การทําไร่นาสวนผสม ปราชญ์ชาวบ้านสนามชัยเขต รวยเพราะใช้เศรษฐกิจพอเพียง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในสังคมยุคปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ที่มักพึ่งพาเทคโนโลยีในการใช้ทำกินเพื่อความสะดวกสบายในการประกอบอาชีพ โดยไม่คำนึงถึงต้นทุนของเทคโนโลยีที่นำมาใช้ แต่มีเกษตรกรบางส่วนที่ไม่เน้นพึ่งพาเทคโนโลยีในการประกอบอาชีพ อย่างเช่น ลุงเลี่ยม บุตรจันทา เกษตรกรชาวนาสวนผสม จ.ฉะเชิงเทรา ผู้ที่น้อมนำแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ในการดำเนินชีวิต ทำให้ชีวิตของเกษตรกรผู้นี้อยู่อย่างมีความสุขได้โดยปราศจากเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ การทําไร่นาสวนผสม

1.การทำไร่นาสวนผสม ฉบับ ลุงเลี่ยม บุตรจันทา เกษตรกรชาวนาสวนผสม จ.ฉะเชิงเทรา
1.การทำไร่นาสวนผสม ฉบับ ลุงเลี่ยม บุตรจันทา เกษตรกรชาวนาสวนผสม จ.ฉะเชิงเทรา

การทําไร่นาสวนผสม  ของลุงเลี่ยม บุตรจันทา เกษตรกร

เขาได้ทุ่มเทแรงกาย และแรงใจ ของเขาเพื่อสร้างทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาต้องการ และประสบความสำเร็จในชีวิตจากการใช้ชีวิตแบบพอเพียง และการใช้ชีวิตแบบหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้เองทำให้เขามีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นมาก ซึ่งปัจจุบันลุงเลี่ยมได้ทำไร่นาสวนผสม

โดยการปลูกข้าวหอมมะลิแดง ข้าวเหนียวดำ หอมดง และข้าวไรซ์เบอรี่ โดยกระบวนการการทำนาต่างๆ นั้นทำเองหมดทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปลูก การสีข้าว การแปรรูป การบรรจุภัณฑ์ จากการทำนาแบบพึ่งพาตนเอง ทำให้ลุงเลี่ยมมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และได้รับการยกย่องให้เป็นนักปราชญ์ชาวบ้านไปโดยปริยาย

เดิมทีลุงเลี่ยมเป็นชาวจังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบอาชีพทำไร่มันสำปะหลังมาอย่างยาวนาน ด้วยปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูง ตลอดจนเกิดวิกฤตราคาตกต่ำของมันสำปะหลัง ทำให้เกิดเป็นหนี้  จึงเป็นสาเหตุให้ลุงเลี่ยมต้องตัดสินใจเลิกปลูกมันเมื่อปี พ.ศ. 2529 แล้วขายที่

แล้วก็อพยพมาอยู่ที่อำเภอสนามชัยเขต เมื่อปี พ.ศ.2530 และตัดสินใจซื้อที่แปลงนี้ 20 ไร่ เพื่อเริ่มทำนาปลูกข้าว และแล้วจากการทำนาใน 2 ปีแรก ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทำให้เขาตัดสินใจหันมาปลูกข้าวโพดแทนเลี้ยงสัตว์ แต่สุดท้ายแล้วผลที่เขาได้รับจากการทำไร่ข้าวโพดก็คือ การเป็นหนี้อีกเช่นเดิม จนเป็นสาเหตุที่ทำให้มีปัญหาครอบครัวตามมา

และทำให้ลุงเลี่ยมหาทางออกโดยการออกไปหาสังคมใหม่นอกบ้าน จนทำให้ลุงเลี่ยมกลายเป็นคนติดเหล้า ติดบุหรี่ ซึ่งวิธีนี้ก็เป็นวิธีที่ลุงเลี่ยมใช้แก้ปัญหา หรือเป็นวิธีหลีกหนีปัญหาก็ว่าได้แต่ที่สุดแล้วลุงเลี่ยมก็ได้คำตอบว่าการที่ได้ออกไปอยู่กับสังคม เหล้า บุหรี่ นั้น ไม่ใช่ทางออกที่แท้จริง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.ตามคันนาจะปลูกพืชผักสวนครัว
2.ตามคันนาจะปลูกพืชผักสวนครัว

