โครงการมาตรฐาน gap ทุเรียน ทุ่งเบญจา ทำผลไม้ GAP ให้ชาวสวนแห่งแรกในไทย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ด้วยพลานุภาพของจีน ด้วยการบังคับให้ไทยที่จะส่งออก “ผลไม้” ไปจีน ต้องได้มาตรฐาน GAP และ GMP ตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 โครงการมาตรฐานgapทุเรียน

ผลไม้ไทย 5 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ และมะม่วง  ต้องมาจากสวนที่ได้มาตรฐาน GAP  และต้องผ่าน โรงคัดบรรจุ (ล้ง) ที่ได้มาตรฐาน GMP จีนจึงจะให้เข้าประเทศ

เรื่องนี้มองได้ทั้งลบและบวก แต่ก็เป็นเรื่องดี เป็นการบีบให้คนในวงการผลไม้ 5 ชนิด ต้องผลิตอย่างมีมาตรฐาน สามารถตรวจสอบแหล่งผลิตได้ ผลไม้ไทยจะได้มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค

1.ผลทุเรียนออกลูกดกเต็มต้น
1.ผลทุเรียนออกลูกดกเต็มต้น โครงการมาตรฐานgapทุเรียน โครงการมาตรฐานgapทุเรียน

ปัญหาและอุปสรรคของผลผลิตทุเรียน

ขณะเดียวกันประเทศจีนเกิดโรคอุบัติใหม่ ไวรัสโคโรน่า เล่นงาน อาจกระทบต่อการส่งออกผลไม้ไทย โดยเฉพาะ “ทุเรียน” เรื่องนี้ คุณฉัตรกมล มุ่งพยาบาล นายกสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทย กล่าวว่า ผลผลิตทุเรียนช่วงนี้จะออกมาประมาณ 5 หมื่นตัน ภาคตะวันออกอาจเพิ่มขึ้น 20% เมื่อเทียบกับปี 62

แม้จีนเจอไวรัส ก็ไม่ต้องกังวล แม้ต้นทุนโลจิสติกส์ในจีนจะสูงขึ้น จะทำให้ราคาทุเรียนไทยหน้าสวนลดลงบ้าง แต่ปรากฏว่าพอเปิดฤดูกาลทุเรียนปีนี้ราคาเริ่มต้น 130-140 บาท/กก. และปริมาณล้งที่ขึ้นทะเบียน จาก 200 แห่ง เป็น 442 แห่ง และอยู่ระหว่างการรอตรวจอีก 121 โรง

คุณฉัตรกมลยอมรับว่าทุเรียนไทยสำหรับชาวจีนกวางตุ้ง คือ ยาบำรุงร่างกาย ทุเรียน 1 ลูก เท่ากับไก่ 3 ตัว เพราะมีโปรตีน แร่ธาตุต่างๆ และวิตามินครบเครื่องในทุเรียน กลางเดือน มี.ค.-เม.ย. 63 ถ้าผลผลิตออกมา 3-4 แสนตัน ก็สามารถประเมินราคาหน้าสวนได้ ถ้าได้ราคาสูงกว่า 50-60 บาท/กก. รับประกันได้เลยว่าเศรษฐกิจตะวันออกรุ่งอย่างแน่นอน

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.นายสมชาย ลินจง นายก อบต.
2.นายสมชาย ลินจง นายก อบต. โครงการมาตรฐานgapทุเรียน โครงการมาตรฐานgapทุเรียน

การผลิตทุเรียน GAP ได้สำเร็จ เป็นโมเดลแรกของประเทศ

อย่างไรก็ดีการผลิตทุเรียนให้ได้มาตรฐาน GAP ชาวสวนตื่นตัวมาก โดยเฉพาะในจังหวัดจันทบุรี แม้แต่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่า เกษตรจังหวัด, เกษตรอำเภอ, อบต. และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร (สวพ.) เป็นต้น ก็สนับสนุนมาตรฐาน GAP และ GMP

นายสมชาย ลินจง ชาวสวนทุเรียนหัวก้าวหน้า นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลทุ่งเบญจา อ.ท่าใหม่ ได้จับมือกับ นายชลธี หนุ่มหนู ผอ.สวพ.6  ผศ.เจริญ ปิยารมณ์ อดีตอาจารย์ ม.ราชภัฎรำไพพรรณี และบริษัท เรนคอทตอน จำกัด เป็นต้น

