จากข้าวและวัวนมสู่… ไข่ผำ ชุบชีวิตและชุมชนอย่างยั่งยืน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

มหันตภัยจาก “เอลนีโญ” เช่น ภัยแล้ง และ ทอนาโด เป็นต้น ทำลายมนุษย์โดยตรง

กว่ามนุษย์จะรู้ตัวว่าโลกร้อน เป็น โลกเดือด ก็หนักเกินกว่าจะแก้ในเวลาสั้นๆ

เรื่องนี้ ปิติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา อดีต รมต.เกษตร ยืนยันว่า ไทยเจอวิกฤตเอลนีโญไม่ต่ำกว่า 3 ปี น้ำไม่พอ และสิ่งแวดล้อมวิบัติ กรมชลประทานต้องลดการทำนาปรัง และกรมอุตุนิยมวิทยายืนยันว่า ถ้าทุกกิจกรรมลดน้ำ 10% ก็พอจะอยู่กันได้ โดยไม่ขาดน้ำ

กรมวิชาการเกษตร โดย ระพีภัทร จันทรศรีวงศ์ อธิบดี ได้เดินหน้าวิจัยพัฒนาพืชทนแล้ง ใช้น้ำน้อย ใช้งบ 2-3 หมื่นล้านบาท โดยใช้ การตลาด นำการผลิตพืช ได้จัดตั้ง กองพืชเศรษฐกิจใหม่ และการบริหารก๊าซเรือนกระจกได้ MOU กับ องค์การก๊าซเรือนกระจก (อบก.) เพื่อฝึกเจ้าหน้าที่ตรวจรับรองคาร์บอนเครดิตแทน อบก. เพราะตลาดคาร์บอนเครดิตเดือนละ 16 ล้านล้านตัน แต่ไทยขึ้นทะเบียนการผลิตไว้เพียง 2 ล้านตันเท่านั้น

แต่ทุก วิกฤติ ย่อมมี โอกาส แทรกอยู่ เช่น อาหารแห่งอนาคต ที่พัฒนามาจากปัจจัยการผลิตหลายๆ ส่วน โดยเฉพาะ “ไข่ผำ” พืชที่มีโปรตีนมากกว่าถั่วเหลือง กระบวนการเลี้ยงไข่ผำ ได้แก่ 1.มูลวัวนม ที่พัฒนาแล้ว 2. น้ำหมักผลไม้ และ 2+3 ออกมาเป็น 3 สูตร เมื่อมนุษย์บริโภคโปรตีนจากไข่ผำมากขึ้น ก็ต้องขยายการผลิต ด้วยการเลี้ยง วัวนม เอามูลมาเป็นอาหารไข่ผำ หรือทำน้ำหมักจากผักมากขึ้น ก่อให้เกิดห่วงโซ่อาชีพ ถักทอเป็นตาข่าย ก่อให้เกิดรายได้สู่เกษตรกร และชุมชน

นอกจากนี้ประเทศไทยมีการเพาะเลี้ยง แมลงวันลาย มากขึ้น เพราะต้องนำ หนอน มาเป็นอาหารสัตว์ ทดแทนโปรตีนจากปลาป่น และถั่วเหลือง ที่ราคาสูงขึ้นตลอด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ดังนั้น ไข่ผำ และ แมลงวันลาย จะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์ด้านสุขภาพของมนุษย์และสัตว์มากขึ้น

1.ไข่ผำ01

“ไข่ผำ” นวัตกรรมอาหารสุดยอดโปรตีน เลี้ยงง่าย รายได้ดี อาหารแห่งอนาคตโลก ด้วยนวัตกรรมจาก สวก.

