KU MILK ช่วยผู้เลี้ยงโคนมรายย่อย ให้รอด ด้วยนมพรีเมียม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในที่สุด ผู้เลี้ยงโคนมรายย่อยที่อยู่ใน สหกรณ์ ต่างๆ ก็ล้มหายตายจากมากขึ้น สาเหตุเพราะต้นทุนอาหารสัตว์สูงขึ้น และโรคต่างๆ ที่ประจำถิ่นรุมเร้า ทิ้งหนี้ไว้ให้ผู้บริหารสหกรณ์แก้ปัญหา

ปรากฏว่า คณะกรรมการนม (บอร์ดมิลค์) ได้ตกลงเสนอรัฐบาล ปรับขึ้นราคาน้ำนมดิบจาก 19 บาท/ลิตร เป็น 19.50 บาท/ลิตร ก็ไม่สำเร็จ

ชาวโคนมรายย่อยล้มหายตายจากมากขึ้น ถ้าสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ จะกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารแก่ผู้บริโภค อย่าง นักเรียน เป็นต้น ขณะเดียวกัน ปี 2568 นมราคาถูกจากต่างประเทศจะเข้ามาเต็มตัว ก็ยิ่งซ้ำเติมให้ชาวโคนมต้องออกจากวงการมากขึ้น

1.คุณสุมาณี พันธ์หงษ์ ผู้จัดการ
1.คุณสุมาณี พันธ์หงษ์ ผู้จัดการ

ต้นทุนอาหารสัตว์ กำหนดชะตาสหกรณ์โคนมขอนแก่น

จังหวัดขอนแก่น หรือ “ขามแก่น” ใหญ่อันดับ 6 และมีประชากรอันดับ 3 ของภาคอีสาน อยู่ในกลุ่มอีสานกลาง คำขวัญ “พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์สิรินธรเน่ สุดเท่เหรียญทองแรกมวยโอลิมปิก”

มีพื้นที่ 10,885,991 ตร.กม. ประชากร ปี 64 จำนวน 1,790,863 คน และมี เทศบาลนคร เป็นศูนย์กลางของจังหวัด มีรายได้จากภาคเกษตรและปศุสัตว์ 21,772 ล้านบาท และรายได้นอกภาคเกษตร 192,246 ล้านบาท มีการเลี้ยง โคนม และ โคเนื้อ เป็นอาชีพหลักหลายอำเภอ โดยเฉพาะใน อ.เมือง เลี้ยงโคนมในรูป สหกรณ์ มาหลายปี จนสามารถผลิต นมพาสเจอร์ไรส์ ป้อนโรงเรียนหลายแห่งในจังหวัด ที่รู้จักกันในนาม “นมโรงเรียน” นั่นเอง

คุณสุมาณี พันธ์หงษ์ ผจก.สหกรณ์โคนมขอนแก่น เปิดเผยว่า ขณะนี้สมาชิกผู้เลี้ยงโคนมเลือด 75 115 ราย ได้ส่ง “น้ำนมดิบ” ให้ศูนย์รับนม 2 แห่ง ของสหกรณ์ เฉลี่ยวันละหลายตัน จากแม่วัวรีดนมประมาณกว่า 2,900 ตัว โดยมีกรรมการสมาคม 25 คน ผลิตนโยบายธุรกิจสหกรณ์ อันมี นายคำพัน ไชยหัด เป็นประธาน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

2.KU milk02

การเลี้ยงวัวนม

อย่างไรก็ดี การเลี้ยงวัวนมเป็นของสมาชิกรายย่อยที่มี “แม่รีด” ไม่ถึง 100 ตัว เป็นหลัก รายใหญ่แม่รีด 100 ตัวขึ้นไป มีไม่กี่ราย

“การเลี้ยงวัวนมเป็นอาชีพที่ยุ่งยาก แตกต่างจากอาชีพเกษตรอื่นๆ” คุณสุมาณี เปิดเผย เพราะต้องใช้ “ความไว” ในการตัดสินใจในการทำงาน โดยเฉพาะการบริหารสหกรณ์ ที่มีพนักงาน 70 คน ที่กระจายอยู่ในฝ่ายต่างๆ และการบริหาร น้ำนมดิบ ที่เป็นของสด บูดง่าย ต้องวางแผนการผลิต แปรรูป และการขายให้คู่ค้าขนาดใหญ่ อย่าง ซีพีเมจิ เป็นต้น ตามออเดอร์ที่ตกลงในช่วงเวลาที่กำหนด

