VR Farm … เซียนวัตถุดิบอาหารสัตว์ เตรียมขุนโค 4,000 ตัว ป้อนโรงเชือด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ไม่น่าเชื่อ!!! จากการเลี้ยงโคเพื่อทดสอบสูตรอาหาร กลับกลายเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับตัวเองทั้ง 2 ทาง ทั้งการเลี้ยงโคขุนและการจำหน่ายอาหารสัตว์ พัฒนาการเลี้ยงจากที่ไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการทำอาชีพปศุสัตว์จนสามารถเข้าใจระบบการซื้อ-ขาย ของตลาด และการจัดการต่างๆ ในการเลี้ยงโค พลิกสถานการณ์จากคนที่วิ่งหาตลาด มาวันนี้ตลาดต้องวิ่งหาฟาร์มแห่งนี้ และเสนอราคาที่น่าพอใจให้กับฟาร์มเลือก

การเริ่มต้นอาจจะไม่สวยหรูมากนัก ถูกหลอกขายบ้าง ถูกกดราคาบ้าง ตกอยู่ในสถานะจำยอม แต่เมื่อมีความรู้และประสบการณ์ การเลี้ยงโคของ VR Farm จึงดำเนินธุรกิจปศุสัตว์ได้อย่างมันคง

คุณวิภา

คุณวิภา ปชาโรจนโภคิน เล่าให้ทางทีมงานนิตยสารสัตว์บกฟังว่า ตนเป็นคนสุราษฎร์ธานี เดิมเป็นพนักงานบริษัททั่วไป จากนั้นได้แต่งงานและช่วยสามีดูแลกิจการ ขายวัตถุดิบอาหารสัตว์เป็นระยะเวลา 40 ปี ซึ่งได้แก่ มันเส้น มันโม่ รำสกัด กากปาล์ม และวัตถุดิบอื่นๆ ที่จังหวัดนครปฐม มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนมาซื้อวัตถุดิบอาหารสัตว์อยู่เป็นประจำ จึงเกิดความคิดที่จะทำอาหารสำเร็จรูปขายให้กับเกษตรกรเลี้ยงโค

จึงเริ่มเลี้ยงโค โดยซื้อโคมาจากชาวบ้านหลากหลายสายพันธุ์ เพราะไม่รู้จักโคมาก่อนเลย ประมาณ 10 กว่าตัว และได้กั้นคอกเลี้ยงโคใกล้กับโรงงานขายวัตถุดิบ เพื่อทดสอบและปรับปรุงสูตรอาหาร โดยการเลี้ยงเองและทดลองผสมอาหารเอง

ปัจจุบันอาชีพหลัก คือ ขายวัตถุดิบอาหารสัตว์ ส่วนเลี้ยงโคเป็นอาชีพเสริม ในการทดลองอาหารสัตว์ อาจจะประสบปัญหาบ้างในช่วงแรก เนื่องจากสูตรอาหารที่ทำยังไม่แน่ชัด ปรากฏว่าโคมีการเจริญเติบไม่เท่าที่ควร จึงศึกษาในเว็ปไซต์ต่างๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงโคขุนและการให้อาหาร รวมถึงวัตถุดิบต่างๆ ที่ใช้ในการผสมอาหาร จากนั้นนำมาประยุกต์ใช้กับฟาร์มของตัวเอง

ปัจจุบันฟาร์มมีโคประมาณ 300 ตัว มีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น โคไทย ลูกผสมบราห์มัน-ชาโรเล่ส์ การซื้อโคเข้ามาจะดูอายุจากฟันของโค ส่วนมากจะซื้อโคที่มีอายุ 6-8 เดือน หรือเป็นโคที่หย่านมใหม่ๆ นำมาขุนให้ได้น้ำหนักตามที่ตลาดต้องการ นอกจากการเลี้ยงโคขุน คุณวิภายังเลี้ยงไก่สามสายประมาณ 400 ตัว และเลี้ยงเป็ดเพื่อเสริมรายได้และไว้กินเองโคขุน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในการเลี้ยงโคขุนนั้นใช้เวลาในการขุนประมาณ 4 เดือน น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 400-500 กก. การขายจะชั่งขายเป็นกิโลกรัม จะไม่ขายเป็นเหมาตัว เพราะดูเสียเปรียบและได้เปรียบ ชาวบ้านบางรายดูโคไม่เป็น กะน้ำหนักไม่ถูก หากขายเหมาเป็นตัว โรงเชือดบางแห่งจะคิดแบบเหมาตัว พอเชือดเสร็จน้ำหนักโคหาย เพราะก่อนที่จะนำโคเข้าโรงเชือด คุณวิภาจะชั่งน้ำหนักก่อนออกจากฟาร์มทุกครั้ง พอโรงเชือดเหมาเป็นตัว เมื่อเปรียบเทียบแล้วพบว่าน้ำหนักโคหายไป 1 ตัว หรือประมาณ 500-600 กก.

