นาบัว พืชทางเลือกและพืขเศรษฐกิจใหม่ปลูก 3 เดือน มีตลาดทั้งในและต่างประเทศ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

กระถางต้นไม้ P&U 336x280

บัวนับว่าเป็นพืชอีกหนึ่งชนิดที่มีความน่าสนใจไม่น้อย นับตั้งแต่ในอดีตก็มีการนำบัวมาใช้ในพิธีมงคลต่างๆ อย่างมากมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นพรรณพืชที่มีความเป็นมงคลในทางที่ดี ซึ่งการปลูกบัวนั้นส่วนใหญ่แล้วจะทำกันในช่วงหน้าฝน เพราะบัวเป็นพืชที่ชอบน้ำ และเติบโตได้ดีในน้ำ และที่สำคัญเลย นาข้าวก็เป็นแหล่งทดแทนทำ นาบัว ได้เป็นอย่างดี ด้วยสภาพพื้นที่ที่มีการปรับและบำรุงดินไว้เรียบร้อย ทำให้บัวนั้นสามารถเจริญเติบโตได้ดี และเป็นพืชที่ปลูกทดแทนหรือหมุนเวียนกับข้าวได้เลย

ถ้าพูดถึงนาบัว นาข้าวก็เป็นแหล่งที่สำคัญเพื่อไว้ใช้ในการปลูกบัวทดแทน เนื่องจากช่วงฤดูฝน นาข้าวของเกษตรกรหลายคนมักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับสภาวะน้ำท่วมขัง ทำให้นาข้าวหลายแห่งได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก เกษตรกรที่ปลูกข้าวหลายคนหันมาพึ่งการปลูกบัว หรือทำนาบัวทดแทนกันมากขึ้น เนื่องจากปริมาณในท้องตลาดนั้นเริ่มได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะว่าบัวนั้นสามารถนำมาใช้ได้หลากหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นพิธีมงคล นำมาประกอบอาหาร ฯลฯ นับว่าการปลูกบัวก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีไม่น้อยสำหรับเกษตรกรในยุคปัจจุบันเลยก็ว่าได้

1.บัวพืชเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทย
1.บัวพืชเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทย

การปลูกบัว 

ปัจจุบันนับได้ว่าบัวยังคงเป็นพืชที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก อีกทั้งนาบัว หรือบัวเอง ก็มีกระแสตอบรับที่ดี  รวมไปถึงถ้ามีแหล่งปลูกนาบัวขนาดใหญ่หรือมีพื้นที่กว้างพอสมควรก็อาจจะมีการเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวจากหลากหลายที่มาเที่ยวชมได้

ถือว่านาบัวไม่ได้เป็นแค่พืชเศรษฐกิจของประเทศ แต่เป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สามารถสร้างเม็ดเงินให้กับคนในพื้นที่ได้อย่างไม่ยากเลยทีเดียว ทั้งนี้การทำนาบัวนิยมทำหลังจากการปลูกข้าว ทำให้ นาบัวเกิดขึ้นมากเมื่อเทียบกับปัจจุบัน อีกทั้งสามารถปลูกแทนหมุนเวียนได้กับนาข้าวในช่วงน้ำท่วมได้ด้วย

ถ้าพูดถึงบัว เราจะนึกถึงดอกไม้ หรือพรรณไม้ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทางพุทธศาสนาของเมืองไทย  ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าชาวพุทธจะนิยมนำบัวมากราบไหว้บูชาในพิธีกรรมทางศาสนาเป็นอย่างมาก ซึ่งเมืองไทยนั้นถือว่าดอกบัวมีความสำคัญเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

นอกจากนี้ตลาดของดอกบัวยังคงเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง  เพราะดอกบัวนั้น  นอกจากจะนิยมนำมากราบไหว้บูชา สิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น อาหารจากก้านบัว นำมารับประทานคู่กับน้ำพริก ฯลฯ ซึ่งถือว่าบัวไม่ได้มีประโยชน์เพียงด้านเดียว แต่ยังมีประโยชน์อีกหลายด้านเลยทีเดียว ที่สำคัญยังเป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย และเหมาะกับการปลูกทดแทนในนาข้าวเป็นอย่างดีเลยทีเดียว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

