วิธีเพาะเห็ดฟางในตะกร้า เพาะกินเองได้ง่ายๆ ใช้วัสดุปลูกและพื้นที่น้อย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เห็ดฟางถือเป็นเห็ดที่นิยมนำมาประกอบอาหาร เพราะสามารถประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และกรรมวิธีการเพาะไม่มีความยุ่งยาก ไม่ต้องพึ่งสารเคมี ถึงแม้จะมีพื้นที่ไม่มากก็สามารถเพาะได้ และสามารถเพาะได้ทุกฤดูกาล และถือเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่มีวงจรการผลิตสั้น วิธีเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

1.เพาะเห็ดแบบเป็นกอง
1.เพาะเห็ดแบบเป็นกอง

รูปร่างทางสัณฐานวิทยาของเห็ดฟาง

ระยะที่ 1 ระยะเริ่มแรกจากการเกิดดอก หรือระยะเข็มหมุด (pinhead stage) หลังการโรยเชื้อเห็ดแล้ว 5-7 วัน เส้นใยจะมารวมตัวกันเป็นจุดสีขาว มีขนาดเล็ก

ระยะที่ 2 ระยะดอกเห็ดเป็นกระดุมเล็ก (tiny button stage) หลังจากระยะแรก 15-30 ชม. หรือ 1 วัน ดอกเห็ดเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นรูปดอกเห็ดลักษณะกลมยกตัวขึ้นจากวัสดุเพาะ

ระยะที่ 3 ระยะกระดุม (button stage) หลังจากระยะ 2 ประมาณ 12-20 ชม. หรือ 1 วัน ทางด้านฐานโตกว่าส่วนปลาย แต่ยังมีลักษณะกลมรีอยู่ภายใน มีการแบ่งตัวเป็นก้านดอกและครีบดอก

ระยะที่ 4 ระยะรูปไข่ หรือระยะดอกตูม (egg stage) เป็นระยะต่อเนื่องจากระยะที่ 3 หากมีอุณหภูมิสูงกว่า 32 องศาเซลเซียส จะใช้เวลาเพียง 8-12 ชม. ดอกเห็ดเริ่มมีการเจริญเติบโตทางความยาวของก้านดอก และความกว้างของหมวกดอก เปลือกหุ้มดอกบางลง และเรียวยาวขึ้นคล้ายรูปไข่ ส่วนมากจะมีการเก็บเกี่ยวในระยะนี้ เพราะเป็นระยะที่ให้น้ำหนักสูงสุด และเป็นลักษณะที่ผู้บริโภคนิยมรับประทานมากที่สุด รวมทั้งเป็นขนาดที่โรงงานแปรรูป (บรรจุกระป๋อง) ต้องการ

ระยะที่ 5 ระยะยืดตัว (elongation stage) หลังระยะที่ 4 เพียง 3-4 ชม. การเจริญเติบโตของก้านและหมวกดอกเป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่วนบนสุดของเปลือกหุ้มดอกแตกออกอย่างไม่เป็นระเบียบ (irregular) สีของผิวหมวกดอกมีสีเข้มขึ้น แต่ก้านและครีบจะเป็นสีขาว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ระยะที่ 6 หรือระยะแก่ (mature stage) ดอกจะบานเต็มที่ มีสปอร์ที่ครีบเป็นจำนวนมาก

ในปัจจุบันสังคมเมืองเริ่มขยายตัวมากขึ้น ทำให้มีพื้นที่จำกัดต่อการทำกิจกรรมต่างๆ การบริโภคก็เช่นกัน เนื่องด้วยสังคมปัจจุบันส่วนใหญ่เน้นปริมาณ ไม่เน้นคุณภาพ ไม่คำนึงถึงกรรมวิธีในการผลิต หวังแค่ผลผลิตเป็นหลัก จึงทำให้มีการใช้สารเคมี และยาต่างๆ เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดสารพิษตกค้างในผัก ผลไม้ ที่บริโภค แต่มนุษย์ยังต้องการอาหารที่มีประโยชน์ และปราศจากสารพิษ การปลูกพืชผักต่างๆ ไว้กินเองจึงเป็นทางเลือกอีกทางของคนสังคมเมือง

ถึงแม้จะมีพื้นที่ที่มีจำกัด ก็สามารถเพาะเห็ดฟางได้ ตัวอย่างเช่น การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ หาง่าย โดยมีอยู่รอบตัวเรา ถ้าเกิดผิดพลาดทางเทคนิคก็ถือว่าเป็นการทดลองเบื้องต้น แต่ถ้าผลผลิตออกมาดีเกินที่คาดเอาไว้ ก็แสดงว่ามีโอกาสที่จะทำกำไรได้มากขึ้น รวมถึงการเริ่มต้นแบบง่ายๆ แล้วไปได้ดี ก็มีสิทธิ์ต่อยอดไปสู่การเพาะที่เป็นแบบอุตสาหกรรมมากขึ้นด้วย