โดยมี “ปริมาณ” น้ำนมดิบที่ชัดเจน มันเป็นเรื่องยากมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยอากาศแปรปรวนบ่อย ทำให้เจ้าของฟาร์มต้องปรับปรุงฟาร์ม ให้วัวอยู่สบาย กินอาหารเก่ง และสุขภาพแข็งแรง ซึ่งทุกอย่างต้องใช้เงินลงทุนทั้งนั้น สวนทางกับ “ราคา” น้ำนมดิบ ที่ถูกกำหนดโดยคณะกรรมการนม หรือ มิลล์บอร์ด ที่รัฐและเอกชนขาใหญ่เป็นคณะกรรมการ

จึงไม่ต้องแปลกใจ ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 66 ปริมาณน้ำนมดิบของสหกรณ์ลดลง จาก ปี 63 จำนวน 49 ตัน/วัน เหลือ 26 ตัน/วัน พูดง่ายๆ ว่า ตั้งแต่ ปี 62 ลดลงมาตลอด สาเหตุหลักเพราะสมาชิกขายวัวนมแบบ “ยกคอก” ไปทำอาชีพอื่นแทน เนื่องจากขาดทุนหนัก

3.นายคำพัน ไชยหัด ประธานกรรมการ
3.นายคำพัน ไชยหัด ประธานกรรมการ

ปัญหาและอุปสรรคการเลี้ยงวัวนม

อาหารแพง และวัวนมเป็นโรคลัมปี สกิน คือ สึนามิ ของชาววัวนม “ภาวะอาหารสัตว์ขึ้นราคา ปีหนึ่ง 4-5 ครั้ง รายย่อยไม่ไหว ยกคอก ขายวัวทิ้งหมด เมื่อครึ่งปี 64 ลดฮวบฮาบ พอ 65 ตั้งแต่ตุลาคมเห็นชัด ปัจจุบันนี้ถอยไปเดือนละฟาร์ม 2 ฟาร์ม” คุณสุมาณี เปิดเผยด้วยน้ำเสียงแห่งความกังวลชัดเจน ส่วนสมาชิกที่ยังเลี้ยง แม้จะไม่มีกำไรก็ต้องทน บางคนยังมีเงินหน้าตัก ก็ยังไม่รู้ว่าทนได้นานแค่ไหน

สำหรับสหกรณ์ ตอนนี้มี รายจ่าย เดือนละล้านบาท แต่ รายได้ ยังมีหลายทาง เช่น ขาย นมโรงเรียน วันละ 29 ตัน รายได้ประมาณเดือนละหลายล้านบาท ขาย น้ำนมดิบ ประมาณเดือนละหลายตัน ขาย อาหารวัว ทั้งอาหารเม็ด และอาหาร TMR รายได้เฉลี่ยเดือนละหลายบาท และ รับจ้าง เลี้ยงวัวให้สมาชิก รายได้เฉลี่ยเดือนละหลายบาท เป็นต้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การลงทุนซื้อ ฟางข้าว ก้อนละ 35-36 บาท มาขายให้สมาชิก หรือลงทุนซื้อวัตถุดิบมาผลิตอาหาร TMR 130 บาท มาขายให้สมาชิกราคาพิเศษ ตั้งแต่ ปี 64 เป้าหมายเพื่อให้สมาชิกอยู่รอดเป็นหลัก ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะอุ้มได้นานแค่ไหน ยังดีที่คู่ค้าน้ำนมดิบภาคเอกชนได้ให้ความสำคัญกับสหกรณ์มาก “บริษัทส่งเจ้าหน้าที่มาออดิสทุกเดือน และ 6 เดือน มาช่วยดูแล ถามเกษตรกรฟาร์มที่มีปัญหา เช่น นมไม่ผ่านคุณภาพว่าเพราะอะไร เพื่อแก้ไข” คุณสุมาณี ให้ความเห็น เช่นเดียวกับภาครัฐ อย่าง ปศุสัตว์จังหวัด ได้แนะนำเรื่องการผสมเทียม เป็นต้น

จากการหายไปของสมาชิกผู้เลี้ยงโคนมจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เป็นสัญญาณร้ายที่ทุกภาคส่วนในคลัสเตอร์การผลิตน้ำนม และนมพร้อมดื่มพาสเจอร์ไรส์ จะต้องตระหนักและหาทางพัฒนา เพราะศักยภาพการบริหารด้านต้นทุนของสมาชิก และต้นทุนของสหกรณ์ ประสิทธิภาพไม่พอต่อการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม เกินกำลังของสหกรณ์จะเอาอยู่ ส่วนการพัฒนาผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ ก็ไม่ง่าย ที่จะแข่งขันกับบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย

จึงเป็นงานท้าทาย ภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน และ สหกรณ์ ว่าจะปล่อยให้สหกรณ์โคนมขอนแก่นเป็นธุรกิจบอนไซที่ด้อยค่าลงกระนั้นหรือ?