บัวเองยังมีการนำมาปลูกประดับไว้ในบริเวณที่พักอาศัย หรือในอ่างน้ำพุต่างๆ ตามสวน โดยมีความเชื่อว่าบัวนั้นเป็นพรรณไม้มงคลจะช่วยให้ชีวิตมีความรุ่งเรือง และผลิตบานไปในทางที่ดี นับได้ว่าบัวนั้นเปรียบเสมือนราชินีแห่งพันธุ์ไม้น้ำเลยก็ว่าได้ ยิ่งอยู่ในน้ำที่มีปริมาณน้ำพอดีจะช่วยให้บัวนั้นสามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว นอกจากนี้การทำนาบัวส่วนใหญ่ก็จะมีผลพวงมาจากการทำนาข้าวที่ประสบปัญหาน้ำท่วม เกษตรกรหรือชาวนาเลยหันมาริเริ่มในการทำนาบัวกันมากขึ้น เพราะว่าไม่ต้องเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมแล้วผลผลิตทางการเกษตรนั้นเกิดความเสียหายได้ด้วย

2.การทำ นาบัว พืชที่สำคัญ และนำมากราบไหว้บูชาในพิธีกรรมทางศาสนา
2.การทำ นาบัว พืชที่สำคัญ และนำมากราบไหว้บูชาในพิธีกรรมทางศาสนา

ลักษณะทั่วไปของบัว

โดยหลักการทั่วไปนั้นบัวมีการแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ตามหลักของนักพฤกษศาสตร์ที่ได้กล่าวไว้ ซึ่งทั้ง 3 ชนิดนี้จะเป็นสกุลบัวที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาบัวทั้งหมด คือ สกุลเนลุมโบ หรือบัวปทุมชาติ, สกุลนิมเฟียร์ หรืออุบลชาติ และ สกุลวิกตอเรีย หรือบัววิกตอเรีย

ซึ่งทั้ง 3 สกุลนี้มีการจำแนกและแยกออกไปได้หลากหลายชนิดของบัว ซึ่งในไทยเองก็มีเช่นกัน ซึ่งก็ได้มีการปลูกบัวเป็นการค้าถึง 6 ชนิดด้วยกัน

  • บัวหลวง บัวหลวงนั้นจะอยู่ในสกุลปทุมชาติ ซึ่งบัวจะมีลักษณะใบชูเหนือน้ำ และเจริญเติบโตได้ดีโดยอาศัยการ

ไหลชอนไชไปใต้พื้นดิน ซึ่งพันธุ์ของบัวหลวงที่ได้รับความนิยมในการปลูกนั้นจะได้แก่ พันธุ์ฉัตรขาว ฉัตรแก้ว และฉัตรแดง เป็นต้น

  • บัวฝรั่ง อยู่ในสกุลปทุมชาติ บัวฝรั่งจะมีลักษณะคล้ายกับบัวหลวง การเติบโตนั้นจะสร้างรากหรือเหง้าลงในดิน
  • บัวผัน หรือ บัวเผื่อน บัวชนิดนี้จะอยู่ในสกุลอุบลชาติ ถ้าเป็นต้นที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์ก็จะมีการงอกลงตามแนวดิ่ง

และลงสู่พื้นดิน และจะเริ่มแตกก้านบนผิวดิน ส่วนดอกนั้นจะชูพ้นน้ำ บัวพันธุ์นี้จะบานในช่วงเช้า หรือช่วงกลางวัน และพอตกเย็นก็จะหุบ ซึ่งเป็นพันธุ์บัวที่มีการขยายพันธุ์ได้ค่อนข้างช้าเลยทีเดียว

  • บัวสาย บัวชนิดนี้อยู่ในสกุลอุบลชาติ เช่นเดียวกับบัวผัน มีลักษณะหัวกลมๆ สายของบัวจะมีขนาดประมาณปลาย

นิ้วก้อย ชอบบานในเวลากลางคืน และจะหุบดอกในช่วงเวลาเช้า

โฆษณา
AP Chemical Thailand
  • จงกลนี สกุลอุบลชาติ มีเหง้าที่สามารถเติบโตได้ในแนวดิ่ง เมื่อเหง้าเริ่มแก่จะมีการสร้างหัวเล็กๆ เกิดขึ้น เมื่อหัวแก่

ได้ที่จะมีการสร้างการเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่คู่กับต้นหลักได้ทันที

  • บัวกระด้ง หรือบัววิกตกเรีย เป็นบัวที่มีลักษณะใบขนาดใหญ่ และกลม คล้ายกับกระด้ง ที่สำคัญบัวชนิดนี้เมื่อนำ

