การปลูกผักสลัด ปลูกผักกางมุ้ง และเมลอน รัฐช่วยลงทุนระยะแรก 100,000 บาท/ราย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การปลูกผักสลัด ปลูกผักกางมุ้ง และเมลอน รัฐช่วยลงทุนระยะแรก 100,000 บาท/ราย

วิธีการป้องกันดูแลรักษาพืชแต่ละชนิดอาจมีวิธีที่แตกต่างกันออกไป หรือในพืช 1 ชนิดนั้นก็ยังประกอบไปด้วยการดูแลรักษามากมายหลายวิธี นั่นก็ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ของผู้ผลิตด้วย  แม้ว่าจะเป็นเช่นนั้น แต่เกษตรกรส่วนมากก็ยังเลือกใช้สารเคมีเข้ามาเป็นตัวช่วยหลักอยู่ดี โลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไปมาก

หลักการส่งเสริมแบบเกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ เริ่มสร้างบทบาทในวงกว้าง เป็นที่ยอมรับหลักของตลาดภายในและต่างประเทศ ที่เป็นคู่ค้าส่งออกของไทย

บางพื้นที่ที่ยังยึดถือวิถีเดิมอยู่นั้นเริ่มประจักษ์มากขึ้นเช่นกันว่าตลาดแคบลงทันตา แน่นอนว่าหากมีตัวเลือกที่ปลอดภัยต่อผู้ซื้อมากกว่า “ เลือก ” ก็เป็นวิถีอีกรูปแบบหนึ่งของผู้บริโภคในปัจจุบันเช่นกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ผลิตและผู้บริโภคเข้าใจกันดี

1.ผักสลัด
1.ผักสลัด

รัฐช่วยลงทุนเริ่มต้นในระยะแรกประมาณ 100,000 บาท / ราย

คุณเพ็ญศรี อ่องละออ เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานหลักที่เข้าช่วยเหลือ สนับสนุน และติดตามการดำเนินงานภายใต้โครงการ ปลูกผักกางมุ้ง ของจังหวัดอ่างทอง โครงการนี้เริ่มตั้งขึ้นและยังคงต่อยอดขึ้นมาเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง

และโครงการนี้มีจุดเริ่มต้นจากการส่งเสริมด้านการผลิตอาหารปลอดภัย ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 4 จังหวัด คือ ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง เป็นลักษณะของโรงเรือนกางมุ้งทั้งหมด ซึ่งเป็นโรงเรือนในระบบปิดตรงนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรที่มีพื้นที่น้อยก็สามารถทำได้เช่นกัน หรือบางคนอาจมีภาระที่ต้องดูแลอยู่กับบ้าน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

งบประมาณจะช่วยสนับสนุนเรื่องระบบโรงเรือนให้กับกลุ่มจำนวน 2 โรงเรือน/ราย และวัสดุที่จำเป็นต่อการผลิตอีก 1 ชุด สำหรับเริ่มต้นในระยะแรกประมาณ 100,000 บาท / ราย จากแต่เดิมการวางแผนการผลิตให้จะอยู่ในรูปของประเภทผักที่ค่อนข้างมีราคา มีตลาดรองรับ เพราะทางหน่วยงานนั้นเห็นว่าการส่งเสริมให้กับเกษตรกร 2 โรงเรือน/ราย ต้องเป็นพืชที่ค่อนข้างสร้างรายได้ จึงได้นำเรื่องของการปลูกผักสลัดมาให้เกษตรกรทดลองปลูกในช่วงระยะแรก

ปรากฏว่าเป็นผลที่น่าพอใจ เมื่อผักสลัดจากเมืองหนาวสามารถนำมาเพาะปลูกที่จังหวัดอ่างทองได้ และได้งบประมาณมาลงรุ่นแรกอยู่ 50 โรงเรือน กลุ่มเกษตรกรทั้งหมด 25 ราย และยังเพิ่มกลุ่มเกษตรกรขึ้นมาอีก 50 ราย 100 โรงเรือน และในอนาคตกำลังจะเพิ่มขึ้นมาอีกประมาณ 300 โรงเรือน

ในการกระจายทั่วทั้งจังหวัดภายใต้งบประมาณจากโครงการแผนพัฒนาจังหวัด  เมื่อการเพิ่มขึ้นของกลุ่มเกษตรกรมีมากขึ้น การปลูกผักสลัดเพียงชนิดเดียวตกอยู่ในสภาวะที่มีมากเกินกว่าตลาดจะรองรับได้ทันที เมลอนจึงเป็นทางเลือกในการกระจายสินค้าที่หลากหลายอีกรูปแบบหนึ่งขึ้นมา

