ปุ๋ยซัลเฟตแท้ ผลิตทุเรียน พรีเมียม มาตรฐาน GAP เปอร์เซ็นต์แป้งมากกว่า 32%

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การทำธุรกิจยุคดิจิตอล “ผู้บริโภค” คือ หัวใจสำคัญ เป็นพระเจ้าที่บันดาลได้ทุกอย่าง ผู้บริโภคผลไม้ไทยที่เป็นชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน ยุโรป และญี่ปุ่น เป็นต้น เน้นคุณภาพ เช่น ปลอดสาร ปลอดโรค ปลอดแมลง และต้องมีรสชาติอร่อย โดยเฉพาะชาวจีน ปุ๋ยซัลเฟตแท้

ดังนั้นผู้ผลิต คือ “ชาวสวน” ผลไม้ ต้องพัฒนาฝีมือการผลิตให้ได้คุณภาพ และไซซ์ที่ตลาดต้องการ และรสชาติชัดเจนของผลไม้นั้นๆ

แต่ภาคปฏิบัติมันยากมากๆ เนื่องจากสภาพอากาศมีความแปรปรวนรวดเร็ว ส่งผลให้พืชอ่อนแอ เปิดทางให้โรค-แมลงทำลาย

เมื่อมันเป็นงานท้าทาย ก็ต้องใช้ฝีมือ นั่นคือ ต้องนำ “หลักการ-วิธีการ” องค์ความรู้ด้านการผลิตไม้ผลมาใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์

1.คุณสัญญา, คุณเซียนแสง และคุณวันชัย
1.คุณสัญญา, คุณเซียนแสง และคุณวันชัย

การผลิตทุเรียน GAP

เอกชนบริษัทแรก ที่สร้างสรรค์เรื่องนี้มาเป็นนโยบาย คือ บริษัท เรนคอทตอน จำกัด อันมี คุณเซียนแสง ตันติศรียานุรักษ์ กรรมการผู้จัดการ คุณวันชัย อุทัยวัณณ์ และคุณสัญญา ศรีพงษ์พันธ์กุล หรือ “หมอญะฮ์” เป็นคณะบริหาร และทีมวิชาการ ได้แก่ 1.นายชุติพงศ์ ประสงค์เจริญ (โอเลี้ยง) 2.นายวรเชษฐ์ เจรัมย์ (จ๊อบ) 3.นายพิรุณราช พรหมศรี (กอล์ฟ) 4.นายณัฐพงศ์ ตุ้ยสมุทร (หนุ่ย) 5.นายนัยสิทธิ ซอยสูงเนิน (หนึ่ง) 6.นางสาวธนธรณ์ เปาอินทร์ (นก) 7.นางสาวสุพรรษา ปลื้มบำเรอ (อูน) 8.นายวิชัย ศรีมงคลชัย (แม็ก) โดยมุ่งให้ความรู้แก่ชาวสวนในการผลิตผลไม้ให้ได้คุณภาพระดับพรีเมียม โดยเฉพาะ “ทุเรียน” ราชาไม้ผลเมืองร้อนของไทย พุ่งเป้าไปที่ตะวันออกเป็นอันดับแรก

โฟกัสไปที่การผลิตทุเรียนมาตรฐาน GAP เพราะเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ทำโมเดลต้นแบบให้เกิดเป็นรูปธรรม ด้วยการจับมือกับ คุณสมชาย ลินจง นายก อบต.ทุ่งเบญจา ท่าใหญ่ จันทบุรี และคุณจีรพา เทียนทอง ผู้อำนวยการคลัง

กรมวิชาการเกษตรนำชาวสวน 510 คน เข้าสู่ GAP โดยเรนคอทตอนฯ ได้สนับสนุนสมุดบันทึก GAP ให้ ผอ.ชลธี  นุ่มหนู เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย

“การทำ GAP ต้องทำด้วยจิตสำนึก ว่าการผลิตภาคเกษตรเป็นห่วงโซ่ ต้องเกื้อกูลกัน โซ่แรกที่ผูกติดกับเสา เรียกว่า เกษตรกร ถ้าโซ่นี้ขาด ผลิตแล้วส่งออกไม่ได้ ห่วงโซ่ตัวอื่นจะหลุดออกจากกัน” หมอญะฮ์เปิดเผยถึงแรงจูงใจเข้ามาสนับสนุน GAP

จริงๆ แล้ว GAP ชาวสวนต้องทำเอง แต่ส่วนใหญ่คาดหวังให้รัฐโอบอุ้ม ต้องทำให้เข้าใจว่ารัฐก็มีงบฯ จำกัด ดังนั้นเอกชนต้องเข้าไปช่วยเพื่อให้ระบบไปได้

เรื่อง GAP รัฐเริ่มตั้งแต่ปี 2547 ใช้งบฯ หลายพันล้านบาท แต่ไม่สำเร็จ มันต้องติดอะไรซักอย่าง เป็นโจทย์ที่จะต้องตีให้แตก จึงจะแก้ปัญหาพัฒนาได้

ควรจะถอดบทเรียน “ทุ่งเบญจาโมเดล” ทำ GAP สำเร็จ เพราะอะไร?

