สถานการณ์ข่าว ประจำสัปดาห์ ประจำวันที่ 21/10/2562-25/10/2562

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สถานการณ์ข่าวประจำสัปดาห์ของนิตยสารพลังเกษตร

สศก. แนะพืชทางเลือกภาคใต้ตอนบน ทดแทนปลูกยางในพื้นที่ไม่เหมาะสม

นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการสำรวจพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน (ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา กระบี่ และภูเก็ต) ตามการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจสำหรับสินค้าเกษตรที่สำคัญ (Zoning by Agri-Map) พบว่า มีพื้นที่ปลูกยางพาราในชั้นความเหมาะสมต่างๆ (Agri-Map) มีจำนวน 7.14 ล้านไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมมาก (S1) และเหมาะสมปานกลาง (S2) สถานการณ์ข่าว

สำหรับการปลูกยางพารา 5.95 ล้านไร่ เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) เฉลี่ย 2,850 บาท/ไร่ ในขณะที่พื้นที่เหมาะสมน้อย (S3) และไม่เหมาะสม (N) สำหรับการปลูกยางพารา มีจำนวน 1.19 ล้านไร่ เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิ เฉลี่ย 1,683 บาท/ไร่

1.ดร.ทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ที่มาของภาพ http.www.oae.go.th
1.ดร.ทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ที่มาของภาพ http.www.oae.go.th

หากพิจารณาถึงพืชทางเลือกที่จะปรับเปลี่ยนในพื้นที่ปลูกยางพาราเขตพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3, N) ตามแผนที่ความเหมาะสมของดิน (Zoning) ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน พบว่า พืชทางเลือกที่เหมาะสมให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า และตลาดมีความต้องการต่อเนื่อง ได้แก่ สละ ทุเรียน มะพร้าวน้ำหอม และหมาก และ สละ

เกษตรกรมีต้นทุนนับตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตเฉลี่ย 22,214 บาท/ไร่ (เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 3 และให้ผลผลิตไม่น้อยกว่า 30 ปี) ได้ผลผลิตเฉลี่ย 1,901 กก./ไร่ เกษตรกรขายได้ราคา 60-70 บาท/กก. ผลตอบแทนสุทธิ 91,720 บาท/ไร่/ปี ส่วนใหญ่มีพ่อค้ารายย่อยมารับซื้อที่สวน และสามารถจัดการให้เก็บผลผลิตขายได้ทุกวัน

2.ข้าวเปลือก-ข้าวโพด-มันสำปะหลัง-ปาล์มน้ำมัน
2.ข้าวเปลือก-ข้าวโพด-มันสำปะหลัง-ปาล์มน้ำมัน

ราคารายวัน ณ ตลาดกลาง หรือ ตลาดสำคัญ ประจำวันที่ 24 ตุลาคม 2562

ราคากลาง หรือ ตลาดสำคัญ ประจำวันที่ 24 ตุลาคม 2562

  • ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ 105

-โรงสีสหพัฒนา อ.สะตึก จ.บุรีรัมย์ 16,000 บาท/ตัน

  • ข้าวเปลือกเจ้าพันธุ์สุพรรณบุรี ความชื้น 15%

-โรงสีไฟโชครุ่งเรือง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก 7,600 บาท/ตัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand
  • ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ความชื้น 14.5%

-หจก. สยามโปรดักซ์ (ซ.กังวาล) อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ 8.20 บาท/กก.

  • หัวมันสำปะหลังสด

-คุณไชยเลิศ จันทร์วัฒนศิริ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี 2.50 บาท/กก. ราคาเพิ่มขึ้นจากวันที่ 22 กันยายน 2562 ที่ราคา 2.00 บาท/กก.

  • หัวมันสำปะหลังสด (แป้ง 25%)

-บริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด อ.เมือง จ.นครราชสีมา 2.20 บาท/กก.

  • ปาล์มน้ำมัน เปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์ม 17%

-ชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ 3.00 บาท/กก.

-บริษัท แสงศิริน้ำมันปาล์ม จำกัด อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี 3.20 บาท/กก.

