กุ้งดำไซซ์ใหญ่ มีอนาคต

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ล้มแล้วลุก ปลุก “กุ้งกุลาดำ” ให้ตื่น มันเป็นงานท้าทายคนในวงการกุ้งกุลาดำ โดยเฉพาะ

กุ้งกุลาดำทำให้ไทยเป็น “แชมป์โลก” มาแล้ว แต่วันนี้ต้องตามก้น กุ้งขาว และ กุ้งก้ามกราม

1.กุ้งดำ01

การพัฒนาพ่อแม่พันธุ์กุ้ง

แต่คนกลุ่มหนึ่งพยายามปลุกกุลาดำขึ้นมา ด้วยการพัฒนา พ่อแม่พันธุ์ จนได้ลูกกุ้งเลี้ยงแล้วรอด บางรายได้ไซส์ใหญ่ 20 ตัว/กก. ป้อนตลาดต่างประเทศ และรวมตัวกันทำธุรกิจในรูป “คลัสเตอร์กุ้งกุลาดำไทย” ที่มี “คุณโอ๊ต” หรือ ศักดิ์สหกรณ์ คงสมุทร เป็นประธาน ซึ่งได้ทุ่มสุดตัวในนาม ไอทีฟาร์ม ย่านภูเก็ตและพังงา ผลผลิตครอปละ 100 กว่าตัว โดยทำแบรนด์ขายในประเทศเป็นหลัก แต่ในฐานะประธานก็ต้องประสานงานทุกภาคส่วนในคลัสเตอร์ ตั้งโรงเพาะฟัก ผู้เลี้ยง แพคกิ้งเฮ้าส์ และ ห้องเย็น

“ผลผลิตกุ้งกุลาดำไทยไม่เยอะประมาณ 2 หมื่นตัน บริโภคในประเทศไม่เกิน 5,000 ตัน เลี้ยง 20 ตัว/กก. ที่เลี้ยงกุ้งขาวแล้วขาดทุน ตัดสินใจลงกุ้งดำ เพราะเป้าหมายวางไว้ 3 หมื่นตัน แต่วันนี้ทำได้ 20,000-25,000 ตัน” คุณโอ๊ต เปิดเผยต่อที่ประชุม และยืนยันว่า วันนี้เลี้ยง 10 จังหวัด ผลผลิตถึง 2,000 ตัน แน่นอน

2.กุ้งดำ02

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายกุ้งดำ ทั้งในและต่างประเทศ

แต่ด้านการตลาด คุณโอ๊ตมองไปที่จีน ก็เห็นว่ายังติดปัญหาด้านการขนส่งชายแดนลาว-จีน ที่ยังไม่เปิดด่านตรวจสอบสินค้าสัตว์น้ำ แต่ทางเครื่องบินส่งกุลาดำแบบเหมาลำเป็นไปแล้ว และถ้าไม่ต้องมีวีซ่าจีนก็จะง่ายขึ้น กุ้งดำเหมาลำจีนจากสนามบินภูเก็ต บางเที่ยว 30 ตัน/วัน โดยมีแพคกิ้งเฮ้าส์กว่า 7 ราย

กุ้งเป็นๆ ขึ้นเครื่องไปจีน 30 ตัว/กก. ราคา 245 บาท นอกจากนี้ยังมี กุ้งต้ม ของ โกลเด้นท์ซีฟู้ดส์ มีเป้าการผลิตกว่า 2,500 ตัน หรือ 20% ของผลผลิตกุ้งดำ ส่วนตลาดในประเทศก็มีผู้ผลิตและทำตลาดเอง เช่น ของ หมอเจี๊ยบ ไซซ์จัมโบ้ 8-12 ตัว/กก. มีแบรนด์เป็นของตัวเอง ส่วนกุ้งแช่แข็งมีหลายห้องเย็น เช่น ปิติฟู้ดส์ หลีฮง โชติวัฒน์ ทีอาร์เอฟ หรือ เต็มซีฟู้ด เป็นต้น และขอฟันธงว่า กุ้งเป็น กุ้งต้ม และ กุ้งดิบพรีเมียม ทำราคาได้ ทำแล้วมีกำไรแน่นอน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