จับมือร่วมกันทำงาน ด้วยการนำชาวสวนทุเรียนทุ่งเบญจามาขึ้นทะเบียน GAP ได้สำเร็จ เป็นโมเดลแรกของประเทศที่ภาครัฐและเอกชนร่วมกันทำงานแบบบูรณาการ เพราะรองบประมาณจากกรมวิชาการเกษตรอย่างเดียวคงไม่สำเร็จ เพราะกรมแห่งนี้ถูกตัดงบประมาณ

3.คุณพายัพ ยังปักษี ผู้ดำเนินงานการประชุม
3.คุณพายัพ ยังปักษี ผู้ดำเนินงานการประชุม โครงการมาตรฐานgapทุเรียน โครงการมาตรฐานgapทุเรียน

การจัดโครงการ GAP ทุ่งเบญจา

เพื่อให้ความสำเร็จดังกล่าวไปสู่รัฐบาล และคนไทยทั้งประเทศ จึงได้เกิดการประชุมผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ณ ห้องประชุม อบต.ทุ่งเบญจา โดยมี นายพายัพ ยังปักษี ประธานสมาพันธ์พลเมืองฐานราก ประธานที่ปรึกษา บริษัท มีเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ป จำกัด และ 1 ในทีมขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก สำนักนายกฯ เป็นผู้ดำเนินการประชุม โดยสรุปประเด็นเนื้อหาดังต่อไปนี้

นายชลธี หนุ่มหนู ผอ.สวพ.6
นายชลธี หนุ่มหนู ผอ.สวพ.6 โครงการมาตรฐานgapทุเรียน โครงการมาตรฐานgapทุเรียน 

1.สาเหตุที่ผลักดันชาวสวนทุเรียนทุ่งเบญจาสู่มาตรฐาน GAP

“การทำ GAP ทุ่งเบญจา ต้องการให้เป็นโมเดล เป็นต้นแบบให้พื้นที่อื่นๆ ยอมรับว่าผู้นำท้องถิ่น อย่าง นายก อบต. สมชาย ลินจง ต้องการให้ทุ่งเบญจามีมาตรฐานการผลิตพืช พัฒนาสวนให้ได้มาตรฐาน เรามีความคิดตรงกันว่าถ้าคนในท้องถิ่นให้ความสำคัญ หน่วยงานรัฐหนุน เอกชนให้ความร่วมมือ เกษตรกรในพื้นที่ และผู้นำมีส่วนร่วม ความสำเร็จอยู่ใกล้” คุณชลธีเปิดประเด็นต่อผู้ร่วมสัมมนาถึงสาเหตุที่ต้องทำ GAP ตำบลทุ่งเบญจา

ยอมรับว่า สวพ.6 ต้องรับศึกหนัก การทำ GAP เหมือนการระบาดของไวรัส ช่วยให้หายหลังได้ GAP แล้ว 35,000 ราย อยู่ระหว่างช่วยอีก 30,000 ราย และจะมีคนติดเชื้อ หรือรอเข้าคิวทำ GAP จนถึงฤดูไม้ผลไม่ต่ำกว่า 50,000 ราย ที่ต้องเร่ง GAP ชาวสวนรู้ดีว่าถ้าไม่มี GAP ส่งออกจีนไม่ได้ ยิ่งจีนเอาหน่วยงานกรมศุลและด่านตรวจพืชมาเป็นหน่วยงานเดียวกัน ยิ่งเข้มงวด GAP และ GMP มากขึ้น “พอเราขึ้นทะเบียนโรงคัดบรรจุ และแปลงเกษตรกร จะต้องส่งทะเบียนไปจีน เพื่อให้เขาอัพโหลดเข้าระบบ 3 เดือน ส่ง 1 ครั้ง ทางจีนจะรู้ว่าเรามีสวนขึ้นทะเบียนเท่าไหร่ ถ้าเราขึ้นไว้น้อย เขารับประเทศอื่นแทนได้ เราจึงต้องนำทะเบียนไปส่งจีนให้มากที่สุด” ผอ.สวพ.6 ให้ความเห็นถึงเหตุที่ต้องขึ้นทะเบียนชาวสวน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ชาวสวนที่ไม่มี GAP จะไปใช้สิทธิสวนที่มี GAP เรื่องนี้คุณชลธีไม่เห็นด้วย เพราะหากสวมสิทธิทุเรียน ถึงจีนแล้วมีสารตกค้างจะถูกรีเช็คจากล้ง และถึงสวนที่บกพร่องล้งก็จะถูกระงับการนำเข้า ดังนั้นชาวสวนต้องทำมาตรฐาน GAP อย่างเดียว

