การปลูกมะระจีน 12 ไร่ ทำรายได้ 800,000 บาท /ปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

วิธี การปลูกมะระจีน 12 ไร่ ทำรายได้ 800,000 บาท /ปี ของประหยัด ทัดดอกไม้

ในด้านเกษตรกรรมพื้นที่ส่วนใหญ่แม้จะเป็นนาข้าวสวนผลไม้และพืชไร่ต่างๆกลุ่มใหญ่ๆเหล่านี้คือตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มีรายได้หมุนเวียนในประเทศแต่ละปีเป็นจำนวนมหาศาล

แต่ในเรื่องราวของการปลูกสวนผักก็นับเป็นการสร้างรายได้ที่ดีอีกทางหนึ่ง ปัจจุบันการปลูกผักเพื่อจำหน่ายในเชิงธุรกิจจึงมีการกระจายตัวไปทั่วทั้งประเทศแล้วแต่ว่าจะเน้นผักชนิดใดเป็นหลักในแนวทางของการปลูกผักหมุนเวียนเพื่อให้สามารถสร้างรายได้ต่อเนื่องกันตลอดทั้งปี

จังหวัดสุพรรณบุรีก็เป็นเขตพื้นที่ที่มีการผลิตผักต่างๆ ป้อนเข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมากและฐานการผลิตนี้ก็เริ่มขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆเนื่องด้วยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมหลายประการไม่ว่าจะด้านการขนส่ง การตลาด ระบบชลประทาน ผักที่ปลูกกันมากเช่น คะน้า ,คื่นช่าย, แตงกวา, พริก , ถั่วฝักยาว และ มะระ

จากตัวเลขทางเศรษฐกิจระบุว่าเฉพาะในเขตบางปลาม้า ดอนเจดีย์ ด่านช้าง สองพี่น้อง มีพื้นที่ปลูกผักรวมกันทั้งสิ้นกว่า 25,170 ไร่มีผลผลิตป้อนเข้าสู่ตลาดประมาณ 34,605 ตัน/ปี

คุณประหยัด ทัดดอกไม้ ถือเป็นหนึ่งในเกษตรกรผู้ปลูกผักหมุนเวียนในเขตตำบางบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จากอาชีพแรกเริ่มที่เป็นพ่อค้าขายผักต้องการเปลี่ยนชีวิตตัวเองมาสู่ธุรกิจเกษตรจึงเข้าสู่แวดวงของ“คนทำผัก”ปัจจุบันใช้เนื้อที่ 12 ไร่ปลูกผักหมุนเวียนทั้งคะน้า คื่นช่าย และมะระ สร้างรายได้ต่อเนื่องให้กับครอบครัวได้ตลอดทั้งปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

รูปการคัดมะระ

คุณประหยัดเล่าว่า “ผักทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นที่ต้องการของตลาดตลอดทั้งปี การจะปลูกผักตัวใดก็ต้องวิเคราะห์ความต้องการตลาดในขณะนั้นว่าแนวโน้มและทิศทางจะเป็นอย่างไร เพราะปัจจุบันการลงทุนปลูกผักในเชิงธุรกิจมีปัจจัยต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องมาก คำว่าเกษตรกรรมนั้นถ้าเราสามารถคำนวณความน่าจะเป็นล่วงหน้าได้ก็ลดความเสี่ยงในตัวเองได้มากเช่นกัน”

ข้อดีของการปลูกมะระเมื่อเปรียบเทียบกับผักชนิดอื่นๆคือความเสี่ยงในเรื่องราคาโดยเฉพาะพวก”ผักใบ”ที่มีการตัดเก็บครั้งเดียวถ้าราคาดีก็ได้มากแต่ถ้าโดนช่วงราคาตกต่ำก็ทุนหายกำไรหดได้เหมือนกัน แต่จุดเด่นของมะระคือสามารถเก็บผลผลิตได้นานหลายครั้งกระจายความเสี่ยงในเรื่องราคาจำหน่ายที่อาจจะคลอบคลุมได้มากกว่า โดยปกติแล้วมะระจะแพงช่วงฤดูแล้งประมาณเดือนเมษายน-พฤกษภาคมและเก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงนี้การทำมะระจะน้อยเพราะมีความเสี่ยงมาก เนื่องจากมะระจะไม่ค่อยโตแคระแกร็น เพลี้ยไร ไวรัสจะระบาดหนัก แต่ถ้าทำได้ก็คือราคาดีมาก อีกช่วงหนึ่งที่มะระราคาแพงแต่ทำยากคือปลายฝนต้นหนาวที่จะมีปัญหายอดไม่ค่อยเดินเถามักจะเหลืองเสี่ยงต่อไวรัสและเพลี้ยไฟ เก็บผลผลิตได้ไม่นาน ถ้าช่วงนี้ทำได้ก็มีโอกาสที่จะโกยราคาสูงๆได้เช่นกัน