การทำเกษตรแบบผสมผสาน

จนถึงปี พ.ศ.2539 ลุงเลี่ยมได้มีโอกาสออกไปเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพียงแค่ 3 วัน ทำให้ได้แนวคิดในการทำบันทึกข้อมูลรายจ่าย หลังจากนั้นลุงเลี่ยมจึงทำบันทึกข้อมูลรายจ่ายทั้งปี ซึ่งจากการสรุปบันทึกรายจ่ายพบว่า “สิ่งที่เราใช้จ่ายซึ่งไม่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตเราประมาณ 75% ส่วนสิ่งที่เราใช้จ่ายและจำเป็นต่อชีวิตเราประมาณ 25% ถ้าหากเราตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้ แล้วหันมาวางแนวทางในการประกอบอาชีพผสมผสาน เน้นแบบอย่างการลดต้นทุนก็จะมีแนวโน้มให้ความเป็นอยู่ดีขึ้นอย่างแน่นอนลุงเลี่ยมพูดถึงแนวคิดในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องของตน

จึงตัดสินใจในการปฏิรูปตัวเอง โดยเริ่มจากการนำข้อมูลรายจ่ายทั้งปีของปี 2539 มาวางแผนสู่การปฏิบัติ และเมื่อปี พ.ศ.2540 ลุงเลี่ยมได้ลงมือปฏิบัติ โดยเริ่มจากการปลูกผัก ปลูกข้าว ไว้กินเองภายในครอบครัว ทำให้ไม่ต้องออกไปหาซื้อข้างนอก และไม่เสียค่าใช้จ่ายในเรื่องของอาหารการกิน

การเริ่มต้นใหม่ของลุงเลี่ยมนั้นต่างจากคนอื่นตรงที่ลุงเลี่ยมไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์ แต่ลุงเลี่ยมเริ่มต้นจากติดลบด้วยหนี้สินต่างๆ มากมาย จึงทำให้ต้องสู้เพื่อครอบครัว โดยการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออก และปลูกข้าว ปลูกพืชผักสวนครัว ไว้บริโภค และจำหน่าย สร้างรายได้

3.ต้นยางนาเพื่อใช้ในการทำน้ำมันหอมระเหย
3.ต้นยางนาเพื่อใช้ในการทำน้ำมันหอมระเหย
เตากลั่นน้ำมันหอมระเหย-ที่ใช้ต้นยางนาในการกลั่น
เตากลั่นน้ำมันหอมระเหย-ที่ใช้ต้นยางนาในการกลั่น
ต้นฝางที่นำมาต้มชงกับน้ำ
ต้นฝางที่นำมาต้มชงกับน้ำ
นำแก่นของต้นฝางมาชงกับน้ำ
นำแก่นของต้นฝางมาชงกับน้ำ

ประโยชน์ของการทำเกษตรแบบผสมผสาน

การหันกลับมาปลูกข้าวในครั้งนี้ ได้ใช้พื้นที่ 5 ไร่ในพื้นที่ลุ่ม ปลูกข้าวเหนียวสันป่าตอง ข้าวหอมมะลิแดง ข้าวหอมดง ส่วนพื้นที่ดอน ก็จะใช้ในการปลูกผักสวนครัวนานาชนิด เพื่อใช้ในการบริโภคภายในครัวเรือน และทั้งนี้ยังนำเอาแนวทางของในหลวง ที่ตรัสไว้ว่า “ปลูกพืช 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” มาใช้บริหารจัดการในพื้นที่ของตน

โดยเนื้อหาของพืช 3 นั้น จะพูดถึงพืชที่เป็นทั้งอาหาร และยา คือ พืชอย่างที่ 1 ส่วนพืชใช้เป็นอาหาร และสมุนไพร  พืชอย่างที่ 2 หมายถึง พืชที่เป็นบำนาญเอาไว้กินตอนแก่ เป็นบำนาญชีวิต เช่น ตะเคียนทอง ยางนา ชิงชัน พยุง ฝาง ฯลฯ และ พืชอย่างที่ 3 หมายถึง พืชที่ปลูกและโตเร็ว เช่น กระถินยักษ์ กระถินเทพา สามารถตัดมาทำเป็นฟืน และถ่าน ได้

