โรครากเน่าโคนเน่า วิธีป้องกันและกำจัดได้จริง – ฉบับ 3 ชาวสวนทุเรียนตะวันออก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โรครากเน่าโคนเน่า วิธีป้องกันและกำจัดได้จริง ฉบับ 3 ชาวสวนทุเรียนตะวันออก ไตรโคเดอร์ม่า

โดยจะมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

  1. โรครากเน่าโคนเน่า
  2. การดูแลรักษาต้นทุเรียน
  3. การป้องกันโรคระบาดในสวนทุเรียน
  4. โรครากเน่า
  5. โรคทุเรียน
  6. ไตรโคเดอร์ม่า
  7. เชื้อราไตรโคเดอร์มาราคา
  8. เชื้อราไตรโคเดอร์มาคือ อะไร
  9. โทร  087-977-1590 ปรึกษาฟรี! บอกว่าจาก พลังเกษตร.com

“ ทุเรียน ”ผลไม้ขึ้นชื่อ ราคาแพง..ดินและสภาพอากาศบนพื้นที่ของจันทบุรีเหมาะสมแก่การปลูกทุเรียนที่มีภูมิประเทศติดกับภูเขาและทะเลเพราะทุเรียนต้องอาศัยลมจากทะเลจึงทำให้ทุเรียนของที่นี่มีรสชาติอร่อย

แต่การทำสวนทุเรียนเมื่อเทียบอดีตกับปัจจุบันแตกต่างกันมาก ปัจจุบันสภาพอากาศแปรปรวนฤดูแล้งยาวนานขึ้นฝนทิ้งช่วงไม่ตกต้องตามฤดูกาลทำให้การทำสวนมีต้นทุนเพิ่มขึ้นแถมยังเสี่ยงต่อโรคและแมลงต่างๆมากขึ้นโดยเฉพาะโรคไฟทอปธอรา หรือ โรครากเน่าโคนเน่า

ที่เป็นปัญหาใหญ่ในการทำสวนทุเรียน เพราะหากเป็น โรครากเน่า โคนเน่า นี้ขึ้นมาแล้วก็ยากที่จะแก้ไขได้ ส่งผลทำให้ต้นทุเรียนที่มีมูลค่าหลายหมื่นบาท/ต้นต้องตายไปอย่างน่าเสียดาย

เกษตรกรคนที่ 1

คุณสาคร เหล่าวัฒนะบำรุง-เทคนิคป้องกัน โรครากเน่าโคนเน่า ในสวนทุเรียน พันธุ์ชะนี และ พันธุ์กระดุม

คุณสาคร เหล่าวัฒนะบำรุง เจ้าของสวนทุเรียนที่สืบทอดมาจากรุ่นพ่อ รุ่นแม่ บนพื้นที่สวนทุเรียนกว่า 60 ไร่ ณ ต.วังสรรพรส อ.ขลุง จ.จันทบุรี ที่เน้นปลูกหมอนทองมากกว่า 70 % ของพื้นที่ทั้งหมด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยมีพันธุ์อื่นผสมอีก 30% ทั้ง พันธุ์ชะนี และ พันธุ์กระดุม ที่กำลังได้รับความนิยมทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา อีกทั้งสวนทุเรียนคุณสาครมีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปจนถึงอายุ 25ปี ตลอดจนได้มีการปลูกทุเรียนเสริมทุกปีทดแทนต้นทุเรียนที่เสียหายไปบ้างหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต

1.คุณสาคร-เจ้าของสวนทุเรียน
1.คุณสาคร-เจ้าของสวนทุเรียน

ระบบน้ำและการดูแลรักษาต้นทุเรียน

คุณสาครเน้นการดูรักษาสวนทุเรียนแบบผสมผสาน คือ ใช้ทั้งอินทรีย์และเคมี เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยในเรื่องของสภาพดินในระยะยาว ดินไม่เสื่อมสภาพ ขณะที่ปุ๋ยเคมีช่วยเพิ่มคุณภาพให้กับผลผลิตได้ดี

โดยมี “ระบบน้ำ” แบบมินิสปริงเกลอร์วางให้ทั่วทั้งสวนและทุกต้นเพื่อให้ต้นทุเรียนได้รับน้ำอย่างเพียงพอตลอดทั้งปีทั้งจากแหล่งน้ำ ลำคลอง และจากน้ำใต้ดินที่ได้เจาะบ่อบาดาลเอาไว้ในแต่ละจุดของพื้นที่ จึงไม่มีปัญหาเรื่องขาดน้ำในช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมาเหมือนสวนอื่นๆ

