุดม  วรัญญรัฐ เจ้าของสวนทุเรียนหมอนทองเนื้อที่ 200 กว่าไร่ ที่มีประสบการณ์ในการทำสวนทุเรียนมานานกว่า 20 ปี ได้มองเห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของวงการทุเรียนไทยจึงนำมาซึ่งการพัฒนาปรับปรุงต่อยอดสวนทุเรียนของตนเองให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

มุ่งเน้นการผลิตทุเรียนคุณภาพเป็นหลัก นอกจากนี้ยังได้มีแนวคิดในการริเริ่มให้เกิดการรวมกลุ่มชาวสวนทุเรียนภายในพื้นที่เป็นแปลงใหญ่ประมาณ 500 กว่าไร่ เพื่อมุ่งเน้นการผลิต ทุเรียนนอกฤดู ที่มีคุณภาพและขายผลผลิตได้ราคาสูงด้วยคุณภาพ “ผลผลิตเกรดพรีเมียม” ที่ก่อให้เกิดความเป็นธรรม ทั้งผู้ผลิต ผู้ซื้อ และผู้บริโภค

ต่อยอดการรวมกลุ่มให้เข้มแข็งด้วยการจัดซื้อปัจจัยการผลิตภายใต้ “ราคา” ที่เป็นธรรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันด้านการจัดการ  การดูแลสวนทุเรียน ที่มีประสิทธิภาพ  การรวบรวมผลผลิตของกลุ่มเข้าสู่การบริหารจัดการของกลุ่ม ตลอดจนการผลิตและแปรรูปภายใต้กระบวนการของกลุ่ม โดยมีตลาดทั้งในและต่างประเทศรองรับผลผลิตอย่างมั่นคง การดูแลสวนทุเรียน การดูแลสวนทุเรียน การดูแลสวนทุเรียน การดูแลสวนทุเรียน การดูแลสวนทุเรียน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คุณอุดมเปิดเผยว่าการทำ “ ทุเรียนนอกฤดู ” ให้ได้คุณภาพนั้นต้องอาศัยความพร้อมหลายด้าน ทั้งการใช้ปุ๋ย ใช้ยา ใช้ฮอร์โมน และธาตุอาหารต่างๆ ทั้งทางดินและทางใบอย่างสมดุลเพื่อบังคับให้ทุเรียนแตกใบอ่อน เป็นใบแก่ที่สมบูรณ์ ติดตาดอกได้ และติดผลอ่อนดี เบ่งพลูได้ดี

เก็บขายได้ราคาในช่วงที่ทุเรียนในฤดูไม่ออกได้ หรือในช่วงที่ผลไม้อื่นออกมาน้อย ภายใต้ “สภาพอากาศ” ในไทยที่แปรปรวน ท้าทายและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ต้นไม้ปรับตัวไม่ทันซึ่งอาจจะกระทบต่อการเจริญเติบโตได้ จึงจำเป็นต้องใช้ปัจจัยหลายอย่างเข้ามาช่วยจัดการสวนทุเรียนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

4.ช่วงดอกเริ่มบาน-ติดผลอ่อน
ช่วงดอกเริ่มบาน-ติดผลอ่อน

ช่วงดอกเริ่มบาน-ติดผลอ่อน

เดิมทีครอบครัวคุณอุดมยึดอาชีพการทำพืชไร่ตลอดมา แต่ด้วยการทำพืชไร่ต้องไถและปลูกใหม่ทุกปี ทำให้คุณอุดมหันมามองอาชีพการทำสวนที่ปลูกครั้งเดียวแต่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอด จึงได้เริ่มต้นทำ “สวนทุเรียน” จากพื้นที่เพียง 5 ไร่รอบบริเวณบ้าน โดยยึดการปลูกทุเรียนชะนี เมื่อมีเวลาว่างหลังจากจัดการสวนทุเรียนตนเองก็จะออกรับจ้างตัดทุเรียนในพื้นที่ส่งขายให้บริษัทต่างๆ  การดูแลสวนทุเรียน การดูแลสวนทุเรียน การดูแลสวนทุเรียน 

คุณอุดมได้ซื้อที่ดินเพิ่ม เพื่อปลูกทุเรียนหมอนทองเอาไว้จนกระทั่งวันนี้มีสวนทุเรียนถึง 200 กว่าไร่ มีต้นทุเรียนมากกว่า 3,600 ต้น อายุตั้งแต่ 5-10-15-30 ปี ที่มุ่งเน้นการผลิตเป็นทุเรียนคุณภาพที่ 200-250 ตัน/ปี  ส่วนใหญ่เป็นทุเรียนหมอนทองเพราะหมอนทองมีตลาดที่กว้างกว่าสายพันธุ์อื่น มีลักษณะเด่น คือ ปริมาณต่อต้นมากกว่า เนื้อหนากว่า  น้ำหนักดีกว่า สีเหลืองสวย เนื้อไม่เละ เก็บรักษาได้นานกว่าสายพันธุ์อื่น ตอบโจทย์เชิงการค้าได้ดี