  • ยางพาราแผ่นดิบชั้น 3

-ตลาดกลางยางพารา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 37.40 บาท/กก. ราคาเพิ่มขึ้นจากวันที่ 22 กันยายน 2562 ที่ราคา 37.09 บาท/กก.

โฆษณา
AP Chemical Thailand
  • น้ำยางพาราสด

-ร้านแสงตะวันการยาง จ.สุราษฎร์ธานี 32.50 บาท/กก. ราคาลดลงจากวันที่ 22 กันยายน 2562 ที่ราคา 33.00 บาท/กก.

  • สับปะรดโรงงาน

-โรงงานอาหารสยาม อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี 7.10 บาท/กก.

  • มะพร้าวผลแห้งขนาดใหญ่

-แหล่งรับซื้อ ผู้ใหญ่วิโรจน์ สว่างงาม อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม 1,500.00 บาท/ร้อยผล

-แหล่งรับซื้อ มะพร้าวทับสะแก อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ 1,600.00 บาท/ร้อยผล

  • มะพร้าวผลแห้งขนาดกลาง

-แหล่งรับซื้อ มะพร้าวทับสะแก อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ 900.00 บาท/ร้อยผล ราคาลดลงจากวันที่ 22 กันยายน 2562 ที่ราคา 800.00 บาท/ร้อยผล

  • มะพร้าวผลแห้งขนาดเล็ก

-แหล่งรับซื้อ มะพร้าวทับสะแก อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ 600.00 บาท/ร้อยผล

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ที่มาของภาพ https.www.kst.go.th
3.นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ที่มาของภาพ https.www.kst.go.th

สศก. ประเมินพิษโพดุล กระทบความเสียหายเศรษฐกิจ เมืองอุบล 2,027 ล้านบาท

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์อุทกภัยพายุโพดุล (ช่วงเกิดภัยตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม- 3 กันยายน 2562) ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยพบว่า (ข้อมูล ณ 21 ตุลาคม 2562) มีพื้นที่เสียหาย 23 อำเภอ

โดยด้านพืช ได้รับความเสียหายรวม 371,853 ไร่ ด้านปศุสัตว์ ได้รับความเสียหย 25,425 ตัว และด้านประมง บ่อปลาและกระชัง ได้รับความเสียหาย 5,569.80 ไร่ 5,854 ตรม. ผลการประเมินมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจในพื้นที่ประสบอุทกภัยของจังหวัดอุบลราชธานี ภาพรวมคิดเป็นมูลค่า 2,027.20 ล้านบาท จำแนกเป็นด้านพืช ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียว มันสำปะหลัง ยางพารา และอื่นๆ คิดเป็นมูลค่า 1,885.53 ล้านบาท ด้านปศุสัตว์ ได้แก่ สุกร ไก่ เป็ด และอื่นๆ 2.04 ล้านบาท และด้านประมง ได้แก่ ปลา หรือสัตว์น้ำอื่นที่เลี้ยงในบ่อดิน และสัตว์น้ำที่เลี้ยงในกระชัง คิดเป็นมูลค่า 139.63 ล้านบาท

สำหรับการแก้ปัญหาในระยะยาว กระทรวงเกษตรฯ ได้มีการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของพืชทางเลือก เพื่อเป็นข้อมูลให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตตามนโยบายบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เช่น มันสำปะหลังอินทรีย์

ซึ่งเป็นสินค้าที่น่าสนใจ และเป็นที่ต้องการของตลาด อีกทั้งยังสามารถใช้พื้นที่ทำนาปลูกได้ด้วย ทั้งนี้จากการสำรวจพบว่าภาคเอกชนต้องการรับซื้อผลผลิตจำนวนมาก ซึ่งเกษตรกรในพื้นที่ยังผลิตได้ไม่เพียงพอ โดยภายในปี 2565 ภาคเอกชนต้องการขยายพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์ให้ได้ประมาณ 80,000 ไร่ แต่ปัจจุบัน ปี 2562 เกษตรกรมีความสามารถในการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์เพียง 2,000 ไร่ เท่านั้น นอกจากนี้ภาครัฐยังได้ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องแนวทางการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากอย่างยั่งยืน เช่น  สร้างพื้นที่แก้มลิง เพื่อรองรับน้ำในฤดูน้ำหลาก และการปรับเปลี่ยนช่วงเวลาเพาะปลูกข้าว เพื่อให้ชาวนาสามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้ก่อนน้ำจะท่วม