2.คุณเพ็ญศรี-อ่องละออ-กลาง-คุณธีรนุช-ผลรุสะ-ขวา-และคุณสุวินท์-โพธิ์ทอง-ซ้าย
2.คุณเพ็ญศรี-อ่องละออ-กลาง-คุณธีรนุช-ผลรุสะ-ขวา-และคุณสุวินท์-โพธิ์ทอง-ซ้าย
3.ผักสลัด
3.ผักสลัด

ด้านตลาดผักสลัด

คุณเพ็ญศรีบอกว่าทางสำนักงานมีการวางแผนด้านการตลาดและผลผลิตให้กับเกษตรกร เพื่อรองรับผลผลิตตรงนี้มาตั้งแต่ที่ได้รับงบประมาณมาแล้ว อีกทั้งยังติดตามผลงานอย่างต่อเนื่อง โดยการทำ MOU กับทางห้างสรรพสินค้าไว้หลายห้าง และเป็นกลุ่มตลาดที่สามารถจ่ายเป็นเงินสดให้กับทางเกษตรกรได้ทันที โดยไม่ผ่านเครดิต เพราะเกษตรกรยังต้องหมุนเวียนตรงนี้เหมือนกัน ซึ่งเป็นราคาประกัน

เข้ามาโครงการปีที่ 2 กลุ่มเกษตรกรเพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น ตรงนี้จึงมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มเกษตรกรขึ้นมา ซึ่งตอนนี้เริ่มมีการดำเนินงานวางแผนมากยิ่งขึ้น นับว่าเป็นโครงการที่เป็นรูปเป็นร่างอย่างเห็นได้ชัด ถึงความมั่นคงของกลุ่มได้ ณ ตรงจุดนี้ก็เป็นปัญหาอีกแง่มุมหนึ่งเหมือนกัน

เมื่อกลุ่มเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องหาตลาดรองรับในวงที่กว้างขึ้นเช่นกัน ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อระหว่างการขยายงานด้านการตลาดของสำนักงานด้วย ซึ่งเกษตรกรบางกลุ่มในเป้าหมายเริ่มมีการวางแผนการตลาด และสามารถจัดตั้งกลุ่มเอง ก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ทางสำนักงานให้การสนับสนุนเต็มที่

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.โรงเรือนผักสลัด
4.โรงเรือนผักสลัด

ปัญหาและอุปสรรคของผักสลัด     

จริงอยู่ที่ว่ารูปแบบการผลิตของที่นี่เป็นโครงการอาหารปลอดภัย ซึ่งไม่มีการใช้สารเคมีเข้ามาในกระบวนการผลิต แต่จะเป็นเรื่องของฤดูกาลการผลิตมากกว่า เนื่องจากว่าผักสลัดเป็นพืชเมืองหนาว ในหน้าหนาวผลผลิตจะดีไม่แพ้ที่อื่นเหมือนกัน และในหน้าร้อนผลผลิตของเกษตรกรจะลดต่ำลงมาก ขาดรายได้ไปเป็นครึ่งเหมือนกัน ทั้งต้นเล็ก และยังไม่ได้น้ำหนัก

เมลอนเป็นพืชที่ชอบอากาศร้อน และตลาดรองรับค่อนข้างดี จึงเป็นอีกหนทางเลือกในการแก้ไขปัญหาตรงจุดนี้ เหมือนกับปลูกแบบหมุนเวียน หน้าหนาวปลูกผักสลัด หน้าร้อนปลูกเมลอน อย่างไรก็ตามการเลือกปลูกพร้อมกันของพืชทั้ง 2 ตัวนี้ แต่คนละโรงเรือนในรายเดียวก็ยังเป็นวิธีที่เกษตรกรเลือกใช้กันมากที่สุด

5.พื้นที่ปลูกผักสลัด
5.พื้นที่ปลูกผักสลัด

ด้านอนาคตโครงการนำร่อง

ทั้งนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ทั้งจากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง กับทางสำนักงานเกษตรจังหวัด ยังเข้ามาช่วยดูแลเรื่องการผลิตต่างๆ อยู่ พร้อมทั้งเรื่องการขอใบรับรอง GAP ให้กับเกษตรกรด้วย ซึ่งการผลิตตอนนี้ก็จะอยู่ในรูปแบบของรุ่นพี่ดูแลรุ่นน้องไปพร้อมๆ กัน การเติบโตอย่างต่อเนื่องของโครงการเป็นที่เห็นชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่ใช่แค่ในอำเภอเมืองอ่างทองเท่านั้น แต่จะยังเติบโตไปตามอำเภอต่างๆในจังหวัดอีกด้วย การขยายในส่วนต่างๆ ก็จะเพิ่มขึ้น ทั้งการตลาด การผลิต ความหลากหลายของพืชที่จะนำมาปลูก ซึ่งตรงนี้อาจต้องเป็นตัวที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดเป็นหลัก ด้านหน่วยงานรับผิดชอบก็จะต้องเติบโตตามผู้ผลิตเช่นกัน