อาหารแห่งอนาคต (Future Food) แนวคิดอุตสาหกรรมอาหารโลกที่หลากหลาย ทั้งรูปลักษณ์และกระบวนการผลิต มุ่งเน้นความเหมาะสมกับโลกในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งการลดภาวะโลกร้อน และการสร้างระบบอาหารยั่งยืน สู่ความสำคัญด้านสุขภาพและภูมิคุ้มกัน รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตความต้องการไปตามวัยของผู้บริโภค ที่ล้วนส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานอาหารและอาหารแห่งอนาคต

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) ยังคงเดินหน้าพัฒนางานวิจัย ขานรับนโยบายรัฐบาล สร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต ปฏิรูปภาคการเกษตรด้วยพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ สร้างรายได้แบบยั่งยืน สนับสนุนทุนวิจัยเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์จาก ไข่ผํา หรือ คาเวียร์มรกต ตอบโจทย์กระแสคนรักสุขภาพทั่วโลก และเพื่อสร้างการรับรู้ไปยังเกษตรกร ประชาชนทั่วไป ที่สนใจ รวมถึงผู้ที่กําลังมองหาทางเลือกใหม่ในการสร้างรายได้หลัก หรือรายได้เสริม

มาสู่การจัดกิจกรรม รอบรู้งานวิจัยกับ สวก. ภายใต้การเสวนาหัวข้อ “ไข่ผำ นวัตกรรมอาหารสุดยอดโปรตีนโลก เลี้ยงง่าย รายได้ดี” ณ โครงการใจฟ้าฟาร์ม ต.นิคมสร้างตนเอง อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี ที่มีสื่อมวลชนแขนงต่างๆ มาสัมผัสประสบการณ์ร่วมในการเพาะเลี้ยงไข่ผําจากสถานที่จริง พร้อมลิ้มลองรสชาติจากไข่ผำ และชมผลิตภัณฑ์กับทีมวิจัยโดยตรง ผ่านเส้นทางเรียนรู้ ในจุดที่ 1 โรงเพาะเลี้ยงระบบปิด (สำหรับฟาร์มขนาดใหญ่) จุดที่ 2 โรงเพาะเลี้ยงระบบปิด (สำหรับครัวเรือน) และการทดลองให้อาหารไข่ผำ 3 แบบ คือ  มูลวัว น้ำหมักผักผลไม้ และ มูลวัว+น้ำหมักผักผลไม้  ต่อด้วยการเยี่ยมชมโครงการอื่นๆ อาทิ โครงการผักอินทรีย์ โครงการฟาร์มวัวโคนม (จากการไถ่ชีวิต) โครงการใจฟ้าอคาเดมี่ และ โครงการการจัดการขยะให้เป็นศูนย์ (ปุ๋ย+ถ่าน)

2.ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
2.ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร

การวิจัยไข่ผำ

ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร เผยถึงที่มาและการสนับสนุนผลักดันงานการวิจัยไข่ผำ ระหว่างกิจกรรมเสวนาในหัวข้อ ไข่ผำ นวัตกรรมอาหารสุดยอดโปรตีนโลก เลี้ยงง่าย รายได้ดี เอาไว้ว่า “หลังจากวิกฤตโรคโควิด 19 ความมั่นคงทางอาหารเปลี่ยนไป สภาวะการขาดแคลนอาหารเพิ่มขึ้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสวก. ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ทั้งการสนับสนุนผลักดันการสร้างแหล่งอาหารทดแทน หรือ การพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมทางอาหาร เพื่อสร้างคุณค่าทางโภชนาการ หรือ Future Food ซึ่งในปัจจุบันเป็น Mega Trend ที่มาแรง ในภาคอุตสาหกรรมอาหารต่างก็ให้ความสำคัญ

ทาง สวก. สนับสนุนทุนวิจัยในการพัฒนานวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต หรือ Future Food กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อศึกษาเรื่องคุณประโยชน์หรือสาระสำคัญใน “ไข่ผำ ซึ่งตอนนี้มีผลการวิจัยที่ชัดเจนแล้วว่า “ไข่ผำ” หรือ “ไข่น้ำ” หรือ “คาเวียร์มรกต” เป็นพืชที่มีโปรตีนสูงที่สามารถมาทดแทนนมจากสัตว์ และที่สำคัญ ผลจาก Lab ไข่ผำมีโปรตีนมากกว่าถั่วเหลือง ซึ่งเหมาะกับสาย Vegan สายมังสวิรัติมาก หลังจากนี้เราจะได้เห็นนวัตกรรมอาหารใหม่จากพืชทดแทนมากขึ้น และความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน สิ่งที่มองเห็นในนัยยะของความมุ่งหวัง คือ ความเป็นอยู่ของพี่น้องเกษตรกรจะเปลี่ยนไปจากการที่ได้เลือก  เพราะไข่ผำสามารถเป็นอาชีพทางเลือก เป็นอาชีพใหม่ เป็นอาชีพเสริมได้เป็นอย่างดี”