4.กรมประมง

สถานการณ์ข่าวประจำสัปดาห์ของนิตยสารสัตว์น้ำ

มิติใหม่ การควบคุมการทำการประมงนอกน่านน้ำตามกติกาสากล เตรียมพร้อมส่งกองเรือสู่ SIOFA

ณ ท่าเทียบเรือแพ ป.ชานนท์ ต.บ่อน้ำร้อน อ.กันตัง จ.ตรัง กรมประมงปล่อยเรือประมงนอกน่านน้ำ จำนวน 2 ลำ ได้แก่ เรือมณีเงิน 5 และโชคเพิ่มสิน 1 ออกทำการประมงเป็นระยะเวลา 90 วัน บริเวณพื้นที่ Saya de Malha Bank ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรอบความร่วมมือว่าด้วยการทำประมงในพื้นที่มหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (SIOFA)

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ประเทศไทยได้มีการวางระบบป้องกันการทำประมงไอยูยู ใน 5 ด้านที่สำคัญ ได้แก่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

-ด้านกฎหมาย

-ด้านการบริหารจัดการประมงและการจัดการกองเรือ

-ด้านการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (MCS)

-ด้านการตรวจสอบย้อนกลับ

-ด้านการบังคับใช้กฎหมาย

ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีระบบการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวังเรือประมง (Monitoring Control and Surveillance) ที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และเป็นสากล เรือประมงทุกลำที่ออกทำการประมงนอกน่านน้ำสากล จะต้องปฏิบัติตามระเบียบถูกต้องตามกฎหมายทั้งของไทยและกฎหมายระหว่างประเทศ ปัจจุบันมีเรือประมงที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านน้ำในพื้นที่ SIOFA มีจำนวน 3 ลำ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยในระหว่างเรือประมงทุกลำออกทำการประมงนอกน่านน้ำ เรือทุกลำ กรมประมงจะเฝ้าติดตามพฤติกรรมการเดินเรือและพฤติกรรมการทำประมงตลอด 24 ชั่วโมง โดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ประกอบด้วยระบบระบุตำแหน่งเรือประมง Vessel Monitoring System (VMS) ระบบเฝ้าติดตามอิเล็กทรอนิกส์ Electronic Monitoring (EM) หรือกล้องวงจรปิด และระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ Electronic Reporting System (ERS)

ซึ่งเป็นช่องทางในการป้องกันปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม สามารถรายงานข้อมูลการทำการประมง การขนถ่ายสัตว์น้ำ การติดตามกิจกรรมต่างๆ ของเรือได้ตลอดเวลา อีกทั้งหากพบว่าเรือประมงมีพฤติกรรมต้องสงสัย กรมประมงสามารถร้องขอภาพเพื่อให้ระบบถ่ายภาพส่งเข้ามายังระบบเฝ้าระวังที่ศูนย์ FMC ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

กรมประมง ปล่อยเรือทำประมงนอกน่านน้ำในพื้นที่หาสมุทรอินเดียตอนใต้ 2 ลำ ยันวางระบบควบคุมตามกติกาสากล

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กรมประมงปล่อยเรือประมงนอกน่านน้ำ จำนวน 2 ลำ ได้แก่ เรือมณีเงิน 5 และโชคเพิ่มสิน 1 ออกทำการประมงเป็นระยะเวลา 90 วันบริเวณพื้นที่ Saya de Malha Bank ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรอบความร่วมมือว่าด้วยการทำประมงในพื้นที่มหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (SIOFA) สำหรับเรือมณีเงิน 5 และเรือโชคเพิ่มสิน 1 ซึ่งมีแผนออกไปทำการประมงในพื้นที่บริเวณมัลฮาแบงค์ ซึ่งเป็นพื้นที่ความรับผิดชอบภายใต้การดูแลของ SIOFA ในวันที่ 20 ตุลาคม 2562 นั้น กรมประมงได้มีการตรวจสอบความเสถียรของระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมทั้งระบบ V-SAT และ IMMARSAT เพื่อให้การทำงานของระบบการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวังเรือประมง ทั้งระบบ VMS ระบบ ERS และ ระบบ EM มีประสิทธิภาพสูงสุด สร้างความมั่นใจว่ากรมประมงสามารถควบคุมกิจกรรมการทำประมงนอกน่านน้ำให้เป็นตามกฎหมายได้เป็นอย่างดี