ต้นหอมและต้นกระเทียมที่ปลูกไว้รอบคันนา
ต้นหอมและต้นกระเทียมที่ปลูกไว้รอบคันนา
ชี้ให้ดูต้นพริกที่ปลูกไว้
ชี้ให้ดูต้นพริกที่ปลูกไว้

ทั้งนี้บริเวณรอบแปลงนาก็ทำจะเป็นแปลงผัก โดยมีทั้งผักอายุสั้น เช่น หอม กระเทียม พริก และ มะเขือ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันพื้นที่โดยรอบนั้นมีความอุดมสมบูรณ์อย่างมากด้วย ทั้งต้นไม้น้อยใหญ่ แปลงนา แปลงผักมากมาย ส่งผลให้เขาได้ขนานนามสถานที่แห่งนี้ว่า บ้านสวนออนซอน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

และด้วยสิ่งที่ลุงเลี่ยมปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และการปลูกพืช 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง นั้น ทำให้เขาเข้าใจการดำเนินชีวิตมากขึ้น จนกระทั่งมองเห็นทางออกของปัญหาทั้งหมด จากที่เป็นหนี้สินมากมายก็หมดไป

“ครอบครัวสามารถลดค่าใช้จ่ายได้มาก แทบไม่ต้องซื้อหาอะไร ข้าวก็มีกิน ผัก ผลไม้ ก็มีกิน เจ็บป่วย ไม่สบาย ก็ใช้สมุนไพรที่มีอยู่รักษา ชีวิตความเป็นอยู่ก็ดีขึ้นมาก เรียกได้ว่าจากเคยเป็นหนี้เต็มอัตรา ปัจจุบันก็ใช้หนี้หมด สามารถส่งเสียลูก 2 คน เรียนในระดับปริญญาได้อย่างสบายๆ” ลุงเลี่ยมพูดถึงประโยชน์ของการปฏิบัติตามแนวทางเกษตรพอเพียง

4.แปลงนาไรซ์เบอรี่ที่เพิ่งเกี่ยวไป
4.แปลงนาไรซ์เบอรี่ที่เพิ่งเกี่ยวไป

การปลูกข้าว ในเนื้อที่ 5 ไร่

ในด้านการทำนา ปัจจุบันลุงเลี่ยมปลูกข้าวทั้งหมด 5 ไร่ โดยข้าวที่ลุงเลี่ยมปลูกในปีนี้ ได้แก่ ข้าวพันธุ์หอมมะลิแดง ข้าวพันธุ์หอมดง ข้าวเหนียวดำ ข้าวพันธุ์ไรซ์เบอรี่ และข้าวพันธุ์หอมมะลิขาว ซึ่งเมื่อก่อนลุงเลี่ยมใช้วิธีการทำนาแบบนาดำ โดยขั้นตอนการทำนาอับดับแรกจะใช้วิธีไถกลบตอซังและฟางข้าวเพื่อบำรุงดิน

จากนั้นก็ใส่ปุ๋ยชีวภาพและน้ำหมักที่ทำขึ้นมาเองเพื่อย่อยสลายหญ้า พอช่วงเดือนมิถุนายนก็หว่านกล้า และทำการไถกลบอีกรอบหนึ่งถึงจะมาทำเทือกนา เมื่อทำเทือกเสร็จก็เริ่มในกระบวนการปักดำ เนื่องจากเมื่อก่อนการจ้างแรงงานถอนกล้าเป็นเรื่องที่ยาก และยังส่งผลในเรื่องต้นทุน จึงทำให้ลุงเลี่ยมได้ค้นหาวิธีการและเทคนิคใหม่ๆ ที่สะดวกสบายยิ่งขึ้น

โดยเปลี่ยนวิธีการทำนาดำมาเป็นการโยนกล้าแบบปาเป้า โดยการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวไปจ้างเครือข่ายที่รู้จักกันทำการเพาะกล้า โดยมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ถาดละ 10 บาท โดย 1 ไร่ จะใช้ถาดเพาะกล้าอยู่ที่ 60 ถาด ในส่วนของต้นกล้าที่ใช้จะใช้กล้าที่มีอายุ 15 วัน เพราะข้าวช่วงนี้มีระยะการแตกกอได้ดีมาก

