พืชยาง ที่ชื่อ มะละกอ ถิ่นกำเนิดจากอเมริกา วันนี้กลายเป็นผลไม้สากล เพราะมนุษย์กินมะละกอเป็นอาหาร หลายคนกินมะละกอเป็นยา ยืดอายุ
มะละกอ เป็นพืชยาง สูง 5-10 เมตร เข้ามาในไทยสมัยอยุธยา อินเดียได้แปรรูปผลสุกเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ถึง 43% ในปี พ.ศ.2553 กรมประชาสัมพันธ์ ได้สรุปประโยชน์ของมะละกอสุก เผยแพร่เมื่อ 21 ธ.ค. 65 ว่า เป็นผลไม้ที่รสหวาน อร่อย อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามิน A และ C เสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย บรรเทาอาการเลือดออกตามไรฟัน บำรุงเลือดและน้ำนม และ ต่อต้านมะเร็ง เป็นต้น
และ โรงพยาบาลทุ่งใหญ่ ได้เผยแพร่สรรพคุณหลายประการของมะละกอ เมื่อ 6 มิ.ย. 66 และ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ได้นำเสนอมะละกอว่า เป็นไม้ล้มลุก สูง 3-6 เมตร ลำต้นตรง ไม่มีแก่น แตกกิ่งก้านน้อย ยางขาวข้น ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรอบต้น หนาแน่นที่ปลายยอด ดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ดอกตัวผู้เป็นช่อดอกยาวห้อยลง มี 5 กลีบ ดอกกลิ่นหอม ดอกตัวเมียสีขาว ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ขนาดใหญ่กว่าดอกตัวผู้ ผลเป็นรูปกระสวย ผิวเรียบ เปลือกบาง ผลสดเขียวเข้ม พอสุกเป็นสีส้ม เม็ดมาก
สรรพคุณของมะละกอ
เนื่องจากมะละกอมีหลายสายพันธุ์ เป็นอาหารของคน ทั้งของคาวและและของหวาน เป็นผลไม้สุขภาพที่โลกยอมรับมากขึ้น โดยเฉพาะ ใบมะละกอ ถูกญี่ปุ่นนำไปจดสิทธิบัตรต้านมะเร็งหลายชนิด ซึ่งเรื่องนี้ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน อดีต รมต.สาธารณสุข และรองนายกฯ ปัจจุบันได้ใบมะละกอมาต้มดื่มโชว์ทางสื่อว่า สามารถต้านมะเร็งได้ เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 65 และ 29 ธ.ค. 66 ก็ได้นำหมอชื่อดัง และคนเป็นมะเร็งระยะ 4 มาโชว์ทางสื่อว่า ดื่มน้ำมะละกอแล้วหยุดมะเร็งได้ กลายเป็นประเด็นร้อน จน สถาบันมะเร็งฯ ฟันธงว่า ข่าวที่สื่อออกเป็นเฟกนิวส์ แต่คุณสมศักดิ์ก็ผลักดันให้รัฐเดินหน้าทำวิจัยต่อไป ขณะที่ ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ ได้พูดเรื่องน้ำมะละกอทางสื่อ ป้องกันมะเร็งลำไส้และอื่นๆ
การปลูกมะละกอ
อย่างไรก็ดี มะละกอก็จะต้องเป็นอาหารของมนุษย์และคนไทยหลายล้านคน ก็คงต้องกินมะละกอทั้งดิบและสุกต่อไป ตราบใดที่ เมนูส้มตำ อาหารอีสาน ยังเป็นอาหารหลักที่กระจายไปทั่วโลก แต่มะละกอดิบมีหลายสายพันธุ์ ที่นิยมปลูก ได้แก่ “แขกนวล” และ “แขกดำ” เพราะเนื้อแน่น กรอบ เมื่อเป็นส้มตำจะแซบมากๆ