4.รศ.ดร.สมเกียรติ ประสานพานิช (คนแรกขวา) ร่วมถ่ายภาพกับประธาน สกก.แม่ทา
4.รศ.ดร.สมเกียรติ ประสานพานิช (คนแรกขวา) ร่วมถ่ายภาพกับประธาน สกก.แม่ทา

ม.เกษตรบางเขน ช่วยชาวโคนม

เนื่องจากการเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพพระราชทาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ก็เป็นสถาบันการศึกษาขั้นสูง ที่ ส่งเสริมการเลี้ยงโคนม ดังนั้นเมื่อ ชาวโคนม รายย่อย เดือดร้อนจากปัญหาในและนอกประเทศ มก.จึงต้องเข้ามาร่วมแก้ปัญหาและพัฒนา ด้วยการนำ องค์ความรู้ ตั้งแต่เรื่องวัตถุดิบอาหารสัตว์ และการเพิ่มมูลค่าน้ำนมดิบ เป็นต้น

ซึ่งเรื่องนี้ ดร.นิคม แหลมสัก รองอธิการบดี มก. เปิดเผยกับ นิตยสารสัตว์บก และ เว็บไซต์พลังเกษตร ว่า วัตถุดิบ อย่าง ข้าวโพด ของไร่สุวรรณ ซึ่ง มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ให้ทุน พร้อมทั้งส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำ จนกระทั่งไร่สุวรรณดังระดับโลก เพราะได้ส่งออกพันธุกรรมไปปลูกในอาฟริกา ซึ่งข้าวโพดเป็นทั้งอาหารคนและอาหารสัตว์ใช้ทั่วโลก

“ก่อนช่วงโควิด 19 เราได้มองไปที่สหกรณ์โคนมแม่ทา ลำพูน เพราะปี 68 FTA มีผล ถ้ามันมา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ต้นทุนการผลิตนมถูกกว่าเราเท่าตัว ทุกวันนี้ถ้าเรามองน้ำนมดิบของเรา 19-21 บาท เราจะสู้ไหวมั๊ย?” อาจารย์นิคม ตั้งคำถาม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ดังนั้น มก. จึงต้องใช้ สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมแม่ทา เป็นกรณีศึกษา หรือเป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยการผลักดันให้สหกรณ์ผลิต น้ำนมพรีเมียม โดยส่งเสริมสมาชิกสหกรณ์ให้ปลูกข้าวโพดพันธุ์ดีของไร่สุวรรณ แล้วเอาทั้งต้นและฝักมาสับแล้วหมัก ที่เรียกว่า ไซเลส เพื่อเลี้ยงโคนมของสหกรณ์ “ให้โคนมกิน แล้วเปรียบเทียบ ปรากฏว่าคุณภาพน้ำนมขึ้น จนกระทั่งเราต้องรับน้ำนมจากสหกรณ์แม่ทามาโรงนมของ มก. 5 พ่วงแล้ว” ดร.นิคม ยืนยัน เมื่อวันที่ 31 พ.ค. 66 ปรากฏว่า ห้องประชุม ชั้น 2 ของตึก 50 ปี มก. เป็นสถานที่ประชุมวันนมโลก ซึ่งสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมแม่ทาเป็นสหกรณ์ต้นแบบของ มก. เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 66

งานวิจัยและพัฒนาการเพิ่มน้ำนมดิบคุณภาพ ในทัศนะของดร.นิคม “เราต้องไปจับวัวนมรายตัวว่าเป็นยังไง เพราะวันนี้ผลผลิตน้ำนม/ตัวของเราแค่ 8-11 ลิตร แต่ออสเตรเลียเกือบ 40 ลิตร ดังนั้นของเราต้องสร้างให้เหมาะสม เพราะโคนมเป็นอาชีพพระราชทาน ทำอย่างไรให้อาชีพนี้อยู่กับเราได้ เพราะเด็กต้องบริโภคนม แล้วนมโรงเรียนมันต่ำกว่ามินิมัม จริงๆ ยังคิดว่าเราต้องเอานมพรีเมียมมาแปรรูปเป็นเนย หรือ ชีส ที่ผ่านมาไม่พอ อย่าลืมว่า นม เนย ชีส เป็นองค์ประกอบของพิซซ่า เป็นต้น โดยธรรมชาติแล้วเกษตรกรไทยถ้าไฟไม่ลนก้นไม่ทำ ถ้าไม่ทำ ไม่ปรับปรุง ก็ตาย”