แผ่นหรือวัตถุไปรอง จะสามารถรับน้ำหนักสิ่งของ หรือคน ได้ประมาณ 1 คน เลยทีเดียว แต่อาจจะลอยไปได้ไม่ไกลนัก

3.แปลงนาบัวตูมและบัวบาน
3.แปลงนาบัวตูมและบัวบาน

สภาพพื้นที่ปลูกบัว

การเริ่มจะทำนาบัวนั้น สิ่งที่สำคัญสำหรับการทำนาบัวเลย คือ ดิน พื้นที่บริเวณที่ปลูกนั้นดินจะต้องมีธาตุอาหารที่สมบูรณ์มากที่สุด ก่อนจะเริ่มทำนาบัวนั้นควรจะมีการไถพรวนแปลงนาให้เรียบร้อยเสียก่อน พอไถพรวนแปลงนาแล้วก็ต้องตากดินไว้ด้วย

นอกจากนี้ควรจะมีการผสมปุ๋ยเพื่อลงไปในดิน เพื่อเป็นการปรับปรุงดินและเพิ่มธาตุอาหารในดินได้ และที่สำคัญเลยนั้นจะต้องมีการตรวจสภาพดินเพื่อไม่ให้ดินนั้นมีค่าความเป็นกรด หรือด่างเกินไป ควรจะอยู่ในค่าความเป็นกลางมากที่สุด เพียงเท่านี้ก็สามารถที่จะทำนาบัวได้แล้ว เมื่อตรวจสอบคุณภาพดินเรียบร้อยก็สามารถปล่อยน้ำเข้ามาในแปลงนาได้ทันที

ปกติแล้วการปลูกบัวหรือจะทำนาบัวนั้นจะทำในช่วงที่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอ เพราะว่าเป็นช่วงที่สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำเข้าแปลงบัวได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญทำให้ประหยัดน้ำได้ด้วย แต่ฤดูที่เหมาะสมกับการปลูกบัวนั้นจริงๆ แล้วอาจจะไม่ได้อยู่ในช่วงหน้าฝน แต่ควรจะเริ่มปลูกในช่วงปลายฤดูหนาว และจะเข้าสู่ต้นฤดูร้อน หรือในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม เป็นช่วงที่เหมาะสมกับการปลูกบัวมากที่สุด เพราะว่าเป็นช่วงที่เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวไปแล้วนั่นเอง

ขั้นตอนในการเริ่มทำ นาบัว

ก่อนที่จะเริ่มทำนาบัว เราจะต้องมาทำความรู้จักเกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆในการเริ่มทำนาบัวเสียก่อนว่ากว่าจะเริ่มทำนาบัวได้นั้นเราจะต้องรู้ในเรื่องอะไรบ้าง รวมไปถึงด้านการตลาดของบัวเอง ก็เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญสำหรับเกษตรกร เพราะว่าถ้าเราปลูกหรือทำนาบัวแล้ว การตลาดหรือเชิงพาณิชย์เราจะเริ่มต้นหรือส่งขายได้ที่ไหน เรามาเรียนรู้ไปพร้อมกันดีกว่า

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เรื่องของดินนั้นถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญกับพืชทุกชนิด เพราะว่าถ้าดินมีคุณภาพที่ดี การเพาะปลูกหรือการทำพืชใดๆ ก็พลอยจะได้ผลดีและมีคุณภาพไปด้วย ซึ่งพื้นที่สำหรับทำนาบัวนั้นควรจะเป็นพื้นที่ที่มีความสม่ำเสมอกัน ไม่ควรเป็นพื้นที่ลุ่มๆ หรือดอนๆ ที่ไม่สม่ำเสมอกัน หรือพื้นที่ที่มีจอมปลวก ก็ไม่เหมาะกับการทำนาบัวเช่นกัน ควรจะเป็นพื้นที่ที่ดินมีความสมบูรณ์มากที่สุด

เตรียมพื้นที่ เตรียมดิน

ถ้าพื้นที่นั้นมีความสมบูรณ์ของดิน แต่พื้นดินนั้นไม่สม่ำเสมอกัน ก็อาจจะใช้รถไถมาช่วยในการปรับสภาพดินก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้การที่ดินมีพื้นที่ในระดับเดียวกันจะง่ายต่อการให้น้ำและบำรุงรักษาดิน  ที่สำคัญพื้นที่นาเดิมซึ่งจะทำนาบัวนั้นควรจะเป็นพื้นที่ที่ใกล้กับแหล่งน้ำ เช่น ห้วย หนอง บึง หรือสระขนาดใหญ่ที่สามารถเก็บน้ำได้ เป็นต้น

