อุตสาหกรรมไก่งวง ยิ่งใหญ่ถ้าทำให้เป็น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปกอุตสาหกรรมไก่งวงยิ่งใหญ่้ถ้าทำให้เป็น

อุตสาหกรรมไก่งวง

ยิ่งใหญ่ถ้าทำให้เป็น

หาก รัฐไทย รู้จริงเรื่องสัตว์ปีกที่เรียวกว่า “ไก่งวง”  จะต้องทำให้ “โปรตีน” จากเนื้อไก่งวง มี “ราคา”  เป็น

“ไก่เศรษฐกิจ” ตลอดห่วงโซ่อุปทาน

ไก่เศรษฐกิจที่สร้าง “รายได้” ให้คนทุกระดับในอุตสาหกรรมนำ “เงินตรา” เข้าประเทศน้อง ๆ “ไก่เนื้อ” ภายในทศวรรษหน้า

อุตสาหกรรมอาหาร  เป็นหนึ่งในเศรษฐกิจดาวรุ่งพุ่งแรง เพราะประเทศไทยเป็น “เมืองเกษตร” ที่อุดมด้วยน้ำ แสงแดด และปัจจัยการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พร้อมด้วยโนว์ฮาว และเทคโนโลยี ขาดอย่างเดียวคือ “วิสัยทัศน์” รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งส่วนราชการทื่อืดอาด ไม่ทันสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเกษตรที่พลวัตทุกนาที  ทั้งโกลบอล  และท้องถิ่น

สมัชชาพลังเขียวสร้างชาติ (สพส.) องค์กรภาคพลเมืองที่มี  นายพายัพ  ยังปักษี  เป็นเลขาธิการ ได้ศึกษาเรื่องอุตสาหกรรมไก่งวง ในบริบทของคนในวงการ ฟันธงว่า  ถ้ารัฐไทยส่งเสริมให้เกิด “ คลัสเตอร์อุตสาหกรรมไก่งวง ” ทุกคนช่วยกันผลิต เพิ่มมูลค่า และทำการตลาดเชิงรุก ผู้บริโภคจะติดใจคุณภาพ และรสชาติไก่งวง

