สาระสำคัญ พรบอ้อยและน้ําตาลทราย ที่ชาวไร่ควรรู้!

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สาระสำคัญ พรบอ้อยและน้ําตาลทราย ที่ชาวไร่ควรรู้

วันที่ 27 ก.ค. 27 คือ วันที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกฯ รับสนองพระบรมราชโองการ ประกาศใช้ พรบอ้อยและน้ําตาลทราย ฉบับนี้

32 ปี กับ 4 เดือน ที่ใช้มา จนกระทั่งวันนี้ต้องแก้ พรบอ้อยและน้ําตาลทราย ครั้งใหญ่ เพราะแรงบีบของบราซิล คู่แข่งของไทย ในเรื่องธุรกิจ อ้อยและน้ำตาล ผ่านองค์การการค้าโลก (WTO) เพื่อให้ไทยค้าขายน้ำตาลทรายด้วยกลไกการค้าเสรี

  1. คำว่า “น้ำตาลทราย” ตามมาตรา 4 หมายความถึง น้ำตาลที่ผลิตจากอ้อย และหมายรวมถึง “น้ำอ้อย” ที่เคี่ยวเป็นน้ำเชื่อม หรือรูปอื่น เพื่อใช้ผลิตน้ำตาลทราย และกรณีที่นำผลพลอยได้มารวมเพื่อคำนวณราคาอ้อย และผลตอบแทนการผลิต และการขายน้ำตาลทราย ให้ความหมายรวมถึงผลพลอยได้ด้วย

ผลพลอยได้ หมายถึง กากน้ำตาล และหมายรวมถึง ผลพลอยได้อื่นใด ที่ได้จากการผลิตน้ำตาลทราย

เรื่องน้ำตาลทราย และผลพลอยได้ จึงเป็นเรื่องที่ควรรู้

  1. คณะกรรมการ อ้อยและน้ำตาล (ม.9) หรือ “บอร์ด”  อ้อยและน้ำตาล กฎหมายให้อำนาจหน้าที่ (ม.17) ไว้มากมาย เกี่ยวข้องกับความเป็น ความตาย ของชาวไร่อ้อยโดยตรง

คณะกรรมการประกอบด้วยข้าราชการในกระทรวงเกษตร ที่ รมต.แต่งตั้ง 1 คน ข้าราชการในกระทรวงพาณิชย์ ที่ รมต.พาณิชย์ แต่งตั้ง 2 คน ข้าราชการในกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ รมต.อุตสาหกรรม แต่งตั้ง 2 คน ตัวแทนชาวไร่อ้อย 9 คน และตัวแทนโรงงาน 7 คน รวมเป็น 21 คน ให้เลือกประธาน และรองประธาน 2 คน กันเอง และให้เลขาธิการเป็นเลขานุการคณะกรรมการ อยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี

1.การทำไร่อ้อย
การทำไร่อ้อย อ้อยและน้ําตาล

คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ 30 อย่าง (ม.17) กำหนดหลักเกณฑ์ พันธุ์อ้อย การปลูกอ้อย พื้นที่ปลูกอ้อย การจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย กลุ่มชาวไร่อ้อย การจัดสรรปริมาณอ้อยส่งโรงงานน้ำตาล การตรวจสอบคุณภาพอ้อย กำหนดวันเริ่มต้นหีบอ้อย อัตราการหีบอ้อย/วัน กำหนดวันสิ้นสุดการหีบอ้อย

กำหนดชนิด คุณภาพ และปริมาณ น้ำตาลทราย กำหนดหลักเกณฑ์การขาย และส่งออก หรือนำเข้า น้ำตาลทราย กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณต้นทุนการผลิต อ้อยและน้ำตาล ทราย กำหนดอัตราส่วนผลตอบแทน ระหว่างชาวไร่อ้อยกับโรงงานน้ำตาล และอื่นๆ ใน 30 อย่าง พูดง่ายๆ ว่าอำนาจครอบจักรวาล อ้อยและน้ำตาล ทราย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยเฉพาะมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร (ม.20) 13 คน โดยมีผู้แทนชาวไร่อ้อย 5 คน และผู้แทนโรงงาน 4 คน ทำหน้าที่ตามคณะกรรมการอ้อยฯ มอบหมาย และคณะกรรมการบริหารก็มีอำนาจในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน มาช่วยงานกันได้ (ม.20-21)

2.อ้อยโรงงานเพื่อผลิตน้ำตาล
อ้อยโรงงานเพื่อผลิตน้ำตาล
  1. กองทุนอ้อยและน้ําตาลทราย ให้จัดตั้งกองทุนขึ้น เรียกว่า กองทุนอ้อยและน้ำตาล (ม.23) เพื่อศึกษาวิจัย พัฒนา และส่งเสริมการผลิต การใช้ และการจำหน่าย อ้อยและน้ำตาล ทราย รักษาเสถียรภาพอุตสาหกรรม อ้อยและน้ำตาล ทราย และเสถียรภาพราคาน้ำตาลทรายที่ใช้บริโภคในประเทศ

ให้ กองทุนอ้อยและน้ําตาลทราย เป็นนิติบุคคล สำนักงานใหญ่อยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการ อ้อยและน้ำตาล ทราย กระทรวงอุตสาหกรรม

คณะกรรมการบริหารกองทุนแต่งตั้งโดย ค.ร.ม.จำนวน 12 คน จากตัวแทนชาวไร่อ้อย 3 คน โรงงาน 3 คน นอกนั้นจากราชการ

3.การทำไร่อ้อย 10 ไร่
กองทุนอ้อยและน้ําตาลทราย การทำไร่อ้อย
4.ต้นอ้อยที่ได้อายุในฤดูการเก็บเกี่ยว
ต้นอ้อยที่ได้อายุในฤดูการเก็บเกี่ยว
  1. กองทุนมาจากไหน??