หลังจากเพาะกล้าเสร็จก็มาเตรียมเทือกนา ซึ่งจะทำเทือกนาให้มีน้ำอยู่ประมาณ 10 เซนติเมตร หรือถ้าไม่ถึงก็ประมาณซัก 5 เซนติเมตร แล้วก็จะทำการโยนกล้า จะใช้วิธีการโยนแบบประณีต เรียงแถวหน้ากระดาน โดยโยนแบบทีละต้น ซึ่งเป็นการประหยัดเมล็ดพันธุ์ไปในตัวด้วย หลังจากนั้น 15 วัน ข้าวจะเริ่มตั้งตัว แล้วก็ปล่อยน้ำเข้า เพื่อไม่ให้หญ้าขึ้น ทั้งนี้จะเป็นการควบคุมวัชพืชได้ดี และการขังน้ำไว้ก็เพื่อทำให้ดินร่วนซุยเพื่อง่ายต่อการทำเทือกนา

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.สาธิตการสีข้าว
5.สาธิตการสีข้าว การทําไร่นาสวนผสม การทําไร่นาสวนผสม การทําไร่นาสวนผสม การทําไร่นาสวนผสม 
กำลังแยกข้าวเปลือก
กำลังแยกข้าวเปลือก

การสีข้าว

ด้วยเหตุผลที่ว่าการทำนาดำใช้ต้นทุนสูง ลุงเลี่ยมจึงได้หันมาทำนาโยนแทนการทำนาดำ เพราะการทำนาโยนใช้ต้นทุนต่ำกว่านาดำ เมื่อคิดคำนวณต้นทุนในการทำนาโยน จากค่าจ้างในการเพาะกล้าอยู่ที่ถาดละ 10 บาท โดยเฉลี่ย 1ไร่ จะใช้ทั้งหมด 60 ถาด โดยมีต้นทุนต่อไร่ในการเพาะกล้าอยู่ที่ 600 บาทต่อไร่

ส่วนค่าเมล็ดพันธุ์ข้าว  6 กิโลต่อไร่ มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 20 บาท ค่าจ้างรถไถไร่ละ 500 บาท หากรวมต้นทุนในการทำนาของลุงเลี่ยม ในพื้นที่ 1 ไร่ มีต้นทุนเพียงแค่ 1,000 บาท นับได้ว่าเป็นการทำนาที่มีต้นทุนน้อยมาก เพราะว่าลุงเลี่ยมและครอบครัวมีการบริหารจัดการที่ดี ช่วยกันทำ ช่วยกันปฏิบัติกันเอง ทำให้ไม่ต้องเสียค่าจ้างแรงงาน

และด้วยเหตุที่ว่าลุงเลี่ยมน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงมาใช้ในการดำเนินชีวิต ทำให้การเริ่มต้นใหม่ หรือการสร้างตัวใหม่ ของลุงเลี่ยมนั้นประสบผลสำเร็จ และยังทำให้ชีวิตการเป็นอยู่ของลุงเลี่ยมดีขึ้น เนื่องจากการรู้จักคิด รู้จักการจัดการข้าวเองทั้งระบบ ตั้งแต่คัดเมล็ดพันธุ์ การโยนกล้า การเกี่ยวข้าว การสีข้าว และการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า

6.ผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิเเดง
6.ผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิเเดง การทําไร่นาสวนผสม การทําไร่นาสวนผสม การทําไร่นาสวนผสม 
แปรรูปเป็นครีมมะขามใช้ขัดผิว
แปรรูปเป็นครีมมะขามใช้ขัดผิว การทําไร่นาสวนผสม การทําไร่นาสวนผสม การทําไร่นาสวนผสม

การจำหน่ายผลผลิตข้าว

ซึ่งปัจจุบันในการทำนาของเขาจะมีผลผลิตข้าวเฉลี่ยอยู่ที่ 60-70 ถังต่อไร่ ซึ่งผลผลิตข้าวจะมีการแบ่งไว้บริโภคเองส่วนหนึ่ง และเพื่อการจำหน่ายอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งการจำหน่ายนั้นจะแบ่งออกได้ คือ ข้าวไรซ์เบอรี่ 120 บาทต่อกิโลกรัม ข้าวหอมมะลิแดง 60 บาทต่อกิโลกรัม

