มะยงชิด มะปราง หวาน ผลผลิต ถูกสั่งจองล่วงหน้าข้ามปี และ เทคนิคการทำกิ่งพันธุ์ขาย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปัจจุบันมะปรางหวานและมะยงชิดถือเป็นไม้ผลเศรษฐกิจของไทยที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่เกษตรกรนิยมปลูกเป็นการค้า โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์จนถึงมีนาคม ส่วนใหญ่ใช้บริโภคภายในประเทศ มะปรางหวาน มะยงชิด เป็นไม้ผลที่มีศักยภาพเป็นที่ต้องการของตลาด การจำหน่าย มะยงชิด มะปราง หวาน จากสวนที่มีคุณภาพ ผู้ซื้อจะต้องสั่งจองไว้ล่วงหน้า เพราะผลผลิตแต่ละปี แต่ละสวน จะมีจำกัด

1.ผลสุกจะมีผลขนาดใหญ่ รสชาติเปรี้ยว
1.ผลสุกจะมีผลขนาดใหญ่ รสชาติเปรี้ยว

ลักษณะเด่นของมะยงชิด มะปรางหวาน

มะยง เป็นผลไม้ที่มีรูปร่างคล้ายกับ “มะปราง” แต่ก็มีสิ่งที่แตกต่างกัน โดยมะยงนั้นจะมีรสชาติสองรสในหนึ่งผล คือ หวานอมเปรี้ยว แต่ถ้ามะยงมีรสชาติหวานมากกว่าเปรี้ยวจะเรียกว่า มะยงชิด หากมีรสชาติเปรี้ยวมากกว่าหวานจะเรียกว่า มะยงหรือมะยงห่าง ในส่วนของผลดิบจะมีสีเขียวจัดกว่ามะปราง ผลสุกจะมีสีเหลืองแกมส้ม และไม่มียาวอยู่ในส่วนของผล

“มะปราง” นั้นจะแบ่งรสชาติกันอย่างชัดเจน คือ หวานจัดกับเปรี้ยวจัด โดยมะปรางหวานผลสุกจะมีรสชาติหวาน ผลยาวรี มะปรางเปรี้ยวผลสุกจะมีผลขนาดใหญ่ แต่มีรสชาติเปรี้ยวมาก สีของผลดิบจะมีสีเขียวออกซีด ผลใส ผลสุกจะออกสีเหลืองอ่อน และมียางอยู่ในส่วนของผล ซึ่งรบกวนหลอดอาหารทำให้ระคายคอ

ณ ปัจจุบันกระบวนการทางธรรมชาติต้นมะปรางได้มีวิวัฒน์พัฒนาการมาเป็นพันธุ์ดี ซึ่งมีการปลูกกระจายอยู่ทั่วประเทศ บางสายพันธุ์มีชื่อเสียงด้านรสชาติ บางสายพันธุ์มีขนาดผลใหญ่เท่าไข่เป็ดและไข่ไก่ ทำให้ความต้องการของตลาด มีทั้งผลผลิตจากต้นและกิ่งพันธุ์ที่ขายดีอยู่ในช่วงนี้

2.คุณสมบูรณ์ น้อยเนียม (ครูไข่)
2.คุณสมบูรณ์ น้อยเนียม (ครูไข่)

การปลูกมะยงชิด มะปรางหวาน

การเดินทางของทีมงานเมืองไม้ผลฉบับนี้เกาะติดเรื่อง มะยงชิด มะปรางหวาน อย่างแนบแน่น จนมาถึงจังหวัดสุโขทัย สวนมะยงชิด มะปรางหวาน ของ คุณสมบูรณ์ น้อยเนียม หรือที่รู้จักในนาม ครูไข่