ในการทำนาบัวนั้นพื้นดินที่ดีและเหมาะสมควรจะมีความสม่ำเสมอกัน อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ ดินก็อาจจะเป็นดินเหนียวก็ได้ ซึ่งการเตรียมพื้นที่สำหรับทำนาบัวนั้นจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับการทำนาดำ โดยจะเริ่มจากเอาน้ำออกจากแปลงนาเดิมให้หมด จนพื้นดินในแปลงนานั้นแห้ง

หลังจากนั้นให้ทำการยกคันดินขึ้น เพื่อเป็นการคั้นน้ำออก โดยยกคันดินสูงขึ้นประมาณ 1.5-2 เมตร โดยพื้นที่ที่เหมาะสมกับการทำนาบัวนั้นควรมีพื้นที่อย่างน้อย 5 ไร่ขึ้นไป หรืออาจจะมีถึง 50 ไร่ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการทำนาบัวของแต่ละคน หรือถ้าคิดจะทำเป็นแปลงใหญ่ก็อาจจะต้องมีพื้นที่ประมาณ 60-100 ไร่ ก็ได้เช่นกัน

เมื่อเราเตรียมพื้นที่ทั้งหมดแล้ว ก็ให้ทำการเก็บเศษวัสดุและกำจัดวัชพืชออกให้หมด เพื่อเป็นการป้องกันวัชพืชที่จะแย่งอาหารตอนเริ่มปลูกบัว จากนั้นให้ทำการปรับพื้นที่หน้าดินทั้งหมดให้เรียบโดยการไถดะ และโรยด้วยปูนขาวเพื่อเป็นการปรับสภาพดิน จากนั้นก็ตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน แล้วจึงไถแปรอีกครั้ง และทำการเติมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปด้วย โดยใช้ปุ๋ยประมาณ 200 กิโลกรัม ต่อไร่

จากนั้นค่อยทำการระบายน้ำเข้าให้สูงจากพื้นดินประมาณ 15-30 เซนติเมตร แต่อย่าเพิ่งเอาบัวลงปลูก ให้ทำการทิ้งไว้ประมาณ 3-5 วัน เพื่อให้ดินนั้นเริ่มนิ่มก่อน แล้วค่อยปักดำบัวลงไป ซึ่งการปักบัวนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะปักอย่างไรก็ได้ ควรเว้นระยะห่างในการปักบัวด้วย โดยระยะที่เหมาะสมนั้นอาจจะเป็นระยะห่างประมาณ 2×2 เมตร หรือ 3×3 เมตร ในพื้นที่ประมาณ 1 ไร่นั้นจะสามารถใช้บัวปลูกได้ประมาณ 400 หน่อ (หรือเรียกว่าไหลก็ได้เช่นกัน)

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.บัวหลวง สายพันธุ์ยอดนิยมของไทยที่มีการปลูกกันอย่างมาก
4.บัวหลวง สายพันธุ์ยอดนิยมของไทยที่มีการปลูกกันอย่างมาก

สายพันธุ์บัว

โดยปกติแล้วการทำนาบัวนั้นจะนิยมนำพันธุ์บัวที่มีลักษณะโดดเด่นมาทำ ซึ่งบัวที่ใช้และเหมาะกับการทำนาบัวนั้นส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพวกบัวหลวงที่ออกดอกเป็นกลีบสีชมพู ส่วนพันธุ์ดอกสีขาวนั้นจะไม่เป็นที่นิยมมากนัก นอกจากนี้พันธุ์บัวโดยทั่วไปแล้วจะมีการแบ่งหน้าฝักออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดหน้านูนกับหน้าตัด ซึ่งทั้ง 2 ลักษณะนี้ก็จะให้ผลผลิตที่แตกต่างกัน

โดยพันธุ์หน้านูนจะออกผลผลิตได้ดีกว่า แต่ว่าการที่จะคัดเลือกพันธุ์เพื่อนำไปปลูกนั้นทำได้ค่อนข้างยาก ส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรที่จะทำการปลูกนั้นจะมีทั้ง 2 สายพันธุ์ ในการผสมหรือปลูกรวมกันอยู่ เพราะการคัดเลือกสายพันธุ์ใดพันธุ์หนึ่งมาปลูกเลยนั้นจะค่อนข้างหายากมากที่จะแปลงพันธุ์เดี่ยวล้วนๆ

