เจ๊จุง หญิงเหล็ก สกก.บางน้ำเปรี้ยว ปั้น “ชาวนา” กว่า 1,000 คน รวย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ข่าวพาดหัวตัวไม้ “ชาวนาไทย ยิ่งทำ ยิ่งจนฯ” หน้า 10 นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 27 ก.ค. 66

แหล่งข้อมูลมาจากบทวิเคราะห์ของ ม.หอการค้าไทย โดย ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้วิเคราะห์ 10 ปี ชาวนาไทย จน เพิ่มหนี้ ท่วม ฯลฯ

แต่ก็มี “ชาวนา บางน้ำเปรี้ยว” 1,000 กว่าคน สมาชิกสหกรณ์การเกษตรบางน้ำเปรี้ยวจำกัด ร่ำรวย เพราะทำนาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

1.คุณผ่องศรี สิมะวัฒนา ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรบางน้ำเปรี้ยว
1.คุณผ่องศรี สิมะวัฒนา ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรบางน้ำเปรี้ยว

การบริหารสหกรณ์

ทีมสื่อพลังเกษตร ได้เปิดใจ “เจ๊จุง” หรือ คุณผ่องศรี  สิมะวัฒนา ผู้จัดการสหกรณ์ คนดัง ว่าทำอย่างไรให้ชาวนาสมาชิกรวยเพราะขายข้าวเปลือก

เรื่องแรก ผู้บริหารสหกรณ์ โดยเฉพาะ “ผู้จัดการ” ต้องซื่อสัตย์ต่อตัวเอง สมาชิก พนักงาน และ คู่ค้า อย่างเคร่งครัด เพราะเจ๊จุงเป็นพนักงานของ สกก.แปดริ้ว 10 ปีเต็มๆ ได้เห็นอะไรมากมายในองค์กร โดยเฉพาะ “ปัญหา” ต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสหกรณ์ให้มีกำไร สมาชิกมีรายได้ดีขึ้น

โดยเฉพาะการอนุมัติ “เงินกู้” ให้สมาชิก ที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ทางธุรกิจ เช่น หน้าแล้ง ไม่มีน้ำทำนา ปรากฏว่า สหกรณ์มีหนี้ค้างชำระมากๆ เจ๊จุงจึงตัดสินใจเอาคนที่มี ความรู้ ความชำนาญ มือสะอาด เข้ามาทำงาน เช่น ดึงอาจารย์ที่เชี่ยวชาญเรื่องดินจาก ม.เกษตร มาอบรมวัดค่าดิน ดึงห้องแลปเอกชนมาวิเคราะห์ค่าดิน เป็นต้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากนี้เจ๊จุงได้ปฏิรูปกฎระเบียบสหกรณ์ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาสมาชิก ที่เน้น คนดี คนเก่ง คนซื่อสัตย์ มาเป็นลูกค้าสหกรณ์ “คนที่รับโอกาสจากเรา ต้องมีคุณสมบัติพอสมควร คนที่ไม่ควรรับก็ไม่ต้องเอาเข้ามา ให้เขาอยู่อย่างนั้น การข่าวก็เป็นเรื่องสำคัญ เราต้องสื่อสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้คนในกลุ่มเขา เพราะถ้าเขาเข้ามาแล้วสร้างปัญหา เราเหนื่อยมาก ไม่เอาเลย” เจ๊จุง ให้ความเห็น

2.สินค้ามีให้เลือกสรรมากมาย
2.สินค้ามีให้เลือกสรรมากมาย

การแก้ปัญหาและการวางแผนงาน

นอกจากนี้สมาชิกต้องให้ความสำคัญกับองค์กรด้วย เช่น ซื้อหุ้นสหกรณ์ 50 บาท 5 ปี ไม่เคยมาสหกรณ์เลย อย่างนี้ไม่ควรเป็นสมาชิก หรือสมาชิกขาดประชุม 2 ครั้ง ต้องไล่ออก และเมื่อเขากลับใจมาเป็นสมาชิกอีก จะเกิดความภักดีต่อองค์กร แม้แต่ กรรมการ ก็ไม่มีอภิสิทธิ์ใดๆ ตรงกันข้ามกับ พนักงาน เมื่อทำงานครบ 5 ปี เจ๊จุงยืนยันว่าไปทำงานที่สหกรณ์อะไรเขารับหมด เพราะมีฝีมือ และมีความซื่อสัตย์ต่อองค์กร

