กรมประมง จับมือภาคีกุ้ง หยุดโรคขี้ขาว ในกุ้งเกิดจากอะไร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

กรมประมง จับมือภาคีกุ้ง หยุดโรคขี้ขาว ในกุ้งเกิดจากอะไร

ในที่สุดคนในวงการกุ้งขาววานาไม ทั้งภาครัฐ และเอกชน ก็ไม่สามารถฟันธงได้ว่า โรคขี้ขาว ในกุ้งขาวเกิดจากอะไร

เมื่อหา “สมุฏฐาน” ของโรคไม่เจอ หมอก็ต้องพ่ายแพ้โดยปริยาย

ประเทศไทยมี “หมอกุ้ง” มากมาย แต่ทำไมหาสมุฏฐานทางวิทยาศาสตร์เรื่องโรคขี้ขาวไม่เจอ

ในฐานะที่ มังกร 95 เป็นนักสังเกต และนักศึกษา ตลอดชีวิต ขอฟันธงว่า มีคนค้นพบเหตุแห่งโรคขี้ขาวแล้ว แต่เมื่อ “สาเหตุ” มันย้อน แย้งกับขาใหญ่ในวงการกุ้งขาว ก็เลยไม่กล้าร่วมสังฆกรรม

1.บรรยากาศภายในห้องประชุม
121

การวิจัยการใช้กากถั่วเหลืองในอาหารสัตว์

มีการสันนิษฐานกันต่างๆ นาๆ เพื่อหาสาเหตุแห่งโรค บางคนก็พุ่งเป้าไปที่ “กากถั่วเหลือง” ซึ่งเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ทดแทนปลาป่น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เพื่อค้นหา “ความจริง” เรื่องกากถั่วเหลืองหมักทดแทนปลาป่น เป็นต้นเหตุแห่งโรคขี้ขาวหรือไม่ กรมประมงโดย กองวิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์น้ำ (กพอ.) กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ (กพส.) และกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง (กพช.) ได้เชิญไบโอเทค/สวทช. และสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ตั้งคณะทำงานด้านวิจัยในเรื่องนี้

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ได้ให้ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยยูเนียน ฟีดมิลล์ จำกัด นำสูตรอาหารกุ้งขาววานาไม ที่ใช้ “กากถั่วเหลืองหมัก” และไม่หมัก ทดแทนปลาป่น เข้าร่วมวิจัย

ได้นำผลการวิจัยเสนอ คณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เมื่อ 21 ตุลาคม 2563 เวลา 13.30-16.30 น. ณ ห้องประชุมกุลาดำ ชั้น 7 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง

2.ผู้เข้าร่วมการประชุม
2.ผู้เข้าร่วมการประชุม

การบริหารจัดการบ่อกุ้ง

ทั้ง CP และไทยยูเนียน ได้วิจัย 7 สูตรอาหาร 35 โปรตีน และไขมัน 6% CP ทดลองเลี้ยงลูกกุ้งในกระชัง ขนาด 1x1x1.5 เมตร ในบ่อ PE ขนาด 0.5 ไร่ ปล่อยกุ้งขนาด 0.65 กรัม/60 ตัว/กระชัง ให้อาหารวันละ 5 มื้อ ปริมาณ 14% ของน้ำหนักตัวกุ้ง และปรับตามอัตราการโตของกุ้งทุก 2 สัปดาห์ แต่ละชุดทดลอง 10 ซ้ำ (6 ซ้ำ สำหรับการเติบโต และ 4 ซ้ำ สำหรับศึกษาสุขภาพลูกกุ้ง)

ส่วน ไทยยูเนียน เลี้ยงลูกกุ้งในถังทดลองข้างบ่อดิน โดยให้น้ำจากบ่อดินไหลผ่านตลอด 24 ชั่วโมง ดูดตะกอนออกจากถัง น้ำหนักลูกกุ้ง 0.47 กรัม 75 ตัว/ถัง ให้อาหารวันละ 4 มื้อ มีชุดทดลอง 10 ซ้ำ เหมือน CP  ทั้ง 2 บริษัท ได้เก็บรวบรวมข้อมูล เช่น คุณภาพน้ำ คุณภาพอาหาร การเจริญเติบโต และสุขภาพกุ้ง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากกรมประมง และสวทช. ตลอดระยะเวลาการทดลอง

