สร้างสวนปาล์ม 44 ไร่ เพิ่มผลผลิตต่อไร่ ด้วย ระบบน้ําในสวน ควบคุมด้วยมือถือสมาร์ทโฟน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การวางแผนที่ดีย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง เช่นเดียวกับเกษตรกรรุ่นใหม่ ยุคนี้ที่ต้องประยุกต์การทำเกษตรให้ทันสมัยด้วยนวัตกรรมด้านการเกษตรที่ล้ำหน้า ให้คุ้มค่ากับการลงทุน นำมาซึ่งผลผลิตที่ดี สร้างรายได้ตลอดทั้งปี อย่างมั่นคง และยั่งยืน

คุณณัฐดนัย สุขรัตน์ เป็นหนึ่งในเกษตรกรรุ่นใหม่ไฟแรงของไทยอีกท่านหนึ่ง ที่ได้หันหลังให้กับการทำงานประจำในเมืองกรุง ก่อนหันกลับมายึดอาชีพการทำเกษตรที่บ้านเกิดเป็นอาชีพหลัก เพื่อสร้างรายได้ทั้งในวันนี้และอนาคต ด้วยการเลือกปลูกปาล์มน้ำมันบนเนื้อที่กว่า 44 ไร่ แบ่งออกเป็น 2 แปลง คือ สวนปาล์มที่ อ.สวี จ.ชุมพร จำนวน 24 ไร่ และที่ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี อีก 20 ไร่ โดยเน้นการปลูกปาล์มพันธุ์ที่ปลูกเพียงครั้งเดียว และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งปี และนานกว่า 30 ปี อีกทั้งปาล์มน้ำมันยังเป็นทั้งพืชอาหาร และพืชพลังงาน ที่มีอนาคต ที่มีความต้องการใช้อย่างต่อเนื่อง ใช้แล้วหมดไป เป็นพลังงานบนดินที่สามารถสร้างได้อย่างยั่งยืน

1.ณัฐดนัย-สุขรัตน์-ชาวสวนปาล์มรุ่นใหม่
1.ณัฐดนัย-สุขรัตน์-ชาวสวนปาล์มรุ่นใหม่
2.เกษตรกรต้นแบบด้านการจัดการสวนปาล์ม
2.เกษตรกรต้นแบบด้านการจัดการสวนปาล์ม

สายพันธุ์ปาล์มน้ำมัน

ซึ่งสายพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่คุณณัฐดนัยเลือกปลูกนั้นก็คือ เดลิxคอมแพค และเดลิxไนจีเรียแบล็ค ของ บริษัท อาร์ดี เกษตรพัฒนา จำกัด เป็นสวนปาล์มน้ำมันขนาดเล็กของเกษตรกรต้นแบบด้านการจัดการสวนปาล์มให้มีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่สำคัญสวนปาล์มทั้ง 2 แปลง ที่สำคัญสวนปาล์มแห่งนี้มีการวาง ระบบน้ําในสวน แบบมินิสปริงเกลอร์ให้กับต้นปาล์มทุกต้น และมีการควบคุมการให้น้ำแบบอัตโนมัติที่มีการสั่งงานผ่าน “สมาร์ทโฟน” ที่สามารถสั่งงานได้ทุกที่ที่มีอินเทอร์เน็ตรองรับ ที่จะทำให้การจัดการน้ำในสวนปาล์มเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นสำหรับเกษตรกร

คุณณัฐดนัยยอมรับว่าการปลูกปาล์มน้ำมันทั้ง 2 แปลง ในช่วงแรกนั้น หลังจากปลูกปาล์มเสร็จแล้วก็ได้เดินทางกลับมาทำงานประจำต่อที่กรุงเทพ เพราะช่วงนั้นยังไม่ได้ลาออกจากงาน และได้ฝากให้พี่ชายช่วยดูแลสวนปาล์มไว้ให้ก่อน และเน้นสร้างรายได้ให้กับสวนปาล์มเล็ก ด้วยการปลูกกล้วยหอมทองแซมระหว่างร่องปาล์ม นำรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง และยังได้ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งเศษต้นกล้วย และใบกล้วย ยังย่อยสลายกลายเป็นอินทรียวัตถุในสวนปาล์มได้ดี