สอดคล้องกับภาครัฐได้มีนโยบายแปลงใหญ่ซึ่งตรงกับเป้าหมายหลักของคุณอุดมที่ต้องการรวมกลุ่มเพื่อผลิตทุเรียนคุณภาพให้มีปริมาณที่เพิ่มขึ้น ให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภค จึงเป็นที่มาของการรวมกลุ่มเป็นแปลงใหญ่ มีสมาชิกกลุ่มร่วม 40 คน มีพื้นที่สวนทุเรียนทั้งหมด 500 ไร่ การดูแลสวนทุเรียน การดูแลสวนทุเรียน

ในนาม “วิสาหกิจชุมชนชาวสวนจันท์” เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองทางธุรกิจกับ “คู่ค้า” ได้ระดับหนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นชาวสวนทั้งในและนอกพื้นที่ มีทั้งเครือญาติและพรรคพวกที่มีเป้าหมายเดียวกัน โดยทางกลุ่มจะมีผลผลิตออกมาประมาณ 600-700 ตัน/ปี ภายใต้การจัดตั้ง “ล้ง” ที่มาจากชาวสวนจริงๆ และมี “ห้องเย็น” เก็บสต๊อกผลผลิตได้ในยามที่ตลาดเกิดวิกฤติได้ ป้องกันการเสียโอกาสด้านธุรกิจได้ดี การดูแลสวนทุเรียน การดูแลสวนทุเรียน 

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เราเอาส่วนต่างมาแบ่งให้กับสมาชิก โดยผลประโยชน์ตกอยู่กับชาวสวน ผมว่ามันถึงเวลาแล้วที่เกษตรกร ชาวสวนเรานี้จะต้องอยู่กันแบบระบบแบ่งปันมากกว่าอยู่คนเดียวที่ต้องเจอปัญหามากกว่าเราจึงปิดจุดอ่อน เพิ่มจุดแข็งให้กับชาวสวนของเรา เราจะช่วยกันบริหารสิ่งที่เราทำขึ้นมา เพราะเราสามารถควบคุมผลผลิตให้มีคุณภาพได้ อย่างทุเรียน 100 ลูก ต้องเสียหายไม่เกิน 5  ลูก เพิ่มช่องทางตลาดด้วยการทำทุเรียนพรีเมียม ”  เกษตรกรคนเก่งยืนยัน

โดยมีสัดส่วนของตลาดส่งออก 40%  บริโภคในประเทศ 30% ที่มีอายุตั้งแต่ 100-120 วันขึ้นไป ส่วนอีก 20% เข้าสู่กระบวนการแปรรูปส่วนใหญ่เป็นผลผลิตที่มีอายุเกิน 120 วันขึ้นไป การดูแลสวนทุเรียน การดูแลสวนทุเรียน

5.การใส่ปุ๋ยในสวนทุเรียน
การใส่ปุ๋ยในสวนทุเรียน

มาตราฐานของ ทุเรียนพรีเมียมเกรด 

โดยเฉพาะ “ทุเรียนพรีเมียมเกรด” ต้องมีมาตรฐานหลัก คือ น้ำหนักต้อง 4-5 กก./ลูก มีตั้งแต่ 4 พลูเม็ดขึ้นไปถึง 5 พลู ตั้งแก่จัดอายุ 120 วันเต็ม บ่มไม่เกิน 5 วันต้องสุก ที่สำคัญทุเรียนหนึ่งต้นจะมีทุเรียนพรีเมียมเพียง 3-5 ลูกเท่านั้น ดังนั้นทุเรียนพรีเมียมจึงมีราคาสูงตั้งแต่ 1,000-3,5000 บาท/ลูก

เพื่อป้อนตลาดและผู้บริโภคระดับบนทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้ “กลุ่มชาวสวนทุเรียนจันท์” ที่มีคุณอุดมเป็นประธานฯ  โดยมี “สถาบันทุเรียนไทย” นำโดย อาจารย์ปราโมช  ร่วมสุข คอยเป็นที่ปรึกษาด้านการผลิตทุเรียนคุณภาพและร่วมขับเคลื่อนการผลิตทุเรียนพรีเมียมเกรดนี้

ซึ่งเป็นงานค่อนข้างละเอียดอ่อนที่จะต้องทำให้สมาชิกรู้ลึก รู้จริงเรื่องนิสัยของทุเรียนหมอนทองเริ่มตั้งแต่การให้ธาตุอาหาร การให้น้ำ การทำให้ต้นสมบูรณ์ การตัดแต่งกิ่ง การจัดการทรงพุ่ม การเร่งสร้างใบอ่อน การสะสมอาหารที่กิ่ง การเร่งตาดอก การจัดการดอก การจัดการผลและเปลือก การจัดการเนื้อและเมล็ด รวมทั้งการทำให้เนื้อเหนียวแน่น รสชาติหวาน มัน อร่อย นอกจากนี้ต้องจัดการรากทุเรียนให้แข็งแรง รวมทั้งต้องจัดการโรคแมลงให้ถูกต้อง