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.คุณพิพัฒน์ บุญยกาญจนพล ผู้ดูแลโครงการมูลนิธิอาทรประชานาถ
3.คุณพิพัฒน์ บุญยกาญจนพล ผู้ดูแลโครงการมูลนิธิอาทรประชานาถ

คุณพิพัฒน์ บุญยกาญจนพล หรือ “อาจารย์เซ็ง” ผู้ดูแล โครงการมูลนิธิอาทรประชานาถ จ.ลพบุรี

หน่วยงานที่ร่วมโครงการทดลองเพาะเลี้ยงไข่ผําในระบบปิด สําหรับฟาร์มและครัวเรือน เพื่อพึ่งพาตนเองและขยายต่อไปยังผู้สูงอายุ 169 ครัวเรือน รวมทั้งเกษตรกรในพื้นที่ จ.ลพบุรี และพื้นที่อื่นๆ บอกเล่าเรื่องราวการสร้าง Model ตัวอย่าง จนได้เห็นศักยภาพของไข่ผำว่า “สำหรับการสร้าง Model ตัวอย่างไข่ผำ เราต้องการผลลัพธ์  2 ส่วนหลักๆ คือ

1.สร้างรายได้ในการหล่อเลี้ยงตัวเอง คือ พึ่งพาตัวเองให้ได้มากกว่าเงินสนับสนุน

2.ผู้สูงอายุจำนวน 169 ครัวเรือน ที่มูลนิธิส่งปิ่นโตให้ทุกวัน ให้มีรายได้จากการเลี้ยงไข่ผำ ซึ่งเป็นอาชีพที่ไม่ต้องใช้แรงกายมากนัก จะได้มีกิจกรรมทำด้วย ได้ออกแรง ออกกำลัง และยังมีรายได้ หรือจะใช้เป็นอาหารในครัวเรือนก็ยังได้

ทำให้เกิดโรงเพาะเลี้ยง 2 ขนาด คือ ระบบปิดขนาดใหญ่ และ ระบบปิดขนาดเล็ก สำหรับครัวเรือน ซึ่งบังเอิญเรามีบ่อเลี้ยงปลาเก่า จึงนำมาใช้ในโครงการนี้ได้เลย และเพื่อให้ครัวเรือนเล็กๆ สามารถทำด้วยได้ จึงเพิ่มอีก 1 ตัวอย่าง โดยใช้โรงเรือนปลูกผักมาเป็นโรงเรือนเพาะเลี้ยงผำไปด้วย

พิเศษไปกว่านั้น เมื่อสร้าง Model ตัวอย่างแล้ว เราทดลองเรื่องของอาหารสำหรับไข่ผำด้วยว่าแบบไหนเหมาะสม มีการเพาะเลี้ยงผำด้วยอาหาร 3 แบบ คือ

1.เลี้ยงด้วยมูลวัว เราจะนำมูลวัวนมมาแช่น้ำ เพื่อให้มูลวัวคลายแอมโนเนีย และคลายความร้อน แช่ทิ้งไว้จนกว่ามูลวัวคลายแอมโนเนีย และความร้อนหมด จึงนำน้ำหมักมูลวัวไปใส่ในบ่อเลี้ยงไข่ผำ เพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้กับไข่ผำ (ส่วนกากที่เหลือจากน้ำหมักมูลวัวจะนำมาเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยสำหรับขายต่อไป)

โฆษณา
AP Chemical Thailand

2.เลี้ยงด้วยน้ำหมักจากผักผลไม้ และ

3.เลี้ยงด้วยมูลวัวและน้ำหมักมารวมกัน

ขอให้ผู้บริโภคมั่นใจ และไม่ต้องกังวลเรื่องความสะอาด เพราะในมูลนิธิทำเกษตรระบบอินทรีย์ มูลวัวของเรากินหญ้า กินอาหารจากฟาร์ม น้ำผักผลไม้ก็เช่นกัน เป็นเศษผักผลไม้ของเรา และน้ำหมักก็ทำเอง ซึ่งได้สอบถามนักวิจัยโครงการแล้วว่าการใช้มูลวัวมีผลต่อคุณภาพหรือสารตกค้างหรือไม่ เมื่อตรวจคุณภาพน้ำแล้วไม่มีสารตกค้าง ในกระบวนการแปรรูปสามารถจัดการเรื่องคุณภาพความปลอดภัยได้