สำหรับพันธุ์บัวที่จะใช้ส่วนใหญ่จะขยายพันธุ์โดยวิธีการใช้ไพล ซึ่งการใช้ไพลที่ว่านี้จะมีการทำพันธุ์ไว้ประมาณ 2-3 ข้อด้วยกัน โดยเกษตรกรที่ทำการขุดไพลของบัวขึ้นมานั้นจะขุดขึ้นมาเพื่อทำการจำหน่าย โดยมัดไพลบัวไว้รวมกัน และให้มีตาที่สามารถเจริญเติบโตได้ โดยจะเติบโตเป็นต้นบัวนั้นจะมีประมาณ 3 ตา แต่เกษตรกรจะเรียกว่า 3 ทาง ซึ่งสามารถใช้ปักดำได้ประมาณ 1 จับ นั่นเอง

หลังจากที่มีการเตรียมดินและเอาน้ำเข้าแปลงนาบัวเรียบร้อยแล้ว พอผ่านมาครบ 3-5 วัน ดินก็จะมีการปรับสภาพที่อ่อนตัวลง เกษตรกรก็สามารถที่จะใช้ไม้หรือต้นพงปักลงในระยะที่เหมาะสม อีกทั้งยังเป็นการสังเกตการปลูกบัวไปด้วย โดยปกติแล้วระยะที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นระยะ 3×3 เมตร ซึ่งระยะดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่จะสามารถทำได้ในสภาพดินที่เป็นปกติดี แต่ถ้าดินมีสภาพไม่ค่อยดีมากนักอาจจะลดระยะเหลือแค่ 2×2 เมตร ก็ได้

5.นาบัวกับท้องทุ่งนาุถือเป็นสิ่งคู่กัน
5. นาบัว กับท้องทุ่งนาุถือเป็นสิ่งคู่กัน

วิธีการปักดำ

นอกจากนี้วิธีการปักดำนั้นก็สามารถทำได้ถึง 2 วิธีด้วยกัน คือ การปักดำโดยใช้ไม้คีบ กับการปักดำโดยใช้ดินหมก

1.การปักดำโดยใช้ไม้คีบ คือ การใช้ไม้ไผ่เหลาให้ดอกกว่าดอกบัวนิดหน่อย โดยมีความยาวประมาณ 1 ฟุต และค่อยๆคีบไพลบัวลงปักดำเป็นระยะๆ ที่สำคัญควรให้ไพลบัวนั้นอยู่ติดกับผิวดิน แต่การปักดำโดยใช้ไม้คีบนี้จะเป็นวิธีที่สามารถทำได้โดยกรณีที่มีน้ำไหลมากกว่า เพราะเป็นการป้องกันไพลบัวหลุดลอยไปด้วยนั่นเอง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

2.การปักดำโดยใช้ดินหมก วิธีนี้สามารถทำได้โดยการเริ่มจากคุ้ยดินให้เป็นหลุมก่อน โดยควรจะมีความลึกประมาณ 2-3 นิ้ว และค่อยๆ วางเบาๆ ลงในหลุม แล้วใช้ดินกลบไพลบัวตามหลัง โดยการกลบดินนั้นควรจะเว้นตรงตาไว้ ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ที่ทำ นาบัว นั้นจะใช้วิธียกคันดินเป็นวิธีปลูก และใช้วิธีนี้เป็นหลัก โดยการใช้วิธีนี้จะคำนวณจากเนื้อที่ 1 ไร่ จะใช้ไพลบัวประมาณ 200-300 จับ นั่นเอง

6.นาบัวแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และสะท้อนวัฒนธรรมท้องถิ่น
6. นาบัว แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และสะท้อนวัฒนธรรมท้องถิ่น

การบำรุงดูแลต้นบัว

สำหรับการทำ นาบัว นั้นก็จะมีวิธีการดูแลที่ไม่แตกต่างกับพืชอื่นๆ มากนัก เพียงแต่ นาบัว เป็นพืชที่อยู่ในน้ำ การให้น้ำ ให้ปุ๋ย อาจจะมีข้อแตกต่างกับพืชบนบกแบบทั่วไปเสียหน่อย