การผลิต “ ทุเรียนพรีเมียมเกรดนอกฤดู

มันจึงเป็นศาสตร์และศิลป์ในการผลิต “ ทุเรียนพรีเมียมเกรดนอกฤดู”  ที่ต้องเรียนรู้และเข้าใจจริงๆว่าเป็นงานเกษตรที่ต้องใช้ฝีมือขั้นปราณีต ต้องเป็นชาวสวนระดับเซียนทุเรียนจริงๆ เห็นได้จากตลาดส่งออกที่ตอบรับดีมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาที่มีการเปิดตลาดทั้งในจีนและอาเซียน แต่ด้วยปริมาณผลผลิตที่น้อยลงจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงรุนแรงทำให้ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดที่ขยายตัวขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในขณะเดียวกันฐานตลาดภายในประเทศและตลาดแปรรูปก็ต้องรักษาไว้ด้วยเช่นกัน เพื่อสร้างความสมดุลให้ทั้งสองตลาด ป้องกันความเสี่ยง ภายใต้การผลิตแบบลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้

ที่สำคัญต้องเป็นผลผลิตมาตรฐาน GAP ทั้งหมด มีการตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอนด้วย “ระบบคิวอาร์โค๊ด” เพื่อให้ทราบถึงแหล่งที่มาอย่างชัดเจน อีกทั้งชาวสวนจะต้องมีการจดบันทึกในทุกขั้นตอนการผลิตอย่างเป็นระบบ

6.การป้องกันโรคในสวนทุเรียน
การป้องกันโรคใน การดูแลสวนทุเรียน

พันธุ์ทุเรียน

คุณอุดมยืนยันว่า “หมอนทอง” เป็นพันธุ์ที่ดีที่สุดในการทำทุเรียนเชิงพาณิชย์เพราะ “ออกดอกง่ายกว่า  ติดผลดีกว่า แม้จะอ่อนแอกว่าพันธุ์อื่นเพราะเนื้อเยื่อบางกว่า แต่เวลาทำทุเรียนส่งออก พอมันสุกเนื้อไม่เละ  เก็บไว้ได้นานกว่าพันธุ์อื่น  เนื้อมีความโดดเด่น  เวลาเอาไปกวนเนื้อจะเหลือง หรือเวลาเอาไปทอดจะไม่ไหม้ สีเหลืองสวยเพราะมันมีแป้งเยอะกว่าพันธุ์อื่น  เนื้อเยอะ  เม็ดลีบ

ซึ่งต่างจากทุเรียนเบญจพรรณ อย่าง “ชะนี” เวลานำไปแปรรูปเนื้อจะมีสีดำ หรือเหลือง ดำไม่น่ารับประทาน หรือถ้าเอาไปทอดมันจะไหม้ เพราะมีแป้งน้อย นอกจากนี้หมอนทองสุกช้ากว่าเพราะเป็นทุเรียนพันธุ์หนัก วางตลาดได้นานกว่า นอกจากนี้ในต่างประเทศจะรู้จักหมอนทองเป็นอย่างดี ทำตลาดง่ายกว่า

เมื่อ “หมอนทอง” เป็นทุเรียนอินเตอร์ฯ ชาวสวนก็ต้องเรียนรู้จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรคของการผลิต และขายทุเรียนในเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะกลยุทธ์ในการทำให้ออกนอกฤดู กลายเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้และเข้าถึงอย่างแท้จริง

วันนี้คุณอุดมในฐานะเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติปี 59 เซียน ทุเรียนนอกฤดู จะเปิดเผยกลยุทธ์การผลิตคุณภาพในทุกแง่มุมโดยไม่ปิดบังให้ชาวสวนทุเรียนและเกษตรกรรุ่นใหม่ทุกคนได้รับรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดในอนาคตได้ โดยการผลิต ทุเรียนนอกฤดู แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ ต.ทุ่งเบญจา  อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การดูแลทุเรียนปลูกใหม่

มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเสริมการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถกำหนดช่วงเวลาการดูแลทุเรียนได้ แต่ในเบื้องต้นชาวสวนต้อง ดูแลรักษาต้นทุเรียน “ปลูกใหม่” ให้เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์เสียก่อน เริ่มจากหลังปลูกได้ 7-10 วันแรกต้องให้น้ำอาทิตย์ละครั้งในช่วงหน้าแล้ง