5.คุณสุพจน์ รังรองธานินทร์ ประธานสหกรณ์การเกษตรแม่ทา
5.คุณสุพจน์ รังรองธานินทร์ ประธานสหกรณ์การเกษตรแม่ทา

การส่งเสริมการเลี้ยงวัวนม

เรื่องนี้ คุณสุพจน์ รังรองธานินทร์ ประธานสหกรณ์การเกษตรแม่ทาจำกัด ผู้ส่งเสริมสมาชิกให้เลี้ยงโคนมลูกผสมเลือด 75% จำนวน 60 กว่าคน จำนวนแม่วัว 1,000 กว่าแม่ มีปัญหาต้นทุนอาหารสัตว์สูง และมีภาคเอกชนตั้งศูนย์รับน้ำนมดิบ ทำให้สมาชิกบางคนนำนมมาขาย กระทบการรวบรวมน้ำนมของสหกรณ์ แต่ สกก.แม่ทา ลำพูน มีจุดแข็งตรงที่สมาชิกหลายรายปลูก ข้าวโพดฝักอ่อน และ ผักต่างๆ ซึ่งข้าวโพดฯ สามารถแปรรูปเป็นอาหารวัวนมได้

ซึ่ง รมช.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ ได้สนับสนุนให้เป็นสหกรณ์ต้นแบบด้านผักอินทรีย์ ดังนั้น ม.เกษตรฯ จึงได้ส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเพชรสุวรรณ เพราะสมาชิกมีพื้นฐานการปลูกข้าวโพดอยู่แล้ว เมื่อนำมาทำไซเลสมีโปรตีนมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ มก. มี ดร.โชคชัย เอกทัศนาวรรณ ผู้เชี่ยวชาญข้าวโพด และ รศ.ดร.สมเกียรติ ประสานพานิช ผู้เชี่ยวชาญโคนม เป็นที่ปรึกษา ให้ความรู้จัดทำแปลงสาธิตการปลูก ข้าวโพดสุวรรณ 4452 ที่ให้น้ำหนัก และต้นสดสูง ทำให้ไซเลสมีคุณภาพมากขึ้น น้ำนมดิบที่ได้ปรากฏว่า มี “เนื้อนม” สูงกว่า 12.4% เกือบ 4 ปี ที่ มก. เข้าไปสนับสนุน ได้ตอบโจทย์ทางธุรกิจชัดเจน

6.ผลิตภัณฑ์นม KU milk
6.ผลิตภัณฑ์นม KU milk

การผลิตและแปรรูปน้ำนมดิบ

คุณสุพจน์ยืนยันเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 66 ว่า มก. เข้าไปส่งเสริมเนื้อนมเข้มข้นขึ้นจริง จากผลผลิตน้ำนมดิบพรีเมียมที่ส่งให้ KU MILK 27 ก.ย. 65 จำนวน 14.5 ตัน วันนี้ส่งเดือนละหลายตัน ขณะเดียวกัน สกก.แม่ทา ก็ส่งน้ำนมดิบให้ อสค. นมวัวแดง ด้วยนมเกษตร KU MILK เป็นนมพาสเจอร์ไรส์ ที่ใช้น้ำนมดิบจากสหกรณ์หลายแห่งกว่า 50 ปี ที่ใช้ศาสตร์ต่างๆ ในการผลิตนมพาสเจอร์ไรส์คุณภาพ จนทำให้เชิงพาณิชย์วันนี้ล้วนสั่งสมประสบการณ์ในการผลิตให้ได้มาตรฐานสากล และยังคงไว้ซึ่งโปรตีน กรดอะมิโน กว่า 18 ชนิด มีกลิ่นหอมนมสด และรสชาติอร่อย

จึงพร้อมที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการผลิตอาหารไซเลสให้มีคุณภาพ เพื่อให้ได้น้ำนมพรีเมียม ผู้เลี้ยงรายย่อยอยู่รอด โดยใช้ สกก.แม่ทา เป็นต้นแบบ สามารถแข่งขันกับบริษัทอุตสาหกรรมนมได้ในตลาด ดังนั้นบทบาทของ มก. บางเขน จึงเฉียบคมท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง ทั้งนมพร้อมดื่ม และผลิตภัณฑ์นม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 362