การให้น้ำใน นาบัว นั้นเมื่อเราเริ่มปลูกไปได้ประมาณ 1 เดือนแรก เกษตรกรควรที่จะรักษาระดับน้ำให้มีการขังอยู่ในแปลงประมาณ 1 ฟุต หรือ 30 เซนติเมตร ที่ให้ทำแบบนี้เพราะว่าเป็นการป้องกันหญ้าหรือวัชพืชที่จะขึ้นมาในแปลง นาบัว และบัวเองก็จะสามารถที่จะเติบโตขึ้นมาพ้นน้ำเพื่อรับแสงสว่างได้เร็วด้วย พอเตรียมการเสร็จเรียบร้อยจึงค่อยปล่อยน้ำเข้ามาในแปลงอีกรอบ

และหลังจากที่ปล่อยน้ำเข้ามาในแปลงอีกครั้งนั้น ควรให้ระดับน้ำรอบ 2 อยู่ประมาณ 50 เซนติเมตร และมีความลึกไม่เกิน 100 เซนติเมตร ถ้าลึกมากกว่านี้อาจจะทำให้บัวนั้นเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ เพราะว่าระดับน้ำที่มีความลึกไม่เกิน 100 เซนติเมตรนั้น เป็นระดับที่บัวสามารถรับอุณหภูมิของน้ำได้อย่างพอดี จึงเป็นระดับที่ทำให้บัวนั้นสามารถออกดอกได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งถ้าระดับน้ำสูงกว่านี้บัวที่กำลังจะงอกใหม่อาจตายได้ เพราะงอกไม่พ้นผิวน้ำได้ทันนั่นเอง

การให้ปุ๋ย สังเกตว่าเมื่อบัวเริ่มตั้งตัวได้ และมีการแตกใบใหม่เกิดขึ้น ก็จะสามารถเริ่มใส่ปุ๋ยได้ โดยปุ๋ยที่ใส่ควรเป็นสูตร 16-20-0 หรือจะเป็นสูตร 15-15-15 โดยการใส่นั้นจะใส่ประมาณไร่ละ 50 กิโลกรัม โดยวิธีใส่ก็ให้ทำการหว่านไปทั่วๆ แปลง แต่ในกรณีที่ปลูกอยู่ในคูหรือลำคลองที่มีการถ่ายเทน้ำตลอดเวลา หรือบ่อที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำไม่ได้ ก็อาจจะเปลี่ยนเป็นการใส่ปุ๋ยลูกกลอนแทน โดยเป็นปุ๋ยที่เป็นเคมีสูตร 16-20-0 โดยใส่ประมาณ 1 ช้อนชา  วิธีการใส่นั้นก็ให้ใส่ไว้ในดินเหนียว โดยปั้นดินเหนียวหุ้มไว้เป็นก้อนแล้วนำไปตากลมให้แห้ง เมื่อต้องการที่จะใส่ปุ๋ยก็ให้ฝังดินเหนียวที่มีการผสมปุ๋ยอยู่ภายในลงไปที่โคนต้น โดยใส่ต้นละประมาณ 2 ลูก ก็จะช่วยให้บัวได้รับธาตุอาหารจากปุ๋ยได้เช่นกัน

แมลงศัตรูพืชของบัว

แม้บัวจะเป็นพืชที่ปลูกอยู่ในน้ำ แต่สำหรับศัตรูพืชของบัวนั้นก็มีเช่นกัน โดยส่วนใหญ่แล้วศัตรูของบัวเลย ก็คือ  หนอนกินใบ ที่เกิดจากผีเสื้อกลางคืน ซึ่งหนอนกินใบนั้นจะเข้าทำลายใบบัวจนทำให้ใบนั้นฉีกขาดได้ อีกหนึ่งชนิด ก็คือ เพลี้ยจักจั่น โดยเพลี้ยจักจั่นนั้นจะเข้ามาดูดน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนของบัว ทำให้เกิดใบหงิกงอลง แต่ในบางกรณีอาจจะทำให้บัวนั้นไม่สามารถโผล่มาพ้นน้ำได้ ทำให้ตัวดอกนั้นเกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยวิธีป้องกันส่วนใหญ่นั้น เกษตรกรจะใช้วิธีฉีดสารเคมีป้องกัน โดยอาจจะเป็นยาเซฟวิน 35% หรือยามาลาไธออน โดยทำการฉีดทุกๆ 15 วัน หรืออย่างน้อยประมาณเดือนละ 1 ครั้ง และควรมีแสงตะเกียงเพื่อไว้ใช้ในการล่อแมลงด้วยก็จะเป็นทางดีอีกทาง โดยอาจจะมีการเลี้ยงปลา และติดตั้งตะเกียงช่วยก็ได้เช่นกัน

