แก้ปัญหาปุ๋ยเคมีแพง และหยุดโรคเชื้อราใน ทุเรียน ปลูกทุเรียนมือใหม่ โกยรายได้หลักล้าน/ปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ถือเป็นยุคทองของราชาผลไม้ “ ทุเรียน ” มูลค่าการส่งออก ปี 2564 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และโตสวนกระแสโควิด-19 ถึงร้อยละ 41.5 มูลค่าสูงถึง 2,073 ล้านดอลลาร์ฯ แม้จะมีคู่แข่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง มาเลเซีย เวียดนาม อาจจะต้องใช้ระยะเวลา 4-5 ปี

ในขณะที่ประเทศไทยก็มีผู้ปลูกทุเรียนรายใหม่เกิดขึ้นทั่วทุกภูมิภาค แต่ทุเรียนถือเป็นผลไม้ที่ปราบเซียน เป็นผลไม้ที่ค่อนข้างทำยาก ต้องคอยหมั่นดูแลเอาใจใส่ และมีโรครากเน่าไฟทอปเทอร่าสุดแสบ ที่คอยเป็นตัวการทำลายทุเรียน โดยเฉพาะทุเรียนที่ให้ผลผลิตแล้ว ฉะนั้นมือใหม่ที่เข้ามาปลูกทุเรียนต้องศึกษาให้ถี่ถ้วน และหาความรู้จากแหล่งต่างๆ ก่อนลงทุนปลูก

1.คุณลักษณา ทิเอี่ยม
1.คุณลักษณา ทิเอี่ยม

การปลูกทุเรียน

คุณประสิทธิ์ และ คุณลักษณา ทิเอี่ยม หรือ ป้าหมู สองสามีภรรยา อาชีพช่างทำเฟอร์นิเจอร์ในกรุงเทพมหานคร มีรายได้เฉลี่ย 40,000 บาท/เดือน และได้ผันตัวเองมาลงทุนปลูกทุเรียนหมอนทองในดินแดน เมืองฝน 8 แดด 4 อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี อยู่ติดกับชายแดนไทยพม่า สภาพอากาศและดินมีแร่ธาตุที่เหมาะสม ทุเรียนทองผาภูมิจึงมีรสชาติดี หวาน มัน เป็นที่ต้องการของตลาด

ป้าหมูให้ข้อมูลว่า ปี 2544 เริ่มต้นซื้อกิ่งพันธุ์ทุเรียนหมอนทอง จำนวน 200 ต้น ราคา 60 บาท/ต้น แล้วนำไปปลูกในพื้นที่ของตนเองในหมู่บ้านปิล็อก โดยปลูกทุเรียนในระยะห่าง 8×8 เมตร ไม่มีการรองก้นหลุมก่อนปลูก เพราะสภาพดินค่อนข้างสมบูรณ์ และไม่เคยปลูกพืชชนิดใดมาก่อน หลังจากปลูกแล้วก็ไม่ได้ดูแล ใส่ปุ๋ย หรือฉีดพ่นฮอร์โมน ปล่อยให้ต้นทุเรียนเติบโตและติดผลโดยธรรมชาติ ทำให้ปริมาณผลผลิตทุเรียนไม่เยอะ

ต่อมาในปี 2557 ได้ลงทุนซื้อกิ่งพันธุ์ทุเรียนหมอนทองไปปลูกเพิ่มอีก 300 ต้นๆ ละ 90 บาท และซื้อกิ่งทุเรียนไปปลูกเพิ่มทุกปี ลงทุนระบบน้ำเพื่อใช้รดทุเรียน และให้พี่ชายช่วยดูแลใส่ปุ๋ย ฉีดพ่นฮอร์โมนทางใบ กำจัดวัชพืช และแบ่งรายได้กัน ซึ่งก็พบปัญหาต้นทุเรียนตายทุกปี เพราะทุเรียนถูกเชื้อราทำลายระบบราก มักพบต้นทุเรียนตายจากโรคไฟทอปเทอร่าทุกปี จึงต้องซื้อกิ่งพันธุ์ทุเรียนมาปลูกซ่อมตลอด