ไก่งวงลูกผสม เกิดจากสายพันธุ์อะไรบ้าง

ไก่งวง 3

ดยคนไทย กรมปศุสัตว์ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องโดยตรงได้นำเสนอความเป็นมาของไก่งวงในไทยว่า เมื่อปี 2497 หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ บิดาแห่ง การเลี้ยงไก่งวงในไทย ได้ส่งเสริมให้คนไทยเลี้ยง และพบว่าคนอีสานเลี้ยงไก่งวงมาก เพราะ ทหารอเมริกัน ในฐานทัพอุดร และนครราชสีมาได้นำไก่งวงเข้ามาส่งเสริมให้เลี้ยง ไก่งวงมี  7 สายพันธุ์ ตามที่  สมาคมสัตว์ปีกอเมริกา รับรอง แต่พันธุ์ที่เลี้ยงในภาคอีสาน 3 สายพันธุ์ ได้แก่  อเมริกันบรอนซ์   เบลท์สวิลล์สมอลไวท์   และ พันธุ์ลูกผสมทางกรมฯ โดย  ศูนย์วิจัยและพัฒนาปศุสัตว์ที่ 4  ได้นำเสนอรูแบบการจัดการเลี้ยงดูไก่งวง โดยเริ่มตั้งแต่  ลูกไก่งวงเล็ก  อายุแรกเกิด 4 สัปดาห์ ว่าเป็นระยะลูกไก่อ่อนแอมากที่สุด ควรอนุบาล บน “กรงยกพื้นสูง” คลุมด้วย  มุ้งไนล่อน  กันยุง ซึ่งเป็นพาหะของ  “โรคฝีดาษ”  กก ด้วยหลอดไฟ 80 วัตต์ ให้ความอบอุ่นอุณหภูมิ 96-100 องศา แล้วค่อย ๆ ลดในสัปดาห์ต่อไป ซึ่งการปรับลดขึ้นอยู่กับสภาพอากาศภายนอก ควรมีน้ำ และอาหารให้ลูกไก่แรกเกิด  30-50  กรัม/ตัว/วัน โดยการจุ่มปากลูกไก่น้ำลงในน้ำ และอาหาร เป็นการฝึกให้กิน ต้องให้วัคซีนป้องกัน  โรคหลอดลมอักเสบ  โรคนิวคาสเซิล และ ฝีดาษ ควรผสมวิตามินละลายน้ำให้กิน เพื่อลดความเครียด ถ้าทำอย่างนี้สามารถลดการตายของลูกไก่ถึง 90% พออายุ 4-12 สัปดาห์ ต้องนำลงมาจากกรงกก มาเลี้ยงบนพื้นคอกที่รองด้วยวัสดุแห้ง และสะอาดให้ลูกไก่ได้สัมผัสกับเชื้อจุลินทรีย์ประจำถิ่น  สร้างภูมิต้านทานเชื้อโรค  ควรให้น้ำ และอาหารเต็มที่  80 -100 กรัม/ตัว/วัน ให้ครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง พร้อมกับให้จิกกิน  “หญ้าสด”   “ พืชผัก”  และ “สมุนไพร” ปรับระบบย่อยอาหาร ช่วยลดความเครียดได้  เมื่ออายุ  8 สัปดาห์ขึ้นไป สามารถปล่อยเลี้ยงอิสระในแปลงหญ้า แต่ต้องมีร่มเงาให้หลบแดด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เมื่อไก่งวงอายุ 12 – 28 สัปดาห์ (หนุ่มสาว) กำลังเจริญวัย เริ่มมีระบบสืบพันธุ์สมบูรณ์ ต้องใช้หญ้าสดคุณภาพดี หรือพืชผักสมุนไพรสีเขียว ให้อาหารเต็มที่ในปริมาณ 150-180 กรัม/ตัว/วัน รวมกับอาหารธรรมชาติผสมเอง ทำให้ลดต้นทุนอาหารได้มาก

ไก่งวง1

ไก่งวงอายุ 28 สัปดาห์ขึ้นไป เป็นพ่อแม่พันธุ์สมบูรณ์ ต้องให้อาหารผสม 180-200 กรัม/ตัว/วัน ตัวที่สมบูรณ์ขนเป็นมัน ตัวใหญ่ แข็งแรง  ขาตั้งตรง ปราดเปรียว หน้าตาแจ่มใส  และอัตราการแลกเนื้อดีควรคัดเป็นพ่อแม่พันธุ์ 20% ของฝูง โดยใช้การผสมจริง พ่อ 1 ตัว/แม่  5- 10  ตัว แม่ไก่งวงเริ่มวางไข่ เมื่ออายุ 32 สัปดาห์ ดังนั้น ต้องให้แสงสว่าง 13-15 ชั่วโมง/วัน โดยใช้หลอดไฟ 80 วัตต์  แขวนไว้สูงจากหลังไก่งวง 2.80 เมตร ควรมีรังไข่ให้เพียงพอต่อแม่พันธุ์ ในอัตราส่วน 1 รัง / แม่ไก่งวง 4-5 ตัว หากแม่ไก่ไปวางไข่ในป่าต้องจับไปวางที่รังไข่ให้ถูกต้อง