ปีนี้ทางสำนักงานยังได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการจากทาง ครม. เพื่อเตรียมสร้างโรงบรรจุภัณฑ์ และห้องเย็นเพิ่มขึ้นมา จากปกติที่เกษตรกรจะเก็บผลผลิตและจำหน่ายทันที เมื่อสินค้ามีมากขึ้น ตรงนี้ก็น่าจะรองรับผลผลิตได้ดีอีกหนทางหนึ่งได้เช่นกัน เป็นอีกก้าวที่สำนักงานเตรียมแผนการดำเนินอยู่ ดังนั้นการตลาด กลุ่มเกษตรกร ก็จะเติบโตไปพร้อมๆกัน เป็นตัวแปรสำคัญในโครงการ ที่ไม่เพียงแต่ให้คำแนะนำสำหรับเกษตรกร แต่วันนี้ที่นี่ได้ลงมือปฏิบัติให้เกิดผลจริง เป็นรายได้ที่น่าจะเรียกว่าเสริม หรือเป็นทางเลือก แต่สำหรับบางกลุ่มของที่นี่กลับยกให้เป็นตัวสร้างเงินรายได้หลักของเขาไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นับว่าเป็นโครงการนำร่องตัวอย่างให้กับอีกหลายๆ โครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นอย่างดี

ขอขอบคุณ คุณเพ็ญศรี อ่องละออ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง อ.เมือง จ.อ่างทอง 14000 โทร.08-5422-0291

6.แปลงผักสลัด
6.แปลงผักสลัด

คุณธีระนุช เกษตรกร ผู้เข้าร่วมโครงการ การปลูกผักสลัด และเมลอน 

ดำเนินโครงการอาหารปลอดภัย ผักกางมุ้งของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอ่างทองที่ย่างเข้าสู่ปีที่ 3 รุ่นพี่ หรือเกษตรกรในโครงการรุ่นแรกอย่าง คุณ ธีรนุช ผลสระ และคุณสุวินท์ โพธิ์ทอง ก็ยังคงเป็นอีกเรื่องราว หรือจะเรียกอีกแบบว่าหนึ่งตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ และพึงพอใจกับโครงการนี้ค่อนข้างมาก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คุณธีระนุชที่ก่อนหน้านี้อาจเรียกว่าเกษตรกรไม่เต็มปากมากนัก เนื่องจากว่าตัวเขาเองก็ยังมีภาระด้านครอบครัวที่จะต้องอยู่ดูแลแม่ที่บ้าน การออกทำงานนอกบ้านจึงเป็นเรื่องค่อนข้างยากสำหรับตัวเขา “ครั้งแรกที่มีโครงการนี้เข้ามาจะไม่ค่อยมีใครสนใจกันมาก อบต.บ้านอิฐ เห็นว่าเราน่าจะทำได้ จึงบอกให้เราไปลงชื่อ ทั้งที่ไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับโครงการนี้เลย ทั้งลงชื่อและเข้าประชุมตลอดเลย ซึ่งไม่คิดว่าจะจริงจังมากขนาดนั้นด้วยซ้ำไป” ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากทางบ้านที่คิดว่าตัวเขาไม่น่าจะทำได้อย่างจริงจัง

เมื่อเจ้าหน้าที่เข้ามาวัดพื้นที่ที่จะสร้างเป็นโรงเรือนที่เป็นพื้นที่ภายในบ้าน แน่นอนว่านั่นเป็นสวนขนาดย่อมของบ้าน แถมยังมีผักสวนครัวเต็มบ้านสำหรับนำไปขายในตลาดได้อยู่บ้าง เสียงคัดค้านจึงยิ่งเพิ่มขึ้นตามมา จากนั้นจึงเริ่มจริงจัง และยึดเป็นอาชีพหลักไปโดยปริยาย “สามารถทำงานอยู่กับบ้านได้ เพราะเราต้องดูแลแม่ด้วย ตรงนี้ก็เลยถือว่าเป็นรายได้หลัก และดีมากๆ สำหรับเรา”