ส่วนการกำจัดหญ้าวัชพืชในช่วงปาล์มเล็กจะเน้นตัดหญ้าวัชพืชระหว่างต้นปาล์มและถากโคนต้นปาล์มให้โล่งเตียน เพื่อป้องกันหนูและศัตรูพืชเข้าทำลายไปพร้อมๆ กับการใส่ปุ๋ยเคมีและอินทรีย์แบบผสมผสานตามหลักวิชาการอย่างสม่ำเสมอ ส่วนการให้น้ำ หน้าฝนจะไม่ให้น้ำต้นปาล์ม แต่จะต้องให้น้ำต้นปาล์มในหน้าแล้งที่ความชื้นต่ำ เพื่อให้ปาล์มสมบูรณ์ตลอด

3.ต้นปาล์มน้ำมันอายุ-7-10-ปี
3.ต้นปาล์มน้ำมันอายุ-7-10-ปี

สภาพพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน

ส่วนการปลูกปาล์มน้ำมันสายพันธุ์เดลิxคอมแพค และคอมแพคxไนจีเรียแบล็คนั้น เนื่องจากปาล์มน้ำมันสองสายพันธุ์นี้มีลักษณะเด่น คือ ต้นเตี้ย ทางสั้น ทะลายดก ปลูกได้จำนวนต้นต่อไร่มากกว่า หรือมีการปลูกในระยะ 8x8x8 เมตรให้ผลผลิตต่อไร่มากกว่า เนื่องจากพื้นที่มีอยู่จำกัด จึงต้องเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้มากขึ้น ให้คุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด สร้างรายได้ที่ดีตลอดอายุการเก็บเกี่ยว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

รวมไปถึงในช่วงปาล์มเล็กจะเน้นแทงช่อดอกทิ้งทั้งหมด เพื่อบำรุงต้นปาล์มให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งการแทงช่อดอกทิ้งในช่วงปาล์มเล็กยังช่วยป้องกันการเกิด “ทะลายเน่า” ในต้นปาล์มได้เป็นอย่างดี  ก่อนจะเริ่มต้นไว้ลูกและทะลายเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ เมื่อต้นปาล์มมีอายุตั้งแต่ 2.6-3 ปีขึ้นไป โดยปาล์มน้ำมันจะให้ผลผลิตน้อยในช่วงเริ่มต้น แต่จะค่อยๆ เพิ่มปริมาณผลผลิตขึ้นเมื่อต้นปาล์มมีอายุขึ้น

ปัจจุบันสวนปาล์มน้ำมันทั้ง 44 ไร่ของคุณณัฐดนัย ส่วนใหญ่มีอายุเพียง 7, 10 ปี สามารถให้ผลผลิตได้ทั้งหมด ภายใต้การจัดการสวนปาล์มน้ำมันให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในทุกขั้นตอนการดูแลรักษาในทุกช่วงอายุ เริ่มตั้งแต่การให้ปุ๋ยกับต้นปาล์มครบทั้ง 5 ตัว ขึ้นอยู่กับขนาด และอายุ ของต้นปาล์มเป็นหลัก

4.การให้ ระบบน้ำในสวน ปาล์มผ่านระบบสมาร์ทโฟนทุกอย่าง
4.การให้ ระบบน้ำในสวน ปาล์มผ่านระบบสมาร์ทโฟนทุกอย่าง

การให้น้ำผ่านระบบสมาร์ทโฟน

ด้าน “การให้น้ำ” นั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น อีกทั้งสวนปาล์มแห่งนี้มีการให้น้ำกับต้นปาล์มทุกต้นด้วยมินิสปริงเกลอร์นี้ จะเน้นให้ปาล์มทุกต้นได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้งส่วนใหญ่การให้น้ำจะเน้นช่วงเย็น หรือตอนกลางคืนมากกว่า เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำไปกับแสงแดด

อีกทั้งการให้น้ำตอนกลางคืนจะช่วยลดการระเหยได้ดี มีความชื้นสูงกว่า ดินจะเปียกนานกว่า 12 ชม. แม้จะมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าในช่วงแรก แต่ก็คุ้มค่ากับการลงทุน ต้นปาล์มเจริญเติบโตได้ค่อนข้างดี ให้ผลผลิตดี

5.ขั้นตอนการติดตั้ง
5.ขั้นตอนการติดตั้ง
ตู้คอนโทรลเพื่อควบคุมระบบการให้น้ำในสวนปาล์ม
ตู้คอนโทรลเพื่อควบคุมระบบการให้น้ำในสวนปาล์ม
การสั่งงานเพื่อเปิดและปิดการให้น้ำได้อย่างแม่นยำ
การสั่งงาน ระบบน้ําในสวน เพื่อเปิดและปิดการให้น้ำได้อย่างแม่นยำ
การสั่งงานผ่านสมาร์ทโฟน
การสั่งงาน ระบบน้ําในสวน ผ่านสมาร์ทโฟน

ขั้นตอนการติดตั้ง ระบบน้ําในสวน ผ่านสมาร์ทโฟน

ที่สำคัญคุณณัฐดนัยได้ย่อส่วน “ระบบการให้น้ำ” กับสวนปาล์มทั้ง 2 แปลง มาไว้ในมือถือแบบสมาร์ทโฟนเพียงแค่เครื่องเดียว ที่ช่วยให้การจัดการสวนปาล์มง่ายขึ้น ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ “โฮมออโตเมชั่น(Home Automation)” เข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงานของ “ตู้คอนโทรลระบบน้ำ” เพื่อให้สามารถสั่งงานเพื่อปิด-เปิด ระบบน้ําในสวน ผ่านทาง “สมาร์ทโฟน” ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะอยู่มุมไหนก็ตาม หากมีอินเทอร์เน็ตก็สามารถสั่งงานได้ทันทีโดยไม่ต้องเข้าสวนปาล์มก็ยังได้ เมื่อมีฝนตกก็สามารถสั่งปิด ระบบน้ําในสวน ผ่านทางสมาร์ทโฟนได้ทันที

ช่วยประหยัดทั้งเวลา ประหยัดไฟ ประหยัดน้ำ ทำงานง่าย ต้นทุนการผลิตลดลง เนื่องจากมีการลงทุนอุปกรณ์เพิ่มเติมจาก ระบบน้ําในสวน ปกติทั่วไปเพียง 6,000 บาท เท่านั้น โดยมีอุปกรณ์หลัก คือ ระบบสูบน้ำเข้าสระ, ระบบสูบน้ำเข้าสวน, ระบบ CCTV ใช้ตรวจสอบการทำงาน, ระบบวาล์วไฟฟ้าใช้เปิด-ปิดประตูน้ำ, ระบบตรวจสอบกระแสน้ำ ตรวจเช็คกระแสไฟฟ้า และแรงดันไฟฟ้า ที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์โฮมออโตเมชั่นเพื่อควบคุมการทำงานผ่านสมาร์ทโฟนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.ผลผลิตคุณภาพจากสวนปาล์มมาตรฐาน
6.ผลผลิตคุณภาพจากสวนปาล์มมาตรฐาน
ผลผลิตน้ำหนัก-15-กก.ต่อทะลาย
ผลผลิตน้ำหนัก-15-กก.ต่อทะลาย