3.กุ้งดำ03

โดยเฉพาะกุ้งไซซ์ใหญ่ที่หมอเจี๊ยบผลิต ราคาไม่ต่ำกว่า 250 บาท/กก. ตลาดมีความต้องการถึง 2,000 ตัน/ปี เพราะช่วงมรสุมหากุ้งใหญ่จากทะเลยาก แต่ไซซ์ที่ตลาดต้องการมากที่สุด คือ 26-40 ตัว/กก. 40 ตัว/กก. กุ้งต้มไม่ต่ำกว่า 185 บาท ถ้าเป็นกุ้งฟรีซ 175-180 บาท และ 26 ตัว 300 บาท แต่ถ้าไซซ์ 41-60 ตัว/กก. เป็นไซซ์เล็กสุด ยังพอมีตลาด แต่ถ้าเล็กกว่านี้ไม่มีราคา

“วันนี้จีนคือคู่ค้าสำคัญ กุ้งกุลาดำเขานำเข้า 3% ก็น่าจะเติบโตได้ แต่จีนก็ส่งเสริมการผลิตในช่วงโควิด แต่กุ้งกุลาดำไทย เรื่อง สี กลิ่น และ รสชาติ และบางไซซ์ที่จีนทำไม่ได้ นี่คือโอกาสของกุ้งดำ แม้จีนผลิตได้แสนกว่าตัน แต่เขาบริโภคเกิน 3 เท่า เราจึงต้องปรับการเลี้ยงและระบบให้เหมาะสม” คุณโอ๊ต มองตลาดจีนว่า ยังมีโอกาสของผู้เลี้ยงกุลาดำ จึงแนะนำว่าปีนี้ต้องจับคู่ทำสัญญา 1.ทำ MOU ผลิตล่วงหน้าของแต่ละห้องเย็น 2.วางแผนการเลี้ยงให้ได้ไซซ์คุณภาพตามตลาดที่มีกำไร 3.เรื่องสายพันธุ์ กุ้งปลอดเชื้อ แคระแกร็น 4.ต้นทุนในการเลี้ยงไร่ละ 3 หมื่น-2 แสน ต้องวางแผนการจัดการ และ 5.ตลาดรองรับแน่นอน

4.กุ้งดำ04

คำถามจากผู้ร่วมสัมมนา

กุ้งเป็นไปจีนได้ หรือว่าส่งได้แค่ฮ่องกง??

คุณโอ๊ต ตอบว่า อ.ชลอ บอกว่า วิกฤตอสังหาฯ จีนล้มเป็นโดมิโน แต่ก่อนจีนสั่งอาหารเต็มโต๊ะ กินทิ้ง กินขว้าง ตอนนี้เอากลับบ้าน พฤติกรรมประหยัดมากขึ้น แต่มันมีกลุ่มต้องพึ่งห้องเย็นของเรา ถ้าห้องเย็นเราไม่ทำก็ตาย อีกอย่างตลาดในประเทศต่อให้ดันแทบตายก็ยังมีคู่แข่ง กุ้งดำธรรมชาติ กุ้งก้ามกราม กุ้งขาว การกระตุ้นกุ้งกุลามาบริโภคไม่เกิน 3,000 ตัน เป็นเรื่องยากมาก หมอเจี๊ยบขายเป็นตัว ตัวหนึ่ง 200 กว่าบาท ต้องใช้เชฟฝีมือดี ต้องได้ 8-12 ตัว/กก. ถ้าเชฟไม่เป็น ปรุงสุกเกินไป เนื้อแข็ง ไม่อร่อย ผมทำ 20-35 ส่งเชฟอาหารญี่ปุ่นไปปั้นเป็นซูชิ กินเป็นคำ แค่นึ่งมีเดียมมันนุ่ม นั่นคือความเข้าใจของตลาด เราต้องปรับตัวเข้าหาตลาด