ม.27 ให้เงินกองทุนมาจากค่าธรรมเนียมการวิจัยและส่งเสริมการผลิต อ้อยและน้ำตาล ทราย เงินเบี้ยปรับตาม ม.17 (25) เงินตาม ม.57 ดอกผลของกองทุนเงิน/ทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้เงินกู้โดยอัตโนมัติของ ค.ร.ม. และเงินอุดหนุนจากรัฐ เป็นต้น

  1. ราคาอ้อย และผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย

มาตรา 49 ระบุให้ก่อนเริ่มการผลิตน้ำตาลทรายให้คณะกรรมการบริหารจัดทำประมาณการ “รายได้” จากการขายน้ำตาลทรายที่จะผลิต เพื่อกำหนด “ราคาอ้อย” ขั้นต้น และ “ผลตอบแทน” การผลิต-ขายน้ำตาลทรายขั้นต้น ต้องไม่น้อยกว่า 80% ของประมาณการรายได้ จากนั้นต้องแจ้งตัวเลขให้สถาบันชาวไร่อ้อยและสมาคมโรงงานน้ำตาลทราบ และจัดให้มีประชุมผู้แทน 2 องค์กร เพื่อรับฟังความคิดเห็น (ม.50)

โดยต้องแจ้งเป็นหนังสือล่วงหน้าก่อนการประชุมไม่น้อยกว่า 10 วัน ถ้าคัดค้านต้องทำเป็นหนังสือพร้อมเหตุผลยื่นต่อสำนักงานก่อนเรียกประชุม แล้วเสนอ ค.ร.ม.ลงมติเพื่ออนุมัติราคาอ้อยขั้นต้น และผลตอบแทนการขายน้ำตาลทรายขั้นต้น แล้วประกาศราคาในราชกิจจานุเบกษา (ม.53)

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เมื่อถึงเดือนกันยายน คณะกรรมการบริหารต้องคำนวณ “รายได้สุทธิ” จากการขายน้ำตาลทรายในฤดูการผลิต และเมื่อถึงเดือนตุลาคมคณะกรรมการบริหารต้องกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้าย และผลตอบแทนขั้นสุดท้าย เสนอ ค.ร.ม. ถ้าเห็นชอบก็ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ม.55)

5.การเก็บเกี่ยวอ้อย
กองทุนอ้อยและน้ําตาลทราย การเก็บเกี่ยวอ้อย

ราคาอ้อยขั้นสุดท้าย และผลตอบแทน

ในกรณีที่ราคาอ้อยขั้นสุดท้าย และผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้ายต่ำกว่าราคาอ้อยขั้นต้น และผลตอบแทนขั้นต้น ให้กองทุนจ่าย “เงินชดเชย” แก่โรงงานเท่ากับส่วนต่าง แต่ชาวไร่อ้อยไม่ต้องส่งคืนค่าอ้อยที่ได้รับเกิน (ม.56) ส่วนโรงงานจะต้องส่งเงินเข้ากองทุนเท่าจำนวนผลต่าง ระหว่างรายได้สุทธิและค่าอ้อยตามราคาขั้นสุดท้าย รวมกับผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย ภายในเวลาที่คณะกรรมการกำหนด (ม.57)

สาระสำคัญของ พรบอ้อยและน้ําตาลทราย  27 มีแค่นี้จริงๆ ดังนั้นชาวไร่อ้อยควรศึกษา และเร็วๆ นี้กระทรวงอุตสาหกรรมจะให้รายละเอียดของการแก้ไข พรบอ้อยและน้ําตาลทราย ในเรื่องอะไรบ้าง เมื่อแก้ไปแล้วมีผลกระทบต่อชาวไร่อ้อยอย่างไร

การค้าน้ำตาลทรายโดยเสรี ไม่ว่าตลาดใน หรือต่างประเทศ “ราคา” จะขึ้น-ลงตามกลไกตลาด ถ้าราคาน้ำตาลทรายลงมากๆ รัฐอุดหนุนไม่ได้ คนในวงการย่อมเจ็บตัว ยกเว้นแต่มีกลยุทธ์การบริหาร “ต้นทุน” เพื่อให้มีกำไรพออยู่รอด ดังนั้นชาวไร่อ้อย ปี 60 เป็นต้นไป ต้องก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของโลก เรื่อง อ้อยและน้ำตาล รวมทั้งธุรกิจที่ต่อเนื่อง หากไม่ทันจะเสียผลประโยชน์ของเกษตรกรเอง

พรบอ้อยและน้ําตาลทราย อ้อยและน้ําตาล กองทุนอ้อยและน้ําตาลทราย กากน้ําตาลคือ สถานการณ์อ้อยและน้ําตาล กองทุนอ้อยและน้ําตาลทราย กองทุนอ้อยและน้ําตาลทราย กองทุนอ้อยและน้ําตาลทราย อ้อยและน้ําตาล อ้อยและน้ําตาล อ้อยและน้ําตาล อ้อยและน้ําตาล อ้อยและน้ําตาล อ้อยและน้ําตาล อ้อยและน้ําตาล อ้อยและน้ําตาล อ้อยและน้ําตาล