และเมื่อพูดถึงเรื่องต้นทุนกำไรก็เป็นสิ่งที่หลายคนอยากจะรู้ด้วยบางคนมองไม่เห็นภาพด้วยซ้ำว่า “มะระ” จะสร้างรายได้ที่ดีได้อย่างไร?

พื้นที่การปลูกมะระของคุณประหยัดในปัจจุบันคือ 12 ไร่ยกร่องเป็น 13 ร่อง ในการปลูกมะระจะมีต้นทุนสำคัญๆอยู่ 3 ประการคือ

1.ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการปลูก

2.เมล็ดพันธุ์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

3.การบำรุงดูแลด้วยการใช้สารเคมี ปุ๋ย และฮอร์โมนต่างๆ

ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการปลูก

“มะระ”เป็นพืชที่ต้องมีการทำ “ค้าง”คุณประหยัดบอกว่าพื้นที่ 12 ไร่ (13ร่อง) ใช้ไม้ในการทำค้าง (ไม้รวก) ประมาณ 500 มัด(1มัดมี10ลำ) มัดละ 60 บาท ต้นทุนค่าไม้ก็ ประมาณ 30,000 บาท อายุของไม้ทำค้างได้ประมาณ  3 รอบการปลูก (ไม่เกิน 2 ปี)ไม้ค้างเหล่านี้ถ้าเก็บเกี่ยวมะระเสร็จก็ต้องเก็บค้างออกเพื่อปลูกคะน้าต่อไป

นอกจากนี้ก็มีตาข่ายและเชือกขึงตาข่ายราคาผืนละ 100 บาทใช้ประมาณ 100 ผืนมีต้นทุนประมาณ 10,000 บาท ส่วนเชือกซื้อแบบเป็นกิโลในราคา 65 บ./กก.ใช้เชือกในการขึงตึงเพื่อความแข็งแรงประมาณ 150 กก.มีต้นทุนไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท

ดังนั้นเมื่อนำต้นทุนเรื่องวัสดุการปลูกมารวมกันคือ ไม้ทำค้าง+ตาข่าย+เชือก เป็นต้นทุนโดยประมาณ 50,000 บาท แต่สิ่งที่สามารถเก็บไว้ได้ในครั้งต่อไปคือ “ไม้รวกสำหรับทำค้าง” แต่ทั้งเชือกและตาข่ายต้องเปลี่ยนใหม่ทุกครั้งเพราะรื้อทิ้งแล้วเก็บรักษาไม่ได้เท่ากับว่าต้นทุนการปลูกเรื่องโครงสร้างในรอบต่อๆไปก็ยังมีอีกประมาณ20,000บาทเป็นการลงทุนเรื่องเชือก และตาข่าย

เรื่องของการทำค้างนั้นก็จะมี 2 แบบด้วยกันคือทำ“ค้างแบบกระโจม”กับการทำ“ค้างแบบกล่อง”ที่คุณประหยัดเลือกใช้คือการทำค้างแบบกระโจม ข้อดีคือทำง่าย ลงทุนต่ำ การดูแลง่าย ฉีดพ่นสารเคมีง่าย ค้างแบบนี้จะโปร่ง โอกาสที่มะระจะเสียหายน้อยกว่า แต่ถ้าเป็นค้างแบบสี่เหลี่ยมหรือแบบกล่อง แม้จะได้ผลผลิตเยอะกว่าค้างแบบกระโจมเท่าตัว แต่ก็ลงทุนเยอะ ดูแลยาก ฉีดพ่นเคมียาก ค้างแบบกล่องจะทึบ โอกาสที่มะระจะเสียหายสูง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
ผลมะระ
ผลมะระ