ครูไข่เล่าให้ทีมงานฟังว่า เรียนจบมารับราชการเป็นครู แต่เพราะใจรักในด้านเกษตร จึงสนใจในเรื่องการทำเกษตรเป็นชีวิตจิตใจ เริ่มแรกเขาสนใจไม้ดอกไม้ประดับ แต่เพราะต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างมาก บวกกับไม่มีเวลาดูแล จึงหันมาสนใจในไม้ผลแทนเพราะไม่ต้องดูแลอย่างสม่ำเสมอเหมือนกับไม้ดอกไม้ประดับที่ต้องมีการรดน้ำอยู่ทุกวัน ครูไข่เริ่มปลูกมะขามเปรี้ยวยักษ์กับมะยงชิด มะปรางหวาน ควบคู่กันไปในสมัยนั้น แต่เพราะความสนใจของบุคคลทั่วไปที่มีต่อมะยงชิด มะปรางหวาน ทำให้เขาสนใจผลไม้ชนิดนี้เป็นพิเศษ จนมีสายพันธุ์มะยงชิด มะปรางหวาน มากมาย และทำให้มีคนสนใจสั่งจองกิ่งพันธุ์เป็นจำนวนมาก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปีนี้เป็นปีปราบเซียนของเกษตรกรผู้ปลูกมะยงชิด มะปรางหวาน เพราะสภาพอากาศในฤดูหนาวมีความยาวนาน ทำให้มีผลกระทบในการออกช่อดอกของผลไม้ชนิดนี้ เมื่ออากาศแห้งแล้งผลผลิตในปีนั้นจะน้อย แต่ถึงอย่างไรก็ตามแม้ผลผลิตจะน้อยก็ยังสามารถทำกิ่งพันธุ์เพื่อจำหน่ายในฤดูกาลนั้นแทนได้ เพราะมีความต้องการจากผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก

3.บรรยากาศภายในสวน
3.บรรยากาศภายในสวน

สภาพพื้นที่ปลูกมะยงชิด มะปรางหวาน

เพื่อลดสภาพอากาศแห้งแล้ง ครูไข่ใช้วิธีฉีดพ่นน้ำให้ต้นไม้ได้รับความชื้น ปรับสมดุลของสภาพอากาศให้ดีขึ้น ทำให้ ต้นมะยงชิด มะปรางหวาน สามารถติดดอกได้ดีกว่าสวนอื่น สำหรับการฉีดพรมน้ำเพิ่มความชื้นให้กับต้นไม้ ไม่ใช่แต่ทำในช่วงฤดูหนาวเพียงอย่างเดียว ฤดูร้อนที่อากาศร้อนจัดเราควรฉีดพรมน้ำเพื่อลดอุณหภูมิให้แก่ต้นไม้ด้วยเช่นกัน เพื่อป้องกันการคายน้ำมากเกินไป จนทำให้ต้นไม้อาจเกิดความแห้งเหี่ยวหรือตายในที่สุดได้

ในช่วงฤดูร้อนที่มีฝนตกลงมา ถ้าในช่วงนั้นมีผลผลิตมะยงชิด มะปรางหวาน อยู่บนต้น ต้องทำการเก็บผลผลิตทันที เพราะไม่เช่นนั้นน้ำฝนที่ตกลงมาจะถูกต้นมะยงชิด มะปรางหวาน ดูดขึ้นไปหล่อเลี้ยงอาหาร ทำให้ผลของมะยงชิด มะปรางหวาน แตก ได้ ทำให้ผลของมะยงชิด มะปรางหวาน จำหน่ายไม่ได้ราคา หรือไม่สามารถขายได้ จึงทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก

ฉะนั้นการปลูกมะยงชิด มะปรางหวาน จึงทำได้ค่อนข้างยาก เพราะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในแต่ละปีว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งเกษตรกรเองไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลให้ผลผลิตมะยงชิด มะปรางหวาน มีราคาตามท้องตลาดสูงกว่าผลไม้ชนิดอื่น

4.ความดกของผลผลิตที่ได้
4.ความดกของผลผลิตที่ได้

การบำรุงดูแลต้นมะยงชิด มะปรางหวาน

ภายในสวนมะยงชิด มะปรางหวาน ที่นี่จะไม่เน้นฉีดพ่นสารเคมีเท่าใดนัก ถึงจะมีใช้สารเคมีบ้าง แต่ก็ใช้น้อยที่สุด เน้นการทำปุ๋ยใช้เองเพื่อลดต้นทุนการผลิต เช่น ปุ๋ยโบกาฉิ โดยนำแกลบกับมูลสัตว์มาผสมกันในอัตรา 1:1 ถ้าอยากเร่งใบควรใช้มูลวัว เร่งดอกต้องใช้มูลค้างคาว และใช้มูลไก่เพื่อเร่งผล ช่วงไหนที่ต้องการบำรุงต้นไม้ก็จะเน้นใส่ปุ๋ย ในแต่ละช่วงก็จะไม่เหมือนกัน ช่วงแรกควรใช้มูลวัวรองก้นหลุมก่อนปลูก เพราะจะทำให้ดินร่วนซุย รากสามารถหาอาหารและเจริญเติบโตได้ดี

