“ ไก่ชิงช้าสวรรค์ ” เลี้ยงไก่ไข่แบบพิสดาร รายได้ไร่ละ 2 แสนบาท/ปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

04การทำการเกษตรแบบผสมผสาน เป็นเรื่องที่เกษตรกรไทยมักเลือกทำเป็นอาชีพหลัก โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีแนวคิดว่า เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืช และ ทำการแปรรูป เหมือน คุณสุชล สุขเกษม ผู้ได้รับสมญานามว่า “ปราชญ์ชาวบ้าน” ที่ยึดหลักแนวคิดในการเกษตรพอเพียง ในการเลี้ยงไก่ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง อย่าง “ ไก่ชิงช้าสวรรค์ ” “ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านสารภี” จังหวัดสมุทรสาคร

1.คุณสุชล สุขเกษม
1.คุณสุชล สุขเกษม

จุดเริ่มต้นในการเลี้ยงไก่

จุดเริ่มต้นคุณสุชลกล่าวว่า เริ่มจากการ ทำไร่ ทำสวน ตามปกติ แต่ทำไปกลายเป็นว่าไม่เป็นไปตามความคาดหวัง กลายเป็นหนี้ท่วมตัว แต่ตนไม่ได้ย่อท้อ ในช่วงนั้นเรื่องของหลักเศรษฐกิจของในหลวงรัชกาลที่ 9 ถูกเผยแพร่ทั้งในหนังสือพิมพ์และรายการโทรทัศน์อย่างแพร่หลาย ทำให้ตนเลือกนำเอาหลักการของโครงการมาเป็นโจทย์ในการเริ่มทำการเกษตรอีกครั้ง โดยมีคำกล่าวว่า “ใครมีไร่ 1 งาน ทำได้ 1 แสนบาท ก็อยู่ได้ต่อครอบครัวหนึ่ง”

เมื่อเริ่มเลี้ยงสัตว์ ก็เริ่มมองหาว่าควรจะเลี้ยงสัตว์อย่างไร เช่น หากเลี้ยงไก่แล้วเอาแต่ไข่อย่างเดียวก็ไม่คุ้ม กลายเป็นโจทย์ที่จะต้องทำให้ได้มากกว่าแค่ไข่ ด้วยเนื้อที่ที่มีจำกัด ตนจึงเริ่มเลี้ยงไก่โดยทำเป็น “ไก่หลุม” เริ่มจากการก่ออิฐขึ้นเป็นหลุม จากนั้นนำไก่ใส่ลงไปหลุมละ 10 ตัว พร้อมวัตถุดิบ เช่น แกลบดิบ ใส่ลงไปด้วย ด้วยสัญชาตญาณของไก่มันจะเริ่มคุ้ยเขี่ย

หลังจากนั้น 3 เดือน ก็นำออกมาทำปุ๋ยใส่กระสอบ กลายเป็นปุ๋ยนำมาขายได้ เริ่มต้นที่กระสอบละ 100 บาท หากนำมาอัดแท่งจะกิโลละ 20 บาท หลังจากนั้นกระสอบปุ๋ยจึงเพิ่มมูลค่าขึ้น จาก 100 บาท กลายเป็น 600 บาท ทันที

2.ไก่ตะกร้า
2.ไก่ตะกร้า
ไก่ชิงช้าสวรรค์
ไก่ชิงช้าสวรรค์

สภาพพื้นที่เลี้ยงไก่

ต่อมาได้มีการพัฒนาการเลี้ยงต่อเป็นไก่ตะกร้า” โดยนำไก่สายพันธุ์โร๊ดไอแลนด์เรด (Rhode Island Red)ใส่ในตะกร้า เนื่องจากไม่จำเป็นต้องมีตัวผู้ผสมพันธุ์ก็สามารถผลิตไข่ได้ เรียกว่า “ไข่หล่ม” เป็นสายพันธุ์ที่ไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่กว้าง แต่สามารถให้ผลผลิตได้เป็นจำนวนมาก โดยปกติแล้วไก่สายพันธุ์นี้มักถูกเลี้ยงในกรงตับ แนวคิดนี้ได้มาจากการนำความทรงจำในอดีตมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด

เนื่องด้วยพื้นที่ภายในไร่ของคุณสุชลมีจำนวน 1 ไร่ ทำให้จะต้องกลับมาคิดว่าจะทำอย่างไรให้มีพื้นที่ที่สามารถเลี้ยงสัตว์ได้ปริมาณเยอะขึ้น จึงเกิดไอเดียที่นำไก่ใส่ตะกร้าแล้ววางบนวัตถุที่ถูกออกแบบมาให้คล้ายชิงช้าสวรรค์ กลายเป็น “ ไก่ชิงช้าสวรรค์ ” ไก่ที่อยู่ในตะกร้า สามารถหมุนตัวได้รอบตัว อากาศถ่ายเท ทำให้ไก่มีความสุข ไข่ที่ได้มีคุณภาพ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เรียกได้ว่าการเลี้ยงไก่ไข่ในตะกร้านั้นทำประโยชน์ได้หลายต่อ ทั้งต้นไม้ที่ได้ปุ๋ยชีวภาพสดๆ จากมูลไก่ คนได้ไข่ไก่ และผลผลิตจากต้นไม้ เป็นการทำทุกอย่างแล้วได้ประโยชน์อย่างแท้จริง เรียกได้ว่าเป็นแนวคิดใหม่ที่ไม่เหมือนใคร จนได้รับคำชมเชยว่า “ In the world no have like this” ซึ่งตนได้ไปจดลิขสิทธิ์กับสำนักงานพาณิชย์จังหวัด เพื่อป้องกันการถูกเลียนแบบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

3.ฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านสารภี
3.ฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านสารภี

การทำเกษตรผสมผสาน

คุณสุชลเล่าถึงจุดเริ่มต้นการนำเกษตรแนวนี้คิดตั้งแต่ปี 2547 โดยคุณพ่อยกพื้นที่ให้จำนวน 1 ไร่ และตนก็ได้นำเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นโจทย์ที่ปรับให้เข้ากับหลักการของตน โดยค่อยๆ ทำมาตลอด จนกระทั่งปี 2552

ก็เป็นไปตามคำสอนที่ว่า “ใครมีไร่ 1 งาน ทำได้หนึ่งแสนบาท ก็อยู่ได้ต่อครอบครัวหนึ่ง” และเริ่มมองหาลู่ทางที่จะทำให้ได้มากกว่าเดิม จนในที่สุดก็สามารถสร้างรายได้จาก 1 ไร่ 100,000 บาท เป็น 1 ไร่ 200,000 บาท ได้นั่นเอง และยึดหลักสามข้อ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”

และเมื่อตนไม่หยุดพัฒนา ทำให้การเริ่มต้นของ “ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านสารภี” ที่มีเพียง 1 ฐานการเรียนรู้ กลายเป็น 73 ฐานการเรียนรู้ ขึ้นมาในเนื้อที่ 2 ไร่ และตนยังมีความคาดหวังว่าจะสามารถสร้างรายได้จาก 1 ไร่ 200,000 บาท  เป็น 2 ไร่ 400,000 บาทต่อปี ได้ในอนาคต ปัจจุบัน “ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านสารภี” นอกจากการเลี้ยงไก่แล้วยังมีสัตว์เศรษฐกิจประเภทอื่นอีก เช่น แพะ เป็ด นกกระทา ปลาดุก และสัตว์ประเภทอื่นอีกด้วย

4.บรรยากาศภายในฟาร์ม
4.บรรยากาศภายในฟาร์ม

ปัญหาและอุปสรรคภายในฟาร์ม

คุณสุชลเล่าว่า ปัญหาตั้งแต่เริ่มทำฟาร์มจะถูกแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.ปัญหาตามธรรมชาติ 2.ปัญหาเกี่ยวกับมนุษย์ เช่น ปัญหาของน้ำเสีย ทำให้ตนต้องปรับเปลี่ยนแผนในการนำน้ำเข้าออกภายในฟาร์มโดยใช้ “สลักกักน้ำ” ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดการนำน้ำเข้าและออก จะทำให้การปล่อยน้ำเข้าและออกภายในฟาร์มเป็นไปตามที่ต้องการ และทำให้ฟาร์มมีน้ำใช้อยู่ตลอดเวลา

5.ผลิตภัณฑ์ไข่เค็มสมุนไพร
5.ผลิตภัณฑ์ไข่เค็มสมุนไพร

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ไข่ไก่ ไข่เป็ด

คุณสุชลเล่าว่า ปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์เพื่อส่งขาย ได้นำผลผลิตที่ได้มาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น การทำน้ำยาถูพื้นไล่ยุง น้ำยาล้างจานจากผลผลิตในสวน หรือผลผลิตจากสัตว์เล่น ไข่เป็ด หรือ ไข่ไก่ ที่ได้จะถูกนำไปแปรรูปเป็นไข่เค็มรสชาติต่างๆ เช่น รสต้มยำ รสกาแฟ รสปลาร้า และได้ส่งต่อผลผลิตเพื่อให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทานำไปวิจัยจนกลายเป็นไข่เค็มรสกระท่อม และ ไข่เค็มรสกัญชา นั่นเอง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากนี้ คุณสุชล สุขเกษม ยังได้รับพระราชทานปริญญาบัตรสาขาการจัดการอุตสาหกรรม โดยน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้จนประสบผลสำเร็จ

หากใครที่สนใจแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ตนเปิดสอนให้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย เพียงติดต่อมาที่ คุณสุชล สุขเกษม ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านสารภี หมู่ที่ 1 ตำบลจอมปลวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เบอร์โทรศัพท์ 086-178-4157

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 346