7.การเก็บเกี่ยวผลผลิตบัวตูม
7.การเก็บเกี่ยวผลผลิตบัวตูม

การเก็บเกี่ยวผลผลิตดอกบัว

โดยปกติแล้วระยะเวลาในการออกดอกของบัวนั้นจะอยู่ที่ 3 เดือน หลังจากเริ่มปลูก วิธีการเก็บดอกนั้นทั่วไปแล้วจะเก็บแบบวันเว้นวัน แต่ถ้าเป็นช่วงหน้าหนาวอาจจะมีการเก็บดอกแบบวัน และเว้นไป 2 วัน ซึ่งการเก็บดอกนั้นจะเก็บดอกบัวในลักษณะที่ดอกบัวเป็นบัวตูม

โดยการเก็บดอกจะตัดก้านดอกให้อยู่ที่ความยาวประมาณ 40-50 เซนติเมตร จากนั้นเมื่อตัดได้ที่แล้วก็ให้นำมาคัดขนาดแล้วนำมาจัดเป็นกำ ซึ่งการจัดเป็นกำนั้นจะมีการแบ่งออกเป็นกำละ 10 ดอก โดยต้องจัดให้เห็นดอกด้วยทั้งหมด หลังจากนั้นค่อยห่อด้วยใบบัวเป็นการเก็บเรียบร้อย

ในส่วนของการเก็บฝัก

ในส่วนของการเก็บฝัก เมื่อเราเริ่มปลูกบัวได้ประมาณ 3-4 เดือนแล้ว ถึงจะเริ่มเก็บฝักได้ ซึ่งเราจะรู้ได้อย่างไรว่าฝักไหนแก่หรืออ่อน เราสามารถสังเกตได้จากฝักปลายเมล็ด ถ้าเมล็ดเป็นสีเทาก็แสดงว่าฝักเริ่มแก่ ก็สามารถเริ่มเก็บฝักได้ทันที สามารถเก็บฝักได้ 7-10 วัน โดยประมาณ และปกตินั้นบัวสามารถให้ผลผลิตได้นานถึง 4 เดือน

หลังจากนั้นก็จะเริ่มโทรมลงตามกาลเวลา สำหรับการเก็บฝักบัวนั้นควรใช้เรือพายหรือเรือถ่อเข้าไปในแปลงบัว แล้วใช้ไม้ทำการสอยฝักบัวใส่เรือ ซึ่งความยาวของบัวนั้นจะประมาณ 3 วา ได้ พอเก็บฝักได้จนเต็มแล้วก็ให้นำขึ้นมาพักไว้ด้านบนแปลงเพื่อที่จะรอการจัดเตรียมและจำหน่ายต่อไป

8.ฝักบัว ผลผลิตที่มาพร้อมกับบัว ของทานเล่นที่สามารถทานได้ไม่รู้เบื่อ
8.ฝักบัว ผลผลิตที่มาพร้อมกับบัว ของทานเล่นที่สามารถทานได้ไม่รู้เบื่อ

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายดอกและเมล็ดบัว ทั้งในและต่างประเทศ

ด้านการตลาดของดอกบัวนั้น โดยปกติแล้วประเทศไทยมีความต้องการดอกบัวในท้องตลาดอยู่พอสมควร ทำให้เกษตรหลายคนเริ่มหันมาปลูกบัวกันมากขึ้น เพราะสร้างรายได้พอสมควร อีกทั้งตลาดดอกบัวเองก็เป็นตลาดที่ยังไม่มีท่าทีจะลดลงเลย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยแหล่งตลาดของบัวนั้น หลักๆ เลยอยู่ที่ปากคลองตลาด และตลาดที่มีการจำหน่ายดอกไม้ในทุกจังหวัด โดยราคาในแต่ละปีนั้นอาจจะมีการแตกต่างกันออกไปตามผลผลิตที่ได้ในแต่ละปี และแต่ละช่วงเองก็มีราคาไม่เท่ากัน ด้วยคุณภาพและผลผลิตที่ได้ แต่ดอกบัวจะขายได้ราคาดีในช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่ราคาของดอกบัวมีราคาค่อนข้างสูง