5.กุ้งดำ05

ถ้าจีนมีนโยบายฟรีวีซ่า แล้วจีนรัดเข็มขัด และมณฑลกวางสีผลิตกุ้งได้เยอะ เขาจะสั่งไซซ์เล็กของเราน้อย ลงสั่งไซซ์ใหญ่เพิ่ม แต่จีนยังทำไม่ได้เรื่องสีกับรสชาติ หรือความหวานเหมือนไก่เบตง เนื้อกับหนัง ก็คือ ไก่เบตง กุ้งกุลาบ้านเราไม่ใช่กุ้งกุลาเมืองจีน ถ้าเราใส่ความปลอดภัยเข้าไปด้วย คือ โอกาส ฉะนั้นครอปปลายปีพวกผมลงกุ้งดำเพิ่ม 3 เท่าตัว มีห้องเย็น 4 โรง มีสนามบินภูเก็ต ถ้าเพิ่มสนามบินพังงาจะเป็นอันดามันแอร์พอร์ตขนส่งทางอากาศ พื้นที่ส่งกุ้งไปจีนจะมากขึ้น แต่ถ้าจีนวิกฤตขาลง กุ้งกุลา 70% ไปจีน ดังนั้นเราต้องวางแผนไปตะวันออกกลาง ณ วันนี้เรามี ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย ดังนั้นความเป็นคลัสเตอร์ คือ การจับมือกันทุกภาคส่วนส่งสัญญาณซึ่งกันและกัน การที่เราเพิ่ม 5,000 ตัน ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็ก แต่จริงๆ เป็นเรื่องใหญ่

6.กุ้งดำ06

อยากให้ชี้ชัดๆ ว่า อีก 3 เดือน สัญญาณจากจีนจะดีมั๊ย??

ในห้องคลัสเตอร์จะมีผู้เล่นหน้าใหม่ๆ ว่า แพซื้อแล้ว ในส่วนที่ไปจีนมีทั้งกุ้งต้มที่กินอาหาร เร่งสี ไม่ใช่แค่หมักน้ำ ไม่ใช่แค่ปูพีอี หมายถึง สีใส่อาหารเป็นสีแดง โกลเด้นท์บอกว่า ตลาดจีนแฮปปี้มาก ออสเตรเลียก็ชอบ ญี่ปุ่นก็เปิดได้ ถ้าสีนี้ กุ้งต้มจึงเป็นอีกตัวหนึ่งที่เป็น จุดแข็ง จุดขาย กุ้งต้มไปทางเรือ ไปทางรถได้ เรามีจุดแข็ง คือ สีเราดีมาก รสชาติหวานมาก ราคากลางของคลัสเตอร์ กุ้งดำไปจีน 30-32 ตัว/กก. 250 บาท เป็นราคาค้ำประกันเชิงจิตวิทยา หากแพคกิ้งเฮ้าส์ หรือห้องเย็น อยากซื้อต่ำกว่านี้ ราคานี้จะค้ำไว้ไปกรมประมง วันนั้นโกลเด้นท์บอกว่า ถ้ากรมช่วย อย่าให้มีกุ้งหัวเขียว หัวแตก หรือเชื้อแคระแกร็น ไปโผล่ปลายทาง เวลาต้มแล้วเป็นสีเขียว หรือต้มแล้วตรวจ DNA เจอโรคตัวแดงดวงขาว เจอแคระแกร็น กรมต้องสนับสนุนช่วยคัดกรอง จะทำให้มีโอกาสทำตลาดเพิ่ม อันนี้รายใหญ่ส่งออก 30% เป็นคนพูด