2.วิธีเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ได้ดอกดอกตูม และเป็นก้อนกลมๆ สีขาว
2.วิธีเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ได้ดอกดอกตูม และเป็นก้อนกลมๆ สีขาว

ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟาง

วัสดุอุปกรณ์

1.ก้อนเชื้อเห็ดฟาง

2.ตะกร้าพลาสติก

3.ฟางข้าว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

4.สุ่มไก่ หรือโครงโรงเรือน

5.พลาสติก

6.วัสดุพรางแสง

7.อาหารเสริมของเห็ด เช่น แป้งสาลี หรือผักตบชวา

วิธีเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

ทุบก้อนเชื้อเห็ดฟางในถุงให้แตกพอประมาณ แต่ไม่ต้องให้ถึงกับละเอียด นำมาผสมกับแป้งสาลี 1ช้อนชา จากนั้นแบ่งก้อนเชื้อเห็ดฟางออกเป็น 2กอง กองละเท่าๆ กัน เชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง แบ่งออกเป็น 2 กอง สามารถเพาะเห็ดฟางได้ประมาณ 2 ตะกร้า และใส่ฟางข้าวที่ผ่านการแช่น้ำไว้แล้ว 1 คืน ลงไปในตะกร้า ให้ฟางข้าวมีความสูงประมาณ 2-3 นิ้ว กดให้พอแน่น

โรยอาหารเสริมลงไป จะเป็นผักตบชวาที่หั่นไว้หรือรำละเอียดก็ได้ โรยลงไปรอบๆ บนฟางข้าว แต่อย่าใส่อาหารเสริมมากจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดการเน่าเสียได้ และนำเชื้อเห็ดฟางมาโรยรอบๆ ทับไปบนอาหารเสริม โดยเน้นโรยที่ช่องของตะกร้า ถึงตอนนี้เราจะได้เป็นชั้นที่ 1 เรียบร้อย (1 ตะกร้า จะต้องทำ 3 ชั้น) ทำชั้นที่ 2 ชั้นที่ 3 ด้วยวิธีการเดิมแบบข้างต้น จากนั้นปิดชั้นที่ 3 ด้วยฟางข้าว จากนั้นรดน้ำใส่ตะกร้าให้เปียกชุ่ม (ถึงตอนนี้เราก็จะได้ตะกร้าเพาะเห็ดฟาง 1 ตะกร้า เป็นที่เรียบร้อย)

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นำตะกร้าเห็ดฟางไปวางไว้บนพื้นที่ที่เราเตรียมไว้ วางไว้บนเหนือพื้นดินประมาณ 3-4 นิ้ว (นำก้อนอิฐมาวางรองเป็นฐานอย่าให้ติดพื้น) จากนั้นก็นำโครงไม้ไผ่หรือสุ่มไก่มาครอบตะกร้า นำพลาสติกมาคลุมโครงหรือสุ่มจากด้านบนถึงพื้นให้มิดชิด จากนั้นก็คลุมด้วยวัสดุพรางแสงอีกที

3.ผลผลิตเห็ดฟางพร้อมจำหน่าย
3.ผลผลิตเห็ดฟางพร้อมจำหน่าย วิธีเพาะเห็ดฟางในตะกร้า วิธีเพาะเห็ดฟางในตะกร้า วิธีเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

การบำรุงดูแลเห็ดฟางในตะกร้า

รักษาอุณหภูมิในโรงเรือนให้อยู่ที่ประมาณ 30 -40 องศาเซลเซียส วันที่ 4 ช่วงตอนเย็นให้เปิดพลาสติกที่คลุมออก เพื่อให้อากาศเข้าไปกระตุ้นเส้นใย ใช้เวลาเปิดรับอากาศประมาณ 30 นาที วันที่ 5 เป็นต้นไป ในช่วงตอนเย็น ให้เปิดพลาสติกที่คลุมสุ่มพอประมาณ ให้อากาศถ่ายเท ใช้เวลาประมาณ 15 นาที จากนั้นก็คลุมพลาสติกให้มิดชิดเหมือนเดิม และวันที่ 7 ช่วงนี้เห็ดฟางจะเจริญเติบโตขึ้น สามารถเก็บผลผลิตได้ในวันที่ 8-9 แต่การเก็บเห็ดฟางควรเก็บด้วยความนุ่มนวล อย่าให้บอบช้ำ จากนั้นก็นำส่งขายที่ตลาด หรือนำไปบริโภคได้เลย

ในการเพาะแบบตะกร้านี้ถือเป็นต้นทุนที่น้อยมาก บางคนที่มีวัสดุอุปกรณ์อยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องหาใหม่ ซื้อก้อนเห็ดฟางที่มีจำหน่ายราคาก็ตามแต่สถานที่ ในกรณีที่ไม่ได้เพาะแบบสร้างโรงเรือน ก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะเห็ดฟางในตะกร้านี้ในแต่ละตะกร้าจะเก็บเห็ดได้ 2-3 รุ่น ซึ่งแต่ละตะกร้าจะได้น้ำหนักเห็ดประมาณ 1 กิโลกรัม

4.เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ป้องกันการเจริญเติบโตของไวรัส
4.เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ป้องกันการเจริญเติบโตของไวรัส

ประโยชน์และสรรพคุณของเห็ดฟาง

มีสารที่ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของไวรัส ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันโรคหัวใจ ลดไขมันในเส้นเลือด ไม่มีไขมัน จึงไม่ทำให้อ้วน มีวิตามินซีสูง จึงช่วยแก้ไข้หวัด และทำให้ผิวพรรณสดใส ลดอาการช้ำใน และรอยฟกช้ำ ลดปวดบวมตามร่างกาย บำรุงตับให้แข็งแรง ช่วยให้ระบบการทำงานของตับและร่างกายเกิดความสมดุล เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยสมานแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น บรรเทาอาการช้ำใน หรืออักเสบ ภายในร่างกาย ปรับสมดุลให้ร่างกาย และลดความร้อนในร่างกาย เพราะเห็ดฟางมีฤทธิ์เย็น มีเส้นใยอาหารทำให้ขับถ่ายสะดวก

มีการวิจัยค้นพบว่า เห็ดฟางมีสาร vovatoxin ช่วยป้องกันการเติบโตของไวรัส ที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ ช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับไขมันในเส้นเลือดและโรคหัวใจได้

คุณค่าทางอาหาร

เห็ดฟาง 100 กรัม ให้พลังงาน 35 kcal โปรตีน 3.2 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม แคลเซียม 8 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม เหล็ก 1.1 มิลลิกรัม ไนอะซิน 3.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 7 มิลลิกรัม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คำเตือน: ไม่ควรกินเห็ดฟางสดๆ เพราะมีสารที่คอยยับยั้งการดูดซึมอาหาร

5.ดอกใหญ่ ได้คุณภาพ
5.ดอกใหญ่ ได้คุณภาพ วิธีเพาะเห็ดฟางในตะกร้า วิธีเพาะเห็ดฟางในตะกร้า วิธีเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

ก่อนซื้อเห็ดฟางควรดูให้ดีเสียก่อน!

เห็ดฟาง ในส่วนของผู้ขาย

ธรรมชาติของเห็ดฟางเมื่อโตเต็มที่พร้อมที่จะเก็บได้  เจออุณหภูมิสูงหน่อยจะบานทันที แต่ทำไมเห็ดฟางเมื่อมาอยู่กับคนขายในตลาดนัด ตลาดสด เจออากาศร้อนทั้งวันไม่บาน

คำตอบ คือ อาจจะมีการแช่ฟอร์มาลีน หรือสารเคมี ที่ควบคุมไม่ให้เห็ดบาน

เห็ดฟางในส่วนของผู้เพาะ

คนที่เพาะเห็ดด้วยฟาง ทะลายปาล์ม อาจมีปลวก มด มากัดกินกองเห็ดเสียหายได้ ดังนั้นจึงมีการใช้ฟูราดานราดพื้นก่อน ผู้เพาะเห็ดหลายๆ รายทำเป็นประจำ อาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าฟูราดานถูกดูดซึมเข้าดอกเห็ด ซึ่งใช้เวลาเพาะแค่เพียง 10 วัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.นำไปแกงหรือผัดก็ได้
6.นำไปแกงหรือผัดก็ได้ วิธีเพาะเห็ดฟางในตะกร้า วิธีเพาะเห็ดฟางในตะกร้า วิธีเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

ข้อควรระวังการบริโภคเห็ด

ถ้าซื้อเห็ดบานไปกิน ฤทธิ์ยาที่ควบคุมเห็ดบานอาจหมดฤทธิ์แล้ว น่าจะปลอดภัยระดับหนึ่ง ถ้าคนเพาะใช้ฟูราดาน ไม่ว่าจะล้างวิธีใด สารพิษที่มีอยู่จะไม่หมดฤทธิ์

เพราะฉะนั้นการเลือกเห็ดฟางต้องเลือกและพิจารณาให้ดีก่อนจะซื้อมาบริโภค

ขอขอบคุณ…http://www.thaifranchisecenter.comและ https://goodlifeupdate.com

อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร ฉบับที่ 13