อีกทั้งช่วงเทศกาลงานบุญต่างๆ ก็ทำให้ดอกบัวเป็นที่ต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน และในช่วงของเดือนเมษายน-ตุลาคม เป็นช่วงที่ราคาของดอกบัวนั้นไม่สูงมากนัก และยังมีการส่งออกดอกบัวไปยังตลาดต่างประเทศด้วยเช่นกัน โดยแหล่งรับซื้อในต่างประเทศที่สำคัญนั้น ได้แก่ ออสเตรีย เยอรมนี สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งในแต่ละครั้งที่ส่งออกนั้นสามารถสร้างมูลค่าได้พอสมควร แต่การส่งออกในแต่ละครั้งจะต้องได้รับการรับรองจากมาตรฐานความปลอดภัยด้านยาฆ่าแมลงด้วย จึงจะส่งออกได้

นอกจากดอกบัวแล้ว เมล็ดบัวเองก็เป็นที่ได้รับความสนใจไม่น้อยเช่นกัน เพราะว่าเมล็ดบัวที่แห้งนั้นไม่สามารถกระเทาะเปลือกได้ ทำให้สามารถเก็บไว้ได้นาน จึงทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก และแหล่งตลาดที่มีความสำคัญของเมล็ดจะอยู่ที่ตลาดคลองเตย และตลาดทรงวาด เป็นแหล่งตลาดเมล็ดบัวที่สำคัญของไทยเลยก็ว่าได้ และยังได้รับความสนใจในตลาดต่างประเทศด้วยเช่นกัน โดยมีมูลค่าการส่งออกนั้นนับ 1 ล้านบาท เลยทีเดียว ซึ่งตลาดที่สำคัญในต่างประเทศเลย คือ เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์

9.แปลงนาบัวกับศาลากลางน้ำ ถือเป็นภาพที่คู่กันมาตั้งแต่โบราณ
9.แปลง นาบัว กับศาลากลางน้ำ ถือเป็นภาพที่คู่กันมาตั้งแต่โบราณ

ฝากถึงเกษตรกรที่สนใจปลูกบัว

นับว่าการทำนาบัวนั้นเป็นพืชเศรษฐกิจอีกหนึ่งอย่างที่เกษตรกรสามารถหันมาปลูกเป็นพืชทางเลือก หรือใครจะเปลี่ยนมาทำเป็นอาชีพหลักก็ได้ ทั้งนี้การปลูกบัวหรือทำนาบัวนั้นสามารถปลูกได้ง่าย และสามารถเปลี่ยนจากการทำนามาเป็นนาบัวได้เช่นกัน ซึ่งชาวนาส่วนใหญ่มีการหันมาปลูกนาบัวกันมากขึ้น

ทั้งนี้ถ้าใครทำนาบัวที่มีจำนวนแปลงที่มาก อาจจะได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว รวมไปถึงสามารถเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้อีกทางด้วย ถือว่าเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจไม่น้อย นอกจากจะสร้างอาชีพแล้ว ยังสามารถสร้างการท่องเที่ยวและการตลาดเชิงการค้าได้ดีเลยทีเดียว นับว่าการทำนาบัวเป็นเรื่องราวที่เกษตรกรหลายคนไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่งเลยทีเดียว

ถึงแม้ว่าการปลูกข้าวจะเป็นเรื่องสำคัญของเกษตรกรหรือชาวนาส่วนใหญ่ แต่ถ้าสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงก็ควรที่จะหันมองกลับมาเปลี่ยนวิถีเกษตรใหม่ๆ ดู การทำ นาบัว ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มองว่าเป็นทางออกที่ดีในช่วงที่การทำนานั้นยากลำบาก เพราะว่า นาบัว นั้นสามารถปลูกได้ง่าย และมีวิธีการดูแลที่ไม่วุ่นวาย รวมไปถึงการส่งออกหรือการตลาดก็มีแหล่งรับซื้อตลอดทั้งปี ทำให้มองว่าบทความในเรื่องของ นาบัว นี้เป็นทางเลือกให้กับผู้อ่านได้ไม่น้อยเลยทีเดียว หรือเกษตรกรคนไหนสนใจลองนำไปปรับใช้หรือประยุกต์กับการทำนา หรือเป็นทางเลือกก็ดีไม่น้อยเลยทีเดียว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

https://www.thaiarcheep.com/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A.html,https://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=45,https://news.mthai.com/general-news/669823.html,https://www.thairath.co.th/content/537337,https://www.technologychaoban.com/flower-and-decorating-plants/article_47222,https://farmerspace.co/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3-%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7-%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%AA%E0%B8%A3/