ปลานิล – ทับทิม รุดหน้า จะพัง เพราะยาตกค้าง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

25 มี.ค. 08 คือ วันที่ สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ มกุฎราชกุมาร ญี่ปุ่น ถวาย ปลานิล 50 ตัว แด่ในหลวง ร.9 และทรงเลี้ยงในบ่อสวนจิตรลดา จนแพร่ขยายพันธุ์จำนวนมาก และได้พระราชทานแก่ กรมประมง และ ประชาชน ปี 2509 กลายเป็นปลาเศรษฐกิจในปัจจุบัน

5 ทศวรรษเศษ ปลานิลได้รับการพัฒนา “พันธุกรรม” แบบก้าวกระโดด

โดยเฉพาะ กรมประมง โดยศูนย์ประมงน้ำจืดชลบุรี ได้พัฒนาเป็นปลานิลจิตรลดา และจัดตั้งโครงการธนาคารปลานิลจิตรลดา มอบให้เกษตรกร 890 รายๆ ละ 550 คู่ เพื่อนำไปเลี้ยงลูกพันธุ์ ที่ได้ส่วนหนึ่งต้องคืนให้กรมเพื่อไปขยายงานต่อ เมื่อปี 2558

ต่อมาได้พบ  “ปลานิลแดง”  ในปี 2511 ที่อุบลฯ โดยปะปนอยู่ในบ่อปลานิล  และนักวิชาการประมง สถานีฯ ได้ คัดเลือกปลานิลที่มีสีแดงทั้งตัว แยกเพาะเลี้ยง ต่อมาปี 25 กลุ่มนักวิจัยเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ ได้นำลูกปลา 2-3 ซม. 1,000 ตัว จากสถานีประมงอุบลฯ มาเลี้ยง แล้วคัดสายพันธุ์ในปี 27 และกรมประมงได้ส่งปลาไปตรวจสอบพันธุ์ ณ มหาวิทยาลัยสเตอร์ริ่ง สหราชอาณาจักร และส่งไปมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ ผลออกมาเป็นปลาลูกผสม ระหว่างปลานิลกับปลาหมอเทศ ซึ่งสมเด็จพระเทพฯ ทรงพระราชทาน ชื่อ “ปลานิลแดง” และมีการเพาะเลี้ยงกระทั่งปัจจุบัน

ส่วน “ปลาทับทิม” ก็เป็นปลานิลชนิดหนึ่งที่พัฒนาโดย CPF โดยธรรมชาติ ตามแนวพระราชดำริ โดยนำปลานิลแดงที่มีลักษณะเด่นจากหลายๆ ประเทศ เช่น สหรัฐฯ อิสราเอล และ ไต้หวัน มาครอสบรีด จนได้ลูกปลาที่โดดเด่น สีของเกล็ดและตัวปลาแดงอมชมพู เลี้ยงโตดี ในน้ำเค็ม จนได้รับพระราชทานนามว่า “ปลาทับทิม” เมื่อ 22 ม.ค. 41 จากนั้นก็ได้รับการพัฒนาแบบรุดหน้าโดยภาคเอกชน ทั้ง สายพันธุ์ และ ปลาเนื้อ กลายเป็นปลาพรีเมี่ยม