เกษตรกรนิยมปลูก เช่น คุณธาวิดา ศิริสัมพันธ์ หรือ แบงก์ หมู่ที่ 8 บ้านเกาะ ต.จันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ จำนวน 47 ไร่ ตามรอยบิดา โดยการคัดเลือกพันธุ์ด้วยตนเอง ยืนยันว่า มะละกอเป็นพืชต้องให้น้ำและปุ๋ยมาก เป็นพืชที่ “ราคา” ขึ้นลงไว จนคาดการณ์ไม่ถูก ดังนั้นเขาจึงปลูกไว้เป็นรายได้เสริม พร้อมกับปลูกขนุน พันธุ์ทองประเสริฐ ควบคู่ไปด้วย ยืนยันว่า ช่วงที่มะละกอดิบราคาหน้าสวน กก.ละ 3 บาท รายได้ดีมาก แต่พอราคา กก.ละ 25 สต. รายได้ก็ตกไปมาก เมื่อปี 66 ราคามะละกอพุ่งขึ้น กก.ละ 28 บาท แต่เสียดายตนได้โค่นมะละกอทิ้ง เพราะขนุนยึดพื้นที่ทั้งหมด เนื่องจากอายุเกือบ 7 ปี และก็มีรายได้จากการขาย ขนุนอ่อน และ ขนุนแก่ แต่ถ้าเทียบกับมะละกอแล้ว รายได้มะละกอดีกว่ามากๆ โทร.083-167-6282
การป้องกันและกำจัดโรค แมลง ศัตรูพืช
อย่างไรก็ดี การปลูกมะละกอทุกสภาพพื้นที่ ยังเผชิญกับ โรคไวรัสวงแหวน ทำลายมาตลอด เกิดจากเชื้อไวรัส PRV โดยมี แมลงหวี่ขาว และแมลงปากดูดทั้งหลาย เป็นพาหะ เมื่อเป็นแล้วเชื้อจะเข้าไปในเซลล์ผ่านทางท่อน้ำและอาหารจนทั่วลำต้น
กรมวิชาการเกษตร จึงแนะนำให้ป้องกันด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ น้ำหมักสูตรน็อคเพลี้ย หรือเชื้อราบิวเวอร์เรีย เป็นต้น ไม่ควรใช้ปุ๋ยขี้ไก่ เพราะมีโซดาไฟ หรือใช้ผงกาแฟ หรือหัวกลอย กำจัดเพลี้ย เป็นต้น และไม่ควรปลูกเกิน 2 ปี หรือไม่ปลูกซ้ำที่เดิม เพราะมันสะสมโรคมากขึ้น
เรื่องนี้มันท้าทายนักลุยธุรกิจเกษตร ด้วยทฤษฎีและการปฏิบัติจริงด้วยตัวเอง อย่าง อ.เล็ก โปรพลัส ที่เข้าใจมูลฐานแห่งการเกิดโรควงแหวนมะละกอ “มะละกอเป็นพืชจุดอ่อน แมลงสำคัญของมัน คือ ไรแดง เมื่อมันดูดเข้าไปจะมีใยขึ้นตามยอดและใบเป็นจุด คนเห็นคิดว่าเป็นรา ไวรัสเข้าจากไร พอมันดูดน้ำเลี้ยงจากต้นที่เป็นไวรัสข้ามไปดูดอีกต้น อาการจะออกใน 1 นาที เพราะมะละกอเป็นพืชฉ่ำน้ำ” อ.เล็ก เปิดเผย
และให้ข้อสังเกตว่า เมื่อไรแดงเข้าจะมียางเกล็ดน้ำตาลอยู่ที่ก้าน เพราะก้านเกิดอาการช้ำเลือดช้ำหนอง ไรแดงมักจะระบาดในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม และช่วงนี้ชาวไร่อ้อยตัดอ้อย ทำให้ไรแดงมาที่มะละกอ ดังนั้นจะต้องฉีดยากันไรแดงทุก 3 วัน จึงจะเอาอยู่ นอกจากนี้ยังมี เพลี้ยไฟ เข้าทำลายที่ดอกมะละกอ โดยอาศัยกลีบดอกแล้วกัดกิน “ถ้าอยากรู้ว่ามีอะไรเข้าดอก ก็เอาดอกหรือยอดแล้วเคาะบนโทรศัพท์ที่ปิดดำ จะเห็นขีดของเพลี้ยไฟ หรือจุดแดงๆ ของไรแดง เวลาพ่นยาว่ามันอยู่หรือไม่ ต้องเอาโทรศัพท์เข้าไปตีใบหรือดอกให้มันออกมา จึงจะเคาะได้ว่าตัวนี้คืออะไร”