ในการผลักดันชาวสวนเข้าสู่มาตรฐาน GAP นั้น ความพร้อมเพรียงของทุกฝ่ายไม่พอ ต้องมีเงินเป็นค่าใช้จ่าย แต่เงินจากกรมวิชาการเกษตรถูกตัดมากในปีนี้ ดังนั้นคุณชลธีจึงต้องขอจากผู้เสียสละในรูปผ้าป่า GAP ปรากฏว่าวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 63 มีผู้ร่วมกฐินผ้าป่าเป็นเงิน 1,722,828 ล้านบาท ทำให้การดำเนินงาน GAP ในตำบลทุ่งเบญจาเข้าสู่เป้าหมายเร็วขึ้น

คุณเซียนแสง ตันติศรียานุรักษ์ ประธานบริษัทเรนคอทตอน จำกัด
คุณเซียนแสง ตันติศรียานุรักษ์ ประธานบริษัทเรนคอทตอน จำกัด โครงการมาตรฐานgapทุเรียน 

ภาคเอกชนที่อุดหนุนรายใหญ่ ได้แก่ คุณเซียนแสง  ตันติศรียานุรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เรนคอทตอน จำกัด ได้สนับสนุนสมุดบันทึก GAP ให้ จนงานสำเร็จในเบื้องต้น ซึ่งคนที่เป็นผู้จุดไฟ GAP คือ อาจารย์ปราโมทย์ ร่วมสุข ประธานสถาบันทุเรียนไทย ในฐานะที่ปรึกษาบริษัท ผู้เข้าใจเรื่องมาตรฐาน GAP ในหลายๆ มิติ โดยเฉพาะความต้องการทุเรียน GAP ของไทย “ การที่จีนเน้น GAP เพราะต้องการให้ประเทศเข้าไปสู่สากล ดังนั้นของเราจะขายดีต้องมีมาตรฐาน จึงนำมาสู่การทำ GAP และแนวโน้มตลาดทุเรียนลูกจะเล็กลง ครอบครัวอนาคตจะเล็กลง จะทานเป็นพู จึงเกี่ยวข้องกับโรงงาน GMP และโรงงานก็ต้องรับทุเรียนจากสวน GAP เพราะ GAP ปลอดภัยต่อคนทำ คนกิน และสภาพแวดล้อม ” อ.ปราโมทย์ วิเคราะห์ทิศทางทุเรียน GAP ของไทยในจีน

อาจารย์ปราโมทย์ ร่วมสุข ที่ปรึกษา บริษัท เรนคอทตอน จำกัด
อาจารย์ปราโมทย์ ร่วมสุข ที่ปรึกษา บริษัท เรนคอทตอน จำกัด โครงการมาตรฐานgapทุเรียน 

ในไทยขณะนี้ชาวสวน และองค์กรชาวสวน  มีมาตรฐาน GAP ได้แก่  THAI GAP  และ GAP สหกรณ์การเกษตรท่าใหม่จำกัด ร่วมกับเอกชน ทำ THAI GAP สวนไหนมีปัญหาจะรู้ทันที ทุกคนใน THAI GAP ต้องรับผิดชอบร่วมกัน ตรวจกันเองโดยทีมงาน โดยการสุ่มตรวจ ส่วนมาตรฐาน GAP ใช้ “ทุ่งเบญจาโมเดล” ตรวจโดยเอกชน และทำเป็นกลุ่ม “เป้าหมายทั้ง 2 โมเดล อันเดียวกัน หลักการทั้งโลก คือ เราจะขายประเทศไหนต้องใช้มาตรฐานประเทศนั้นในการส่งออก อนาคตเกษตรกรจะเป็นระบบมากขึ้น การทำ GAP ไม่ใช่ทำเพื่อคนอื่น เราทำเพื่อตัวเอง เราดีขึ้น ปลอดภัยขึ้น เข้าระบบได้ทั้งหมด เราจะเป็นผู้นำอาเซียน” อ.ปราโมทย์ สรุปข้อดีของ GAP ในเชิงธุรกิจ

ทีมงานบริษัท เรนคอทตอน จำกัด และคณะองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ทุ่งเบญจา ผู้ร่วม โครงการมาตรฐานgap ทุเรียน
ทีมงานบริษัท เรนคอทตอน จำกัด และคณะองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ทุ่งเบญจา ผู้ร่วม โครงการมาตรฐานgap ทุเรียน
คุณวันชัย อุทัยวัณณ์ กรรมการอาวุโส บริษัท เรนคอทตอน จำกัด
คุณวันชัย อุทัยวัณณ์ กรรมการอาวุโส บริษัท เรนคอทตอน จำกัด โครงการมาตรฐานgapทุเรียน
  1. แรงจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุน GAP