1.ตัวใหญ่ เนื้อแน่น สันหนา
1.ตัวใหญ่ เนื้อแน่น สันหนา

การเพาะพันธุ์ ปลานิล ปลาทับทิม

นักพัฒนาพันธุกรรม ปลานิล และ ทับทิม ภาคเอกชนเกิดขึ้นมาก และทำธุรกิจเต็มตัว เช่น มานิตย์ฟาร์มกรุ๊ป โดย บริษัท ฟาร์มเยเนอร์ติกฯ บริษัทลูก ได้ผลิตลูกพันธุ์ด้วย “มาตรฐาน BAP” ซึ่งเป็นมาตรฐานที่พิสูจน์กระบวนการผลิตได้ชัดเจน  และลงลึกในเรื่อง DNA ของพ่อแม่พันธุ์แต่ละตัวได้  ซึ่งใช้เวลาพัฒนาร่วม 15 ปี  งานนี้ คุณอมร เหลืองนฤมิตรชัย (อาร์ต) เจ้าของคลื่นลูกใหม่ในวงการ ลุยงานเต็มที่ จนกลายเป็นฟาร์มดูงานของชาวไทยและชาวต่างประเทศ ลูกพันธุ์ที่ได้เมื่อเลี้ยงแล้วกินอาหารไว แข็งแรง FCR สูง ตัวสั้น หัวเล็ก ลำตัวหนา และสูง ได้ไซซ์ที่ตลาดต้องการ เหมาะแก่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ นอกจากนี้คุณอาร์ตได้ลงทุนทดลองเลี้ยงในระบบ IPRSC

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.บ่อปลาทับทิม
2.บ่อปลาทับทิม

สภาพพื้นที่เลี้ยงปลาทับทิม

เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ปรากฏว่าประสบผลสำเร็จในเชิงพาณิชย์ ทำให้วงการตื่นตัวเป็นอย่างมาก สำหรับการเลี้ยงปลาทับทิมใน “บ่อดิน” วันนี้ CPF ได้ตะลุยส่งเสริมนักลงทุนเต็มที่ เช่น อัครินทร์ฟาร์ม 30 บ่อ บนเนื้อที่ 140 ไร่ โดยให้ใช้ระบบ CARE MODEL เท่านั้น คือ เน้นผู้บริโภค ง่ายต่อการเลี้ยง ผลิตได้ต่อเนื่อง และผลผลิตมีคุณภาพแน่นอน

โดยเฉพาะระบบการเลี้ยงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้นวัตกรรมต่างๆ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้หลัก GRAVITY FLOW โดยจัดผังระบบฟาร์มให้ลดหลั่น ตั้งแต่บ่อน้ำพร้อมใช้ บ่อเลี้ยง บ่อตกตะกอน และ บ่อปรับปรุงน้ำให้สะอาดด้วยพืช และยังมีระบบน้ำหมุนเวียนนำมาใช้ใหม่ ทำให้การใช้น้ำน้อยกว่าการเลี้ยงทั่วไปถึง 80% ผลผลิตปลาที่ได้จากระบบ CARE ได้ผ่านการคัดขนาดอัตโนมัติ ผ่านการแปรรูป-ตัดแต่ง แบบ “ปลาสด” ถูกบรรจุสุญญากาศ รักษาความสดได้นาน สามารถตรวจสอบได้ถึงการเลี้ยง

อัครินทร์ฟาร์ม ม.4 ต.วัดโบสถ์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ของ ดร.ศิริรัศม์ พรเลิศนภาดล หรือ ดร.ปลาดาว ลูกเกษตรกรโดยกำเนิด ได้กู้เงิน ธกส. 64 ล้าน เลี้ยงปลาทับทิม 3 ไซซ์ S M L ป้อนลูกค้าขาประจำในโมเดิร์นเทรด CPF ตั้งแต่รุ่นพ่อ ซึ่งฟาร์มแห่งนี้ใช้เทคโนโลยีทั้งหมด เช่น ปูพีอี และ ระบบให้ออกซิเจน เป็นต้น เหมือนการเลี้ยงกุ้ง แม้จะลงทุนสูง แต่ผลตอบแทนกำไร 10-20% ต้องการทำให้มากกว่านี้ แต่อากาศแปรปรวน ทำให้ปลาตาย และค่าไฟ ค่าอาหาร สูง ทำให้กำไรออกมาระดับนี้ ด้วยปรัชญา “ไก่ต้องชน คนต้องสู้”

ซึ่งสามีและเธอจบด้านสัตวศาสตร์ เมื่อกระโดดเข้าวงการก็ต้องสู้ต่อไป เพื่อหาทางทำกำไรให้สูงขึ้น ฟาร์มแห่งนี้จึงเป็นตัวอย่างของการลงทุนขนาดใหญ่ เลี้ยงปลาทับทิมแบบพัฒนา ภายใต้การสนับสนุนของ CPF ครบวงจร จึงเป็นเรื่องน่าติดตาม โดยเฉพาะ “ธกส.” ที่ปล่อยสินเชื่อ 64 ล้านบาท อาจเป็นฟาร์มตัวอย่างในการปล่อยสินเชื่อให้ฟาร์มอื่นๆ ต่อไป