ระเบียบว่าด้วยการขอรับ และออกใบรับรองฟาร์มไก่งวงแบบเลี้ยงปล่อยอิสระ

ไก่งวงปล่อยอิสระ

เรื่องการเลี้ยง  “ไก่งวง”  ยอมรับว่า  กรมปศุสัตว์  ให้ความสำคัญพอสมควร เห็นได้ชัดจาก นายอภัย  สุทธิสังข์ อดีตอธิบดีกรมปศุสัตว์  ได้ออก ระเบียบว่าด้วยการขอรับ และออกใบรับรองฟาร์มไก่งวงแบบเลี้ยงปล่อยอิสระ  เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2559  มี 41 ข้อ เช่น ความหมาย  ไก่งวง  คือ สัตว์ปีกที่เลี้ยงตามระยะเวลาของสายพันธุ์ เพื่อการผลิตเนื้อไก่ สำหรับบริโภค เป็นสายพันธุ์ที่ทนต่อสภาพแวดล้อม เลี้ยงปล่อยอิสระได้  ฟาร์มไก่งวง  หมายถึงฟาร์มที่เลี้ยงเพื่อการค้า ครอบคลุมถึงพื้นที่เลี้ยงไก่งวงสถานที่เก็บอาหาร และเตรียมอาหาร บริเวณสำหรับทำลายซากไก่งวง  เป็นต้น หรือ แบบเลี้ยงปล่อยอิสระ หมายความว่า การเลี้ยงไก่งวงนอกโรงเรือน ในบริเวณที่ไม่มีหลังคา ไก่งวงสามารถออกมาภายนอกโรงเรือนอย่างมีอิสระ โดยเป็นพื้นที่ที่มีพืชเป็นอาหารของไก่ปกคลุม ทำให้ไก่งวงได้แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ  เช่น การคลุกฝุ่น การไซ้ขน การจิกกินพืชผัก แมลง  เป็นต้น หรือการระบุ คุณสมบัติ ของผู้ประกอบการฟาร์มไก่งวง และ ฟาร์มไก่งวงที่ขอรับการรับรอง ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่งวง ไม่เป็นผู้ถูกเพิกถอนการรับรอง เว้นแต่เคยถูกเพิกถอนการรับรองมาแล้ว มากกว่า 2 ปี  ได้ปรับปรุงฟาร์มให้เป็นไปตามข้อกำหนด และเป็นฟาร์มที่มีสัตวแพทย์มีใบประกอบวิชาชีพ  สัตวแพทย์ชั้น 1 จากแพทยสภา ควบคุมการใช้ยา เวชภัณฑ์ วัคซีน ภายในฟาร์มไก่งวง เป็นต้น

วันนี้  นายอภัย  สุทธิสังข์  เป็นรองปลัดกระทรวงเกษตรฯ  อีก 2 ปีกว่า ๆ จะเกษียณ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการโครงการด้านปศุสัตว์ และการส่งเสริมพัฒนาอาชีพปศุสัตว์ ยังสนับสนุนการเลี้ยงไก่งวงมาตลอด

คุณศรีสุนันท์  พวงอินทร์ (ปู) เปิดเผยความเคลื่อนไหวของชาวไก่งวง

คุณปู ประธานวิสาหกิจชุมขนไก่งวงราชบุรี
คุณศรีสุนันท์  พวงอินทร์ (คุณปู) ประธานวิสาหกิจชุมขนไก่งวงราชบุรี