ดังนั้นไข่ผำจึงเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างรายได้ให้กับพี่น้องรอบๆ พื้นที่มากว่า 2 ปีแล้ว  การสร้างความมั่นคงทางอาหาร มันจะไม่ใช่แค่เรื่องอาหาร มันส่งผลในเรื่องสังคม ชุมชน เรื่องคุณภาพชีวิตคน ไข่ผำเป็นอาหารสร้างทั้งสุขภาพ สร้างทั้งรายได้ ให้กับคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี

4.ไข่ผำ04

การเลี้ยงโคนม

อาจารย์เซ็งกล่าวต่อว่า ทาง โครงการใจฟ้าฟาร์ม นอกจากจะมีโมเดลเลี้ยงไข่แล้ว ยังมีอีกหลายโครงการที่น่าสนใจ เช่น การเลี้ยงโคนม เพื่อนำไปเลี้ยงนักเรียนที่อยู่ในโครงการนักกีฬา ซึ่งเศษอาหารที่เหลือจากน้องๆ นักเรียน จะนำมาเลี้ยง หนอนแมลงวันลาย เพื่อนำมาเป็นโปรตีนทดแทนในการเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหาร

แมลงวันลายถือได้ว่าเป็นแมลงเศรษฐกิจตัวใหม่ ที่หลายองค์กรได้นำองค์ความรู้ไปส่งเสริมให้กับเกษตรกร หรือ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น โรงเรียน โรงแรม และหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจองค์ความรู้นี้ และนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น การนำตัวสดไปเลี้ยงไก่ และปลา หรือ การนำตัวสดไปอบแห้งเพื่อสกัดน้ำมัน และนำน้ำมันที่ได้ไปผสมเป็นเวชสำอาง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.อาจารย์ทฤษฎี เพชรมะลิ ประธานวิสาหกิจชุมชนแปลงนาสะอาด
5.อาจารย์ทฤษฎี เพชรมะลิ ประธานวิสาหกิจชุมชนแปลงนาสะอาด

จากนาข้าวสู่แปลงไข่ผำ

อาจารย์ทฤษฎี  เพชรมะลิ ประธานวิสาหกิจชุมชนแปลงนาสะอาด จ.กำแพงเพชร กลุ่มเกษตรกรที่ร่วมโครงการทดลองเพาะเลี้ยงไข่ผําในแปลงนาอินทรีย์ (ระบบเปิด) ปัจจุบันมีสมาชิกร่วมโครงการ 60 ราย และพร้อมขยายต่อไปยังเกษตรกรแปลงนาสะอาด ทั้งจังหวัดกําแพงเพชร โดยผลผลิตในครั้งที่ 1 ผ่านมาตรฐานจาก อย. แล้ว เผยถึงความมุ่งหวังไว้ว่า “ก่อนที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงนาสะอาดจะมาเลี้ยงไข่ผำ เราเป็นกลุ่มทำข้าวคุณภาพพิเศษมาก่อน เราได้ศึกษาเรียนรู้จนเห็นถึงศักยภาพความต้องการของตลาดไข่ผำ เรารู้ว่าไข่ผำจะเติบโตได้ดีในพื้นที่เกษตรอินทรีย์ จากการเลี้ยงไข่ผำมานั้นเป็นผลกระทบในทางบวกที่สร้างรายได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันก็มองเห็นตลาดในอนาคตของไข่ผำด้วย