3.คุณชาคริต ชูทอง หรือ คุณหมี
3.คุณชาคริต ชูทอง หรือ คุณหมี

ปัญหาและอุปสรรคบ่อปลา

ในส่วนของผู้เลี้ยง ปลาเนื้อ ซึ่งมีหลายรูปแบบ ในบ่อดิน และ ในกระชัง ก็มีปัญหา และรูปแบบการเลี้ยงที่ต่างกัน ทั้ง ต้นทุน และ “ผลผลิต” อยู่ที่ความพร้อมของแต่ละคน

คุณชาคริต ชูทอง หรือ คุณหมี เจ้าของ บริษัท กรีนเทค อินเตอร์ฟาร์ม จำกัด ผู้มีประสบการณ์หลายทศวรรษ อดีตลูกหม้อซีพี ศิษย์เก่าแม่โจ้ ด้านประมง ลงสู่ธุรกิจปลานิล-ทับทิม ด้วยการเลี้ยงกระชังในแม่น้ำปิง เชียงใหม่  ปรากฎว่าล้มเหลว เพราะไม่สามารถควบคุม “คุณภาพน้ำ” ได้ เป็นบทเรียนครั้งสำคัญ เข้าภาษิต สี่เท้ายังพลาด / นักปราชญ์ยังพลั้ง นั่นเอง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“เรามีความเชื่อว่าถ้าเราอยู่ติดแม่น้ำ เราเลี้ยงตรงนั้น บางครั้งมันไม่ได้เหมาะ แม่น้ำยาวนับสิบกิโลเมตร มันไม่ได้ดีเท่ากันทั้งสิบกิโลเมตร คนที่เลี้ยงแล้วเสียหายจะเสียหายทุกปี บางช่วงน้ำเข้ามามาก เราต้องเลือกว่าตรงไหนเลี้ยงได้ ไม่ได้” คุณหมี เปิดเผย เช่น ลำน้ำปิง หน้าแล้งก็แล้งเลย ไม่มีน้ำ และแม่น้ำปิงมี “ฝาย” กั้นหลายลูก

เนื่องจากการเลี้ยงปลาทับทิม คุณหมีมีลูกค้า ร้านอาหาร ซุปเปอร์มาร์เก็ต และ ร้านปลาเผา เป็นต้น ในเชียงใหม่ เป็นคู่ค้ากันมาร่วม 4 ปี เพราะลูกค้าจะส่งปลาตามไซซ์ที่ต้องการ ไม่ขาด ไม่เกิน ถ้าส่งผิดไซซ์ ลูกค้าจะขาดทุนแน่นอน

4.กระชังเลี้ยงปลา
4.กระชังเลี้ยงปลา

การบริหารจัดการบ่อปลา

ด้วยเหตุนี้ คุณหมีจึงต้องเดินหน้าสู้ หาที่เลี้ยงใหม่ ไปพบ แม่น้ำน่าน อุตรดิตถ์ สภาพน้ำดี เหมาะที่จะเลี้ยง เป็นปลาปลอดสารเคมีตามเป้าหมาย

การเลี้ยงปลาทับทิมปลอดสาร ต้องมี “พันธมิตร” ร่วมอุดมการณ์ คุณหมีได้ คุณวิฑูรย์ เพทาย ผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัท โอเรียนท์ฟาร์มาเค็ม จำกัด ซึ่งได้นำสารเสริมโปรตีน “เบต้ากลูแคน” กระตุ้นภูมิคุ้มกัน สารเสริมชีวนะ (โปรไบโอติก) ป้องกันปลาติดเชื้อจากแหล่งน้ำ และลดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร และมีสารผสมล่วงหน้า เพื่อเสริมวิตามิน-แร่ธาตุ โซเดียม แมกนีเซียม ปรากฏว่าใช้แล้วได้ผลดี ในส่วนของ “อาหาร” มี บริษัท กรุ๊ปเน็ต เม็ทดิชิน จำกัด และ บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด เป็นพันธมิตร