ต้นทุนเมล็ดพันธุ์

เป็นมะระจีนพันธุ์ผสมเบอร์16 ของศรแดง ราคา 1,150 บาท/กระป๋อง ในแต่ละร่องใช้เมล็ดพันธุ์ 350 เมล็ด จำนวน 13 ร่องใช้เมล็ดพันธุ์ทั้งหมด 10 กระป๋อง มีต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ 1,150 บาท การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ของศรแดงนั้นเพราะรูปทรงสวยหัวท้ายเสมอกัน ตาห่าง ผิวหนา น้ำหนักดี เป็นที่ต้องการของตลาดทำให้ราคาดีตามไปด้วย

การบำรุงดูแลด้วยการใช้สารเคมี ปุ๋ย และฮอร์โมนต่างๆ

ต้นทุนเรื่องการบำรุงดูแลนี้แบ่งออกเป็นหลายช่วงตามการเจริญเติบโตเริ่มตั้งแต่การปรับปรุงดินเพื่อเตรียมหยอดเมล็ดมีการใช้ปุ๋ยคอกก่อนที่จะไถกลบในช่วงหยอดเมล็ดลงแปลงแล้วก็เริ่มมีการให้ปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโตการใช้สารเคมีในการป้องกันโรคและแมลงเมื่ออายุของต้นมะระโตขึ้นสัดส่วนการใช้ก็มีปริมาณมากขึ้นรวมถึงต้องมีการเปลี่ยนสูตรให้เข้ากับภาวะการเจริญเติบโต พร้อมกันนี้ในกรณีที่มีแมลงรบกวนมากก็จะต้องเพิ่มการใช้สารเคมีมากขึ้นด้วยโดยเฉพาะในช่วงใกล้เก็บเกี่ยวผลผลิต รวมราคาต้นทุนที่กล่าวมาในส่วนนี้แต่ละรอบการปลูกไม่น้อยกว่า 20,000 บาท

และเมื่อรวมต้นทุนทั้งวัสดุการปลูก + เมล็ดพันธุ์ + การบำรุงดูแลด้วยการใช้สารเคมี ปุ๋ย และฮอร์โมนต่างๆ ต้นทุนของเกษตรกรในการปลูกมะระแต่ละรอบไม่น้อยกว่า 150,000 บาท

เมื่อได้เตรียมการเรื่องวัสดุปลูก(ทำค้าง) เป็นที่เรียบร้อยทีนี้เราก็มาดูกันว่าลำดับขั้นการปลูก“มะระ” ก่อนตัดจำหน่ายมีวิธีการอย่างไรบ้าง?

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การปลูกมะระจะต้องเพาะกล้าก่อนด้วยการเตรียมดินที่เป็นวัสดุปลูกเป็นดินที่ใช้เพาะเมล็ดพันธุ์โดยตรง ใช้ประมาณ 1 กระสอบ ( 30 กก.) วัสดุปลูกใส่กระบะ (มี 104 หลุม) เมล็ดพันธุ์ทำได้ 2 อย่างคือเพาะก่อนใส่กระบะหรือใส่ในกระบะได้เลย ถ้าเพาะก่อนใส่กระบะเพื่อให้งอกก่อนที่จะใส่ในหลุม จะเริ่มต้นด้วยการเอาเมล็ดพันธุ์ไปแช่น้ำก่อนประมาณ 2 ชม. เอามาขึ้นให้น้ำแห้งแล้วเอาผ้าชุบน้ำคลุมไว้ให้มีความชื้นใส่ในภาชนะใหญ่ๆ ทิ้งไว้ประมาณ 2 คืน ก็จะเริ่มงอก แล้วจึงเอามาปลูกในกระบะที่เตรียมดินไว้ แต่ที่ทำส่วนมากคือการเปิดกระป๋องแล้วปลูกในกระบะทันที