ความมุ่งหวังของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงนาสะอาด คือ การสร้างผลกระทบเชิงบวกไปทั้งจังหวัด เราเห็นทิศทางของไข่ผำไปได้ดีแน่นอน ความต้องการของตลาด ของผู้บริโภคทั้งในประเทศ และทั้งโลกมีมากขึ้น กลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการอาหารสุขภาพทางเลือกที่มีจำนวนมากขึ้น และกลุ่มที่ดูแลสุขภาพก็มากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันเห็นได้ว่าตลาดอาหารเสริมก็กว้างขึ้นเช่นกัน ความมุ่งหวังของกลุ่ม นอกจากเรื่องการขยายผลไปทั้งจังหวัดแล้ว เราต้องการสร้างกระบวนการตรวจสอบคุณภาพย้อนหลังให้ได้มากยิ่งขึ้น เพราะเรื่องนี้จะสร้างความยั่งยืนให้กับตัวเกษตรกรเหมือนที่อาจารย์เซ็งกล่าวข้างต้น

ซึ่งวิธีการเลี้ยงไข่ผำของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงนาสะอาด จะแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ

1.จะแบ่งแปลงนา 1 แปลง สำหรับเลี้ยงไข่ผำ มีความสูงของน้ำในการเลี้ยงประมาณ 100-120 ซม.

2.การเลี้ยงในวงบ่อ และมีการเติมปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 เพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้กับไข่ผำ และเพิ่มออกซิเจน ด้วยเครื่องทำออกซิเจนในตู้ปลา ทำให้ไข่ผำเจริญเติบโตได้เร็วขึ้น

อาจารย์ทฤษฎีกล่าวต่อว่า ไข่ผำชอบอากาศโปร่งๆ มีแสงแดดเพื่อช่วยในเรื่องการสังเคราะห์แสง และน้ำต้องมีความลึกที่เหมาะสม เพราะเมื่อไข่ผำเจออากาศร้อนจัดๆ จะหลบลงใต้น้ำ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

6.ไข่ผำ06

การแปรรูปไข่ผำ

ข้อจำกัดเรื่องการเก็บเกี่ยว ไข่ผำเป็นสิ่งมีชีวิตที่เจริญเติบโตได้ดีในแหล่งน้ำธรรมชาติ เกษตรกรจะเป็นฐานสร้างวัตถุดิบที่ดี ต้องพึ่งพาเทคโนโลยี จากทางสวก.มาต่อยอดด้วย

ไข่ผำ มีประโยชน์มากมาย ถ้านำมาขายแบบสด ราคากิโลกรัมละ 10 บาท เมื่อนำมาตากแห้งสามารถส่งขายได้กิโลกรัมละ 500-700 บาท หรือตันละ 5-7 แสนบาท (1 ตัน = 1,000 กิโลกรัม) การนำไปแปรรูปได้หลากหลายอย่าง เช่น นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมชงดื่ม นอกจากนี้ยังนำมาสกัดน้ำมันเพื่อเพิ่มมูลค่าได้ลิตรละ 20,000 บาท ส่วนกากที่เหลือจะนำมาผสมเป็นอาหารสัตว์เพื่อเพิ่มเป็นโปรตีน

ดร.วิชาญ ยังได้ทิ้งท้ายว่า ในฐานะที่ สวก. เป็นศูนย์กลางข้อมูลงานวิจัยด้านการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ รวมทั้งเทคโนโลยีนวัตกรรมจากการวิจัยมากมาย เรื่องการขยายผลงานวิจัย อีกว่า “ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เกษตรกรให้โอกาส สวก. ได้เติบโตไปพร้อมๆ กับการสร้างอาชีพ สวก. เป็นผู้นำในการบริหารการวิจัยการเกษตร เพื่อสร้างความเข้มแข็งของภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน นี่คือ keyword สำคัญ เป็นหน้าที่ของ สวก.อยู่แล้ว เมื่อเรามีเทคโนโลยีพร้อมใช้งาน สามารถนำมาต่อยอดกับโครงการนี้ได้เลย”

ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข่าวสาร ผลงานวิจัย เพื่อเศรษฐกิจ และการพัฒนา หรือขอรับทุนวิจัยได้ที่ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. https://www.arda.or.th/

ช่องทางการติดต่อเพิ่มเติม เฟซบุคแฟนเพจ : www.facebook.com/ardathai, www.facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017, www.youtube.com/@ardathailand

บล็อกองค์ความรู้ด้านการเกษตรอย่างง่ายที่สามารถเข้าถึงได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย : http://blog.arda.or.th/

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร ฉบับที่ 35