โฆษณา
AP Chemical Thailand

กระบวนการทำทุเรียนมาตรฐาน GAP ต้องใช้องค์ความรู้ด้านการผลิตไม้ผลให้ได้คุณภาพ ท่ามกลางปัจจัยลบต่างๆ

2.ปุ๋ยเรนเฟิท ซัลเฟตแท้ 100%
2.ปุ๋ยเรนเฟิท ซัลเฟตแท้ 100% ปุ๋ยซัลเฟตแท้ ปุ๋ยซัลเฟตแท้ ปุ๋ยซัลเฟตแท้ ปุ๋ยซัลเฟตแท้ ปุ๋ยซัลเฟตแท้

จุดเด่นของ ปุ๋ยซัลเฟตแท้ 100%

เรื่องนี้ เรนคอทตอนได้ผลิตชุดองค์ความรู้ทำทุเรียนมาตรฐานออกเผยแพร่ ที่เป็นไฮไลท์น่าสนใจ ก็คือ การชูธง “ ปุ๋ยซัลเฟตแท้ 100%” มาเป็นกระแสหลัก

โดยนำจุดเด่น ปุ๋ยซัลเฟตแท้ 100% ที่เป็นปุ๋ยคอมปาวด์ ที่มีปุ๋ยตัวท้ายเป็น ปุ๋ยโพแทสเซียมซัลเฟต 100% เท่านั้น เพื่อแก้ปัญหาดินเค็ม และดินเป็นกรด เมื่อชาวสวนนำปุ๋ยไปใช้ “โดยนำเข้าปุ๋ยคอมปาวด์ที่มีปุ๋ยโพแทสเซียมซัลเฟต100% จากประเทศฝรั่งเศส เพื่อแก้ปัญหาการใส่ปุ๋ยแล้วดินเค็ม ดินเป็นกรด”

ต่างจากปุ๋ยซัลเฟตเทียมที่ใช้แม่ปุ๋ย “แอมโมเนียมซัลเฟต” มาผลิต แล้วแอบอ้างว่าเป็นปุ๋ย “ซัลเฟต”  ทั้งๆ ที่ปุ๋ยตัวท้ายเป็น โพแทสเซียมคลอโรด์ เมื่อใส่ลงดินก่อให้เกิดดินเค็มจัด และเป็นกรด อันเป็นเหตุให้เชื้อราไฟทอปฯ เข้าทำลายต้นทุเรียนได้ง่าย

“ความเข้มข้นของคลอไรด์ที่ปนเปื้อนอยู่ในดิน ส่งผลต่อ pH ของดิน ปุ๋ยคลอไรด์มีความเค็มสูงกว่าซัลเฟต ชาวสวนไม่เข้าใจลึกซึ้งเกี่ยวกับซัลเฟต และคลอไรด์ การเกิดไฟทอปธอร่ากับทุเรียนเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดโรคอื่นๆ ได้” หมอญะฮ์เปิดเผยถึงเหตุที่บริษัทมุ่งส่งเสริม ปุ๋ยซัลเฟตแท้ 100% กับสวนทุเรียน

นอกจากนี้ ปุ๋ยซัลเฟตแท้ 100% ยังตอบโจทย์เรื่องรสชาติหวาน อันเป็นความอร่อยที่ทำให้ผู้บริโภคติดใจ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คุณภาพเนื้อของไม้ผล

คุณภาพเนื้อของไม้ผล คือ เป้าหมายของนักส่งเสริมชาวสวนทำผลไม้คุณภาพ รสชาติอร่อย แต่เนื้อผลไม้มันอยู่ข้างใน มองไม่เห็น เป็นกลไกส่วนได้-เสียของผู้บริโภค