ส่วนใหญ่ชาวสวนเมื่อมะละกอเจอไวรัส รักษาไม่ได้ ก็ต้องตัด ทั้งๆ ที่รักษาได้ โดยใช้ โปรพลัส บวกกับ วัคซีน ฉีดทุกๆ 3 วัน ไม่เกิน 3 ครั้ง หายขาด มีตัวอย่างให้ศึกษา เช่น สวนมะละกอที่ปากช่อง เป็นต้น หลังจากพ่นยาปรากฏว่าอาการด่างของลูกมะละกอหายไป และแตกยอดใหม่
ด้วยเหตุนี้ อ.เล็ก จึงต้องพกอุปกรณ์ต่างๆ เหมือนหมอ เช่น กล้องขยาย 2 ตัว เพื่อตรวจไวรัสที่ระบาดจากพาหะ เป็นต้น โดยเฉพาะช่วงธันวาคม-มกราคม
จริงๆ แล้ว การทำมะละกอให้สมบูรณ์ ต้องดูแลตั้งแต่ดิน และการให้ธาตุอาหาร ยิ่งเขาติดโรคเท่าไหร่ อาหารที่ให้เรียกอัตราก้าวหน้า อ.เล็ก ให้ความเห็นถึงการป้องกันโรค
สภาพพื้นที่ปลูกมะละกอ
การปรับดินให้สมบูรณ์เพื่อให้รากเดินได้ดี ด้วยการฝัง EF BALL 1 ลูก/1 ต้น ที่ประกอบด้วย ผงแร่แทคโตซิลิเกต จากอินโดนีเซีย รำละเอียด ปุ๋ยขี้นกกระทา จุลินทรีย์ทนความร้อนสูง หรือจุลินทรีย์อีเอ็มซุปเปอร์ SUPER MICROMICS เป็นบอลที่มีพลังแร่ และจุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูง ช่วยให้ดินมีชีวิต มีคลื่นพลังงานควอนตัมที่ครอบคลุมเสริมสร้างรากมะละกอให้ลงลึก ซึมซับธาตุอาหารและน้ำได้ดี
นอกจากนี้จุลินทรีย์ใน EF BALL จะแตกตัวออกมาย่อยอินทรียวัตถุ (OM) ให้เป็น ฮิวมัส พืชกินปุ๋ยตกค้างในดินมากขึ้น การปรับดินให้สมดุลมีอาหารเพียงพอ รากเดินได้ดี เพราะดินฟู ต้นจะอวบใหญ่ พร้อมที่จะกินปุ๋ยที่ต้องการ
เมื่อถามถึง ปุ๋ยเคมี อ.เล็ก ให้ความเห็นว่า มันเป็นอาหารหลัก ทำอย่างไรใส่แล้วให้พืชกินหมด โดยการผ่านกระบวนการเมตาโบลิซึม แปลงเป็นเนื้อเยื่อและผล ตัวที่จะมีโทษ คือ ไนโตรเจน หากพืชยังสังเคราะห์แสงแล้วใช้ไม่หมด แต่การให้ปุ๋ยมะละกอจะเน้นตัวท้ายเป็นหลัก เพื่อให้หวาน ซึ่งการใช้ปุ๋ยเคมี อ.เล็ก ได้ใช้ ขี้นกกระทา เป็นหลัก แต่บางพื้นที่เกษตรกรต้องใส่ด้วยวิธีที่ให้พืชกินได้หมด
สำหรับพื้นที่ ดินเหนียว ซึ่งมีธาตุโปแตสเซียมสูง ถ้าน้ำซึมได้ยาก อ.เล็ก แนะนำให้ใช้ “ท่อแม่เหล็ก” เสริมเข้าไป จะทำให้น้ำซึมได้ง่ายขึ้น และดินเหนียว มะละกอจะหวานจัด รสชาติดี แม้มะละกอต้องการน้ำ แต่ไม่ชอบน้ำมาก น้ำขังจะตายง่าย 2 วัน เรียบร้อย
ข้อควรระวัง ก็คือ ห้ามใช้ ยาฆ่าหญ้า อย่างเด็ดขาด เพราะโดนนิดเดียวเป็นแผลลึกและยาว ต้นไม่สมบูรณ์
เมื่อถามถึง pH ดิน อ.เล็ก ยืนยันว่า ต้อง 6.5 ถ้าดินเป็นกรดมาก แก้ด้วยการใช้ระบบอีเล็คตรอนมาช่วยปรับ ซึ่ง ระบบโปรพลัส แก้เรื่องนี้มาตลอด