ดังนั้นเดือนพฤษภาคมจึงลงลูกปลารุ่น 20,000 ตัว 10 กระชัง อีก 62 กระชัง ยังไม่ได้ลง โดยซื้อลูกปลาของซีพีรายเดียว  ส่วนอาหารใช้ของ บริษัท ลีพัฒนา จำกัด  และของ กรุ๊ปเน็ต  ส่วนเรื่องน้ำต้องติดตั้งเครื่องตรวจแบบ  เรียลไทม์ของ บริษัท แฮปปี้ฟาร์ม จำกัด ที่มี คุณวีระพันธ์ ตันสกุล เป็นกรรมการผู้จัดการ ใช้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ราคา 140,000-160,000 บาท

“วันนี้สภาพแวดล้อมเปลี่ยน โลกร้อน หรืออะไรต่างๆ คนเลี้ยงปลาส่วนใหญ่ไม่มีข้อมูลคุณภาพน้ำ เราจึงต้องมีเครื่องมือคอยช่วย ทำให้เราเอาข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเลี้ยงได้มากขึ้น” คุณหมี เปิดเผยถึงความจำเป็นของการลงทุน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การลงทุนติดตั้ง “ตัวเซ็นเซอร์” ไว้ในแม่น้ำ ชาวบ้านมองว่าสิ้นเปลือง ลงทุนเป็นแสน แต่คุณหมีฟันธงคุ้มค่ามาก เพราะค่า DO ในแม่น้ำน่านมันเกิน 4 ตลอดเวลา และตนมีลูกน้อง 4 คน ต้องเลี้ยงเป็นธุรกิจ จึงต้องลงปลาให้เต็มกระชังตลอดเวลา และต้องลงให้มากที่สุดเท่าที่จะลงได้ ดังนั้น โนพรีเวนชั่น โปรแกรม ต้องใช้ เพื่อให้รู้ความเปลี่ยนแปลงของน้ำตลอดเวลา

ไม่ว่า น้ำลง น้ำแรง น้ำน้อย น้ำขุ่น น้ำใส ทุกน้ำมีผลทำให้ปลาเครียด และป่วย ได้ง่าย เรื่องน้ำเราควบคุมไม่ได้ ห้ามมิให้ฝนตกไม่ได้ ห้ามมิให้น้ำมามากไม่ได้ สิ่งที่ควบคุมได้อย่างเดียว คือ ทำให้ตัวปลาแข็งแรงที่สุด นั่นคือ ต้องลงทุนใช้ผลิตภัณฑ์ของโอเรียนท์ฯ มาตลอด

เรื่องข้อมูลการเลี้ยงแต่ละกระชังก็สำคัญ คุณหมีเลี้ยงรุ่นละ 12 กระชัง ต้องจดบันทึกข้อมูลการเลี้ยงทุกกระชัง เพื่อหาตรรกะของความสำเร็จ หรือ ล้มเหลว

5.การให้อาหารปลาทับทิม
5.การให้อาหารปลาทับทิม

การบำรุงดูแลปลาทับทิม

นอกจากนี้ คุณหมีได้ให้ความสำคัญกับ ระบบไบโอซีเคียวริตี้ เช่น การนำ ตาข่ายกรองแสง มามุงกระชัง ปรากฏว่าปลาทับทิมโตเร็วกว่าไม่มุง “ปกติเราให้อาหาร 3 มื้อ มื้อเช้า มื้อเย็น มื้อเที่ยงก็ยังกินอาหารได้ดี แต่ปลาที่ไม่ได้ตามแสงนี่มื้อเที่ยงไม่ค่อยกิน ถ้าเปรียบเทียบจนถึงจับ พวกกิน 3 มื้อ โตเร็วกว่าแน่นอน” คุณหมี ฟันธงเรื่องความเข้มของแสงสัมพันธ์กับการกินอาหารแน่นอน