ปัจจุบันได้รับการตอบรับอย่างดีจากประชาชนภายในพื้นที่ และคนกรุงเทพฯ มากมายเข้ามาอุดหนุนข้าวอินทรีย์แท้ๆ ของลุงเลี่ยม ซึ่งใน 1 ปี จะมีรายได้จากการทำนาอยู่ที่เกือบ 2 แสนบาทต่อปี ขายข้าวหอมมะลิถังละ 360 บาท หากคิดเป็นเกวียน ตกเกวียนละ 36,000 บาท ซึ่งก็ทำให้มีรายได้มากกว่าการขายส่งโรงสีหลายเท่าตัว

7.สระน้ำที่ใช้ในการเกษตร
7.สระน้ำที่ใช้ในการเกษตร

สภาพพื้นที่ดินในแปลงนา

ปรับปรุงแม่พระธรณี ไม่ทำลายดิน ลุงเลี่ยมจะให้ความสำคัญกับที่ดินเป็นอันดับแรก เพราะคิดว่าถ้าดินดีทุกอย่างก็ดีขึ้นเอง ในการการบำรุงดินนั้นจะใช้วิธีการไถกลบตอซังและฟางข้าวแทนการเผาเพื่อบำรุงหน้าดิน  และหลังจากการเก็บเกี่ยวจะมีการหว่านถั่วเขียว เพื่อบำรุงดินแบบปุ๋ยพืชสดอีกทาง สังเกตดูว่าถ้าช่วงไหนรู้สึกว่าดินไม่สมบูรณ์ เริ่มขาดอาหาร ก็จะหว่านถั่วเขียว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ช่วงข้าวใกล้ที่จะเกี่ยวก็จะหว่านลงในแปลงข้าวโดยเกี่ยวไป ย่ำไป ซึ่งถั่วเขียวสามารถบำรุงดินได้เป็นอย่างดีเช่นเดียวกับการใช้ปอเทือง ในส่วนขั้นตอนของวิธีการผลิตปุ๋ยนั้นจะนำชานอ้อยก็เอามาสับๆ รวมกัน จากนั้นนำไปใส่ถังหมัก และเติมน้ำพอท่วมแล้วก็หมักไว้ หรือถ้าอยากเติมไนโตรเจน ฮอร์โมน ถังที่หมักไว้พวกไนโตรเจนมันก็เพิ่มมากขึ้น ก็เอายอดหน่อกล้วยใส่เข้าไป และถ้าอยากเพิ่มผลผลิตก็เอาผลไม้สุกมาใส่เติมเข้าไป

โดยในการหมักนั้นจะใช้เวลาขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 1 เดือน จึงจะไปฉีดพ่นในแปลงนาได้ เพื่อเป็นการบำรุงต้นข้าวให้มีความเจริญเติบโตได้ดี บำรุงรากจนถึงเมล็ดข้าว และสามารถกระตุ้นในเรื่องการเพิ่มผลผลิตได้อีกด้วย

8.บรรยากาศภายในบ้านสวนออนซอน
8.บรรยากาศภายในบ้านสวนออนซอน การทําไร่นาสวนผสม การทําไร่นาสวนผสม การทําไร่นาสวนผสม

ฝากถึง…คนที่ฝันอยากทำเกษตร

ลุงเลี่ยมยังฝากถึงเกษตรกรว่า “ตั้งแต่ 2 ปีแรก ที่โน้มนำปรัชญาเกษตรพอเพียงมาปรับใช้กับการดำเนินชีวิต ซึ่งทำให้เห็นความแตกต่างมากมาย ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่ลดลงมาก ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากเมื่อก่อนที่เราใช้ความรู้ของเถ้าแก่ที่ขายปุ๋ย ขายยา ที่เขาบอกว่าปุ๋ยอันนั้นดี เมล็ดพันธุ์อันนั้นดี เราก็เอามาใช้ตามเขาบอก ทำให้เรามีแต่หนี้กับหนี้ แต่เถ้าแก่ก็รวยขึ้นๆ

แต่พอหันมาเดินตามแนวทางพอเพียง ยึดนำศาสตร์ต่างๆ ของในหลวงมาปฏิบัติ ยิ่งเราทำเท่าไหร่เราก็ได้หมด สามารถพึ่งพาตัวเองได้ มันสุดยอดจริงๆ เรียกได้ว่าการเดินตามเศรษฐกิจพอเพียงเป็นทางรอดให้เกษตรกรอย่างแท้จริง”

ขอขอบคุณ นายเลี่ยม บุตรจันทา 411 ม.16 ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา 24160