“การขับเคลื่อนคุณภาพภายนอก ผลโต ผิวสวย ทุกองค์กรเอกชนมองตรงนี้ ถ้าเขากินแล้วไม่อร่อยก็เลิกซื้อ ตลาดตาย ทางบริษัทจึงมาดูแลผู้บริโภคด้วย มาเน้นคุณภาพเนื้อ ทำอย่างไรให้รสชาติอร่อย ถูกใจคนกิน” คุณสัญญา ศรีพงษ์พันธ์กุล เปิดใจถึงนโยบาย บริษัท เรนคอทตอนฯ ที่มุ่งรสชาติทุเรียนเพื่อขายนำเงินตราเข้าประเทศ

การทำธุรกิจปุ๋ยดำเนินการมาแล้ว 25 ปี  นโยบายบริษัทก็เหมือนกับบริษัทอื่นๆ มุ่งขายสินค้าเข้าร้านค้าตัวแทน  จัดงบโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม เที่ยว ท่องทัวร์ ทำมาหมดแล้ว  แต่ในปี 2560 ได้เพิ่มเติม เน้นช่วยชาวสวนโดยมองเป็นองค์รวมแบบห่วงโซ่สัมพันธ์

สภาพอากาศที่แปรปรวน

นอกจากนี้สภาพอากาศที่แปรปรวนอย่างรวดเร็วมีผลต่อการผลิตไม้ผลเป็นอย่างมาก ทางบริษัทจึงต้องเลิกขายผลิตภัณฑ์บางตัวที่ไม่ตอบโจทย์ แต่ตัวที่ชนะสภาพดินฟ้าอากาศจะต้องเดินหน้าต่อไป

ภายใต้ทีมงานวิชาการด้านการเกษตรที่มาจากหลายๆ สถาบันการศึกษา ที่หลอมรวมกันให้มีจิตสำนึก พัฒนาชาวสวน ไม่ใช่ขายสินค้า โดยมีที่ปรึกษากูรูทุเรียน อาจารย์ปราโมทย์ ร่วมสุข คอยชี้แนะตลอดเวลา

3.ทีมงานบริษัท เรนคอทตอน จำกัด
3.ทีมงานบริษัท เรนคอทตอน จำกัด ปุ๋ยซัลเฟตแท้ ปุ๋ยซัลเฟตแท้ ปุ๋ยซัลเฟตแท้ ปุ๋ยซัลเฟตแท้ ปุ๋ยซัลเฟตแท้

การส่งเสริมการผลิตทุเรียน

บริษัท เรนคอทตอน จำกัด ส่งเสริมการผลิตทุเรียนมาตรฐาน เปอร์เซ็นต์แป้งมากกว่า 32

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การทำทุเรียนให้ได้มาตรฐาน “เปอร์เซ็นต์แป้ง” มากกว่า 32 นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เป็นงานท้าทายนักวิชาการ ชาวสวน และคนที่อยู่ในธุรกิจทุเรียน

แต่ก็มีคนพยายามที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย เช่น บริษัท เรนคอทตอน จำกัด นำโดย คุณเซียนแสง  ตันติศรียานุรักษ์ และทีมงานที่ไฟแรงด้านการส่งเสริมผลไม้คุณภาพระดับพรีเมี่ยม

ส่งเสริมด้วยการตะลุยในสวน จับเข่าคุยกับเจ้าของ แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ เป็นรูปแบบการตลาดที่ลึก แหลมคม ติดอาวุธทางปัญญา และประสบการณ์ ให้ชาวสวน

เป้าหมายเพื่อให้ชาวสวน และองค์กร ใช้ปุ๋ย ฮอร์โมน และน้ำ ถูกต้อง สอดคล้องกับพืชแต่ละชนิด เมื่อพืชแข็งแรง มีภูมิต้านทาน ก็ไม่ต้องใช้สารเคมีให้สุ่มเสี่ยงต่อการตกค้างในพืช เป็นการประหยัดต้นทุน โดยออโต้

การทำทุเรียนเปอร์เซ็นต์แป้งมากกว่า 32 เป็นงานยาก เพราะประเทศไทยมีความแปรปรวนด้านสภาพอากาศมากขึ้น

แต่ทีมงานเรนคอทตอนก็ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอ่าวใหญ่ จังหวัดตราด หรือกลุ่มเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ชาวสวนผลิตทุเรียนพรีเมียมเพื่อส่งออก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เรื่องแรก เรนคอทตอนป้องกันมิให้เกิดปัญหาตัดทุเรียนข้ามรุ่น หรือคร่อมรุ่น โดยการตัดแต่งดอกหัวทิ้งและตัดแต่งดอกรุ่นน้องที่ตามมาทิ้ง ใส่ปุ๋ยทุกๆ 10 วัน ดูแลใบทุเรียนให้มากพอและสมบูรณ์ ใบไม่ร่วงระยะให้ผลผลิต และต้องจดบันทึกวันที่ดอกบาน