ผลการทดลองของ CP ปรากฏว่า คุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานอาหารกุ้ง อาหารทุกสูตรอยู่ในเกณฑ์ที่ตั้งไว้ มีค่าความคงทนต่อแบคทีเรียและเชื้อรา การเติบโตของกุ้งในสูตรอาหารที่มีกากถั่วเหลืองดีกว่าสูตรปลาป่นอย่างเดียว แต่ FCR ต่ำกว่า และอัตราการรอดของลูกกุ้งไม่มีความแตกต่าง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ทางสถิติไม่พบอาการขี้ขาวใน 9 สูตรอาหารในทุกสัปดาห์ที่เก็บข้อมูล และพบเชื้อ EHP ปริมาณน้อยมากในทุกสูตรอาหาร มีปริมาณวิบริโอรวมในตับจำนวน 10³-10 ยกกำลัง 5 CFU/g ในทุกสูตรอาหาร ตั้งแต่ก่อนเริ่มทดลองจนสิ้นสุดการทดลองไม่พบ ATM ในเนื้อเยื่อ แต่พบ EHP จึงสรุปได้ว่า CP ไม่พบอาการขี้ขาวของกุ้งในกระชังทดลองระหว่างการเลี้ยง 56 วัน

ในส่วนของไทยยูเนียน คุณภาพน้ำในระหว่างการเลี้ยงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อาหารทุกสูตรอยู่ในเกณฑ์ที่ตั้งไว้ โปรตีนไม่น้อยกว่า 35% ไขมันไม่น้อยกว่า 6% อาหารทุกสูตรมีค่าความคงทน เชื้อราและแบคทีเรียอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานอาหาร การเติบโตของลูกกุ้ง และ FCR ในทุกสูตรอาหาร ไม่มีความแตกต่าง

จากสถิติผลตรวจสุขภาพกุ้ง 9 สูตร ไม่พบอาการขี้ขาว พบ EHP น้อย ช่วงเริ่มทดลอง และพบมากขึ้นเมื่อสิ้นสุดการทดลอง กุ้งลอกคราบเป็นปกติในทุกสูตรอาหาร สรุปได้ว่า 56 วัน ไม่พบอาการขี้ขาวของกุ้งในถังทดลอง

3.คุณยุทธนา (ไก่) รัตโน ที่ปรึกษาสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำท่าทองจำกัด
3.คุณยุทธนา (ไก่) รัตโน ที่ปรึกษาสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำท่าทองจำกัด

ปัญหาและอุปสรรคของบ่อกุ้ง

เรื่องผลการวิจัย อนุกรรมการหลายคนได้แสดงข้อคิดเห็นในที่ประชุม เช่น คุณยุทธนา (ไก่) รัตโน ที่ปรึกษาสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำท่าทองจำกัด ควรทดลองในฟาร์มเกษตรกรด้วย เพราะขี้ขาวยังระบาดทั่วประเทศ ต่างจากการทดลองในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีความเสี่ยง ซึ่งไม่ติดเชื้อ หรือ คุณไพโรจน์ นิมิตกุลไพบูลย์ นายกสมาคมการค้าปัจจัยการผลิตสัตว์น้ำไทย ไม่เชื่อผลการวิจัยทั้ง 2 รูปแบบ

นายสัตวแพทย์สุรศักดิ์ ดิลกเกียรติ เลขาธิการสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย กล่าวว่า ควรทดลองในภาชนะ หรือสถานที่ที่มีความใหญ่ ใช้น้ำในการทดลองเลี้ยงเหมือนกัน โดยจำลองสภาพแวดล้อมทั้งบ่อเป็นหลัก โดยเฉพาะการทดลองในกระชังในบ่อขนาดใหญ่ คุณภาพน้ำเหมือนกัน แล้วแบ่งกระชังเป็นช่องๆ คือ หลักการทดลองคุณภาพอาหารที่พัฒนา แต่ไม่ได้สื่อถึงความเสี่ยงว่าทำให้เกิดโรคหรือไม่

นอกจากนี้คุณหมอสุรศักดิ์ได้ตั้งข้อสังเกตถึงการระบาดทั่วประเทศว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งได้สั่งลูกกุ้งพร้อมๆ กัน ผลแลปยืนยันว่าลูกกุ้งติดเชื้อ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ดังนั้นจึงเกิดการติดเชื้อทั่วประเทศ ส่วนระบบการเลี้ยงไม่ว่าบางหรือหนาแน่น ล้วนเจอขี้ขาวทั้งหมด อย่าง สุราษฎร์ธานี 1,000 บ่อ อาการขี้ขาวกว่า 700 บ่อ แม้ในฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ หรือฟาร์มผลิตลูกกุ้ง ก็เจอโรคขี้ขาว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ซึ่งเรื่องนี้ คุณหมอปรีชา เอกธรรมสุทธิ์ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เสนอให้ทำวิจัยเรื่องการใช้กากถั่วเหลืองในอาหารสัตว์ต่อไป อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเลี้ยงกุ้งเล็ก และกุ้งใหญ่

4.บรรยากาศการประชุมคึกคัก ใครเป็นใครคุ้นๆ หน้าทั้งนั้น
4.บรรยากาศการประชุมคึกคัก ใครเป็นใครคุ้นๆ หน้าทั้งนั้น