เมื่อแตกใบอ่อนต้องรักษาใบอ่อนด้วยสารเคมีไม่ให้แมลงทำลายใบอ่อน เพิ่มธาตุอาหารทางดินด้วยอินทรียวัตถุรอบบริเวณทรงพุ่ม ซัก 50 ซม.อย่าให้ปุ๋ยชิดต้นทุเรียนเพราะจะทำให้ต้นทุเรียนเน่าตายได้ พอปีที่ 2 ก็ให้ปุ๋ยอินทรีย์ห่างออกไปตามทรงพุ่มล่อให้รากขยายออกไป หาอาหารได้ดี เน้นให้ปุ๋ยสูตรเสมอเป็นหลัก

พอปี 3 ย่างเข้าปีที่ 4 จะเริ่มจัดแต่งกิ่ง เลือกกิ่งที่ใหญ่ แข็งแรงสมบูรณ์ไว้เพื่อรับน้ำหนักช่วงที่ทุเรียนติดผลได้ดี เนื่องจากทุเรียนมีน้ำหนักตั้งแต่ 3-5 กก./ลูก หรือมีน้ำหนักมากถึง 8-10 กก./ลูก ช่วงแรกถ้าจัดลูกไม่เป็น ให้ปุ๋ยไม่ถูกสูตร ให้น้ำไม่ถูกหลัก ทุเรียนก็จะเปลือกหนาและเนื้อน้อยกว่า

ดังนั้นการดูแลตั้งแต่ติดผลไปจนถึงอายุ 115-120 วันต้องมีการจัดการที่เหมาะสม โดยในปีแรกที่ติดผลถ้าต้องการให้มันติดผลสวย มีลักษณะดี เดือนแรกจะต้องไม่แต่งผลมากเกินไป จะเด็ดเฉพาะลูกผิดปกติไปทิ้งก่อน 50%  ที่เหลือต้องแขวนไว้นาน 1 เดือน ก็จะเด็ดทิ้งไปอีกให้เหลือ 2-3  ลูก

พอเข้า 3 เดือน อายุ 60-70 วัน จะสร้างเนื้อหุ้มเม็ด แล้วจะแต่งไว้เพียง 1 ลูกเท่านั้น เพราะทุเรียนสร้างเม็ดและองค์ประกอบที่ดีเต็มที่แล้ว มีพลู มีเม็ด ก็จะเปลี่ยนทิศทางการให้ธาตุอาหารเพื่อเร่งเนื้อ สร้างเนื้อมากกว่าเปลือก หรือทุเรียน 3 กก./ลูก จะได้เนื้อ 1 กก./ลูก เป็นเปลือกอีก 2 กก./ลูก หรือมีสัดส่วนที่ 2:1 เป็นผลผลิตที่ผู้บริโภครับได้ด้วย

แต่ถ้าแต่งลูกเร็วเกินไปทุเรียนจะสร้างเปลือกมากกว่า 70% สร้างเม็ดเพียง 30% เพราะทุเรียน 4 ปี คือ ทุเรียนสาว ฮอร์โมนจะแรง ระบบรากจะไวมากก็จะพัฒนาเร็วมาก

โฆษณา
AP Chemical Thailand
7.ล้งและห้องเย็นรองรับทุเรียน
ล้งและห้องเย็นรองรับทุเรียน

การตัดแต่งกิ่ง การป้องกันโรคในสวนทุเรียน

การผลิต ทุเรียนนอกฤดู คุณภาพจะเริ่มต้นตั้งแต่ “ตัดแต่งกิ่ง” ที่เน้นวิธีการ “ ตัดคืบออกศอก ตัดศอกออกวา” ที่เน้นการตัดกิ่งปลายยอดในกิ่งที่ยื่นออกมาให้มีทรงพุ่มที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้โครงสร้างใหญ่จนเกินไป เน้นการให้ธาตุอาหารทั้งอินทรีย์และเคมีที่มีประสิทธิภาพ

ก่อนจะเริ่มต้นฉีดพ่นสารกันทาในช่วงเดือนสิงหาคม-กรกฎาคมขึ้นอยู่กับอายุของทุเรียน  ถ้าต้นอายุ 10 ปี จะใช้ที่ 50-80 กรัม/ต้น หรือประมาณ 25% จากนั้นใส่ปุ๋ยทางดินสูตร 8-24-24 อย่างน้อย 3 ครั้ง ห่างกันทุก 10 วัน แล้วค่อยฉีดพ่นธาตุอาหารรวมทางใบที่มีธาตุรวม 8 ชนิดร่วมกับปุ๋ยเกล็ดทางใบสูตร 7-13-34, 5-20-25 และ 10-52-17 ประมาณ 3 ครั้ง ห่างกันทุก 10 วัน