ความแตกต่างระหว่างเพาะให้งอกก่อนลงกระบะกับปลูกลงกระบะทันทีคือความสม่ำเสมอของ“กล้า” ถ้าปลูกในกระบะความสม่ำเสมอของกล้าจะน้อยเพราะมันขึ้นอยู่กับความลึกในการปลูกด้วย การปลูกในถาดหลังจากเอาเมล็ดลงไปแล้วจะให้น้ำจนชุ่มโชกแล้วหยุดเอาผ้าคลุมไว้ทิ้งไว้ประมาณ 3 คืน พอเปิดผ้าออกเม็ดจะเริ่มงอก ก็เริ่มการให้น้ำฉีดในหลุมที่แห้ง หลังจากนี้ก็เปิดผ้าไว้ตลอดอีกประมาณ 5 วัน ให้น้ำสม่ำเสมอตามความเหมาะสมของแต่ละหลุม ก็จะเริ่มเห็นใบแตกออกมา 2 ใบ พอเห็นแตก 2 ใบ ใช้เวลาอีก 3 วันก็เริ่มเอาไปลงแปลงปลูก เบ็ดเสร็จใช้เวลาในการเพาะต้นกล้าประมาณ 10 วัน

หลังปลูกประมาณ 1 อาทิตย์ก็จะเริ่มให้ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยทุก 7 วันครั้งโดยจะใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-16 ในกรณีที่ยอดแตกไม่ค่อยดี ยอดไม่เดิน ยอดตัน ก็จะใช้ปุ๋ยสูตรตัวหน้าสูง อย่าง 24-7-7 พอยอดเดินดีแล้วก็ค่อยมาใช้ 16-16-16 พอมะระติดลูกแล้วเปลี่ยนมาใช้ 15-15-15 อัตราการให้ปุ๋ยตอนนี้ก็ประมาณ 5 กระสอบ/ครั้ง ส่วนทางใบใช้ฮอร์โมนเสริมเพื่อช่วยให้ต้นเติบโตเร็ว เร่งต้น เร่งการแตกแขนง เถาเดินดี อาจจะมีการพ่นทุกๆ 7 วัน

นอกจากนี้มะระเป็นพืชที่มีศัตรูพอสมควร ที่ชาวสวนกลัวกันมากก็คือ ไวรัส เพลี้ยไฟ ราน้ำค้าง จึงต้องฉีดพ่นสารเคมีป้องกันไว้ตลอดที่คุณประหยัดเลือกใช้เพราะทดสอบแล้วว่าได้ผลดีที่สุดในการกำจัดเพลี้ยไฟต่างๆคือ“อะบาเม็กติน (abamectin)” ของบริษัทโซตัสฯ ซึ่งผลิตภัณฑ์ตัวนี้เป็นสารกำจัดแมลงประสิทธิภาพสูง อัตราใช้น้อย ออกฤทธิ์กำจัดแมลงทั้งแบบ สัมผัสตาย และยังสามารถดูดซึมเข้าสู่ใบพืชได้ ( semi-systemic) จึงสามารถกำจัดแมลงศัตรู เช่น เพลี้ยไฟ หนอนชอนใบ ได้เป็นอย่างดี ทำให้ผลผลิตที่ได้นั้นมีทั้งปริมาณและคุณภาพสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ใช้เป็นอย่างดี