การป้องกันและแก้ปัญหาการเกิดขี้ขาวในกุ้ง

อย่างไรก็ดี วันที่ 21 ตุลาคม 2563 ได้ประชุมคณะทำงานบูรณาการแก้ปัญหาการเกิดขี้ขาวในกุ้งทะเล ที่กรมประมง ซึ่งคณะทำงานชุดนี้พัฒนามาจากการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 23 กันยายน 29 กันยายน 1 ตุลาคม 15 ตุลาคม จนตกผลึก

โดยได้จัดทำแนวทางแก้ปัญหาการเกิดขี้ขาว ทั้งในแง่พันธุกรรมกุ้ง สิ่งแวดล้อม และเชื้อก่อโรค ผลิตแผนระยะสั้น (1 ปี) และแผนระยะยาว (2 ปี) แม้คณะทำงานชุดนี้จะได้รับการแต่งตั้งจาก คุณมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดี กรมประมง เมื่อวันที่ 15 ตุลาฯ 63 แต่โครงสร้างของคณะทำงานมีภาคเอกชน ตั้งแต่ต้นน้ำถึงกลางน้ำของธุรกิจ มาร่วมทำงาน

โดยมีรองอธิบดี เป็นประธาน และมี ผอ.กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เป็นรองประธาน คณะทำงานมีอำนาจ/หน้าที่บริหารงาน และดูแลให้การดำเนินงานของการแก้ปัญหาการเกิดขี้ขาวในกุ้งทะเลทั้งระบบ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ วิเคราะห์ข้อมูล ปัญหา และระดมความคิด แนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ศึกษาและให้ข้อเสนอแนะแนวทางการทบทวนการดำเนินงาน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และปฏิบัติงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย

ที่ประชุมของคณะทำงานเมื่อ 21 ตุลาฯ ได้นำเสนอข้อคิดเห็น ทั้งในที่ประชุม และออนไลน์ทาง ZOOM ทำให้มองเห็นสมุฏฐานของการเกิดโรค การป้องกันและแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบมากขึ้น

โดยเฉพาะข้อเสนอให้วางบทบาทคณะทำงานแต่ละสายงาน ให้ตรงกับความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ หรือข้อเสนอให้ “แลปเอกชน” เข้ามามีบทบาทในการตรวจโรคได้ทันท่วงที เพราะกรมประมงไม่มีงบฯ ในการจัดหาแลปมาบริการเกษตรกร หรือการบูรณาการงานวิจัยจากต่างประเทศ ในประเทศ มาสังเคราะห์ข้อมูลของโรค ก็เป็นเรื่องที่ยอมรับในที่ประชุม โดยเฉพาะประเด็นสำคัญ คือ โรคขี้ขาว ควรเป็นวาระแห่งชาติของประเทศ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

รายนามคณะทำงานบูรณาการแก้ไขปัญหาการเกิดขี้ขาวในกุ้งทะเล

1.รองอธิบดีกรมประมง (ที่ได้รับมอบหมาย)   ประธานคณะทำงาน

2.ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง   รองประธานคณะทำงาน

3.ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล   คณะทำงาน

4.ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคสัตว์น้ำ   คณะทำงาน

5.ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ   คณะทำงาน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

6.ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์น้ำ   คณะทำงาน

7.ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำสงขลา กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ   คณะทำงาน

8.รศ.ดร.อรพินท์ จินตสถาพร คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   คณะทำงาน

9.รศ.ดร.นิติ ชูเชิด คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   คณะทำงาน

10.รศ.ดร.สถาพร ดิเรกบุษราคม สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์   คณะทำงาน

11.ผู้แทนศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ คณะทำงาน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

12.นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย   คณะทำงาาน

13.นายกสมาคมการค้าปัจจัยการผลิตสัตว์น้ำไทย   คณะทำงาน

14.ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ (สาขาประมง)   คณะทำงาน

15.นายกสมาคมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย   คณะทำงาน

16.ประธานสมาพันธ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย   คณะทำงาน

17.นายกสมาคมกุ้งไทย   คณะทำงาน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

18.นายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย   คณะทำงาน

19.นายกสมาคมกุ้งตะวันออกไทย   คณะทำงาน

20.ประธานเครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งไทย   คณะทำงาน

21.ประธานชมรมผู้ผลิตลูกพันธุ์สัตว์น้ำ   คณะทำงาน

22.หัวหน้ากลุ่มวิจัยระบบ การติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง   คณะทำงาน และเลขานุการ

23.นางสาวณัฐกานต์ สาลีติด นักวิชาการประมงชำนาญการ กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง   คณะทำงาน และผู้ช่วยเลขานุการ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

24.นางสาวกนกวรรณ แสนสุวรรณ นักวิชาการประมงปฏิบัติการ กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง   คณะทำงาน และผู้ช่วยเลขานุการ

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 375