การใส่ปุ๋ยโบกาฉิ ควรให้ต้นไม้ประมาณ 1 กำมือ ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร โดยใช้การหว่านไปรอบสวน ใช้เศษไม้หรือฟางคลุมในบริเวณพื้นที่ที่มีการหว่านปุ๋ยเพื่อไม่ให้เชื้อตาย หลังจากนั้นเชื้อตัวนี้จะลงไปในดินทำให้ดินร่วนซุย แต่ถ้าถูกแสงเชื้อจะหยุดทำงานหรือตายในที่สุด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ภายใน 1 ปี ควรใส่ปุ๋ยซักประมาณ 2 ครั้ง ไม่ควรใส่บ่อยเกินไป เพราะในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุกสภาพดินจะมีลักษณะชื้นมาก ต้นมะยงชิด มะปรางหวาน จะไม่ดูดสารอาหารถ้าใส่ปุ๋ยในช่วงนี้ เพราะจะอิ่มตัวจากการได้รับน้ำฝนในช่วงเวลานั้น

ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะใสปุ๋ย มะยงชิด มะปรางหวาน ควรเป็นช่วงต้นฝนกับปลายฝน เพราะช่วงปลายฝนดินจะยังคงมีความชื้น ฉะนั้นต้นไม้ก็ยังสามารถดูดอาหารไปใช้ได้อยู่ แต่หลังจากนั้นต้องหยุดพักการให้ปุ๋ย และเตรียมตัวที่จะสร้างช่อดอกต่อไป

การรดน้ำของมะยงชิด มะปรางหวาน ควรรดเฉพาะตอนที่ต้นเริ่มติดช่อดอกแล้ว เพื่อช่วยให้ดินมีความชื้น ต้นไม้ก็จะหาอาหารง่าย แต่ไม่ควรรดน้ำแฉะจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้เกิดโรคที่เกิดจากเชื้อราได้

แต่ถ้ามะยงชิด มะปรางหวาน ไม่ออกช่อควรงดการให้น้ำ ไม่ให้มะยงชิด มะปรางหวาน แทงยอดอ่อน เพราะมียอดอ่อนหรือใบอ่อนขึ้นมา ช่อดอกของต้นไม้ชนิดนี้ก็จะไม่ออก ทำให้ปีนั้นจะไม่มีผลผลิตเลย

5.ลูกมะยงชิด มะปรางหวาน ที่เป็นจุดดำๆ เกิดจากเพลี้ยไฟ
5.ลูกมะยงชิด มะปรางหวาน ที่เป็นจุดดำๆ เกิดจากเพลี้ยไฟ

การป้องกันและกำจัด โรค แมลง ต้นมะยงชิด มะปรางหวาน

โรคราดำ ซึ่งสาเหตุของโรคชนิดนี้เกิดจากเชื้อราดำได้ดูดกินน้ำเลี้ยงโดยตรง ทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโตของมะยงชิด มะปรางหวาน ยิ่งถ้าเป็นฤดูที่มะยงชิด มะปรางหวาน ออกดอก การผสมเกสรก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากมีเชื้อราดำปกคลุมปลายเกสรตัวเมียอยู่

โดยทั่วไปแล้วเชื้อราจะเจริญเติบโตได้บนใบหรือช่อดอกของมะยงชิด มะปรางหวาน ได้ หากไม่มีพาหะ คือ แมลงจำพวกปากดูด มาดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนต่างๆ ของมะยงชิด มะปรางหวาน ตั้งแต่ยอด ช่อดอก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การป้องกัน เนื่องจากโรคราดำเกิดแมลงเป็นพาหะตัวสำคัญ จึงควรป้องกันกำจัดแมลงจำพวกปากดูด ในช่วงที่มะยงชิด มะปรางหวาน เริ่มแทงช่อดอก

เพลี้ยไฟ ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะใช้ปากดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ทำให้ใบไหม้ หงิกงอ ยอดอ่อน และช่อดอก ตลอดจนผลอ่อน จะสีกร้านออกสีน้ำตาลรอบขั้ว จนทำให้ผลร่วงหรือติดผลผลิตน้อยลง ไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะระบาดหนักในช่วงที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง

การป้องกัน ใช้สารเคมีฉีดพ่น เช่น เซฟวิน S85 อะบาเม็กติน หรือคาโบซัลเฟต เป็นต้น ประมาณ 15 วัน ต่อครั้ง หรือถ้าพบเจอการระบาดก็สามารถฉีดได้ทันที เพื่อป้องกันการขยายตัวไม่ให้ลุกลามไปยังต้นอื่นๆ

6.การทำกิ่งพันธุ์ดีของต้นมะยงชิด มะปรางหวาน
6.การทำกิ่งพันธุ์ดีของต้นมะยงชิด มะปรางหวาน

เทคนิคการทำกิ่งพันธุ์ มะยงชิด มะปรางหวาน

การทำกิ่งพันธุ์มะยงชิด มะปรางหวาน ถ้าจะให้ได้คุณภาพต้องดูที่ต้น ใบต้องมีสีเข้ม เซลล์ต้องอ่อน ถ้าใช้กิ่งที่แก่ในการขยายพันธุ์ เวลานำไปปลูกต้นจะไม่ค่อยโต

“เทคนิคการทำกิ่งพันธุ์จะต้องทำกิ่งพันธุ์อย่างเดียว ไม่เอาผลผลิตของลูกมะยงชิด มะปรางหวาน ถ้าจะเอาลูกก็ไม่ควรทำกิ่งพันธุ์ในต้นนั้น ให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อจะได้ไม่แย่งอาหารกัน กิ่งพันธุ์ที่ทำจะได้ไม่โทรม แล้วพยายามทำต้นที่ไม่แก่ กิ่งไม่แก่ ต้นที่โทรมๆ ไม่ต้องทำ ต้นไหนจะทำกิ่งพันธุ์ต้องบำรุงให้มันอวบสมบูรณ์ เพราะกิ่งพันธุ์ที่ออกมาจะสมบูรณ์ รวมไปถึงต้นตอก็ต้องสมบูรณ์ กิ่งพันธุ์ต้องไม่แก่เกินไป ให้ดูใบที่ออกเขียวดำเข้ม แล้วไม่ควรเก็บไว้นาน เวลานำมาชำแล้ว เพราะต้นจะโทรม” ลุงไข่อธิบาย

อย่างไรก็ตามมะยงชิด มะปรางหวาน สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง ทาบกิ่ง การต่อกิ่งหรือการเสียบยอด การติดตา และการปักชำ เป็นต้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเพาะเมล็ด วิธีนี้เป็นที่ง่าย และสามารถขยายพันธุ์ได้เป็นจำนวนมาก มีข้อเสีย คือ มีการกลายพันธุ์ แต่การเพาะต้นมะยงชิด มะปรางหวาน ด้วยเมล็ด จะสามารถใช้เป็นต้นตอในการเสียบยอดพันธุ์ดีหรือการทาบกิ่งได้ ควรเพาะเมล็ดพันธุ์มะปรางเปรี้ยวเพราะจะดูแลได้ดีมากกว่ามะปรางหวาน

การตอนกิ่ง เป็นวิธีการทำให้รากที่กิ่งยังติดอยู่กับต้นพันธุ์ดี แต่กิ่งที่ตอนจะไม่มีรากแก้ว เวลาปลูกลงดินไปแล้วอาจทำให้โค่นล้มได้ง่าย

การทาบกิ่ง เป็นการขยายพันธุ์มะยงชิด มะปรางหวาน ที่นิยมมากที่สุด เพราะจะได้ต้นพันธุ์ดีที่มีระบบรากแก้วจากต้นตอ สามารถคัดเลือกกิ่งพันธุ์ได้ค่อนข้างใหญ่และยาวกว่ากิ่งปักชำ ส่วนของกิ่งพันธุ์ดีจะเป็นต้นมะยงชิด มะปรางหวาน ที่ปลูกอยู่กับต้นอยู่แล้ว การทาบกิ่งจะต้องมีการเพาะกล้าต้นมะยงชิด มะปรางหวาน เป็นต้นตออายุ 6 เดือน-1ปีก่อน จึงนำมาทาบกิ่งได้

การต่อกิ่งหรือการเสียบยอด คือ การเปลี่ยนยอดต้นมะยงชิด มะปรางหวาน สามารถขยายพันธุ์ได้โดยปริมาณมาก และเป็นการประหยัดกิ่งพันธุ์ดีหรือยอดพันธุ์ดีได้ดีกว่าการตอนและการทาบกิ่ง