4.เรนซุปเปอร์ฮิวมิค, บูลก้า, เรนฟอส, เรนพาวเวอร์, เรนเค
4.เรนซุปเปอร์ฮิวมิค, บูลก้า, เรนฟอส, เรนพาวเวอร์, เรนเค ปุ๋ยซัลเฟตแท้ ปุ๋ยซัลเฟตแท้ ปุ๋ยซัลเฟตแท้

การบำรุงดูแลต้นทุเรียน

ต่อมาชาวสวนต้องเรียนรู้ “ปุ๋ยทุเรียน” เรนคอทตอนเน้น “ ปุ๋ยซัลเฟตแท้ 100%” เป็นปุ๋ยคอมปาวด์ ที่ให้ธาตุอาหารครบทุกเม็ด ละลายง่าย เหตุที่ไม่ส่งเสริมปุ๋ยคลอไรด์เพราะมีความเค็มสูง กรดเยอะ เช่น การปลูกองุ่นในฝรั่งเศสให้ใช้ปุ๋ยซัลเฟตอย่างเดียว

เรนคอทตอนส่งเสริมซัลเฟตแท้ 100% มี 4 สูตร ในนาม “ ปุ๋ยเรนเฟิท ”

1.ปุ๋ยเรนเฟิทสูตร 20-8-6

ปุ๋ยเรนเฟิทสูตร 20-8-6 ใส่ทางดิน ต้นละ 1-2 กก. เพื่อฟื้นต้น เร่งราก กระชากใบ และล้างสารแพคโคลหลังการเก็บเกี่ยว จากนั้นก็ฉีดพ่นชุดบูมราก เรนพาวเวอร์ 200 ซีซี. เรนซุปเปอร์ฮิวมิค 200 ซีซี. เรนฟอส 200 ซีซี. และเรนเค 200 ซีซี. ผสมกับน้ำ 200 ลิตร (น้ำต้องมีรัศมีวงกว้างออกนอกชายพุ่ม) ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาต้นโทรม ใบน้อย และยอดอ่อนร่วงเป็นก้านธูป

2.ปุ๋ยเรนเฟิทสูตร 15-15-15

ปุ๋ยเรนเฟิทสูตร 15-15-15 เพื่อปรับสภาพต้น-ใบ ปูพื้นฐานความแข็งแรง ใบเขียวเข้ม ลำต้นต้านทานโรค ใส่ต้นละ 1-2 กก. ทุกๆ 20 วัน เมื่อใบชุดแรกอายุ 20 วัน ขณะเดียวกันก็ต้องใช้เรนเค 8 ลิตร และเรนฟอส 8 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดเฉพาะลำต้นและกิ่ง ควรฉีดล้างทันทีหลังเก็บเกี่ยว 1 ครั้ง และหลังแทงใบอ่อนชุดแรก 20 วัน เพื่อล้างเชื้อราที่เกาะติดตามผิวกิ่ง และลำต้น จากนั้นก็ใช้แอคติวาพลัส 200 ซีซี. และบูลก้า 200 ซีซี. ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดบำรุงใบ ให้ใบใหญ่ หนา และเขียวเข้ม

3.ปุ๋ยเรนเฟิทสูตร 10-20-20

ปุ๋ยเรนเฟิทสูตร 10-20-20 เป็นสูตรเร่งสะสม เร่งการออกดอก ชะลอการแตกใบอ่อน และปัญหาผลร่วง ใส่ทางดินเมื่อใบชุด 2 เป็นเทลาด ต้นละ 1-2 กก. ทุกๆ 15 วัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เมื่อใส่ปุ๋ยสูตร 10-20-20 แล้ว ต้องฉีดชุดสะสมอาหาร ฟรัคติโฟเรีย 400 ซีซี. คาลิบอร์ 200 ซีซี. และเรนเค 100 ซีซี. ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 10 วัน จนกว่าอาหารจะลงเต็มท้องกิ่ง

ควรใส่ปุ๋ยเรนเฟิทสูตร 1-2-3 (8-16-24) ใส่ทางดิน ปริมาณการใส่กำหนดตามหัวน้ำที่มีต่อต้น โดย 1 หัวน้ำ ใส่  1 กำมือ ทุกๆ 7 วัน จนกว่าตาดอกจะยืดยาวในระยะเหยียดตีนหนู ต้องใช้ฟรัคติโฟเรีย 200 ซีซี. บูลก้า 200 ซีซี. เรนเค 100 ซีซี. และซินเนอร์แจ๊ค 100 ซีซี. ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นภายในต้นใต้ใบเน้นๆ ท้องกิ่งทุกๆ 7-10 วัน (ห้ามฉีดหน้าใบนอกต้นโดยเด็ดขาด)