ก่อนจะฉีดพ่นสารเคมีป้องกันโรคและแมลงจำพวกเชื้อราทั้งโรคใบติด ไฟท็อปธอร่า แอนแทรคโนส หรือใบจุด หรือราสาหร่าย คือ โรคประจำของทุเรียน “ เราต้องป้องกันตั้งแต่ก่อนที่จะทำสารต้องรักษาฐานใบเดิมให้ดี โดยใช้คาร์เบนดาซิวบวกแมนโคเซบ  ฉีดพ่นสลับกับคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ประมาณ 2-3 ครั้ง ป้องกันไม่ให้เป็นโรคราสนิมและราน้ำค้างได้ดี ใบไม่เป็นเชื้อรา ใบแข็งแรงสมบูรณ์   โรคใบจุดก็จะใช้สาหร่าย โรคใบติด

ตอนนี้ที่ใช้อยู่ก็จะมีใช้ชื่อการค้าว่ากาวตองบวกกับโพรคลอราช  ซึ่งปีนี้ที่ผมใช้ได้ผลนะ ส่วนโรคไฟทอปธอร่าก็จะใช้เมทารัสซิวบวกกับโพรคลอราช  แล้วก็ใช้เมทารัสซิวบวกกับแมนโคเซบสลับกันแล้วก็จะมีโพลิเอฟอสก็คือตัวฟอสฟอรัส  ด้านโรคแอนแทรคโนสจะใช้ของไบเออร์อย่างแอนทราโคล  โปรวาโดแล้วก็แอลวินที่ใช้ฉีดพ่นสลับไปสลับมาเพื่อป้องกันได้ดี” เกษตรกรดีเด่นแนะนำ

แต่ในช่วงต้นฤดูกาลจะป้องกันโรคไฟทอปธอร่า เชื้อไตรโคเดอร์ม่า  แต่ถ้าเชื้อไฟทอปธอร่าพัฒนาตนเองจนแข็งแรงจากการได้ความชื้นในช่วงหน้าฝนหรือฝนเริ่มตก ประมาณช่วงเข้าพรรษาจะใช้ “เชื้อไตรโคเดอร์ม่า” ไม่ได้ แล้วจะระบาดรุนแรง จึงจำเป็นต้องใช้สารเคมีช่วยในการป้องกันและกำจัดเชื้อโรคนี้

ต้องฉีดพ่นสารเคมี ทำทุกรูปแบบให้ทุเรียนฟื้นตัวเร็วที่สุด  แต่ถ้าเป็นโรคราสีชมพูต้องรีบตัดทิ้งทำลายทันที หยุดการระบาดของโรคให้ได้ด้วยการป้องกันทางดินและทางใบ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การจัดการทรงพุ่มแล้ว “ใบอ่อน”

ในการทำ ทุเรียนนอกฤดู นอกจากการจัดการทรงพุ่มแล้ว “ใบอ่อน” ก็สำคัญ ปัจจัยหลักในการที่ต้นทุเรียนจะแตกใบอ่อนได้ดีและสมบูรณ์นั้นคุณอุดมฟันธงว่า เรื่องน้ำ หรือ “ความชื้น” ต้องคำนึงเป็นอย่างมาก ไม่มีอะไรทำให้ต้นไม้แตกใบอ่อนได้

นอกจากความชื้นเท่านั้น และการให้น้ำเพื่อเร่งให้แตกใบอ่อน ก็ต้องเข้าใจ ต้องสังเกต ต้องระมัดระวังด้วย เพราะเดือนแรกการให้น้ำต้องให้อยู่ในทรงพุ่มเท่านั้น แม้สภาพดินแต่ละที่จะต่างกันก็ไม่เป็นไร พอถึง 60 วัน จึงให้เต็มที่ เพราะมันพ้นสภาพจากใบอ่อนแล้ว

8.การจัดการทุเรียนภายในล้ง
การจัดการทุเรียนภายในล้ง

การใส่ ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ในสวนทุเรียน 

เมื่อสะสมอาหารเต็มที่แล้วเห็นว่าต้นทุเรียนเริ่มเฉาก็จะกระจายใบแห้งที่โคนต้นออกไปไว้รอบๆทรงพุ่ม เพื่อ ให้ทุเรียน “แทงช่อดอก” กระตุ้นด้วยการฉีดพ่นอะมิโนและสาหร่ายไปที่ท้องกิ่ง 2-3 ครั้งในช่วงที่อากาศเหมาะสมให้ทุเรียน “ออกดอก” เร็วขึ้น ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน

เนื่องจากฤดูหนาวกำลังจะมา มวลอากาศเย็นขนาด 25 องศาฯ มากระทบต้นทุเรียนได้เพียง 10 วัน ก็จะทำให้ผิว ลำต้น และกิ่งทุเรียนแห้ง เพราะมันไม่สามารถดึงความชื้นมาใช้ได้ มันจะเกิดความเครียด แล้วออกดอก ออกผล เพื่อรักษาเผ่าพันธุ์ของมัน แต่ในปัจจุบันอากาศแปรปรวน ถ้าไม่มีมวลอากาศเย็นมากระทบ มนุษย์ก็ต้องสร้างสภาพแวดล้อมช่วยต้นทุเรียนด้วย  ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน

หลังจากนั้น 15-20 วัน จะใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 เพื่อบำรุงควบคู่ไปกับการฟื้นฟูราก สำหรับ ทุเรียนนอกฤดู ด้วยการใช้อะมิโนและฮิวมิคฉีดพ่นทางดินและทางใบก่อนที่ดอกทุเรียนจะบานอย่างน้อย 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน เพื่อช่วยเรียกรากฝอยให้แตกขึ้นมาใหม่เพื่อให้แตกใบอ่อน เพื่อไม่ให้โครงสร้างของต้นทุเรียนผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติ

เน้นต้องก่อนดอกทุเรียนบาน ติดเป็นหางแย้ ถ้าให้หลังจากนั้นทุเรียนก็จะไม่ติดผล มันจะทิ้งลูกเพราะอาหารไปเลี้ยงใบอ่อนเพราะใบอ่อนปรุงอาหารไม่ได้ อาหารก็ส่งมาเลี้ยงใบอ่อน แก้ไขด้วยการเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่ได้ทันเวลาด้วยการใช้ปุ๋ยเกล็ดสูตร 7-13-34 ,13-0-46 ในอัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร บวกกับแมกนีเซียม  50 ซีซีต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่น  3-4 ครั้ง ทุกๆ 5-7 วัน เพื่อให้ใบแก่ไม่เป็นภาระของต้นทุเรียน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อาหารส่งไปเลี้ยงดอกและผลอ่อนได้อย่างสมบูรณ์  “ช่วงนี้เป็นช่วงวิกฤติของต้นไม้ที่เขาต้องเอาไปใช้ให้ทัน เราทำทุเรียนราดสาร ไม่ใช่ทุเรียนธรรมชาติ เราบล็อกรากด้วยสารแพคโคฯ  ยอดมันก็หยุดทำงานด้วย  เมื่อเราได้ดอกแล้ว เราก็ต้องสร้างรากใหม่เพื่อให้รากส่งอาหารไปที่ใบได้ดี  ถ้ารากเกิด  ใบเดิน อาหารก็จะส่งมาที่ดอกได้  ดอกก็จะสมบูรณ์พัฒนาต่อไปได้ ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน

แต่ไม่ใช่ทุกคนจะทำวิธีนี้สำเร็จ ทั้งนี้เพราะมันต้องมีปัจจัยอย่างอื่นประกอบ ทั้งสภาพอากาศ เพราะถ้าหนาวจัดต่ำกว่า 20 องศา ทุเรียนจะติดดอกไม่ดี สปอร์เกสรไม่งาน ท่อน้ำเลี้ยงก็ไหลได้ช้า เราแก้ไขด้วยการให้น้ำในช่วงอากาศเย็นจัดเพื่อให้ทุเรียนได้รับความอบอุ่นจากน้ำที่ไป น้ำจะมีจิบฯด้วย ทุเรียนก็ปรับตัวได้ดีขึ้น ” คุณอุดมกล่าว

หลังจากดอกบานแล้ว 12-15 วัน ก็จะเริ่มรู้แล้วว่าทุเรียนจะติดผลมากน้อยแค่ไหน เมื่อติดผลเล็กๆแล้วทุเรียนก็เหมือนเด็กอ่อนต้องให้ธาตุอาหารและให้น้ำมากไม่ได้ ต้องค่อยๆให้ ต้องไล่ลำดับไปตั้งแต่ 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน ว่าแต่ละเดือนทุเรียนต้องการอะไร และมีข้อควรระวังมากๆ ในช่วงไหนบ้าง ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน

โดยเฉพาะช่วงดอกบาน 1-60 วัน ต้องควบคุมไม่ให้เกิดการแตก “ใบอ่อน” แทรกเข้ามาเด็ดขาดเพราะจะทำให้ผลผลิตเสียหายมาก 30-50%  ซึ่งมีเทคนิคห้ามไม่ให้แตกใบอ่อนด้วยการควบคุมน้ำและความชื้น การให้น้ำต้องไม่มากเกินไป ความชื้นต้องไม่มากเกินความต้องการของต้นทุเรียน เน้นการให้น้ำรอบทรงพุ่มเป็นหลัก เพิ่มปริมาณน้ำได้แต่ห้ามให้น้ำออกไปนอกทรงพุ่ม  ก็ไม่มีการแตกใบอ่อน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน 