รูปต้นและผลมะระ
รูปต้นและผลมะระ

บำรุงดูแลดีๆ อาจตัดได้กว่า 30 ครั้ง

หลังจากปลูกแล้ว 50-60 วันก็จะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งแรกหรือที่ชาวสวนนิยมเรียกกันว่ามีดแรกได้และก็จะสามารถเก็บเกี่ยวไปได้เรื่อยๆอีกประมาณ 2 เดือนถึงจะเรียกว่าครบรอบ ความถี่ในการเก็บ อย่างมีดที่ 1-4 ก็จะเก็บ 2 วันครั้ง ถ้าผลผลิตออกมาเยอะตั้งแต่มีดที่ 5 ไปจะต้องเก็บทุกวัน เพราะเก็บ 2 วัน จึงจะหมดแปลง ปกติแล้วมะระดูแลดีๆจะเก็บได้ถึง 20 มีดขึ้นไป บางครั้งอาจไปถึง 30 มีด โดยจะให้ผลผลิตเยอะๆ ช่วงมีดที่ 5-10 ช่วงนี้โดยเฉลี่ยจะเก็บได้มากถึง 4-5 ตันแต่ที่คุณประหยัดเคยทำได้ในช่วงปีแรกๆที่ปลูกมะระนั้นได้มากกว่า 5-6 ตัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หลังจากนั้นลูกก็จะเล็กลง เก็บได้น้อยลง หลังมีดที่ 10 ก็จะเหลือ 3 ตัน 2 ตัน ไปเรื่อยๆหลังจากเก็บแล้วนำมาคัดแยกใส่ถุงๆละ 5 กก. คัดทั้งหมด 4 เบอร์ มีหน้า 3 หน้า 4 หน้า 5 แล้วก็ เบอร์ปัด หน้า 3 จะมีอยู่ประมาณ 6-7 ลูกต่อถุง แต่ถ้าเป็นหน้า 4 ก็จะมี 8-9 ลูกต่อถุง ถ้าเป็นหน้า 5 ก็จะมี 10-11 ลูกต่อถุง ราคาต่างกันไล่ระดับลงมาถุงละ 10 บาท ราคาตอนนี้ถ้าเบอร์สวยเลยก็จะเป็นหน้า 3 หน้า 4 ราคา 20 บาท/กก. ถุงละ 100 บาท หน้า 5 ราคา 90 บาท/ถุง แต่ถ้ามะระผลผลิตน้อยราคาอาจพุ่งไปสูงถึง 30 บาท/กก. แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 18-20 บาท/กก. ช่วงถูกที่สุดของมะระอยู่ที่ 4 บาท/กก. ราคานี้ชาวสวนขาดทุน ถ้ามะระราคา 10 บาท/กก. ถึงจะเรียกได้ว่าเป็นจุดคุ้มทุนที่พอจะทำให้ชาวสวนอยู่ได้

ทิศทางการสร้างรายได้ในการปลูกมะระในอนาคต

คุณประหยัดเล่าให้ทีมงานฟังว่าการปลูกมะระเป็นง่ายที่จุกจิกและเหนื่อยมากโดยเฉพาะในการตัดที่ต้องมีความชำนาญและประสบการณ์ในการเลือกมะระการจ้างคนงานบางทีก็ได้แต่ปริมาณแต่ก็ไม่ได้คุณภาพมะระบางลูกสามารถค้างไว้ให้กลายเป็นหน้า3ได้ถ้าตัดมาก่อนก็เสียราคาส่วนใหญ่ในสวนจึงลงมือทำกันเองซึ่งก็ทำให้เสียเวลาในการตัดแต่ละครั้งค่อนข้างมาก เมื่อตัดมาแล้วก็ต้องมาคัดแยกตามแต่ละเบอร์บรรจุใส่ถุงตามขนาดเรียกว่าช่วงตัดมะระจะเป็นเวลาที่อดหลับอดนอนกันเลยทีเดียวแต่มันก็ตอบแทนความคุ้มค่าได้ถ้าในการขายได้ราคาที่ดีพอคาดว่าถ้าราคาขายดีนั้นจะสร้างกำไรได้แบบครึ่งต่อครึ่งซึ่งถือว่าดีมาก แต่ปัญหาของมะระอีกอย่างคือไม่สามารถปลูกต่อเนื่องได้ต้องมีการเว้นระยะการปลูกในแต่ละปีจึงปลูกได้แค่ครั้งเดียวในกรณีนี้ถ้าใครมีที่ดินมากพออาจจะหมุนเวียนการปลูกมะระได้ก็จะเป็นการสร้างรายได้ต่อเนื่องที่ดีได้ตลอดทั้งปีเช่นกัน

ขอบพระคุณ

คุณประหยัด ทัดดอกไม้

150 หมู่ 14 ต.บางตาเถร  อ.สองพี่น้อง  สุพรรณบุรี  72110

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โทร.08-9001-6032,02-7454552

tags: การปลูกมะระจีน ประหยัด ทัดดอกไม้ การปลูกมะระ ปลูกมะระ เมล็ดพันธุ์ผัก มะระจีน ปลูกมะระจีน วิธีปลูกมะระจีน เกษตรสร้างรายได้ การปลูกมะระจีน การปลูกมะระ มะระ

[wpdevart_like_box profile_id=”108666299214543″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]