การติดตา เป็นการนำตาของมะยงชิด มะปรางหวาน ที่สมบูรณ์เพียงตาเดียว จากต้นพันธุ์ดีไปสอดใส่ลงบนส่วนของมะยงชิด มะปรางหวาน อีกต้น ซึ่งเป็นต้นตอให้เชื่อมติดกันและเจริญเติบโตเป็นต้นเดียวกัน ต้นตอที่จะนำมาติดตานั้นควรเป็นต้นตอที่ใส่ถุงเลี้ยงอยู่ในเรือนเพาะชำอายุ 1-2 ปี

การปักชำ มะยงชิด มะปรางหวาน เป็นผลไม้ที่มีกิ่งหรือยอดเล็กๆ จำนวนมาก สามารถนำมาปักชำให้ออกรากเป็นต้นใหม่ได้ ไม่มีการกลายพันธุ์ ประหยัดยอดพันธุ์ได้ดีกว่าการตอนและการทาบกิ่ง และสามารถขยายพันธุ์ได้เป็นจำนวนมาก

โฆษณา
AP Chemical Thailand
7.การขยายกิ่งพันธุ์ต้นมะยงชิด มะปรางหวาน
7.การขยายกิ่งพันธุ์ต้น มะยงชิด มะปราง หวาน

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่าย กิ่งพันธุ์และผล มะยงชิด มะปรางหวาน

เมื่อพูดตลาดของ มะยงชิด มะปราง หวาน ครูไข่บอกกับทีมงานว่า ถ้าต้องการขายผลไม่ควรจะทำกิ่งพันธุ์ เพราะอาหารจะไปเลี้ยงต้นไม่พอ ควรเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ในปีนี้ผลผลิตของ มะยงชิด มะปราง หวาน มีมาก ทำให้ได้รายได้จากการขายผลผลิตให้กับแม่ค้า พ่อค้า รับซื้อลูก มะยงชิด มะปราง หวาน และยังมีบางสวนที่ทำกิ่งพันธุ์ขาย ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าที่บอกกันปากต่อปาก เมื่อได้กิ่งพันธุ์ มะยงชิด มะปราง หวาน ไปปลูกแล้วได้ผลผลิตดีก็บอกต่อ หรือสั่งซื้อเพิ่มเพื่อไปปลูกเพิ่มเติม

ครูไข่จะทำกิ่งพันธุ์เมื่อมีการสั่งจอง จะไม่ทำเก็บเอาไว้มากๆ เพราะถ้าเก็บเอาไว้นานเมื่อลงปลูกต้นจะเจริญเติบโตช้า แคระแกรน ดังนั้นการทำกิ่งพันธุ์เมื่อถึงระยะเวลาที่ต้องตัดดอกจากต้นเมื่อมีรากขึ้นควรนำมาปลูกทันที เพราะแสดงว่าระบบรากกำลังทำงาน หาอาหารได้แล้ว และจะทำให้รากเดินลงไปในดินดี การเจริญเติบโตก็จะเป็นไปตามธรรมชาติ

8.ผลผลิตพร้อมจำหน่าย
8.ผลผลิตพร้อมจำหน่าย

สายพันธุ์มะยงชิด มะปรางหวาน

มีสายพันธุ์ มะยงชิด มะปราง หวาน มากกว่า 10 สายพันธุ์

1.พันธุ์ทูลถวาย นำมาจากบางขุนนนท์ ของอาจารย์เสงี่ยม

2.พันธุ์ลุงชิด สุโขทัย เป็นพันธุ์มะปรางหวาน

3.พันธุ์สวัสดี จะมีรสชาติออกเกือบหวาน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

4.พันธุ์แม่ย่า ของคุณจำลอง เทียนบุตร

5.พันธุ์ทอง 2 แคว ได้มาจากผู้ใหญ่วิจิตร ทรัพย์ไพรวัลย์ จังหวัดกำแพงเพชร

6.พันธุ์แม่อนงค์ มาจากนครนายก แต่มาปลูกที่สุโขทัย ลูกจะไม่ใหญ่

7.พันธุ์ทูลเกล้า ของคุณยุพิน

8.พันธุ์จักรพรรดิ์ นำมาจากจังหวัดจันทบุรี

9.พันธุ์เขาหลวง พันธุ์นี้นำมาจากลุงสนที่นครนายก แต่ครูไข่นำมาตั้งชื่อใหม่ เพราะตอนนำมาไม่มีชื่อ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