การเก็บเกี่ยวผลผลิตปาล์มน้ำมัน

ส่วนหน้าฝนจะไม่ให้น้ำกับต้นปาล์ม เนื่องจากสวนปาล์มมีความชื้นเพียงพอ ฝนตกกระจายได้ดี ทำให้ต้นปาล์มช่วงอายุ 7, 10 ปี ให้ผลผลิตเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 6 ตัน/ไร่/ปี ภายใต้ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 1.9-2 บาท/กก. ประกอบกับสวนปาล์มน้ำมันแห่งนี้มีสภาพดินที่ดี หรือมีค่า pH อยู่ที่ 6.2-6.5 ที่ทำให้ปาล์มเจริญเติบโตดีอย่างต่อเนื่อง เพราะสามารถดูดธาตุอาหารขึ้นไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ดี

7.การจัดการผลผลิตในสวนปาล์ม
7.การจัดการผลผลิตในสวนปาล์ม

ด้านตลาดปาล์มน้ำมัน

นอกจากนี้ “ปาล์มน้ำมัน” ยังเป็นพืชอุตสาหกรรมที่มี “ลานเท” มี “โรงงาน” หรือมีตลาดรองรับอยู่แล้ว ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่องการตลาด แต่ทว่า “ราคาผลผลิต” ในแต่ละปี แต่ละช่วงเวลา จะเปลี่ยนแปลงไป ตามสถานการณ์เป็นหลัก ดังนั้นการจัดการสวนปาล์มส่วนใหญ่ของคุณณัฐดนัยจะเน้นดูแลรักษาเองเกือบทั้งหมด

ทั้งด้านการตัดหญ้ากำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย การให้น้ำ รวมไปถึงการควบคุมคุณภาพผลผลิตที่เน้นตัดปาล์มสุกทุกทะลาย จึงเป็นต้องกำชับทีมงานตัดปาล์มให้ตัดปาล์มสุกตลอด เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี ได้ราคาดี เพราะการตัดปาล์มสุกจะขายได้ราคาดีกว่า

ที่สำคัญชาวสวนปาล์มน้ำมันวันนี้ได้ตื่นตัวกันมากขึ้น เกษตรกรไทยเก่ง สามารถสู้กับเพื่อนบ้านได้ รัฐบาลควรจะส่งเสริมหรือมีนโยบายจริงจังในเรื่องแค่นี้ การเกษตร คือ ของกิน ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนชาติได้อย่างมั่นคง ปาล์มทานได้ ข้าวทานได้ ต้องกินให้อิ่มท้อง

8.การขนส่งผลผลิตส่งขายเพื่อสร้างรายได้
8.การขนส่งผลผลิตส่งขายเพื่อสร้างรายได้

แนวโน้มในอนาคต

สำคัญที่สุด คือ เกษตรกรไทยรุ่นใหม่ต้องมีองค์ความรู้ และมีการจัดการที่ดี ต้องเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้ได้ จึงจะสร้างความมั่นคงในอาชีพให้กับชาวสวนปาล์มได้ อยากให้ชาวสวนปาล์มทุกคนดูแลเอาใจใส่ต้นปาล์มให้ดี ให้สมบูรณ์ ต้องศึกษาข้อมูลก่อนปลูกปาล์ม เพราะเรื่องการเกษตรไม่มีสูตรสำเร็จ ไม่มีกฎตายตัว ต้องเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น เกษตรกรต้องเข้าใจต้นปาล์ม เพื่อให้การปลูกปาล์มน้ำมันประสบความสำเร็จ

ขณะเดียวกันเกษตรกรต้องหาวิธีลดต้นทุนให้มาก ทำผลผลิตให้มีคุณภาพ นอกจากนี้ปาล์มน้ำมันต้องมีนโยบายขับเคลื่อนที่ชัดเจน เพื่อให้ปาล์มน้ำมันไทยเดินหน้าไปได้อย่างมั่นคง มีเสถียรภาพ ถ้าเศรษฐกิจดี ทุกอย่างดีหมด ดีทุกภาคส่วน รัฐอยู่ได้ เกษตรกรอยู่ได้ และมองว่าอนาคตปาล์มและตลาดปาล์มน้ำมันในภาพรวมของโลกแล้วยังไปรอด เดินหน้าไปได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ คุณณัฐดนัย สุขรัตน์ โทร.089-109-3993