การบำรุงดูแลต้นมะละกอ
ต้องย้ำว่า มะละกอ เป็นพืชอวบน้ำ มีจุดอ่อน หากเชื้อเข้าไปในเซลล์มันมีอาหารกิน จะแสดงอาการทันที โรคจึงเข้าง่าย ดังนั้น อ.เล็ก จึงเน้น ป้องกัน มากกว่า การรักษา ทั้งๆ ที่รักษาได้ จึงไม่แปลกใจที่เห็น อ.เล็ก หมักเชื้อบิวเวอร์เรียฉีดมะละกอเป็นประจำ ฉีดทั้งข้างบนและข้างล่างของต้นช่วงตอนเย็น ยกเว้นระบาดมาจากที่อื่น ต้องใช้สารเคมีล้างครั้ง หรือ 2 ครั้ง หลังจากนั้นก็ฉีดตามปกติ
สำหรับการฟื้นฟูมะละกอที่เจอไวรัสจากพาหะต่างๆ เมื่อใช้ระบบโปรพลัสบวกท็อกซิน ฉีดทุก 3 วัน นั่นก็เพราะ ท็อกซิน-ดี เป็นสารกำจัดโรคพืชกลุ่มไมโครท็อกซิน ซึ่งสกัดสารพิษจากจุลินทรีย์กลุ่มทำลายโรคพืชทางใบ ได้แก่ ไตรโคเดอร์มา และ คีโตเมียม สเตรปโตมัยซิน ท็อกซิน-ดี เป็นสารสกัดประเภทสัมผัสกึ่งดูดซึม ประกอบด้วยไมโครท็อกซินหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มทำลายเชื้อโรคต่างกัน ทำให้เชื้อโรคจับทิศทางไม่ได้ จึงไม่แสดงอาการดื้อยา ใช้ป้องกันและกำจัดรากเน่าโคนเน่าฯ โดยเฉพาะ
สายพันธุ์มะละกอ
เรื่องสายพันธุ์มะละกอ ก็เป็นส่วนหนึ่งในการตอบโจทย์ทางธุรกิจ อ.เล็ก ให้แง่คิดว่า จะปลูกพันธุ์อะไร มันขึ้นอยู่กับว่ามีตลาดแบบไหน กินดิบหรือกินสุก “พวกกินดิบก็มีแขกดำเนิน บางคนก็เอาแขกดำ หรือบางคนก็เอาแขกนวลต้นเตี้ย มะละกอกินดิบจะทานไวรัสมากกว่ากินสุก เพราะมันไม่ต้องรอการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล เชื้อก็เลยไม่ค่อยกิน” อ.เล็ก ให้ความเห็น และยืนยันว่า มะละกอทุกพันธุ์ ถ้าเอาโรคเข้าเซลล์ก็อ่อนแอทั้งนั้น จำเป็นต้องฉีดยารักษา
อย่างไรก็ดี เวลานี้ อ.เล็ก ได้เสนอให้เกษตรกรทำสาวมะละกอ หากต้นสูงเกินไป ที่จังหวัดตากทำสาวได้ 3 รุ่นแล้ว โดยใช้ ระบบโปรพลัส ให้ตามันแตกหลายกิ่ง แต่จะเลี้ยงกิ่งเดียว ไม่เกิน 4 เดือน ได้ผลผลิตเร็วกว่าปลูกใหม่ และต้นทุนต่ำกว่าการปลูกใหม่ชัดเจน
จากประสบการณ์ของ อ.เล็ก โปรพลัส จะเห็นว่า การปลูกมะละกอมีความยั่งยืน ไม่ต้องย้ายที่ปลูก เมื่อเกิน 2 ปี ไม่กลัวไวรัสใบด่าง และทำสาวได้ด้วย ต้นทุนต่ำกว่า การย้ายที่ปลูกใหม่ แต่ผลผลิตมากกว่าเดิม ขณะที่ตลาดมะละกอมีทั้งดิบและสุก เป็นพืชสุขภาพ กินเป็นยาและอาหาร กินได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกศาสนา
สนใจระบบสำเร็จ อ.เล็ก โปรพลัส บริษัท โกรเวอร์ พลัส จำกัด 293/36 ซอยรามอินทรา 119 แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ10150 โทร.063-997-8949