คุณศรีสุนันท์  พวงอินทร์ (ปู)  หนึ่งในผู้นำเครือข่ายชาวไก่งวง เปิดเผยความเคลื่อนไหว ของชาวไก่งวง เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ว่า เกษตรกรกระตือรือร้นในการเลี้ยงมากขึ้น ในกลุ่มก็กระตุ้นให้สมาชิกหันกลับมาเลี้ยง เพราะความต้องการของตลาดที่ยังแรง เหตุที่เกษตรกรเคยชะลอการเลี้ยงเพราะ พ.ร.บ.โรงฆ่าสัตว์ จะต้องให้มีโรงฆ่าไก่งวงที่มาตรฐาน ซึ่งไม่มี  จึงต้องหยุดเลี้ยงตั้งแต่ปี 2566 เวลานี้มีโรงฆ่า  ถูก พ.ร.บ. กรมปศุสัตว์ รับรองแล้ว ประกอบกับเนื้อไก่แช่แข็งที่มีอยู่ในห้องเย็น กรมปศุสัตว์ก็ยืดหยุ่นให้นำออกขายได้ กลุ่มเกษตรกรจึงมีเงินมาขยาย พ่อ แม่พันธุ์ ขณะเดียวกัน กรมปศุสัตว์  ปศุสัตว์เขต 7  และ ปศุสัตว์เขต 4  ก็อบรมให้ความรู้แก่ผู้เลี้ยงไก่งวง ด้านระเบียบว่าด้วยการขอรับ และออกใบรับรอง เพื่อผลักดันให้เป็นฟาร์ม GAP  “ ตอนนี้อยู่ในการเตรียม การปรับปรุงฟาร์ม เพื่อขอรับรองมาตรฐานการเลี้ยงไก่งวงเพื่อการบริโภค ตอนนี้ทุกอย่างเดินหน้า” คุณปู ให้ความเห็น และยืนยันว่า การอบรมมาตรฐานการเลี้ยงไก่งวงของกรมฯ สามารถใช้รับรองทั้งเลี้ยงแบบอิสระ และ แบบโรงเรือน

ในเรื่องการพัฒนาสายพันธุ์ คุณปู กล่าวว่า ทางเครือข่ายไก่งวง ได้พัฒนาสายพันธุ์ด้วยการนำเข้าจากอิสราเอล มาผสมกับ พันธุ์อเมริกันบรอนซ์ ของกรมปศุสัตว์ จนได้พันธุ์ลูกผสมได้เนื้อที่มีรสชาติที่แตกต่าง และ อร่อยกว่า แต่ในอนาคตจะต้องนำเข้ามาผสมเพื่อให้ได้ลูกไก่ที่เลี้ยงแล้วได้น้ำหนัก 30 กว่ากิโลกรัม ขณะนี้ได้เพียง 20 กิโลกรัม เท่านั้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand
คุณอาทิตย์ สุระพงค์ (สุระพงค์ฟาร์ม)
คุณอาทิตย์ สุระพงค์ (สุระพงค์ฟาร์ม)
คุณคำพอง ธรรมสา (ประธานกลุ่มไก่งวงเอราวัณ จ.เลย)
คุณคำพอง ธรรมสา (ประธานกลุ่มไก่งวงเอราวัณ จ.เลย)

เรื่องสายพันธุ์เป็นเรื่องใหญ่  ดังนั้น นักผสมพันธุ์อย่าง  คุณอาทิตย์  สุระพงค์  (สุระพงค์ฟาร์ม) ได้พัฒนาจนได้สายพันธุ์ของตัวเอง ขาวหนองบัว สีขาวทั้งหมด โตไว ด้วยการผสมจริง ตัวเมีย  6-7 เดือนให้ไข่แล้ว มีสมาชิกประมาณ 60 ฟาร์ม เป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่ผลิต “ไก่ขุน” ป้อนตลาดโดยมี คุณปู เป็นผู้ประสานงาน  การพัฒนาพันธุ์ได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์วิจัย และบำรุงพันธุ์สัตว์ จังหวัดเลย มาตลอด และ กลุ่ม ไก่งวงเอราวัณ จังหวัดเลย ที่มี  คุณคำพอง  ธรรมสา  เป็นประธาน มีสมาชิกประมาณ 21 ฟาร์ม เมื่อทางคุณอาทิตย์ได้พัฒนาไก่งวงจนได้สายพันธุ์ดี จนเนื้อไก่งวงเป็นที่ต้องการของตลาด เมื่อปลายปี 2565 ได้มีประกาศ พ.ร.บ.โรงฆ่าออกมา ทำให้เกิดปัญหาเกษตรกร ในกลุ่มไก่งวงราชบุรี เครือข่ายไก่งวงบ้านโป่งแค ขายไก่งวงไม่ได้ในตอนนั้น ทางกลุ่มก็พยายามขายภายในจนสำเร็จ  คุณปู ได้ยืนยันว่า ยังมีเกษตรอีกกลุ่ม คือ  “กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่งวงจังหวัดเลย คือกลุ่มเอราวัณ มีสมาชิกกลุ่มอยู่ใน 3 จังหวัด คือจังหวัดเลย หนองบัวลำภู และ อุดร  นำโดย คุณคำพอง  ธรรมสา  ประธานกลุ่ม ได้ให้สมาชิกกลุ่มไปนำเสนอปัญหาต่อสภาเกษตรกร จังหวัดเลย   หนองบัวลำภู และ อุดร  เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาเนื้อไก่งวงที่คงค้างอยู่ในห้องเย็น”