 

2.การดูแลรักษาต้นทุเรียน
2.การดูแลรักษาต้นทุเรียน

คุณสาคร ย้ำว่าหัวใจในการทำทุเรียน คือ ปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพที่จำเป็นต้องใช้ตั้งแต่การเริ่มปลูกไปจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งในอดีตสวนทุเรียนแห่งนี้จะเน้นการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชมากกว่าการใช้ชีวภัณฑ์

โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนที่มีการสุ่มเสี่ยงต่อ “โรคไฟทอปธอร่า หรือ โรครากเน่าโคนเน่า ” ที่สร้างความเสียหายให้กับต้นทุเรียนเป็นอย่างมาก รักษาไม่หายจนต้นทุเรียนต้องตายลงไปจึงต้องปลูกซ่อมใหม่ทุกปีซึ่งต้องใช้เวลานาน 4 – 5  ปีกว่าจะสามารถให้ผลผลิตได้เป็นครั้งแรก

3.การป้องกันโรคระบาดในสวนทุเรียน
3.การป้องกันโรคระบาดในสวนทุเรียน

การป้องกันโรคระบาดในสวนทุเรียน

จนกระทั่งในปีที่ผ่านมาคุณสาครได้รู้จักกับ “พีค-โพลิเมอร์”  ผ่านการแนะนำของคุณมีชัย…….จาก “ร้านสามเกษตร”  ตั้งอยู่ที่ อ.ขลุง จ.จันทบุรี  จึงได้นำ“พีค – รูทเตอร์ + เชื้อ ไตรโคเดอร์ม่า เข้มข้น” มาทดลองใช้ในสวนทุเรียน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เพราะสามารถ หยุด!!  “ โรครากเน่าโคนเน่า ” ในทุเรียนได้จริงด้วยคุณสมบัติพิเศษในการช่วยปรับสภาพดิน (สารปรับปรุงดิน) และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ให้ทำงานได้ดีขึ้น คือ สามารถใช้คลุกเคล้าผสมกับเม็ดปุ๋ยได้โดยไม่ต้องใช้น้ำเป็นตัวช่วยให้ผสมติดกับเม็ดปุ๋ย  อีกทั้งยังช่วยลดการใช้ปุ๋ยลงได้ถึง 30-50%

โดยเน้นใส่ปุ๋ยทางดินหลังเก็บผลผลิตแล้วในอัตราการใช้ พีค โพลิเมอร์ 1,000 กรัมต่อปุ๋ย 50 กิโลกรัม ประมาณ 2-3 ครั้ง มีระยะห่างกันนาน 2 เดือน/ครั้ง หรือจะละลาย พีคโพลิเมอร์ ฉีดพ่นทางใบในช่วงที่มี โรครากเน่า ระบาด เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าทำลายต้นทุเรียนได้ดี

โดยเฉพาะหน้าฝนจะมีโรคเชื้อราอย่าง ไฟทอปธอร่า  เป็นโรคประจำในทุเรียนเลยก็ว่าได้ แต่การใช้ พีคโพลิเมอร์ ประมาณ 500 กรัมผสมกับเชื้อ ไตรโคเดอร์ม่า 100 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งทางใบและทางดินจะช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของกันและกันได้ดีขึ้น

ช่วยให้ผนังเซลล์ของพืชแข็งแรงขึ้นจึงป้องกันเชื้อ โรครากเน่า โคนเน่าและเชื้อราเข้าทำลายได้มากขึ้น ทำให้คุณสาครเปรียบเทียบได้ถึงต้นทุนการผลิตจากอดีตกับวันนี้ที่เลือกใช้ พีค โพลิเมอร์ จะมีต้นทุนการผลิตที่ลดลงจริง

ผลลัพธ์ที่ได้คือต้นทุเรียนมีสภาพดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทั้งใบใหญ่ขึ้น ใบหนาและใบเขียวเข้มขึ้น ต้นทุเรียนแข็งแรงขึ้นเห็นได้จากต้นทุเรียนสายพันธุ์กระดุมที่มักจะแทงช่อดอกยากกว่าสายพันธุ์ แต่เมื่อมีการใช้ปุ๋ยที่มีคุณภาพบวกกับพีคโพลิเมอร์จะช่วยให้ต้นทุเรียนสายพันธุ์นี้แทงช่อดอกง่ายขึ้น ออกดอกได้ในปริมาณที่มากขึ้นแม้ในสภาพอากาศจะแปรปรวน และยังช่วยทำให้ดินดีขึ้นและได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ

ช่วยแก้ปัญหา โรครากเน่า โคนเน่า รากดำและปัญหาพืชไม่กินปุ๋ยได้ดี ช่วยให้พืชแตกรากดี แตกรากมากขึ้นและแข็งแรงขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  คุณสาคร  เหล่าวัฒนะบำรุง หรือ ร้านสามเกษตร โทร  087-977-1590 ปรึกษาฟรี! บอกว่าจาก พลังเกษตร.com

เกษตรกรคนที่ 2

อ.ชัยวัฒน์ สวนทุเรียน พันธุ์หมอนทอง และ พวงมณี 

อ.ชัยวัฒน์ วงค์รักษ์ ครูเกษียณอายุราชการที่ผันตัวเองมาเป็นชาวสวนบนพื้นกว่า 10 ไร่ ที่ปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองกว่า 200 ต้น และมีพวงมณีไว้เพียงบางส่วนเท่านั้น

เดิมพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นสวนยางพารามาก่อนแต่ด้วยที่ราคาของยางพาราที่ตกต่ำจึงได้ตัดสินใจตัดต้นยางทิ้งและหันมาปลูกทุเรียนที่ราคาสูงกว่า แต่การจัดการของทุเรียนมีขั้นตอนมากกว่าพืชอื่น

ในช่วงแรกๆขณะที่อาจารย์ยังรับราชการอยู่ ไม่มีเวลาและไม่มีความรู้มากพอในเรื่องของการจัดการสวนทุเรียนก็ได้ให้น้องเขยเข้ามาช่วยดูแลสวนทุเรียนโดยแบ่งผลประโยชน์ตามที่ตกลงกันไว้

เมื่อมีเวลาก็จะแวะเข้ามาที่สวนเพื่อดูแลและศึกษาการทำสวนกับน้องเขยบ้างทั้งการใส่ปุ๋ยและการใช้สารเคมีป้องกันโรคและแมลง บ้างก็สอบถามกับร้านเคมีเกษตรบ้าง จากเซลล์ของบริษัทต่างๆบ้างเพื่อนำมาประยุกต์ให้กับสวนตนเองได้“

1.อ.ชัยวัฒน์-วงค์รักษ์-เจ้าของสวนทุเรียน
1.อ.ชัยวัฒน์-วงค์รักษ์-เจ้าของสวนทุเรียน 

วิธีสังเกตุอาการ โรครากเน่าโคนเน่า

ต่อมาเมื่ออาจารย์เกษียณอายุราชการแล้วก็ได้เข้ามาทำสวนทุเรียนอย่างเต็มตัว ช่วงแรกของอาจารย์เรียกได้ว่าเหมือนคนตาบอดเพราะไม่มีความรู้ในการทำสวนทุเรียนมาก่อนจึงต้องขอคำแนะนำจากน้องเขยเป็นหลัก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ซึ่งวันนี้ต้นทุเรียนสามารถเก็บเกี่ยวได้ทุกต้น มีอายุตั้งแต่ 10 กว่าปีขึ้นไปและกำลังเกิดปัญหา เป็นโรคไฟทอปธอรา โรครากเน่า ในทุเรียนทุกต้น เป็นทั้งสวนซึ่งจะเห็นว่าต้นทุเรียนเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซีด และใบร่วงเพราะเนื้อเยื่อถูกทำลายจนกระทั่งเปลือกกลายเป็นสีน้ำตาลเข้มและบางต้นก็มีน้ำไหลออกมา

2.การดูแลรักษาต้นทุเรียน
2.การดูแลรักษาต้นทุเรียน

ไตรโคเดอร์ม่า ช่วยรักษา โรคทุเรียน

แต่อาจารย์ก็ไม่ท้อได้สอบถามข้อมูลจากจากผู้มีประสบการณ์และได้มีเพื่อนแนะนำผลิตภัณฑ์ พีค รูทเตอร์ ให้ใช้เพื่อรักษาโรคไฟทอปธอรา จากเดิมที่เคยใช้ผสมกับ “ปุ๋ยตรารถลุย” เพื่อบำรุงต้น เพิ่มธาตุอาหารและปรับสภาพดินให้ดีขึ้น

