โรคผลเน่าแต้มดำ ในสละ พร้อมแนวทางการจัดการ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โรคผลเน่าแต้มดำในสละ Rhizoctonia black patch rot

1.ลักษณะของโรคผลเน่าแต้มดำในสละ
1.ลักษณะของโรคผลเน่าแต้มดำในสละ

ลักษณะของโรคผลเน่าแต้มดำในสละ

พบแผลแต้มสีดำ มีขนาดตั้งแต่แต้มสีดำเล็กๆ ไปจนถึงปื้นสีดำขนาดใหญ่ ไม่พบเส้นใยราบนผลชัดเจนเหมือนโรคเห็ดราบนผล เมื่อเปิดเปลือกที่เน่าเป็นแต้มดำออก จะพบเนื้อด้านในเน่าเป็นสีดำ สามารถเกิดได้ทุกส่วนของผลสละ ถ้าเกิดบริเวณขั้วจะทำให้ผลเน่าหลุดร่วงกองกับพื้น สร้างความเสียหายต่อผลผลิต 30-50% พบการระบาดมากในช่วงฤดูฝน ในช่วงสละอายุใกล้เก็บเกี่ยวได้ หรืออายุประมาณ 8-9 เดือน หลังผสมเกสร

ปรึกษาฟรี บริการตรวจโรคและสภาพดิน  081-689-4444

2.สาเหตุของโรคผลเน่าแต้มดำในสละ
2.สาเหตุของโรคผลเน่าแต้มดำในสละ

สาเหตุของโรคผลเน่าแต้มดำในสละ

เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Rhizoctonia solani Kuhn

ลักษณะของเส้นใย : เส้นใยเป็นสีขาวอมน้ำตาล

การแพร่กระจายในสภาพแวดล้อม : แพร่กระจายโดยการสร้าง Chamydospore และ Moniloid hyphae

มีโครงสร้างสเคลอโรเทียม (sclerotium) ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 0.2-0.4 มิลลิเมตร เพื่ออยู่ข้ามฤดู

โฆษณา
AP Chemical Thailand

Chamydospore คือ โครงสร้างที่เชื้อราสร้างขึ้นเพื่อการคงอยู่ มีความคงทนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป มีชีวิตอยู่ได้นานหลายปี เมื่อมีสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมก็จะมีการเจริญของเชื้อราขึ้นมาใหม่

เชื้อราสามารถทำให้เกิดลักษณะอาการเน่าของผล โดยเชื้อผลิตเอนไซม์มาย่อยองค์ประกอบของพืช เช่น pectin enzymes, cellutotytic enzymes และ proteolytic enzymes

นอกจากนี้ยังสามารถสร้างสารพิษ (toxin) ทำลายเนื้อเยื่อพืช (Parameter and Whitney, 1970)

เชื้อราไตรโดเดอร์มา จะงอกเส้นใยเข้าทำลายเม็ดสเคลอโรเทียมของเชื้อรา Rhizoctonia solani โดยการแทงผ่านเนื้อเยื่อแล้วย่อยสลาย หรือทำลายเม็ดสเคลอโรเทียมของเชื้อราสาเหตุโรค

เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะใช้เวลาประมาณ 5 – 6 สัปดาห์ ในการเข้าทำลายเส้นใยของเชื้อรา Rhizoctonia solani ที่เป็นเชื้อสาเหตุของโรคผลเน่าแต้มดำ โดยใช้การพันรัดเส้นใย และสร้างเอนไซม์มาย่อยสลายเส้นใยเชื้อโรคพืช (Elad et al, 1981) 

3.การจัดการโรคผลเน่าแต้มดำในสละ
3.การจัดการโรคผลเน่าแต้มดำในสละ

การจัดการโรคผลเน่าแต้มดำในสละ

กลไกในการต่อสู้กับเชื้อราสาเหตุโรค

โฆษณา
AP Chemical Thailand

1.การแข่งขันกับเชื้อโรคพืช : เจริญเติบโตรวดเร็วกว่าเชื้อโรค สามารถแย่งอาหารได้ดีกว่า

2.การเป็นปรสิตต่อเชื้อโรค : การงอกและพันรัดเส้นใยเข้าไปภายในเส้นใยของเชื้อราโรคพืช และมีการปล่อยน้ำย่อยออกมาเพื่อย่อยผนังเซลล์ของเชื้อราสาเหตุของโรคพืช ทำให้เส้นใยนั้นตาย

3.การสร้างสารปฏิชีวนะ : เชื้อราไตรโคเดอร์มาบางสายพันธุ์สามารถสร้างสารปฏิชีวนะเพื่อหยุดยั้ง หรือเข้าทำลายเส้นใยราโรคพืชได้

ใช้ผงเชื้อไตรโคเดอร์มาอัตรา 1 กก. ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้น และรอบๆ โคนต้นสละทุกๆ 30 วัน

โรคพืช เรื่องง่าย www.เกษตรอัจฉริยะ.com ปรึกษา โทร. 081-689-4444

คุณภาคภูมิ วัชรขจร ผู้เชี่ยวชาญปัญหาโรคที่เกิดขึ้นกับสวนทุเรียน 

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปรึกษาทางทีมวิจัยของ GIB และทางทีมวิจัยจึงลงพื้นที่ไปสำรวจหาสาเหตุของโรค Green Innovative Biotechnology Co., Ltd.