2.ระบบน้ำสปริงเกลอร์
2.ระบบน้ำสปริงเกลอร์

การบำรุงดูแลต้นทุเรียน

ปัจจุบันมีต้นทุเรียนประมาณ 1,000 ต้น แบ่งเป็น 3 รุ่น ต้นทุเรียนอายุมากที่สุด 20 ปี เหลือประมาณ 100 ต้น ต่อมาในปี 2561 จึงได้ตัดสินใจลาออกจากงานประจำมาดูแลสวนทุเรียนเองเต็มตัว และลงทุนซื้อแพ 75,000 บาท เพื่อใช้เป็นที่พักอาศัย เพราะเป็นพื้นที่ห่างไกล และที่สวนรถยนต์ไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ ใช้เรือเป็นพาหนะเดินทางเท่านั้น จะเข้าเดินทางมาในตัวอำเภอทองผาภูมิเฉพาะช่วงที่มาซื้อ ปุ๋ย ยา และของใช้ที่จำเป็น ส่วนอาหารจะไม่ค่อยได้ซื้อ เพราะมีปลาธรรมชาติจำนวนมาก และปลูกผักไว้ทานเอง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การปลูกทุเรียน ป้าหมูไม่มีประสบการณ์มาก่อน แต่อาศัยการศึกษาความรู้จากตำราต่างๆ และเข้ากลุ่มสมาชิกทุเรียนในเพจทางเฟสบุ๊คเพื่อนำปัญหาไปปรึกษาแลกเปลี่ยนข้อมูลกันในกลุ่ม และนำมาทดลองผิดถูกใช้กับสวนตนเอง ซึ่งการดูแลทุเรียนป้าหมูบอกว่าไม่ยาก แต่ต้องดูแลหมั่นสังเกตต้นทุเรียนอย่างสม่ำเสมอ ส่วนการรดน้ำต้นทุเรียนใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติจากอ่างเก็บน้ำผ่านท่อเมนหลักในสวนผ่านระบบสปริงเกลอร์แบ่งเป็นโซนๆละ 20-30 นาที วันเว้นวัน หรือ 2 วันครั้ง

3.ไนโตรพลัส ใช้ทดแทนปุ๋ยยูเรีย
3.ไนโตรพลัส ใช้ทดแทนปุ๋ยยูเรีย
ต้นทุเรียนหลังใช้ปุ๋ยอินทรีย์คลุกกับไนโตรพลัส ฟื้นฟูระบบราก แตกยอดได้ดี
ต้นทุเรียนหลังใช้ปุ๋ยอินทรีย์คลุกกับไนโตรพลัส ฟื้นฟูระบบราก แตกยอดได้ดี

การใส่ปุ๋ยต้นทุเรียน

การใส่ปุ๋ย สำหรับต้นทุเรียนเล็กก่อนให้ผลผลิตจะใส่ปุ๋ยทุกเดือน จากเดิมจะใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ผสมปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 1:3  ส่วน คลุกให้ทั่ว แล้วนำไปใส่บริเวณรอบโคนต้น สำหรับต้นทุเรียนอายุไม่เกิน 2 ปี จะใส่ปริมาณ 1 กำมือ ถ้าเป็นต้นทุเรียนใหญ่จะเพิ่มปริมาณปุ๋ยตามอัตราส่วนไปตามอายุของต้นทุเรียน แต่ด้วยปัญหาปุ๋ยเคมีราคาแพงขึ้น จึงมองหาการลดต้นทุนการซื้อปุ๋ยเคมี

จึงได้ทดลองใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ผสมแอคทีฟซิลิคอน ขนาด 25 กก./กระสอบ ผสมกับ ซุปเปอร์โวก้าโปรไนโตรพลัส ขนาด 100 กรัม ซึ่งมีส่วนประกอบของซิลิคอนชนิดเข้มข้น และจุลินทรีย์ที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาสู่ดินได้ ช่วยเพิ่มปริมาณไนโตรเจนในดิน ทั้งยังสามารถสร้างฮอร์โมนพืช ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของราก สามารถใช้ทดแทนการใช้ปุ๋ยยูเรีย

ต้นทุเรียนเจริญเติบโตได้ดี ใบเขียวสมบูรณ์ ทั้ง ลำต้น ใบ ราก เสริมสร้างความแข็งแรงให้ต้นทุเรียนได้ดี สามารถแก้ปัญหาและฟื้นฟูต้นทุเรียนที่เกิดจาก โรคยอดไม้กวาด หรือ โรคทุเรียนก้านธูป ซึ่งเกิดจากระบบรากฝอยทำงานไม่เต็มที่ เพราะสภาพดินมีปัญหา และมีการทำลายจากเพลี้ยไก่แจ้เป็นหลัก ส่วนทุเรียนกำลังให้ผลผลิต ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 ปริมาณ 3-5 กก./ต้น  และเสริมด้วยโบรอนและแคลเซียมฉีดพ่นทางใบ