ต้องยอมรับความจริงว่าขณะนี้ภาคเอกชนที่ประกอบธุรกิจภาคไม้ผลเริ่มตกผลึกความคิดแล้วว่า ประเทศไทยแม้จะมีธุรกิจเกษตรหลายแขนง เช่น พืชเศรษฐกิจ ปศุสัตว์ และประมง ล้วนมีปัจจัยลบมากระทบอย่างรุนแรง ถึงขนาดตลาดหดตัวอย่างหนัก จนเกษตรกรจะหายจากวงการ

แต่ธุรกิจไม้ผลมีจุดแข็งหลายประการ ที่จะยืนท้าทายกระแสการแข่งขันทางการค้าที่รุนแรงมากขึ้น เพราะผลไม้ร้อนชื้นของไทยเป็นผลไม้สุขภาพ ตลาดต้องการมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้คุณเซียนแสง  ตันติศรียานุรักษ์ และทีมงาน บริษัท เรนคอทตอน จำกัด/บริษัทไบโอพลัส (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัทในเครือ มีแผนชัดเจนในการเดินหน้าสนับสนุนภาครัฐในการทำ GAP ผลไม้หลายตัว ได้แก่ ขนุน และลำไย อาจทำส้ม GAP เป็นต้น แม้จะต้องใช้งบประมาณมากขึ้นก็ยอม เพราะถ้าเกษตรกรอยู่ไม่ได้ บริษัทก็อยู่ไม่ได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“ในปีนี้จีนจะเพิ่ม GAP พืชอีก 4 ชนิด ได้แก่ ขนุน สับปะรด กล้วยไข่ และมะพร้าวอ่อน ตอนนี้ได้เตรียมการ GAP แล้วที่ระยอง ฉะเชิงเทรา เรื่องนี้ต้องขอขอบคุณ นายก อบต.สมชาย  ลินจง, ผู้บริหาร บริษัท เรนคอทตอนฯ, น้องๆ ทีมงานทุกคน,  ผู้นำท้องถิ่น  และเกษตรกรทุ่งเบญจา ที่ร่วมกันเป็นโมเดลขับเคลื่อน GAP ภาคตะวันออก เพื่อเป็นแบบอย่างชุมชนอื่น”   คุณชลธี นุ่มหนู ผอ.สวพ.6  กล่าวขอบคุณทุกท่าน

ซึ่งเรื่องนี้คุณเซียนแสง ตันติศรียานุรักษ์ GM บริษัท กล่าวต่อหน้าผู้ร่วมสัมมนาว่า บริษัท และคุณวันชัย อุทัยวัณณ์  กรรมการอาวุโส รวมทั้งทีมงาน ดีใจที่สำนักวิจัยฯ (สวพ.6) และนายก อบต.สมชาย ลินจง ให้โอกาสบริษัทได้ร่วม GAP เพราะทางบริษัทมองว่าภาคเกษตรไทยในอนาคตต้องแข่งขันกับประเทศต่างๆ ในเอเชีย การพัฒนามาตรฐานของสวนจะทำให้แข่งขันได้คุณภาพกับมาตรฐานสำคัญมาก

เรื่องความปลอดภัยก็จะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะผู้บริโภคให้ความสนใจ การทำ GAP ระหว่างหน่วยงานรัฐกับเอกชนจะเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ “กระบวนการนี้ถ้ารัฐทำอย่างเดียวอาจรับมือไม่ไหว สำคัญที่สุด คือ องค์การบริหารท้องถิ่น เพราะใกล้ชิดมากที่สุด ผมดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของจุดเริ่มต้นในการทำ GAP และขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วม” คุณเซียนแสง ตันติศรียานุรักษ์ ให้ความเห็นถึงแรงจูงใจในการเข้าร่วม GAP กับภาครัฐ

คุณสัญญา ศรีพงษ์พันธ์กุล บริหารฝ่ายตลาด บริษัท เรนคอทตอน จำกัด
คุณสัญญา ศรีพงษ์พันธ์กุล บริหารฝ่ายตลาด บริษัท เรนคอทตอน จำกัด โครงการมาตรฐานgapทุเรียน