ในอัตราการใช้ พีครูทเตอร์ 1,000 กรัม ผสมกับปุ๋ยตรารถลุย 1 กระสอบ จะหว่านได้ประมาณ 1-2 ไร่ จะช่วยให้พืชกินปุ๋ยได้อย่างช้าๆจนกระทั่งกินปุ๋ยหมด แต่การใช้ พีค รูทเตอร์ ผสมกับ ไตรโคเดอร์ม่า เข้มข้น

ฉีดพ่นทั้งทางดินและทางใบเพื่อรักษา โรคไฟทอปธอรา นี้จะเห็นว่าจากต้นทุเรียนที่โทรมและอ่อนแอจนมีน้ำไหลออกมาจะเริ่มหยุดไหล ต้นทุเรียนเริ่มสร้างเปลือกใหม่ขึ้นมาหุ้มลำต้นแทนเซลล์เดิมที่เสียหายไปและเริ่มแตกใบอ่อนให้เห็นจนกระทั่งต้นทุเรียนฟื้นจากโรคดังกล่าวได้ระดับหนึ่งแล้ว

3.การป้องกันโรคระบาดในสวนทุเรียน
3.การป้องกันโรคระบาดในสวนทุเรียน

หยุด โรครากเน่าโคนเน่า ภายใน 7-10 วัน

อ.ชัยวัฒน์ ต้องเฝ้าดูแลรักษาต้นทุเรียนให้หายเร็วที่สุดด้วยการใช้ พีค รูทเตอร์ 500 กรัม และไตรโคเดอร์ม่า 1 ซองผสมกับน้ำ 200 ลิตร ทิ้งไว้ประมาณ 20 – 30 นาที ก่อนจะฉีดพ่นให้ทั่วทั้งลำต้น กิ่งก้าน ใบ และราดบริเวณรอบโคนต้นในช่วงเช้าหรือเย็นทุกๆ 7-10 วัน

หากต้นไหนที่มีอาการหนักมากก็จะใช้วิธีการทาบริเวณลำต้นที่เกิดเป็นแผลด้วยพีค รูทเตอร์ 500 กรัม และไตรโคเดอร์ม่า 100 กรัม จะเห็นว่าไม่นานนักต้นทุเรียนจะเริ่มสร้างเนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมาทดแทนเนื้อเยื่อที่ตายไป

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แล้วยังป้องกันโรคโรคไฟทอปธอรา ได้อย่างถาวร อีกทั้งยังช่วยบำรุงต้นและให้ผลผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค สามารถควบคุมโรคพืชได้หลายชนิด ตลอดจนใช้ง่าย สะดวก และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อ.ชัยวัฒน์ วงค์รักษ์ โทร  087-977-1590 ปรึกษาฟรี! บอกว่าจาก พลังเกษตร.com

 

เกษตรกรคนที่ 3

คุณวันชัย สมานพรรค เจ้าของสวนทุเรียน และสวนไม้ผลแบบผสมผสาน ช่วยให้ทุเรียนรอดตายจากไฟทอปธอรา

ปัญหาหลักของการทำสวน “ทุเรียน” คือ  โรครากเน่า ระบาดที่เกิดจากเชื้อราอย่าง โรคไฟทอปธอรา ที่สร้างความเสียหายให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนเป็นอย่างมาก ในช่วงฤดูฝนหรือช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูง เมื่อเชื้อเข้าทำลายต้นทุเรียนแล้วจะทำให้มีน้ำสีน้ำตาลไหลออกมาก่อนที่ใบจะเริ่มร่วง ชะงักการเจริญเติบโต และยืนต้นตายในที่สุด

1.คุณวัณชัย-สมานพรรค-เจ้าของสวนทุเรียน
1.คุณวัณชัย-สมานพรรค-เจ้าของสวนทุเรียน

 

คุณวันชัย สมานพรรค เจ้าของสวนทุเรียนและผู้นำท้องถิ่นใน อ.เขาสมิง จ.ตราด ที่ยึดอาชีพการทำสวนไม้ผลแบบผสมผสานมากกว่า 40 ไร่ โดยเน้นการปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่มีอายุตั้งแต่ 5-15  ปีที่มีการปลูกกล้วยไข่ มังคุด เงาะ ลองกอง แซมไว้เพื่อสร้างรายได้

ก่อนที่คุณวันชัยจะประสบปัญหาโรคไฟทอปธอราเข้าทำลายต้นทุเรียนหมอนทองอายุ 15 ปีเกือบทั้งแปลงที่เกิดจากจากดูแลไม่ทั่วถึงจน