10.พันธุ์สุวรรณบาตร นำมาจากจังหวัดอุตรดิตถ์

11.พันธุ์ศรีกฤติยา เป็นมะปรางหวานของจังหวัดกำแพงเพชร

12.พันธุ์ทองใหม่ ของอำเภอไม้เค็ต จังหวัดปราจีนบุรี ปลูกสุโขทัยไม่ดก

13.พันธุ์สาริกา เป็นมะยงชิดลักษณะคล้ายพันธุ์ทูลเกล้ามาจากนครนายก

14.พันธุ์ทองสุโข เป็นพันธุ์ที่มีความหวาน แต่จะออกผลผลิตไม่ดก

15.พันธุ์แก้วกลางดง ของจังหวัดนครนายก แต่จะมาดังที่กำแพงเพชร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

16.พันธุ์เพชรกลางดง ของคุณวิจิตร ไกรสรสวัสดิ์

17.พันธุ์ป้าเลี้ยม ของจังหวัดอ่างทอง

สายพันธุ์ มะยงชิด มะปราง หวาน ทั้งหมด ครูไข่ได้นำมาปลูกที่สวนของตน ซึ่งบางสายพันธุ์ก็ไม่เหมาะสมที่จะปลูกในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยได้ บางสายพันธุ์สามารถปลูกได้ดีกว่าพื้นที่เดิมที่นำมาปลูก จากประสบการณ์การปลูก มะยงชิด มะปราง หวาน มาหลายปี ทำให้เขาเป็นที่รู้จักในวงการอย่างกว้างขวาง

9.มะยงชิด มะปราง ลูกใหญ่ 3 ลูก เท่าฝ่ามือ
9.มะยงชิด มะปราง ลูกใหญ่ 3 ลูก เท่าฝ่ามือ

ฝากถึงผู้ที่สนใจปลูก มะยงชิด มะปราง หวาน

เทคนิคการทำต้นไม้ให้ประสบความสำเร็จ คือ ถ้ารู้ทันเอาไว้แก้ ถ้ารู้แท้ทั้งแก่ทั้งกัน เหมือนผู้เชี่ยวชาญที่ต้องแก้ไขแต่ละเรื่องให้ได้ การทำสวนต่างๆ ควรศึกษาในสิ่งที่ควรสนใจ และนำกลับมาทำให้เกิดประโยชน์

การปลูกต้นไม้ ทุกอย่างต้องใส่ใจและรู้ใจว่าช่วงไหนเราควรทำอะไร ผลผลิตที่ได้จึงจะดีทุกอย่าง ถ้าเราควบคุมได้ ทั้งสภาพแวดล้อม น้ำ ปุ๋ย อากาศ หรือจะเป็นดิน แน่นอนว่าผลผลิตปีนั้นจะสร้างรายได้ให้เราเป็นอย่างดี แต่เมื่อปัญหาของธรรมชาติเราแก้ไขไม่ได้ เราต้องลดปัญหาให้ได้น้อยที่สุด เพื่อให้ผลผลิตในปีนั้นสร้างรายได้ให้กับเราไม่มากก็น้อย

“การที่เราทำไม้ผลให้ได้เครดิตกับตัวเรา เราต้องเป็นคนที่มีคุณธรรม คือ อย่าไปหลอกลวงใคร ไม่ใช่นำพันธุ์ของคนอื่นมาตั้งชื่อใหม่เป็นของตัวเอง  อย่างนี้มันเสียเครดิต  ยิ่งการขายแบบบอกปากต่อปาก ต้องมีจรรยาบรรณ เพื่อให้ลูกค้าเชื่อถือและกลับมาซื้อใหม่ หรือบอกให้คนอื่นมาซื้อเรา” ครูไข่กล่าว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หากท่านใดสนใจกิ่งพันธุ์ มะยงชิด มะปราง หวาน หรืออยากสอบถามข้อมูลในการปลูก มะยงชิด มะปราง หวาน สามารถสอบถามได้ที่ คุณสมบูรณ์ น้อยเนียม 178/1 ถ.เทศบาล 15 ซอย 15/1 ต.คลองตาล อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย 64120 โทร.08-1971-5848

อ้างอิง : นิตยสารเมืองไม้ผล ฉบับที่ 158