เจ๊จุงยืนยันว่า การพัฒนามันเกิดจากการแก้ ปัญหา ที่ตรงกับความเป็นจริง “เป็นคน ชอบคิด ชอบแก้ปัญหา เพราะเราเป็นคนค่อนข้างละเอียด ในเรื่องการมองอะไรที่เป็นปัญหาเราแก้หมด ไม่ให้เป็นมะเร็ง เรามีแผนงาน ถ้าปีนี้พลาด ปีหน้าเตรียมเลย” เจ๊จุง เปิดเผยเรื่องการแก้ปัญหา และการวางแผนงาน เพราะอาชีพเกษตรกรรมมีความเสี่ยงสูงมาก ไม่สามารถควบคุมปัจจัยลบต่างๆ ได้ เช่น ฝนตก ฝนแล้ง โรคแมลงระบาด

ดังนั้นต้องมีแผน 1 แผน 2 แผน 3 หรือ แผนฉุกเฉิน รองรับ ซึ่งอาชีพทำนาของสมาชิกมีความเสี่ยงสูง เจ๊จุงยืนยันว่า ถ้าตนทำนาเลิกไปนานแล้ว แต่เมื่อมาเป็น ผู้จัดการ สหกรณ์ ต้องทำทุกวิถีทางให้สมาชิกอยู่รอด และร่ำรวย ด้วยเหตุนี้ สกก.บางน้ำเปรี้ยว จึงทำธุรกิจหลายตัว โดยเฉพาะการเป็น “เอเยนต์” ปุ๋ย ยา และ อุปกรณ์การเกษตร ให้กับสหกรณ์อื่นๆ ที่เป็นคู่ค้า หรือการทำธุรกิจกับสมาชิก ก็ต้องทำให้สหกรณ์มีกำไร

3.สต๊อกปุ๋ยแน่นๆ
3.สต๊อกปุ๋ยแน่นๆ

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายปุ๋ย

จึงไม่ต้องแปลกใจ สกก.บางน้ำเปรี้ยว วันนี้มีปุ๋ยดังๆ อย่าง กระต่าย และ ม้าบิน เป็นต้น เป็นคู่ค้าถาวรกระจายไปยังสหกรณ์ในเครือข่ายอีกหลายแห่ง “เราเป็นสหกรณ์เดียวในไทย ที่มีการประชุมบริษัทปุ๋ยใหญ่ๆ หรือยาใหญ่ๆ ถึงเวลาเรียกประชุมได้หมด เพราะเราทำการค้าที่แท้จริง ขายของให้เขาได้ มีความซื่อสัตย์ ต้องเป๊ะ คำไหนคำนั้น เราไม่มีนอก ไม่มีใน ไม่มีกินหัวคิว ราคาสมาชิกรับได้” เจ๊จุง ยืนยัน

เพราะเงินเดือนและโบนัสของผู้จัดการ และพนักงาน/ปี ก็มากพอที่จะไม่กินหัวคิวจากคู่ค้า และทำให้สมาชิกเสียผลประโยชน์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

พนักงานของ สกก.บางน้ำเปรี้ยว วันนี้ภูมิใจ เชิดหน้าชูตาได้ ต่างจากสหกรณ์ที่อื่น เจอใครต้องหลบตา

เมื่อถามถึงปุ๋ยยี่ห้อดังๆ ที่วางขาย ปรากฏว่า กระต่าย อันดับ 1 รองลงมาเป็น มงกุฎ รถเกษตร หัววัว และ ม้าบิน โดยเฉพาะยอดขายเบอร์ 1 ปี 65 ไม่ต่ำกว่า 50,000 ตัน

4.การจำหน่ายปัจจัยการผลิตภายในสหกรณ์
4.การจำหน่ายปัจจัยการผลิตภายในสหกรณ์

การผลิตพันธุ์ข้าว

สหกรณ์การเกษตรบางน้ำเปรี้ยวจำกัด ให้สมาชิกทำนาปีละ 2 ครั้ง และสหกรณ์จะไม่รับซื้อข้าวเปลือก และไม่ขายพันธุ์ข้าว ให้เป็นเรื่องของสมาชิก เพราะการผลิตพันธุ์ข้าวปลูกต้องลงทุนสูง เพราะเป็น “นาดำ” สมาชิกซื้อข้าวปลูกจากศูนย์วิจัยก็ได้ เวลานี้สมาชิกที่ทำนาใช้ โดรน ในการฉีดพ่นปุ๋ยและยา เป็นการประหยัดต้นทุน หลายรายมี รถเกี่ยวข้าวเอง โดยกู้เงินจากสหกรณ์ไปซื้อ “จะเอายี่ห้ออะไร สีอะไร คนไหนมีศักยภาพ เราปล่อยให้เลย ซื้อไปแล้วเขาก็มาผ่อนส่งให้เรา” เจ๊จุง เปิดเผย

สนใจรายละเอียดของสหกรณ์ โทร.038-581-090

อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร ฉบับที่ 35