ทำให้ต้นทุเรียนเริ่มอ่อนแอลงไปหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้ว จนกระทั่งเชื้อโรคเข้าทำลายไปจนถึงเนื้อเยื่อชั้นในของต้นทุเรียนจนเสียหายไปมากกว่า 80 % จนต้องยืนต้นตายลงไปก็มี

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.การดูแลรักษาต้นทุเรียน
2.การดูแลรักษาต้นทุเรียน

รักษาต้นทุเรียนใกล้ตาย ให้กลับมีสภาพต้นสมบูรณ์

เมื่อความเสียหายทวีความรุนแรงขึ้นทำให้คุณวันชัยต้องแสวงหาหนทางในการแก้ไขเพื่อรักษาต้นทุเรียนให้รอดและหายจากโรคไฟทอปธอรา โรครากเน่า ให้ได้โดยการสอบถามถึงตัวยาและสารเคมีจำเป็นตามร้านเคมีเกษตรต่างๆ เรียกได้ว่าใครแนะนำอันไหนดีก็ใช้หมด

แต่ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควรจนเกิดความท้อเพราะหมดหนทางแก้ไข จนได้รู้จักกับ พีค โพลิเมอร์ ผ่านการแนะนำของตัวแทนจำหน่ายของบริษัทพีค อโกรเคมี 2 จำกัด จึงได้นำมาทดลองใช้ทั้งการผสมน้ำฉีดพ่นทางใบ ทางลำต้นและฉีดพ่นลงดินติดต่อกันนาน 4-5  ครั้ง

ภายในระยะเวลาประมาณ 15-20 วัน รวมไปถึงการใช้ พีคโพลิเมอร์ร่วมกับ ไตรโคเดอร์ม่า ผสมน้ำแบบเข้มข้นทาบริเวณลำต้นและกิ่งที่เสียหายที่มีน้ำไหลออกมา จะพบว่าต้นทุเรียนเริ่มดีขึ้น น้ำที่ไหลออกมาจากลำต้นก็หยุดไหล เริ่มสร้างเซลล์เนื้อเยื่อขึ้นมา มีการแตกใบอ่อนหลังจากที่ไม่มีใบให้เห็นเลยก่อนหน้านี้

ล่าสุดผลที่ได้จากการที่คุณวันชัยได้ใช้ พีคโพลิเมอร์ มาอย่างต่อเนื่องทำให้ต้นทุเรียนที่ทรุดโทรมอย่างหนักและใกล้ตายแล้วกลับมีสภาพต้นที่สมบูรณ์ขึ้นมาได้เกือบ 100 % แล้ว

จะเห็นได้จากลำต้นที่มีการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมาแทนส่วนที่เสียหายไป ต้นทุเรียนมีการแตกใบอ่อนได้อย่างสมบูรณ์อีกครั้งจนกระทั่งสามารถมีการให้ปุ๋ยและยาได้เหมือนกับต้นทุเรียนทั่วไปได้แล้วในวันนี้

3.การป้องกันโรคระบาดในสวนทุเรียน
3.การป้องกันโรคระบาดในสวนทุเรียน

สร้าง รายได้หลายหมื่นบาท ด้วย ต้นทุเรียนหนึ่งต้น

วันนี้คุณวันชัยจึงบอกได้คำเดียวว่า “ประทับใจใน พีคโพลิเมอร์” มากตั้งแต่เคยทำสวนทุเรียนมาเพราะครั้งนี้ต้นทุเรียนเป็นหนักจริงๆ แต่ผลิตภัณฑ์คุณภาพนี้สามารถแก้ปัญหาโรคไฟทอปธอราได้ ก็ถือว่าสุดยอดแล้ว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จากตอนแรกที่คิดว่าจะตัดต้นทุเรียนทิ้งทั้งสวนเสียแล้ว แต่สำหรับชาวสวน ต้นทุเรียนหนึ่งต้นอายุ 15 ปี คือ รายได้หลายหมื่นบาทเลยทีเดียว หากแก้ปัญหา และทำให้กลับมามีผลผลิตใหม่ นั่นคือกำไรของชาวสวนเกษตรกร อย่างแท้จริง คุณวันชัยยืนยันตอนท้าย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม นายวันชัย  สมานพรรค โทร  087-977-1590 ปรึกษาฟรี! บอกว่าจาก พลังเกษตร.com