อาหารในแต่ละวันจะใช้อาหารข้นที่ทำเองจากโรงงาน ส่วนอาหารหยาบจะให้กินเปลือกสับปะรดและกากมันหมัก พอครบกำหนดก็จะให้โคกินวัตถุดิบอาหารสัตว์ทุกตัว จะมีการศึกษาในเวปไซต์ทั้งหมด เช่น กากมันสำปะหลัง ให้โคกินอย่างไร เห็นเขาบอกว่ามีกากมันหมักยีสต์ ก็เข้าไปศึกษาว่าเขาทำกันอย่างไร ก็มาทดลองทำ จากนั้นส่งตรวจแลปกับ ม.เกษตรกำแพงแสน รอบแรกที่ทำหมักไว้ 21 วัน พบว่ามีโปรตีนเพียง 3% จึงกลับมาหาวิธีใหม่ ยกเลิกการหมักยีสต์ เปลี่ยนสูตร คือ ใส่กากน้ำตาล ยูเรีย หมักแบบปกติ หรือใช้ใบกระถินหมัก จากนั้นก็หมักไว้ แล้วนำไปตรวจอีกครั้งปรากฏว่าโปรตีนขึ้น สาเหตุที่นำกระถินมาหมักเพราะต้องการสร้างอาชีพให้ชาวบ้านให้มีรายได้ โดยคุณวิภาจะติดป้ายประกาศรับซื้อกระถินแห้ง ปัจจุบันรับซื้อกิโลกรัมละ 4 บาท โดยชาวบ้านจะนำกระถินมาตากแห้งแล้วสับ จากนั้นบรรจุใส่กระสอบละ 25 กก. โดยมีกระสอบให้ จะเอาไปที่โกดัง จะมีลูกค้ามาซื้อ หรือนำมาใช้เป็นวัตถุดิบผสมอาหาร หรือเอาไปโม่ใส่กระสอบทราย

DSC_6506

ปัจจุบันตลาดถือว่าไปได้ดี มีตลาดค่อนข้างหลากหลายและหลายแห่ง เนื่องจากทางฟาร์มเลี้ยงโคในปริมาณที่มาก สามารถต่อรองราคาได้ และที่สำคัญคุณวิภามีการเปิดรับซื้อโคจากชาวบ้านที่ต้องการจะขาย เพราะไม่อยากให้ชาวบ้านโดนเอารัดเอาเปรียบ “ขายให้เรา อย่างน้อยเราก็ให้ราคาดีกว่าที่พ่อค้าทั่วไปที่มารับซื้อ เช่น ถ้าขายให้คนอื่นเขาให้กิโลกรัมละ 100 บาท ทางฟาร์มอาจจะให้ 102 บาท” แล้วคุณวิภาก็จะเลือกโคที่พร้อมจำหน่ายของทางฟาร์มออกขาย จากนั้นโคที่ซื้อจากชาวบ้านไปขุนต่ออีกสัก 1-2 เดือน แล้วแต่ความเหมาะสม เพราะถ้าขายให้โรงเชือดหรือพ่อค้าที่มารับซื้อ ถ้าขายในจำนวนมากๆ จะได้ราคาดีกว่า

เป้าหมายที่วางไว้ “อนาคตคิดว่าจะเพิ่มการเลี้ยงให้ได้ 4,000 ตัว แต่ต้องขยายพื้นที่เพื่อรองรับจำนวนโคที่เพิ่มขึ้น การเลี้ยงจะยึดแบบที่เลี้ยงในปัจจุบัน ไม่คิดที่จะปรับปรุงสายพันธุ์เองเหมือนฟาร์มอื่นๆ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก และที่สำคัญการเลี้ยงในลักษณะนี้ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงค่อนข้างสั้น” หากมองถึงคู่แข่งคิดว่าไม่มีเพราะ ฟาร์มแต่ละฟาร์ม เกษตรกรแต่ละราย คงจะมีแบบแผนและเป้าหมายเป็นของตนเอง เราก็จะแข่งกับตัวเองเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น”

สำหรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) คุณวิภามองว่า ตลาดจะดีขึ้น การซื้อขายจะง่ายขึ้น ไม่ต้องกังวงเรื่องของภาษี แต่ไม่ควรขายโคตัวเมียออกไปต่างประเทศ เพราะถ้าเขาได้โคเพศเมียไปทำแม่พันธุ์ อนาคตประเทศไทยอาจจะต้องนำเข้าโคเนื้อจากต่างประเทศเพื่อมาบริโภค สำหรับเกษตรกรที่สนใจจะเลี้ยงโคขุน ควรศึกษาวิธีการเลี้ยง วิธาการเลือกโคดูว่าลักษณะที่ดีเป็นอย่างไร รวมถึงเรื่องเวชภัณฑ์ด้วย เพื่อที่จะประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ

ติดต่อสอบถามราบละเอียดได้ที่ VR Farm คุณวิภา ปชาโรจนโภคิน เลขที่ 66 ม.11 ต.เขาขลุง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

โฆษณา
AP Chemical Thailand
การให้ฟางข้าว เพื่อช่วยในระบบการย่อย
การให้ฟางข้าว เพื่อช่วยในระบบการย่อย

[wpdevart_like_box profile_id=”1414452475453135″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]