เมื่อทุเรียนออกดอก

เมื่อทุเรียนออกดอกต้องช่วยผสมเกสร-น้ำหยั่น น้ำหวาน เยอะ ควรใส่ปุ๋ยเกล็ด 1-2-3 หว่านตามจำนวนหัวน้ำที่มีต่อต้น หัวน้ำละ 1-2 กำมือ (ระยะนี้ไม่ควรใส่ปุ๋ยเม็ด เพราะต้องใช้น้ำรดเยอะ จึงละลายหมด ระยะนี้ต้องควบคุมปริมาณน้ำ ไม่งั้นการผสมเกสร ติดดอก ติดผล ไม่ดี และจะกระตุ้นแตกใบอ่อน) นอกจากนี้สูตรบำรุงดอก บำรุงเกสร หรือช่วยผสมเกสร ต้องใช้ฟรุตสติน 100 ซีซี. คาลิบอร์ 100 ซีซี. เรนเค 50 ซีซี. และบูลก้า 50 ซีซี. ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่น

เมื่อทุเรียนมีผลอ่อน

เมื่อทุเรียนมีผลอ่อน ต้องพิจารณาเรื่องปุ๋ยทางดิน ควรใช้ปุ๋ยเรนเฟิทสูตร 10-20-20 หากใบน้อย หรือปุ๋ยเรนเฟิทสูตร 15-15-15 เมื่อใบมาก ไม่แสดงอาการแตกใบอ่อนชุดใหม่ หรือปุ๋ยเกล็ดเรนเฟิท 1-2-3 สำหรับทุเรียนที่มีลูกหลายรุ่นในต้น (ปุ๋ยเกล็ดกินได้ไว กระจายการกินได้ดี ไม่เกิดการแย่งอาหารระหว่างผลต่างรุ่น ควรฉีดฟรุตสติน 100 ซีซี. บูลก้า 100 ซีซี. เรนเค 100 ซีซี. และแอคติวาพลัส 100 ซีซี. ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดเน้นๆ ที่ผลอ่อน เพื่อให้ขั้วเหนียว

เมื่อทุเรียนอายุ 50 วัน หลังดอกบาน

เมื่อทุเรียนอายุ 50 วัน หลังดอกบาน ควรให้ปุ๋ยและน้ำสม่ำเสมอ ปุ๋ยเรนเฟิทสูตร 11-8-20 ใส่ทุกๆ 10 วัน ตามปริมาณจำนวนลูกในต้น และการโตของลูก พร้อมๆ กับฉีดบูลก้า 200 ซีซี. เรนเค 100 ซีซี. และแอคติวาพลัส 100 ซีซี. ผสมน้ำ 200 ลิตร เพื่อให้ทุเรียนเกิดการแบ่งพู รูปทรงเต็ม เนื้อแน่น สีสวย

เมื่อลมหนาวมา

เมื่อลมหนาวมา อากาศเย็น แดดจ้า คลอโรฟิลด์ที่ใบทุเรียนถูกทำลาย เกิดอาการไหม้เพราะแดดเผา ควรใช้เฟอร์ติอีซี 200 ซีซี. เรนเค 100 ซีซี. แอคติวาพลัส 100 ซีซี. ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่น ฉีดที่หน้าใบนอกทรงพุ่มทุกๆ 10 วัน จนกว่าอากาศจะอุ่น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หากเชื้อโรคทำลายต้นทุเรียน

หากเชื้อโรคทำลายต้นทุเรียนจนเกิดแผลจากเชื้อ Fusarium sp. Phytophthora Palmivora  ควรทาแผลด้วย เรนเค 100 ซีซี. เรนฟอส 100 ซีซี. และไฮพรีเมียม 25 ซีซี. ผสมน้ำ 1 ลิตร ทาบริเวณแผล

ทั้งหมดนี้ คือ แนวทางการทำทุเรียนพรีเมียมมาตรฐาน GAP เปอร์เซ็นต์แป้งมากกว่า 32 ของ บริษัท เรนคอทตอน จำกัด ที่พิสูจน์แล้วว่าทำได้จริง

สนใจรายละเอียดติดต่อ ทีมส่งเสริม บริษัท เรทคอทตอน จำกัด โทร.061-553-4384 และ 061-662-0749

อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร ฉบับที่ 12