4.ต้นทุเรียนเริ่มมีปัญหาใบเหลือง เนื่องจากเชื้อรา (ก่อนใช้)
4.ต้นทุเรียนเริ่มมีปัญหาใบเหลือง เนื่องจากเชื้อรา (ก่อนใช้)
คีโตรพลัส ฟื้นฟูรักษาโรคราในทุเรียน
คีโตรพลัส ฟื้นฟูรักษาโรคราในทุเรียน

ปัญหาและอุปสรรคในสวนทุเรียน

ปัญหาใหญ่ที่พบในสวนทุเรียน คือ เรื่องโรคเชื้อรา เป็นปัญหาใหญ่ของสวน เพราะพื้นที่สวนอยู่ในเขตที่มีมีปริมาณน้ำฝนมาก ทำให้เกิดปัญหาเรื่องโรคเชื้อราทำลายต้นทุเรียนได้ง่าย และเกิดได้กับต้นทุเรียนเล็กไปจนถึงต้นทุเรียนที่ให้ผลผลิตแล้ว ซึ่งได้หาวิธีแก้ปัญหามานาน แต่ไม่สามารถยื้อต้นทุเรียนที่ถูกทำลายด้วยโรคไฟทอปเทอร่าได้ ต้องตัดต้นทุเรียนทิ้งแล้วนำไปกำจัดนอกสวนทุกปี

เมื่อเดือนตุลาคม 2564 เริ่มมีต้นทุเรียนอายุ 20 ปี จำนวน 4 ต้น เริ่มใบเหลือง หล่น และเริ่มแห้ง ใส่ปุ๋ยและฉีดพ่นยาเชื้อราต่างๆ ก็ไม่ได้ผล ต้นทุเรียนเริ่มโทรมลงเรื่อยๆ จึงได้ทดลองใช้ปุ๋ยอินทรีย์ผสมแอคทีฟซิลิคอนผสมกับ ซุปเปอร์โวก้า คีโตรพลัส ขนาด 100 กรัม อัตราผสม ปุ๋ยอินทรีย์ 10 กก. แล้วนำไปหว่านรอบทรงพุ่มต้นทุเรียนที่มีปัญหา 5 กก./ต้น แล้วรดน้ำตาม ประมาณ 20 วัน ใบทุเรียนเริ่มแตกยอดใหม่ บางต้นออกดอกให้เห็น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปุ๋ยอินทรีย์ผสมแอคทีฟซิลิคอนที่มี OM สูงถึง 40% เป็นปุ๋ยอินทรีย์หมักจากอินทรียวัตถุคุณภาพสูง และสารเพิ่มผลผลิตซิลิคอนที่ได้จากธรรมชาติมีปริมาณสูงกว่า 5,000 ppm  อุดมไปด้วย ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และ ธาตุอาหารเสริม ครบ จำเป็นสำหรับพืช เช่น N, P ,K ,Si, Ca, Mg, S, Mn, Fe, Cu, Zn ,B ฯลฯ ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มธาตุอาหาร

ซิลิคอนจะถูกพืชดูดซึมเข้าไปสะสมที่ผนังเซลล์ของพืช ช่วยให้เซลล์พืชแข็งแรง เพิ่มความต้านทานโรคและแมลงได้ดี นำปุ๋ยอินทรีย์ผสมแอคทีฟซิลิคอนมาผสมร่วมกับ ซุปเปอร์โวก้าโปร คีโตรพลัส ขนาด 100 กรัม เป็น สารซิลิคอนเข้มข้น ช่วยปกป้องพืชจาก เชื้อรา และ แบคทีเรีย ซิลิคอนช่วยเสริมสร้างผนังเซลล์พืชให้แข็งแรง ป้องกันเชื้อรา แมลง และ ศัตรูพืชต่าง ๆ

5.การฉีดพ่นอาหารเสริมทางใบ
5.การฉีดพ่นอาหารเสริมทางใบ

คุณสมบัติของเชื้อคีโตเมียม

คีโตเมียม เป็นเชื้อราชั้นสูง ที่ไม่เป็นอันตรายต่อพืชและสัตว์ มีความสามารถในการสร้างสารปฏิชีวนะ (คีโตโกรโบซิน) เพื่อเข้าทำลาย เชื้อรา และ แบคทีเรีย ที่ก่อให้เกิดโรคพืชชนิดต่าง ๆ เช่น โรครากเน่าโคนเน่า จากไฟทอปเทอร่า โรคเหี่ยวจากเชื้อรา ฟูซาเรียม โรคโคนเน่าจาก เชื้อราพิเทียม หรือ สโครโลเดียม รวมทั้งโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคขอบใบแห้งในข้าว ฯลฯ โดยสารคีโตโกรโบซินจะทำให้เซลล์ของเชื้อราแตกตัว และตายไปในที่สุด