ไก่งวงสู่ตลาดเพ็ทฟู้ด

ไก่งวงเพื่อการบริโภค ของกรมปศุสัตว์ คุณปู ให้ความเห็นว่า “ปัญหาหลักคือ ขบวนการหรือมาตรฐานการผลิตของเกษตรกร ต้องปรับตัวให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ทั้งตลาดเพื่อการบริโภค และตลาดเพ็ทฟู้ด” การที่เนื้อไก่งวงมี โปรตีน สูงกว่าเนื้อไก่ธรรมดา ย่อยง่าย ดูดซึมได้ไว เป็นเนื้อปลอดสารไร้ฮอร์โมน ย่อมเป็นอาหารของแมว และสุนัขได้ดี ตลาดสัตว์เลี้ยงจึงกว้าง  ดังนั้น จึงมีการเปิดจองทั้งผู้บริโภค และเพ็ทฟู้ด สั่งจองทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนชำแหละ หรือทั้งตัว ดังนั้น ทางเครือข่ายจึงต้องวางแผนการผลิตให้ชัดเจน สอดคล้องกับความต้องการของ  2 ตลาด  “ ต้องบอกว่ามาตรฐานเลี้ยงต้องดี และชัดเจน ด้านรูปแบบการผลิตปลอดภัยต่อผู้บริโภคทั้งคน และสัตว์” คุณปูให้ความเห็น ดังนั้น ตั้งแต่  ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์  ต้องใช้พื้นที่พอสมควร ต้องมีแปลงหญ้า เพื่อให้เกิดการผสมพันธุ์ที่ดี การดูแลต้องให้ปลอดโรค สุขภาพดี และ คอกขุน ต้องใช้โรงเรือนแบบยกพื้น เพื่อป้องกันโรค หลีกเลี่ยงการใช้  เคมีบำบัด  เนื่องจากไก่งวงจะมี  พยาธิหัวดำ  เป็นพยาธิปากดูด  ฝังในลำไส้  นั่นเป็นการทำลายต่อสุขภาพ นี้คือประเด็นหลักที่ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงขาดทุน ดังนั้น อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพยาธิ จาก ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน และ ม.ขอนแก่น ส่งข้อมูลการป้องกันและการรักษามาให้ความรู้ตลอด แม้แต่ วัคซีน นิวคาสเซิล และ อหิวาต์ ก็ต้องทำ โดยซื้อจากกรมปศุสัตว์ก็ได้ราคาไม่แพง ส่วนแร่ธาตุ และวิตามิน คุณปู ซื้อเปลือกหอยบด จากตะคลองโคน อ.เมือง จ. สมุทรสงคราม มาใช้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :  คุณศรีสุนันท์  พวงอินทร์  วิสาหกิจชุมชนไก่งวงราชบุรี

:  เลขที่  30 ม.2 ต.ดอนทราย อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี70140

โทร. 092-924-9942

 

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับ 383/2568 (มี.ค 68)

 

ใบสมัครสมาชิก