7.กุ้งดำ07

วันนี้โกลเด้นท์ค้ำราคาได้ ทั้งกุ้งดำ กุ้งขาว เขาบอกถ้าหยุดซื้อ 3,000 ตัน ราคามันจะสูง แต่ถ้าผู้เลี้ยงรายใหญ่ยังมีกำลัง รัฐสนับสนุนผู้เลี้ยงให้ผลิตกุ้งให้เขาได้ ตลาดของเขาโตได้ ตัวนี้จะค้ำราคาไว้ กุ้งดำ 30 ตัว/กก. ต่ำกว่า 245 บาท ผมขาย 30 ตัว 245 บาท คนที่จับ คือ อัสเติ้ล กับหงไห่มารีน วันละ 800 กก. ไซซ์ 30-32 ตัว ราคา 245 บาท เกษตรกรพอใจ แต่กุ้งดำใช้เวลาเลี้ยง 30 ตัว 5 เดือน ถ้าไซซ์แบบหมอเจี๊ยบ 8 เดือน ที่พังงา รายใหญ่ 2,000 ตัน เลี้ยง 200 กว่าวัน ลงกุ้งไร่ละ 2-3 แสนตัว แล้วย้ายไป 4-5 บ่อ นั่นคือการบริหารต้นทุน กุ้งดำถ้าเจอ 7 ไซซ์ ก็ต้องร่อนย้าย แตกไซซ์เยอะ ยิ่งต้องย้าย อย่าง เชนแฮชเชอรี ลง 2 ล้าน 200 ตัว ย้ายลากอวนเอากุ้งหัวไปลงบ่อ 1 บ่อ 2 ตัวเล็กโตขื้นมาก็ไปลงต่อ ขอให้สายพันธุ์โต ไม่ใช่จิ๊กโก๋ และติดแคระแกร็น หลังดำอีก ไม่ลอกคราบ เรื่องกุ้งดำต้องทำอีกเยอะ ต้องวางแผนร่วมกัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

8.กุ้งดำ08

ในเรื่องการขนส่งกุ้งไปจีนแบบเหมาลำอาทิตย์ละครั้ง ร่วมกับสัตว์น้ำตัวอื่นได้มั๊ย??

ช่วงโควิด ได้คุยกับ AOG รวมแพคกิ้งเฮ้าส์ทั้งหมด แต่แก้ปัญหาระยะสั้น การส่งสินค้าให้เต็มลำขึ้นกับไฟท์บิน และค่าใช้จ่ายที่ภูเก็ต ไม่ได้มีแต่การบินไทยอย่างเดียว แต่มีเวียตเจททำเป็นคาร์โก้ เอาเก้าอี้ออก แต่การบินไทยไม่เอาออก ช่วงนั้นเราใช้เวียตเจท ถ้ากุ้ง 2 หมื่นตัน เป็นกุ้งดำไซซ์ใหญ่ 15-20 ตัว ไม่พอ เพราะมีประเทศอื่นๆ ซื้อด้วย แต่ผมต้องแยก 5 ไซซ์ อย่าให้เล็กเกิน 60 ตัว และกลุ่มใหญ่ 26-40 ตัว/กก. ถึง 50% แต่ราคาไม่ต่ำกว่า 200 บาท

จากข้อมูลของประธานคลัสเตอร์กุ้งกุลาดำ คุณศักดิ์สหกรณ์ ก็พอจะเห็น ร่องรอย ของอุตสาหกรรมกุ้งดำของไทยในปีนี้ได้บ้าง เพราะผู้ประกอบการตลอดห่วงโซ่ธุรกิจล้วนมีฝีมือในระดับที่พอจะเป็นความหวังได้ระดับหนึ่ง และหากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตั้งใจทำงานให้ตรงเป้า ก็พอจะอนุมาณได้ว่า “กุ้งดำ” น่าจะมีอนาคต

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 415