เช่นเดียวกับภัยจาก สัตว์พาหะ เช่น “นก” ชอบมากินปลาตาย แต่นกนำเชื้อโรคเข้ามา จึงต้องลงทุนกั้นกระชังด้วยแสลนเช่นกัน และปลาที่ตายก็ขายให้คนซื้อไปทำปุ๋ยปลา จะไม่ทิ้งปลาตายลงแม่น้ำเด็ดขาด

เรื่องการผลิตปลาทับทิมปลอดสาร กรเกียรติ พรมจวง แห่งกรเกียรติฟาร์ม คลองขลุง กำแพงเพชร โทร.081-355-9789 เปิดเผยว่า เดือนพฤษภาคม 65 ปลาเริ่มขยับราคา ไซซ์ 8 ขีด-1.2 กก. ราคา 80-85 บาท/กก. แต่ราคาอาหารปลาก็ขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี ส่งผลกระทบต่อคนเลี้ยงปลา ทั้งในกระชัง และบ่อดิน

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.การคัดไซส์ปลาทับทิม
6.การคัดไซส์ปลาทับทิม

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่าย ปลานิล ปลาทับทิม

ส่วนการผลิตลูกปลาของทางฟาร์ม จะมุ่งให้ลูกปลาปลอดเชื้อโรค ซึ่งทางฟาร์มมีห้องแลปปลอดเชื้อมาตรฐาน ลูกปลาจึงมีคุณภาพ 25 ปี แห่งการพัฒนา กระทั่งวันนี้เป็นฟาร์มผลิตลูกปลาทับทิม และปลานิล มาตรฐาน เป็นฟาร์มแถวหน้าของเมืองไทย พร้อมทั้งเลี้ยงปลาเนื้อในกระชังแม่น้ำน่าน จนมีชื่อเสียง สามารถขายปลาทับทิมหน้าช็อปกิโลกรัมละ 100 บาท ซึ่งปลาทับทิมมี โอเมก้า 3 น้องๆ แซลมอน แต่ราคาถูกกว่า 10 เท่าตัว ดังนั้นต้องรักษาคุณภาพของปลา เรื่องยาตกค้าง อย่างเข้มงวด

เรื่อง “สารตกค้าง” จากยาปฏิชีวนะ เพื่อหยุดโรคปลาจากการทำลายของไวรัส คุณหมีเป็นห่วงเรื่องนี้มากๆ เพราะมันเสียหายต่อผู้เลี้ยงรายย่อย โดยเฉพาะที่เกิดกับ ปลานิล ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับปลาทับทิม “โรคที่เกิดจากไวรัสก็เหมือนกับโควิด 19 ทำให้ภูมิคุ้มกันเราตก ติดเชื้อได้ง่าย ปลาก็เช่นกัน เมื่อติดเชื้อภูมิจะตก พออากาศเปลี่ยน โรคก็เข้า อ่อนแอ และตาย เกษตรกรรายย่อยไม่มีข้อมูลพวกนี้ เลี้ยงแล้วทำไมมันเลี้ยงยากขึ้น ทำไมตายง่าย ป่วยง่าย” คุณหมี สะท้อนความรู้สึกของเกษตรกรที่ต้องเลิกเลี้ยงปลานิลแบบงงๆ

การที่ผู้เลี้ยงต้องหายามารักษาปลาป่วย ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะเป็นหลัก ทั้งถูกและผิดกฎหมาย ใช้แล้วไม่หายก็ต้องใช้ยาแรงขึ้น ทำให้ยาไปสะสมในแหล่งน้ำจนเกิดการดื้อยา ซึ่งเป็นเรื่องที่ภาครัฐจะต้องเข้ามาศึกษาอย่างจริงจัง ขืนปล่อยไปจะเป็นปัญหา ธุรกิจปลานิล-ทับทิมทั้งระบบ พอเกิดแล้วตามแก้ปัญหา ล้วนเป็นเรื่องไม่สมควร

ขอขอบคุณข้อมูล คุณชาคริต ชูทอง เจ้าของ บริษัท กรีนเทค อินเตอร์ฟาร์ม จำกัด โทร : 084-170-4499

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 393