คนสำคัญที่ทำให้ภาครัฐและเอกชนขับเคลื่อน GAP ทุ่งเบญจาสำเร็จ ในฐานะผู้ประสานงาน คือ คุณสัญญา ศรีพงษ์พันธ์กุล หรือ “หมอญะฮ์” คณะบริหาร บริษัท เรนคอทตอนฯ  มองว่า ธุรกิจไม้ผลยังมีอนาคต จึงประสานงานกับทุกภาคส่วนให้ GAP ชาวสวนทุเรียนทุ่งเบญจาเป็นโมเดลของประเทศ “ เราเริ่มจากทุเรียนก่อนแล้วไปขนุน ทั้งหมดที่ทำได้ต้องมีที่ปรึกษาชี้นำ และต้องมีพลังจากท้องถิ่นเข้าไปช่วย” หมอญะฮ์เปิดเผย นอกจากนี้เขายืนยันว่าบริษัท เรนคอทตอนฯ ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องจัดการน้ำเพื่อการเกษตรด้วย

คณะทำงานลุ่มน้ำ สาขาแม่น้ำวังโตนด
คณะทำงานลุ่มน้ำ สาขาแม่น้ำวังโตนด โครงการมาตรฐานgapทุเรียน โครงการมาตรฐานgapทุเรียน
  1. แหล่งน้ำยั่งยืน…หัวใจของ โครงการมาตรฐานgapทุเรียน

ด้วยสภาวะอากาศที่แปรปรวนไม่เป็นไปตามฤดูกาล  ส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนช่วงวสันตฤดูไม่แน่นอน  เป็นปัญหาให้  “นักบริหารจัดการน้ำ” ทั้งภาครัฐ และเอกชน ปวดหัว โดยเฉพาะภาคตะวันออกที่อดีตไม่มีปัญหา แต่ปัจจุบันบางปีแล้งหนัก กระทบต่อการทำเกษตร พืชผลเสียหาย

ด้วยเหตุนี้กรมชลประทานหน่วยงานหลักของรัฐ จึงต้องทำหน้าที่จัดหาแหล่งน้ำถาวร ภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลแต่ละชุด โดยการสร้าง “อ่างเก็บน้ำ” จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำคลองประแกต อ่างเก็บน้ำคลองหางแมว อ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด และอ่างเก็บน้ำคลองพวาใหญ่ สามารถเก็บน้ำได้ 309 ล้านลูกบาศก์เมตร กระจายไปยัง 4 อำเภอ ได้แก่ อ.นายายอาม อ.แก่งหางแมว อ.ท่าใหม่ และ อ.เขาคิชฌกูฏ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การสร้างอ่างเก็บน้ำแต่ละอ่างไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ต้องได้รับอนุมัติจาก รมต.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายกรัฐมนตรี และชุมชน เห็นด้วย

โดยเฉพาะคณะทำงานลุ่มน้ำ สาขาแม่น้ำวังโตนด สังกัดกรมทรัพยากรน้ำ เป็นตัวแทนชุมชน ที่รู้ดีว่ากรมชลประทานควรจะจัดการน้ำไปให้ชุมชนใดที่เหมาะสม

ผศ.เจริญ ปิยารมณ์ ประธานคณะทำงานลุ่มน้ำ สาขาแม่น้ำวังโตนด
ผศ.เจริญ ปิยารมณ์ ประธานคณะทำงานลุ่มน้ำ สาขาแม่น้ำวังโตนด โครงการมาตรฐานgapทุเรียน

ผศ.เจริญ  ปิยารมณ์ ประธานคณะทำงานลุ่มน้ำ สาขาแม่น้ำวังโตนด อยู่ใน 3 อำเภอ จ.จันทบุรี ผู้นำการต่อสู้ด้านการต่อรองกับรัฐ มีบทบาทสำคัญ ได้ให้ความเห็นที่ประชุมว่า อดีตชาวสวนผลไม้ในอำเภอต่างๆ ลำบากมาก ในเรื่องน้ำหน้าแล้ง

แต่คณะกรรมการได้ต่อรองกับรัฐบาล ให้ตั้งสถานีสูบน้ำที่คลองวังประดู่ และต้องสร้างอ่างเก็บน้ำคลองประแกตด้วย ปรากฏว่าสำเร็จ รัฐอนุมัติให้สร้าง ในที่สุดจันทบุรีก็มีอ่างเก็บน้ำ 4 อ่าง ซึ่งถ้าสร้างเสร็จทุกอ่างในปีนี้ สามารถเก็บน้ำ 309 ล้านลูกบาศก์เมตร เพียงพอต่อการใช้ในจังหวัด และเมื่อเข้าหน้าฝนยังผันนำไปใช้ในจังหวัดระยอง ในโครงการอีอีซีได้ด้วย