7.กรีนโอ๊ค
7.กรีนโอ๊ค การปลูกผักสลัด การปลูกผักสลัด การปลูกผักสลัด การปลูกผักสลัด การปลูกผักสลัด
เรดโอ๊ค
เรดโอ๊ค การปลูกผักสลัด การปลูกผักสลัด การปลูกผักสลัด การปลูกผักสลัด การปลูกผักสลัด การปลูกผักสลัด

สายพันธุ์และ ราคา ผักสลัด

ผักสลัดมี 6 สายพันธุ์ คือ กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค บัตเตอร์เฮด คอส เรดคอรัล และฟิลเล่ย์ ไอซเบิร์ก ซึ่งทั้ง 6 สายพันธุ์ตรงนี้เราจะนำเป็นต้นกล้าพันธุ์จากทางหน่วยงานมาทั้งหมดเลย เดิมทีก็เป็นกล้าละ 1 บาท ส่วนราคาผักที่ประกัน คือ 45 บาท/กก. ทางเกษตรกรของกลุ่มจึงให้ตัดเป็นราคา 40 บาท/กก. และอีก 5 บาท เป็นค่ากล้าพันธุ์

โดยที่เขาไม่ได้จ่ายเป็นเงินสด แต่สามารถรับต้นกล้ามาปลูกได้ทันที และรุ่นแรกจะปลูกเป็นผักสลัดทั้งหมด แต่พอเข้ามาปีที่ 2 จะมีเมลอนเพิ่มเข้ามาอีกตัวหนึ่ง การรับกล้าผัก และกล้าเมลอน มาปลูก จะเป็นแบบหมุนเวียนกันปลูก และหมุนเวียนกันเก็บ อาจเพื่อไม่ให้ผลผลิตช่วงเก็บเกี่ยวเยอะเกินไปด้วย

การรับต้นกล้าจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับเกษตรกรเสียทีเดียว เพื่อเป็นการกระจัดกระจายเกษตรกรทุกราย ซึ่งคุณธีระนุชเองก็ปลูกทั้งผักสลัด และเมลอน อย่างละโรงเรือน และตอนนี้ก็มีพืชเพียง 2 ตัวนี้อาจมาจากช่วงรอยต่อระหว่างแผนการผลิต และแผนการตลาด ในการรองรับผลผลิตที่เพิ่มขึ้นตรงนี้

ดังนั้นช่วงระหว่างตรงนี้อาจจะยังสะดุดบ้าง ซึ่งตอนนี้เราก็เก็บแบบหมุนเวียนกันไป ในแต่ละวันจะไม่ได้เก็บแค่ของเราเท่านั้น แต่เราต้องเก็บร่วมกันกับรายอื่นๆ ด้วย บางครั้งก็มีการเจาะจงมาว่าต้องการผักชนิดไหน และต้องการกี่กิโลกรัม เขาก็ต้องเก็บตามจำนวนนั้น ช่วงที่เป็นรอยต่อผักของคุณธีระนุชจะมีอยู่รุ่นหนึ่งที่เก็บออกจำหน่ายไม่ทัน ถึงกับทิ้งทั้งแปลงมาแล้ว

โฆษณา
AP Chemical Thailand
บัตเตอร์เฮด
บัตเตอร์เฮด
เรคคอรัล
เรคคอรัล
ฟิลเลย์
ฟิลเลย์
8.การปลูกผักสลัด-ปลูกผักกางมุ้ง-และเมลอน-รัฐช่วยลงทุนระยะแรก100,000บาท/ราย
8.การปลูกผักสลัด-ปลูกผักกางมุ้ง-และเมลอน-รัฐช่วยลงทุนระยะแรก100,000บาท/ราย

การจัดการโรงเรือนผักสลัด

ด้านการจัดการในโรงเรือนมักหลีกเลี่ยงเรื่องการใช้สารเคมีเข้ามาประกอบมากที่สุด ดังนั้นส่วนประกอบสำคัญจึงไปตกอยู่กับการเตรียมดิน และการดูแลที่ดี ต้องใช้เวลาในการตากดิน โรยปูนขาว และเติมดินมีเดีย ประมาณ 5-7 วัน หรือ 1 อาทิตย์ ก่อนใส่ขี้นกกระทา หรือปุ๋ยอินทรีย์รองพื้น ทั้งโรงเรือนสามารถปลูกผักสลัดรวมกันได้หมด

โรงเรือนที่ทางหน่วยงานสร้างให้เขามีขนาด 6 x 12 เมตร ซึ่งแต่เดิมจะปลูกได้ประมาณ 1,800 ต้น แต่ตอนนี้ใช้ 1,200 ต้น/โรงเรือน แบ่งเป็นกล้าแต่ละสายพันธุ์ประมาณ 200 กว่ากล้า เท่าๆ กันมาให้เขา จากทั้งหมดที่ปลูกนี้หากเป็นช่วงหน้าหนาวสามารถสร้างรายได้กว่า 9,000 บาท/เดือน เลยทีเดียว ตรงกันข้ามกับช่วงหน้าร้อนที่สภาพอากาศไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของผักสลัดมากนัก

ดังนั้นนอกจากต้นจะไม่โตแล้ว ยังต้องสูญเสียน้ำหนักไปเช่นกัน คุณสุวินท์บอกว่าเต็มที่ในหน้าร้อนก็ประมาณ 100 กก./โรงเรือน เป็นตัวเลขที่ต่างจากหน้าหนาวกว่าครึ่ง ซึ่งปกติจะประมาณ 270 กว่ากก./โรงเรือน

9.ผักกรีนโอ๊ค
9.ผักกรีนโอ๊ค

การเก็บเกี่ยวผักสลัด

ผักสลัดเป็นผักที่ค่อนข้างปลูก และดูแลง่าย แค่ 25 วัน เขาก็จะได้รับเงินจากการจำหน่ายผักแล้ว ในระหว่างนี้การเติมในเรื่องของปุ๋ยจะแค่ไม่กี่รอบก็สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว คุณธีระนุชบอกว่าขณะที่ต้นยังเล็กอยู่จะเริ่มให้ปุ๋ยสูตร 15-0-0 ก่อน หลังจากนั้นจึงจะเปลี่ยนมาเป็นสูตร 25-7-7 ทางใบ ร่วมกับไบโอดั๊ก

ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ป้องกันรากเน่าในผักสลัดที่มักพบปัญหาขึ้นบ่อย ผสมน้ำพ่นทางใบพร้อมกันในอัตราส่วน 3 ช้อนโต๊ะ/น้ำ 20 ลิตร เว้นประมาณ 1 อาทิตย์ ฉีดพ่นไม่เกิน 3 ครั้ง/รุ่น

10.การให้น้ำผักขึ้นอยู่กับแต่ละฤดู
10.การให้น้ำผักขึ้นอยู่กับแต่ละฤดู การปลูกผักสลัด การปลูกผักสลัด การปลูกผักสลัด การปลูกผักสลัด

การบำรุงดูแลรักษาผักสลัด

การให้น้ำในแต่ละฤดูก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ละเอียดอ่อน ต้องศึกษาเช่นกัน ในหน้าหนาวจะให้แค่วันละครั้งก็เพียงพอแล้ว แต่ในหน้าร้อนซึ่งเป็นปัญหาด้านดูแลเรื่องน้ำ หากให้มากก็จะเสี่ยงต่อโรคโคนเน่า หรือน้อยเกินไปต้นอาจจะเหลือง หรือน้ำหนักน้อยลงไปอีก ทั้งที่ช่วงนี้น้ำหนักของผักก็น้อยอยู่แล้ว เกษตรกรจะขึงด้วยสแลนสีดำสำหรับกรองแสง และพรมน้ำพอชุ่มใบ เพื่อรักษาน้ำหนัก และรสชาติไม่ให้ขมได้ จากปกติที่เขาต้องให้น้ำ 3 เวลา/วัน อยู่แล้ว จะต้องหาเทคนิคเสริมอยู่เสมอ “จริงๆ แล้วผักสลัดปลูกไม่ยาก แต่ต้องมีการดูแล ควบคุมบ้างก็เท่านั้น”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

2 โรงเรือน อาจไม่ใช่จำนวนที่มากมายนัก แต่นั่นก็สะท้อนถึงการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง พอประมาณ โรงเรือนที่สามารถสร้างขึ้นเองได้ภายในรั้วบ้านกลายเป็นอาชีพหลักให้กับเกษตรกรหลายครัวเรือนไปโดยปริยาย บางมุมอาจมองว่าเล็กเกินไป แต่โครงการเล็กๆ ตรงนี้ก็เป็นอีกโครงการที่ใหญ่โต และมีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตจากทั้งผู้ให้ และผู้ผลิต ได้เป็นอย่างดี ณ จุดนี้เป็นที่พิสูจน์จากเกษตรกรโดยตรงแล้วว่า นั่นคือโครงการที่มีคุณค่ามหาศาลเหลือเกิน

ขอขอบคุณ คุณธีรนุช ผลรุสะ 18/2 ม.4  ต.บ้านอิฐ อ.เมือง จ.อ่างทอง 14000 โทร.08-5129-0486

คุณสุวินท์ โพธิ์ทอง 7/2 ม.4 ต.บ้านอิฐ อ.เมือง จ.อ่างทอง 14000 การปลูกผักสลัด การปลูกผักสลัด