9.การเก็บเกี่ยวทุเรียน
การเก็บเกี่ยวทุเรียน

การดูแลรักษาช่วงติดผลอ่อน

การดูแลรักษาช่วงติดผลอ่อน 1-60 วันนี้ต้องระวังเพลี้ยเข้าทำลายทั้งเพลี้ยไฟ  เพลี้ยหอย  เพลี้ยแป้ง เพราะดอกทุเรียนจะมีกลิ่นหอม มีน้ำหวาน เป็นอาหารอันโอชะของเพลี้ยต่างๆ ต้องหมั่นฉีดพ่นอะบาเม็กติน และอิมิดาคลอพริด ใช้ 2 ตัว สลับกัน ส่วนหนอนจะใช้ไซเปอร์เมตตินกับแลนเนทและเมโทมิลสลับกันไป

เน้นให้น้ำในทรงพุ่มปรับลดและเพิ่มปริมาณน้ำได้  ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 บำรุง ประมาณ 2 ครั้ง ในอัตราครึ่งกิโลต่อต้น สำหรับต้นที่ไว้ผลผลิตได้ประมาณ 50 ลูก/ต้น เพื่อเน้นสร้างเมล็ดและไม่พัฒนาเป็นเปลือกมากเกินไป เพื่อให้ทุเรียนขยายและเบ่งพลูให้สมบูรณ์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

พอเลยอายุ 60 วัน จะเน้นป้องกันการเข้าทำลายของ “หนอน” เป็นหลักจึงต้องฉีดพ่นไซเปอร์เมตติน แลนเนทและเมโทมิลป้องกัน บำรุงต่อด้วยปุ๋ยสูตร 15-5-20,12-12-17 หลัง 90 วัน ต้องหยุดให้ยาเพื่อไม่ให้เกิดสารตกค้างในผลผลิตทุเรียน ให้น้ำตามปกติเพราะเลยช่วงแตกใบอ่อนแล้วเพื่อให้หนามเขียว พลูเบ่งขยายได้ดี

หาก ทุเรียนนอกฤดู ออกดอกในช่วงต้นเดือนตุลาคมของทุกปีชาวสวนก็จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในช่วงปลายเดือนตุลาคมเช่นเดียวกันเพราะทุเรียนตั้งแต่เริ่มแทงช่อดอกต้องใช้เวลาในการพัฒนานานถึง 6 เดือนขึ้นอยู่กับพื้นที่ ก่อนดอกจะบานจนพัฒนาเป็นผลอ่อนไปจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตก็นับไปอีกประมาณ 4 เดือนหรือ 120 วันนั่นเอง

จะเห็นได้ว่าการทำ “ทุเรียนก่อนหรือนอกฤดู” เป็นงานที่ต้องใช้ “ปัญญา” วิเคราะห์ตลอดและต้องเข้าใจธรรมชาติของทุเรียนอย่างดี ต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงปัจจัยการผลิตต่างๆ หลากหลายยี่ห้อทั้งคุณภาพและราคาที่แตกต่างกันต้องรู้จักจัดหามาใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการของทุเรียน ในขณะที่คุณอุดมได้มีความสัมพันธ์อันดีไปพร้อมกับ

10.ทุเรียนเกรดพรีเมียม
ทุเรียนเกรดพรีเมียม

การเลือกใช้ปุ๋ยใส่ ทุเรียนเกรดพรีเมียม

การคัดสรรปัจจัยการผลิตคุณภาพจาก “ร้านชัยพฤกษ์เกษตร  สาขาสี่แยกเขาไรยา”  ที่มี คุณพิพัฒน์ พิทักษ์สันติสุข และคุณเก๋ ภรรยาคู่ชีวิตเป็นผู้บริหาร ตั้งแต่เมื่อครั้งที่คุณอุดมเริ่มสร้างสวนทุเรียนที่มีรายได้เพียงเล็กน้อยก็มีร้านค้าแห่งนี้เป็นผู้สนับสนุนมาตลอด ยืดหยุ่นเรื่องการจ่ายแบบเครดิตได้ ให้เครดิตมาตลอด จนถึงทุกวันนี้มีพื้นที่สวนทุเรียนมากขึ้น มีรายได้มากขึ้นก็ยังเป็นลูกค้าที่ดีของทางร้านตลอด ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน 

ซึ่งผลิตภัณฑ์คุณภาพส่วนใหญ่ที่คุณอุดมใช้มาจากบริษัทเคมีเกษตรชื่อดัง  4 บริษัท ได้แก่ บริษัท โซตัส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด , บริษัท เอราวัณเคมีเกษตร จำกัด ,บริษัท เทคโนครอป จำกัด และบริษัท โรจน์กสิกิจ เฟอร์ติไลเซอร์ จำกัด  เพราะแต่ละบริษัทมีผลิตภัณฑ์ที่ดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐานแตกต่างกัน มีจุดเด่นต่างกัน จึงต้องเลือกใช้ตัวที่เหมาะสมกับสวนทุเรียนกับพื้นที่ตนเองมากที่สุดและขึ้นอยู่กับภาวะผลผลิตในแต่ละปี ดังนี้ ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน 