จุดเด่นของเชื้อคีโตเมียม คือ สามารถทำงานได้ดีในสภาพชื้นแฉะ ซึ่งเป็นช่วงที่เชื้อราโรคพืชระบาด แต่ก็เป็นสภาวะที่เชื้อคีโตเมียมสามารถเจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน ซึ่งเชื้อราคีโตเมียมสามารถทำงานได้ดีในดิน และมีชีวิตอยู่ในดินได้นาน หากได้รับอินทรียวัตถุที่เหมาะสม ซึ่งสารเคมีกำจัดเชื้อราส่วนใหญ่จะทำงานในดินได้ไม่ดี

และที่สำคัญเชื้อคีโตเมียมจะไม่เกิดการดื้อยา สารเคมีกำจัดเชื้อราส่วนใหญ่ หากเราใช้ไปสักพักจะต้องเปลี่ยนตัวยา เนื่องจากจะเกิดการดื้อยาขึ้น แต่คีโตเมียมสามารถสร้างสารกลุ่มคีโตโกรโบซินที่มีโครงสร้างทางเคมีแตกต่างกันมากกว่า 10 ชนิด เชื้อราโรคพืชจะไม่สามารถดื้อยาได้

หลักการทำงานของเชื้อคีโตเมียม จะอาศัยอาหารจากอินทรียวัตถุ ดังนั้้นการใส่เชื้อคีโตเมียมควบคู่กับปุ๋ยอินทรีย์แอคทีฟซิลิคอน ที่มีอินทรียวัตถุสูง 40% และมีค่า pH ที่เหมาะสมกับเชื้อราคีโตเมียม สามารถเสริมประสิทธิภาพของเชื้อได้เป็นอย่างดี สามารถใช้รักษาโรครากเน่าโคนเน่า ทั้งจาก เชื้่อรา และ แบคทีเรีย ในพืชผัก ผลไม้ หรือ ทุเรียน ได้ดี และฟื้นฟูต้นได้เร็ว นอกจากสามารถใส่ทางดินแล้ว ยังสามารถนำไปหมัก หรือใช้ฉีดพ่นทางใบ ลำต้น เพื่อรักษา เชื้อรา และ แบคทีเรีย ตาม ลำต้น ใบ และ ผล ได้ดียิ่งขึ้น ลดการใช้ยากำจัดเชื้อราได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.ทุเรียนกำลังให้ผลผลิต
6.ทุเรียนกำลังให้ผลผลิต

การเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียน

การเก็บผลผลิตจะมีแม่ค้าขาประจำมาติดต่อซื้อ “ทุเรียนในสวน จะสุกไม่พร้อมกัน มีหลายรุ่น ต้องตัดทุเรียนประมาณ 4-5 ครั้ง ถึงจะหมดสวน ถ้าความสุกอยู่ที่ระดับ 70 เปอร์เซ็นต์ ก็จะมีแม่ค้าเป็นเจ้าของล้งมาเหมาทั้งหมด เพราะแม่ค้ามาซื้อทุเรียนในโซนนี้อยู่แล้ว ถึงจะได้ราคาไม่สูงมาก แต่ก็ช่วยลดความเสี่ยงได้เยอะ เพราะเรายังไม่ได้ขายกับลูกค้าเองโดยตรง” ป้าหมูกล่าวถึงช่องทางการขายทุเรียน

ซึ่งการตัดทุเรียนแต่ละครั้งแม่ค้าจะมีแรงงานตัดและขนมาด้วยเป็นทีม ด้วยสภาพพื้นที่ปลูกทุเรียนเป็นเนินเขา จึงต้องทยอยนำผลทุเรียนที่ตัดแล้วลำเลียงมาใส่เรือขนส่งขนาดใหญ่ แล้ววิ่งเรือประมาณ 1 ชั่วโมง มาขึ้นเทียบท่าเรือปิล็อก เพื่อนำใส่รถบรรทุกต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณลักษณา ทิเอี่ยม โทร.085-075-8853

อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร ฉบับที่ 23