ด้านการตรวจเรือประมงเมื่อเข้าและออกจากท่าจะดำเนินการตรวจอย่างเคร่งครัด โดยมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่กรมประมงและเจ้าหน้าที่ชุดสหวิชาชีพจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมเจ้าท่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมการจัดหางานและตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม.)

เพื่อเก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ อาทิ รูปพรรณเรือ อัตลักษณ์เรือ อุปกรณ์ความปลอดภัยบนเรือ ใบอนุญาตประมงพาณิชย์ เครื่องมือประมง ความพร้อมระบบติดตามเรือ หนังสือคนประจำเรือ สมุดบันทึกการทำประมงสวัสดิการและความเป็นอยู่ของคนประจำเรือ การใช้แรงงานผิดกฎหมาย การรับจ่ายค่าจ้าง การจัดเวลาพักของลูกเรือ และสัญญาจ้าง ฯลฯ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเรือประมงระหว่างออกทำประมง และแสดงให้ทั่วโลกได้เห็นถึงศักยภาพของเรือประมงไทยที่ยึดหลักการปฏิบัติที่เป็นสากล ซึ่งนับเป็นการสร้างมิติใหม่ของการทำประมงนอกน่านน้ำ

สถานการณ์ข่าว ประจำสัปดาห์ของนิตยสารสัตว์บก

5.โรงเรือนแพะ
โรงเรือนแพะ สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว

เลี้ยง ‘แพะ’ อาชีพเสริมด้านปศุสัตว์ สร้างรายได้…กำไรดี 700 บาท

อาชีพปศุสัตว์ทางเลือก ที่ช่วยสร้างรายได้ดีให้แก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี คือ “การเลี้ยงแพะ” โดยเกษตรกรในจังหวัดนิยมเลี้ยงแพะเพื่อบริโภค และจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ปัจจุบันนิยมเลี้ยงสายพันธุ์บอร์ (Boer) ซึ่งเป็นพันธุ์เนื้อ เป็นที่ต้องการของตลาด ลูกค้ามักติดต่อขอซื้อถึงฟาร์ม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ซึ่งจากข้อมูลของกรมปศุสัตว์ พบว่า ปี 2561 มีเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะจังหวัดกาญจนบุรี 1,054 ครัวเรือน 45,549 ตัว แยกเป็นแพะเนื้อเพศผู้ 10,245 ตัว เพศเมีย 34,953 ตัว รวมเกษตรกร 1,040 ครัวเรือน และแพะนมเพศผู้ 136 ตัว เพศเมีย 215 ตัว รวมเกษตรกร 14 ครัวเรือน พบว่า เกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรี มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 3,119 บาท/ตัว แยกเป็นค่าพันธุ์สัตว์ 1,950 บาท ค่าแรงงาน 540 บาท และส่วนที่เหลือ 629 บาท

ส่วนใหญ่เป็นค่าอาหาร ยาป้องกันโรค และค่าเสื่อมโรงเรือนและอุปกรณ์ต่างๆ โดยแม่แพะ 1 ตัว ให้ผลผลิตลูกแพะประมาณ 2 ตัว/คอก ทั้งนี้แพะเพศเมียเมื่อมีอายุประมาณ 8 เดือน จะเริ่มผสมพันธุ์ได้ไปจนถึงอายุประมาณ 7 ปี โดยแพะจะมีอายุขัยเฉลี่ย 15 ปี สำหรับราคาขาย เกษตรกรสามารถจำหน่ายแพะเนื้อ (อายุเฉลี่ย 7 เดือน น้ำหนักประมาณ 25-30 กก.) ในราคา 3,825 บาท/ตัว (127 บาท/นน.ตัว 1 กก.) คิดเป็นรายได้สุทธิ (กำไร) เฉลี่ย 706 บาท/ตัว