“ขณะนี้ลุ่มน้ำวังโตนดทำร่วมกัน 3 อำเภอ ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ตอนแรกวังโตนดไม่มีน้ำ จึงจัดตั้งคณะทำงานลุ่มน้ำวังโตนดไปต่อรองให้รัฐบาลแก้ไข ไม่งั้นจะค้านไม่ให้สร้างสถานีสูบน้ำ ถ้าสร้างต้องสร้างอ่างเก็บน้ำชลประทาน ได้ศึกษาว่า ปี 48 ระยองขาดน้ำในอีสเทิร์นซีบอร์ด ต้องสร้างอ่างเก็บน้ำที่ต้นน้ำวังโตนด” อ.เจริญ ทบทวนการต่อสู้จนได้ 4 อ่าง ในวันนี้

เมื่อมีแหล่งน้ำต้นทุน ปัญหาต่อมา ก็คือ การกระจายน้ำไปหาเกษตรกร ดังนั้น “คณะกรรมการกระจายน้ำ” จึงถูกตั้งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มบริหารการใช้น้ำคลองวังโตนด เป็นกลุ่มที่ได้รับโล่พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เพราะมีความเป็นเอกภาพ มีการจัดการการใช้น้ำในกลุ่มอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง ดังนั้นกรรมการในกลุ่มหลายคนเข้าไปมีบทบาทในคณะกรรมการกระจายน้ำ เหตุนี้กรมชลประทานจึงต้องสร้างโครงการกระจายน้ำให้ เพราะเห็นว่าทางคณะกรรมการเข้มแข็ง เป็นเอกภาพ ท่อน้ำดิบได้รับการปรับปรุงใหม่ ได้สร้างสถานีสูบน้ำ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“อยากเห็นวังโตนดเป็นกระดูกสันหลังกระจายน้ำได้ทั่วถึง จึงมีกลุ่มท่อน้ำดิบเกิดขึ้น การเซ็น MOU ระหว่างกรมชลประทานกับคณะทำงาน คือ ข้อตกลงการผันน้ำ แต่เรียกว่าการปันน้ำ EEC มีปัญหา ต้องเอาน้ำไปช่วยตั้งแต่ 1 มี.ค. 2563  การแบ่งปันแสดงถึงน้ำใจที่ยิ่งใหญ่  ผลจะปรากฏเป็นคุณูปการต่อโครงการต่างๆ ในลุ่มน้ำ วังโตนด แรงหนุน EEC เรื่องการใช้น้ำ หวังว่าจะได้รับการพัฒนาการกระจายน้ำไปพื้นที่เกษตรกรทุกส่วนในลุ่มน้ำ และต้องผันน้ำไปจันทบุรีด้วย เพราะเรามีโครงการผันน้ำจากอ่างแก่งหางแมวไปลงแม่น้ำจันทบุรีด้วย” ผศ.เจริญ ปิยารมณ์ ให้ความเห็นต่อที่ประชุม

การสัมมนาจบลงภายในเวลา 3 ชั่วโมงกว่า ที่ใช้เวลาสั้น เพราะแต่ละองค์กรเครือข่ายได้เตรียมตัวด้านข้อมูลมาอย่างดี

บรรยากาศภายในงาน
บรรยากาศภายในงาน โครงการมาตรฐานgapทุเรียน โครงการมาตรฐานgapทุเรียน 

สุดท้าย คุณสมชาย  ลินจง นายก อบต.ทุ่งเบญจา ผู้ริเริ่ม GAP ได้กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมสัมมนาที่สละเวลามาประชุม ขอบคุณทีมงานที่ลงแปลงไปตรวจ การรับสมัครชาวสวน การอบรม การจดบันทึก และขอบคุณคณะกรรมการ กรมชลประทาน และกรมทรัพยากรน้ำ รวมทั้งทุกคน ที่ร่วมกันผลักดันโครงการ GAP ทุ่งเบญจา จนสำเร็จ

สนใจเยี่ยมชมการทำ GAP แบบมีส่วนร่วม ติดต่อ องค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลทุ่งเบญจา อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี คุณธนธรณ์ เปาอินทร์ โทร.061-553-4384, คุณสุพรรษา ปลื้มบำเรอ โทร.061-662-0749

อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร ฉบับที่ 12