1.บริษัท โซตัส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จะใช้เลือกอะบาเม็กติน  โปพาไกและปุ๋ยผสมอย่างซุปเปอร์-เค

โฆษณา
AP Chemical Thailand

2.บริษัท เอราวัณ เคมีเกษตร จำกัด  จะเลือกใช้คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์  โพรคลอราช และแมกนีเซียมเปอร์เซ็นต์สูง

3.บริษัท เทคโนครอป จำกัด จะเลือกใช้ปุ๋ยเหลวคุณภาพฉีดพ่นทางใบทั้งสูตร 5-20-25 และปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน

4.บริษัท โรจน์กสิกิจ เฟอร์ติไลเซอร์ จำกัดจะเลือกใช้ปุ๋ยเม็ดทางดิน ตราเรือใบไวกิ้ง สูตรเสมอละลายเร็วและใช้ง่ายกว่า ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน

11.ทุเรียนที่ได้คุณภาพ
ทุเรียนที่ได้คุณภาพ

แรงงานและการจัดการสวนทุเรียน 200 ไร่ 

ที่สำคัญสวนทุเรียนพื้นที่ 200 กว่าไร่ คุณอุดมจะใช้แรงงานประจำ 10 ไร่/คน ส่วนเครื่องจักรหรือเครื่องทุ่นแรงจะใช้เท่าที่จำเป็นจริงๆเพราะเครื่องจักรมีทั้งข้อดี-ข้อด้อย ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม เช่น การใช้ยาฆ่าหญ้า หรือการใช้รถตัดหญ้า คุณอุดมเลือกรถตัดหญ้ามากกว่า แม้การใช้รถจะทำให้ดินในสวนแข็งขึ้น ก็ยังดีกว่ายาฆ่าหญ้าที่ทำให้ดินเสีย

แม้แต่การใช้ยาปราบแมลงก็ต้องเลือกเวลาฉีดได้โดยการใช้เครื่องพ่นยา “แอร์บัส” ฉีดพ่นสารเคมีเวลากลางคืนได้ดี เพราะแมลงบางชนิดออกหากินกลางคืน ฉีดยาแล้วได้ผลดี ประสิทธิภาพดีกว่า ทุเรียนนอกฤดู ทุเรียนนอกฤดู

สุดท้ายคุณอุดมให้แง่คิดว่า ถ้าจะทำ ทุเรียนนอกฤดู ควรศึกษาข้อมูลให้ลึกซึ้ง โดยเฉพาะเรื่องดินฟ้าอากาศ ถ้าพลาดจะเสียหาย ทั้งต้นทุเรียนและผลผลิต ทุเรียนนอกฤดู ทุเรียนนอกฤดู ทุเรียนนอกฤดู ทุเรียนนอกฤดู ทุเรียนนอกฤดู

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คุณอุดมในฐานะเกษตรดีเด่นแห่งชาติ 2558 วันนี้จึงกลายเป็นแกนนำของชาวสวนทุเรียนเมืองจันท์ ในด้านการทำทุเรียนในเชิงธุรกิจ โดยการส่งเสริมให้ชาวสวนรวมกลุ่มกันผลิต แปรรูป และขาย เพื่อให้ทุกคนเรียนรู้กลไกการอยู่รอดและมีกำไร โดยแบ่งผลประโยชน์ตามกำลังเงินและความสามารถ ทุเรียนนอกฤดู ทุเรียนนอกฤดู ทุเรียนนอกฤดู

นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการยก “ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยองค์กรชาวสวนผลไม้”  เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการกำหนดนโยบายและวางแผนการพัฒนาผลไม้ไทยอย่างเป็นระบบ เพื่อเพิ่มศักยภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง อย่างต่อเนื่อง และเป็นไปเพื่อเกษตรกรชาวสวนผลไม้อย่างแท้จริง อันจะนำไปสู่การพัฒนาภาคเกษตรกรรมและระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

สนใจเยี่ยมชมสวนทุเรียนอุดมทรัพย์พร้อมผลงานของกลุ่มได้ที่ คุณอุดม วรัญญรัฐ เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ

ปรึกษาฟรี! หากบอกว่ามาจาก พลังเกษตร.com หรือ นิตยสาร เมืองไม้ผล&พืชสุขภาพ

โทร 081-865-4846   85 หมู่ 7 ต.ทุ่งเบญจา อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

ทุเรียนนอกฤดู การดูแลสวนทุเรียน การดูแลทุเรียนปลูกใหม่ ปุ๋ยเร่งดอกทุเรียน ระยะห่างการปลูกทุเรียน การปลูกทุเรียนภาคอีสาน การวางระบบน้ําในสวนผลไม้

โฆษณา
AP Chemical Thailand