ซึ่งปัจจุบันมีความต้องการรับซื้อจากภาคใต้และความต้องการของประเทศมาเลเซียจำนวนมาก ทั้งนี้การเลี้ยงจะใช้พื้นที่ไม่มากนัก เน้นให้แพะอยู่บริเวณที่จัดไว้ พร้อมทั้งหาอาหารในท้องถิ่น ได้แก่ ใบกระถินสด หรือการปลูกหญ้าแพงโกล่าในพื้นที่ของเกษตรกรเองเพื่อใช้เป็นอาหารแพะประจำวัน โดยแพะเป็นสัตว์ที่กินอาหารไม่มาก ต้องการวันละ 1-2 กิโลกรัม/วันเท่านั้น จึงไม่สิ้นเปลือง สำหรับราคาที่ขายจะแตกต่างกันไป ขึ้นกับอายุ น้ำหนัก และความสวยงาม นอกจากนี้จะมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานปศุสัตว์บริการฉีดวัคซีนป้องกันพยาธิและโรคปากเท้าเปื่อยทุก 6 เดือน เป็นประจำ

5.กรมปศุสัตว์
สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว 

สำนักงานปศุสัตว์เขต 6 เข้าตรวจสถานภาพฟาร์มปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยในสุกรขุน ที่จังหวัดนครสวรรค์

เมื่อวันที่ 16-17 ตุลาคม 2562 ทีมงานของ นายพนม มีศิริพันธุ์ ปศุสัตว์เขต 6 มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ส่วนสุขภาพสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์เขต 6 นำโดย นายไกรแก้ว คำดี ผู้อำนวยการส่วนสุขภาพสัตว์ พร้อมคณะ และเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครสวรรค์ เข้าร่วมตรวจประเมินสถานภาพฟาร์มปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยในสุกรขุน ในพื้นที่ อ.พยุหะคีรี อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ จำนวน 4 ฟาร์ม

ผลการตรวจประเมิน พบว่า ผ่านการรับรองจำนวน 4 ฟาร์ม ซึ่งโรคปากเท้าเปื่อยนั้นเป็นโรคที่ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจในด้านของปศุสัตว์ในเมืองไทยเป็นอย่างมาก เพราะเชื้อไวรัสสามารถติดต่อได้ง่าย และระบาดอย่างรวดเร็ว ทางทีมงานปศุสัตว์จังหวัดจึงจำเป็นต้องลงพื้นที่เพื่อคอยตรวจสอบและเฝ้าระวังเพื่อเป็นการป้องกันในเบื้องต้น

6.ไข่ไก่ฟองใหญ่-สด-สะอาด
ไข่ไก่ฟองใหญ่-สด-สะอาด สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว

กรมปศุสัตว์เริ่มตรวจเพื่อทำการรับรองปศุสัตว์อินทรีย์ ชนิดไก่ไข่ ที่จังหวัดร้อยเอ็ด

วันที่ 24 ตุลาคม 2562 เวลา 10.00 น.ปศุสัตว์เขต 4 มอบหมายให้ส่วนมาตรฐานการปศุสัตว์ ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกันตรวจรับรองปศุสัตว์อินทรีย์ (ชนิดไก่ไข่) ของ ส.ภาษิต ตำบลธงธานี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภค สร้างความมั่นคงทางอาหาร สถานการณ์ข่าว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สร้างรายได้และแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกร เกิดการปรับเปลี่ยนวิถีการเกษตรที่เกื้อกูลธรรมชาติ นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ตลอดจนเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตรอินทรีย์ และสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็งเชื่อมโยงทั้งระบบ รวมทั้งพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญในระดับภูมิภาค และพัฒนาระบบการตรวจและรับรองคุณภาพสินค้าปศุสัตว์อินทรีย์ไทย ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว