เลี้ยงหมูเพื่อนำขี้วัว ใส่นา ข้าวไรซ์เบอรี่ ต้นทุนลดเหลือ 3,000 บาท/ไร่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เลี้ยงหมูเพื่อนำขี้วัว ใส่นา ข้าวไรซ์เบอรี่ ต้นทุนลดเหลือ 3,000 บาท/ไร่

ยังคงเป็นภารกิจใหญ่ของรัฐบาลที่ต้องเร่งมือช่วยเหลือเกษตรกรชาวนา ยิ่งในตอนนี้สถานการณ์ราคายังคงน่าเป็นห่วง ส่งผลกระทบต่อชาวนาทุกหย่อมหญ้า ถึงกับทำให้ชาวนาบางคนท้อแท้จนเลิกทำนาไปในที่สุด แต่ในปัจจุบันเหมือนกับว่าชาวนาไทยกำลังมองเห็นแสงสว่างในปลายอุโมงค์ที่เจิดจรัส

ต่อลมหายใจให้กับชาวนาในขณะนี้ นั่นคือ “ ข้าวไรซ์เบอรี่ ” ด้วยกระแสความต้องการของผู้บริโภคที่มีความใส่ใจในเรื่องของสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ทำให้ปัจจุบันข้าวไรซ์เบอรี่ได้รับความนิยมอย่างมาก จนติดลมบนไปอย่างง่ายดาย ด้วยคุณสมบัติของข้าวชนิดนี้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ทั้งช่วยให้ยับยั้งป้องกันของอัตราเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน มะเร็ง ความดันโลหิต และโรคหัวใจ และด้วยคุณค่าทางอื่นๆ อีกมากมาย

1.ข้าวไรซ์เบอรี่
1.ข้าวไรซ์เบอรี่

คุณสมบัติของข้าวไรซ์เบอรี่

 

2.สภาพแปลงนาของคุณพิสิทธิ์
2.สภาพแปลงนาของคุณพิสิทธิ์

การปลูกข้าวไรซ์เบอรี่

ดังนั้นข้าวไรซ์เบอรี่ถือเป็นทางออกของเกษตรกรชาวนา ที่จะทำให้ชาวนามีรายได้มากกว่าปลูกข้าวทั่วไป เพราะข้าวไรซ์เบอรี่นี้มีราคาที่สูงกว่าข้าวทั่วไปหลายเท่าตัว เฉกเช่นเดียวกับ คุณพิสิทธิ์ รัตนทับทิมทอง เกษตรกรในจังหวัดนครปฐม ที่มองเห็นช่องทางในการเพิ่มรายได้ของตน โดยการใช้เวลาว่างหลังจากการดูแลฟาร์มหมู เพื่อหันมาปลูกข้าวไรซ์เบอรี่เพิ่มรายได้อีกช่องทาง รายละเอียดต่างๆ จะเป็นอย่างไรนั้น ข้าวเศรษฐกิจมีคำตอบ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เดิมทีคุณพิสิทธิ์ประกอบอาชีพทำฟาร์มหมู ใช้เลี้ยงครอบครัวเป็นหลัก แต่ด้วยเวลาว่างหลังจากการดูแลฟาร์มหมูในช่วงเช้า ทำให้ช่วงบ่ายเขาจะมีเวลาว่างตลอด ดังนั้นเขาจึงคิดค้นหากิจกรรมเพื่อใช้เวลาว่างให้ก่อเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งในขณะนั้นเขามองดูแปลงไร่อ้อย แล้วคิดถึงสภาพความเป็นจริงว่า “ถ้าทำไร่อ้อยก็ทำได้แค่ปีละครั้ง” เลยคิดที่จะปลูกข้าวคุณภาพ มีคุณค่าทางสารอาหารสูง และที่สำคัญจะไม่ต้องพึ่งพาโรงสี  ทั้งนี้เขายังมองดูว่าถ้าจะทำข้าวหอมมะลิในพื้นที่นครปฐมก็คงจะไม่สามารถสู้ข้าวหอมมะลิที่ปลูกในแถบภาคอีสานได้แน่ๆ เพราะทางนั้นขึ้นชื่อมาก จึงทำให้เขาตัดสินใจนำข้าวไรซ์เบอรี่มาทดลองปลูกในพื้นที่ของตน

3.น้ำหมักขี้หมูที่ใช้ในนาข้าว
3.น้ำหมักขี้หมูที่ใช้ในนาข้าว

การใช้น้ำหมักขี้หมูในการปลูกข้าว

ในส่วนของเทคนิคและเคล็ดลับต่างๆในการปลูกข้าวนั้น เขาได้ศึกษาตามสื่อต่างๆ ตลอดจนไปขอคำแนะนำการทำนาจากเพื่อนที่จบในสาขาพืชไร่โดยตรง เพื่อต้องการเรียนรู้ขั้นตอนและกระบวนการทำนาที่ถูกต้องชัดเจน โดยวางเป้าหมายการปลูกข้าวจะต้องมีคุณภาพที่ดีที่สุด เพื่อต้องการให้ผู้บริโภคได้บริโภคข้าวที่ดี มีคุณภาพ นั่นเอง

คุณพิสิทธิ์มุ่งเน้นการทำนาอินทรีย์ปลอดสารพิษ เพราะคิดว่าในการทำนารูปแบบดังกล่าวสามารถช่วยให้เขาลดต้นทุนได้ ตลอดจนยังปลอดภัยต่อผู้บริโภค และที่สำคัญเขายังนำ “น้ำหมักขี้หมู” จากในฟาร์มนำมาใช้ในการปลูกข้าวของตนอีกด้วย เพื่อบำรุงดิน และบำรุงต้นข้าวให้มีความแข็งแรง อุดมสมบูรณ์ มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เขาได้ทดลองปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ในหลายๆ รูปแบบ ในนาดำ และนาหว่าน เพื่อเปรียบเทียบกันถึงผลผลิต และคุณภาพ ของข้าวที่ได้ จากผลการทดลองปลูกข้าวในนาดำปรากฏว่ามีผลผลิตดีกว่าในนาหว่าน

4.รวงข้าวสีน้ำตาลไหม้
4.รวงข้าวสีน้ำตาลไหม้

ลักษณะของรวงข้าวไรซ์เบอรี่

จากการที่เขาเคยปลูกไรซ์เบอรี่ในช่วงนาปรังนั้น ทำให้ผลผลิตข้าวไรซ์เบอรี่ที่ได้มีลักษณะสีออกน้ำตาลไหม้ ไม่ใช่สีดำตามสายพันธุ์ จึงทำให้เขามองดูว่าอาจจะทำให้คุณค่าทางอาหารน่าจะไม่ครบถ้วนตามคุณสมบัติของข้าวไรซ์เบอรี่ ก็เลยตัดสินใจปลูกข้าวไรซ์เบอรี่แค่ปีละครั้ง เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานคุณภาพข้าว ตลอดจนเป็นการรักษาคุณค่าสารอาหารให้ครบถ้วน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ด้วยการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ได้ในช่วงนาปีเท่านั้น ทำให้คุณพิสิทธิ์นำหลักการปลูกพืชหมุนเวียนมาใช้ โดยหลังจากการทำนาเขาจะมีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อนำไปใช้เลี้ยงหมูในฟาร์มของตน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ตลอดจนหลังจากการเกี่ยวข้าวแล้วจะมีการแบ่งพื้นที่บางส่วนในการปลูก “ถั่วเขียว”จำหน่ายไปยังโรงงานอุตสาหกรรมผลิตวุ้นเส้นในพื้นที่อำเภอท่าเรือ และอำเภอบางเลน ทำให้เขามีรายได้เข้ามาจากหลายๆ ช่องทาง

5.ผลิตภัณฑ์ข้าวไรซ์เบอรี่ทุ่งหนองกร่าง
5.ผลิตภัณฑ์ข้าวไรซ์เบอรี่ทุ่งหนองกร่าง

การจำหน่ายผลผลิตข้าว

จากประสบการณ์การทำนาจนเริ่มเชี่ยวชาญในการผลิตข้าวอินทรีย์ ทำให้ในช่วงฤดูนาปรังจะปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ โดยจะจัดสรรพื้นที่ 20 ไร่ ทำการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ในรูปแบบอินทรีย์ชีวภาพ มุ่งเน้นความปลอดภัยต่อตัวเอง และผู้บริโภค และผลผลิตข้าวที่ได้ทั้งหมดจะนำไปสีที่โรงสีชุมชน สามารถสั่งให้ทางโรงสีทำความสะอาดล้างเครื่องสีได้ง่าย ซึ่งเขาให้ความสำคัญอย่างมาก เพื่อไม่ต้องการให้ข้าวคุณภาพ ปนเปื้อนสารเคมี และเป็นข้าวปลอดสารพิษอย่างแท้จริง

ในส่วนผลผลิตข้าวที่ผ่านจากการสีข้าวแล้วก็จะนำมาบรรจุถุงสุญญากาศ  และจำหน่ายภายในพื้นที่และต่างจังหวัด ภายใต้แบรนด์ ข้าวไรซ์เบอรี่ ทุ่งหนองกร่าง ในราคากิโลกรัมละ 80 บาท ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มลูกค้าในพื้นที่ และต่างจังหวัด ที่แวะเวียนเข้ามาจับจ่ายซื้อหาข้าวไรซ์เบอรี่อินทรีย์ ทุ่งหนองกร่าง อย่างต่อเนื่อง เพราะต่างมั่นใจในความปลอดภัยที่ปราศจากสารพิษ และสารเคมี ทั้งนี้เขาเปิดเผยว่าในอนาคตจะมีการเน้นผลิตข้าวสีดำตัวอื่นที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงควบคู่กัน เช่น ข้าวมะลิดำ ข้าวเหนียวลืมผัว และข้าวเหนียวดำ ซึ่งตอนนี้ยังอยู่ในช่วงการทดลองคัดสายพันธุ์ที่ดีที่สุดอยู่ คาดว่าในไม่ช้า จะมีออกมาจำหน่ายอย่างแน่นอน

6.สารพด.2-เป็นส่วนผสมในการทำน้ำหมัก
6.สารพด.2-เป็นส่วนผสมในการทำน้ำหมัก
ชมพู่มาหมักกับสาร-พด.2
ชมพู่มาหมักกับสาร-พด.2
ฮอร์โมนผลไม้
ฮอร์โมนผลไม้
ฉีดฮอร์โมนในนาข้าว
ฉีดฮอร์โมนในนาข้าว

การผลิตน้ำหมักขี้หมูใส่หมักตอซัง

ดินเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เมื่อดินดี มีความอุดมสมบูรณ์ดี ต้นข้าวก็สามารถเจริญเติบโตได้ดี ตลอดจนมีผลผลิตที่มากขึ้น ทั้งนี้เขาเน้นในเรื่องดินเป็นอันดับแรก ในด้านการเตรียมดิน จะนำขี้หมูที่ได้จากฟาร์มหมูของตนนำมาหมักกับสาร พด.2 ที่ได้รับแจกการกรมพัฒนาที่ดิน นำมาหมักรวมกัน เป็นน้ำหมักขี้หมู ใช้รดในแปลงนา ในระหว่างการหมักตอซังและฟางข้าว ซึ่งวิธีการนี้มีประโยชน์ในการบำรุงดิน และบำรุงต้นข้าว ได้อย่างดี นอกจากนี้ยังมีการใช้ฮอร์โมนผลไม้ ที่ได้นำเอาชมพู่ที่ปลูกอยู่ในบริเวณบ้านนำมาหมักกับสารพด.2 เป็นฮอร์โมนผลไม้ ไว้ใช้ฉีดรดบำรุงต้นข้าวช่วงข้าวเริ่มแตกกอ และช่วงข้าวเริ่มตั้งท้อง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
7.ข้าวไรซ์เบอรี่ออกรวงเต็มแปลงนา
7.ข้าวไรซ์เบอรี่ออกรวงเต็มแปลงนา

การเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวไรซ์เบอรี่

จากการบำรุงต้นข้าวด้วยน้ำหมักขี้หมู ฮอร์โมนผลไม้ ทำให้เขามีผลผลิตข้าวไรซ์เบอรี่เฉลี่ย 600-650 กิโลกรัมต่อไร่ ในด้านต้นทุนการทำนานั้นเขามีต้นทุนเฉลี่ย 3,000 บาทต่อไร่ ในนาดำ ซึ่งจะแบ่งเป็นค่าจ้างแรงงานในการปักดำไร่ละ 1,800 บาท ( 6 คน) +ค่าทำเทือก 600 บาท +ค่าเกี่ยว 500 บาท = 3,000 บาท

“ในการทำนาของผมนั้นจะเน้นปล่อยไปเป็นแบบธรรมชาติมากกว่า หลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จก็จะไถพรวนอีกรอบหนึ่ง เพื่อที่จะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หรือไม่ก็ถั่วเขียว หมุนเวียนกันไป เพื่อเป็นการเสริมสร้างรายได้ในช่วงที่ไม่ทำนา และปลูกข้าวโพดเป็นการใช้เลี้ยงสัตว์ ซึ่งในส่วนของถั่วเขียวใช้ระยะเวลาการปลูกต่อรอบประมาณ 65 วัน ซึ่งผลผลิตต่อไร่ก็อยู่ที่ 150-180 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งใน 1 ปี ก็จะมีการปลูกข้าวสลับกับการปลูกข้าวโพด เพื่อใช้เลี้ยงหมูในฟาร์ม และการปลูกถั่วเขียวเพื่อจำหน่ายไปยังโรงงานผลิตวุ้นเส้น ทำให้มีรายได้เข้ามาอยู่ตลอด และที่สำคัญการปลูกพืชหมุนเวียนยังมีประโยชน์อย่างมาก เพราะโรค-แมลงไม่รบกวน” คุณพิสิทธิ์กล่าวถึงประโยชน์ของการปลูกพืชหมุนเวียน

8.แปลงนาข้าว
8.แปลงนาข้าว

มุมมองข้าวไทย

ตอนนี้จะเห็นได้ว่าประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง เวียดนาม มีผลผลิตแซงหน้าประเทศไทยไปแล้ว ตรงนี้ชาวนาไทยจะลำบากมาก หากยังไม่ปรับตัว จะสู้เพื่อนบ้านได้ยาก “เพราะต้นทุนของเราสูงกว่าเขาเยอะ  ผลผลิตก็น้อย ถ้าจะสู้กับเขาต้องสู้ด้วยข้าวคุณภาพ” ดังนั้นทางภาครัฐต้องเข้ามาช่วยเกษตรกรในการปรับตัวให้หันมาทำข้าวคุณภาพกันมากๆ เพราะว่ายังไงข้าวหอมมะลิของไทยยังคงเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่แล้ว ต้องสู้ด้วยคุณภาพข้าว ถึงชนะเพื่อนบ้านเขา

9.ทำนาแบบอินทรีย์ชีวภาพ
9.ทำนาแบบอินทรีย์ชีวภาพ

คุณพิสิทธิ์ ฝากถึงชาวนา

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“อยากให้ชาวนาหันมาทำนาแบบยั่งยืน โดยเน้นการทำนาแบบอินทรีย์ชีวภาพปลอดสารพิษ  เพราะว่าดีต่อตัวชาวนาเอง และผู้บริโภคด้วย  ตลอดจนนำหลักการปลูกพืชหมุนเวียนของในหลวงมาปรับใช้ อยู่แบบพอเพียง แบบผสมผสาน ซึ่งต้องนี้ชาวนายังไม่ค่อยเข้าใจ ทำไมต้องปลูกข้าวเพียงอย่างเดียว อย่างน้อยๆ ช่วงข้าวราคาไม่ดี หรือช่วงไม่มีน้ำ ทำนาไม่ได้ แล้วทำไมต้องรอทำนาล่ะ ก็ปลูกผักที่ใช้น้ำน้อยๆ อายุสั้นๆ หรือทำอย่างอื่นทดแทน จะได้มีรายได้เข้ามาในช่วงที่เราพักนา”

10.พืชที่ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสด
10.พืชที่ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสด

เก็บมาฝาก…การใช้พืชปุ๋ยสดเป็นปุ๋ยบำรุงดิน

ปุ๋ยพืชสดเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ได้จากต้นและใบของพืชปุ๋ยสดที่ปลูกไว้ หรือขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อถึงระยะที่พืชเจริญเติบโตเต็มที่ คือ เมื่อพืชเริ่มออกดอกจนถึงดอกบานเต็มที่ ก็ทำการตัดสับแล้วไถกลบ หรือไถกลบลงไปในดินทั้งต้นก็ได้ แล้วแต่ชนิดของพืช หลังจากทิ้งไว้จนเน่าเปื่อยผุพัง ก็จะให้ ธาตุอาหารพืช และเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับพืชที่จะปลูกต่อๆ ไป

พืชที่ใช้ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดที่ดีที่สุดนั้น คือ พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วพุ่ม ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ปอเทือง โสน ฯลฯ เพราะพืชตระกูลถั่วมีคุณสมบัติพิเศษ คือ ที่รากมีปม เรียกว่า ปมรากถั่ว ในปมเหล่านี้มีเชื้อจุลินทรีย์จำพวกไรโซเบียมอยู่เป็นจำนวนมาก ไรโซเบียมนี้สามารถดึงธาตุไนโตรเจนจากอากาศมาใช้  เมื่อพืชเน่าเปื่อยก็จะเพิ่มธาตุไนโตรเจน และอินทรีย์วัตถุ ให้แก่ดิน

พืชปุ๋ยสดแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1.พืชตระกูลถั่ว เหมาะที่จะปลูกเป็นพืชปุ๋ยสดมากที่สุด เพราะสลายตัวเร็ว เพิ่มอาหารพืชให้แก่ดินได้ดี รากเก็บอาหารพืชได้มาก ปลูกง่าย โตเร็ว มีราก ใบ ลำต้น มาก พืชตระกูลถั่วยังสามารถแบ่งตามความเหมาะสมในการปลูกได้ ดังนี้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

1.1 ถั่วที่ไถกลบแล้วเปลี่ยนเป็นปุ๋ยได้รวดเร็วขึ้นได้ในสภาพพื้นที่ต่างๆ กัน เช่น ปอเทือง โสนอินดีย โสนไต้หวัน โสนคางคก ฯลฯ
1.2 ถั่วที่ปลูกคลุมดินในสวนผลไม้เพื่อปราบวัชพืช ต้น และใบ ร่วงหล่นเป็นปุ๋ยบำรุงดิน เช่น ถั่วลาย ถั่วเสี้ยนป่า ไมยราบไร้หนาม คาโลโปโกเนียม ถั่วอัญชัน ถั่วกระด้าง ถั่วพร้า ฯลฯ
1.3 ถั่วที่ให้เมล็ดและฝักเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วไถกลบลำต้นลงไปในดิน ไม่นิยมปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดโดยตรง แต่ถ้าจะใช้เป็นปุ๋ยพืชสดก็จะให้น้ำหนักสดต่อไร่ต่ำ เช่น ถั่วเขียว ถั่วพุ่ม ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วแดง ถั่วพู ถั่วแขก ฯลฯ
1.4 พืชตระกูลถั่วทรงพุ่ม หรือยืนต้น นอกจากจะเป็นปุ๋ยพืชสดแล้วยังสามารถใช้ประโยชน์อย่างอื่นอีกด้วย เช่น กระถินยักษ์ คราม ถั่วมะแฮะ ขี้เหล็กผี ฯลฯ
2.พืชอื่นนอกเหนือจากพืชตระกูลถั่ว เช่น พืชตระกูลหญ้า ซึ่งส่วนใหญ่จะให้อินทรียวัตถุ แต่มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำกว่าพืชตระกูลถั่ว ดังนั้นจึงควรหว่านปุ๋ยที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ ในขณะที่ทำการไถกลบโดยใช้อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่
3.พืชน้ำ เช่น ผักตบชวา จอก แหนแดง เป็นต้น มีการใช้แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว ซึ่งสามารถให้ไนโตรเจน 5-6 กิโลกรัมต่อไร่ และเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินในอัตราสูงด้วย

ประโยชน์ของปุ๋ยพืชสด

1.เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ และธาตุไนโตรเจน ให้แก่ดิน

2.บำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน

3.รักษาความชุ่มชื้นให้ดิน และช่วยให้ดินอุ้มน้ำดีขึ้น

4.ลดการสูญเสียหน้าดินอันเกิดจากการชะล้าง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

5.ทำให้ดินร่วนซุย สะดวกในการเตรียมดิน และไถพรวน

6.ปราบวัชพืชบางชนิดได้

7.กรดที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพัง ช่วยละลายธาตุอาหารในดินให้แก่พืชได้มากยิ่งขึ้น

8.ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพงลงได้บ้าง

9.เพิ่มผลผลิตของพืชให้สูงขึ้น

ที่มาของแหล่งข้อมูล
กลุ่มวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์หญ้าแฝกในการจัดการที่ดิน
สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน
กรมพัฒนาที่ดิน

โฆษณา
AP Chemical Thailand