ผู้ใหญ่หมิงเลิกปลูกอ้อย ลุย ไผ่ก้าวดาว / เผือกหอม และโกโก้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ผู้ใหญ่หมิงเลิกปลูกอ้อย ลุย ไผ่ก้าวดาว / เผือกหอม และโกโก้

พูดถึง “ไผ่” เป็นไม้ที่มีประโยชน์มากมาย และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะไผ่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมิติ ซึ่งไผ่ที่เกษตรกรเลือกปลูกนั้นแต่ละสายพันธุ์ก็มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการใช้สอย และผลตอบแทนด้านการลงทุน ซึ่งในครั้งเราจะพามารู้จักกับไผ่อีกหนึ่งชนิดนั่นคือ ไผ่เก้าดาว

1.ผู้ใหญ่บุญสม เอี่ยมละออ
1.ผู้ใหญ่บุญสม เอี่ยมละออ

การปลูกพืชผสมผสาน

ไผ่เก้าดาว หรือ GUADUA bamboo ฉายา ไผ่แข็งแกร่งที่สุดในโลก เป็นไผ่อีกสายพันธุ์ที่เกษตรกรเลือกปลูก อย่าง คุณบุญสม เอี่ยมละออ หรือ “ผู้ใหญ่หมิง” ผู้นำหมู่บ้าน สำนักคร้อ หมู่ 2 ต.ตะคำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี เลือกปลูก ไผ่เก้าดาว จำนวน 70 กอ ในพื้นที่แปลงปลูกอ้อยเก่าเป็นเวลากว่า 2 ปีแล้ว

ก่อนหน้านี้ผู้ใหญ่หมิงก็เหมือนเกษตรกรในพื้นที่ เลือกปลูกอ้อยมาตั้งแต่รุ่นพ่อ แม่ ที่ถูกถ่ายทอดมา จำนวน 80 ไร่ จากที่คลุกคลีมาเป็นเวลานานทำให้รู้ว่าอ้อยไม่ได้ทำให้มีรายได้มากขึ้น บางปีก็ขาดทุน และหันมาปลูกพืชอายุสั้น อย่าง เผือกหอม ลงทุนเจาะบ่อน้ำบาดาลขนาด 3 นิ้ว เพื่อใช้รดน้ำเผือก และรดน้ำแปลงลูกพันธุ์เผือก

2.แปลงเผือกหอม จำนวน 6 ไร่
2.แปลงเผือกหอม จำนวน 6 ไร่
ต้นโกโก้อายุ 1.6 เดือน
ต้นโกโก้อายุ 1.6 เดือน
ผลโกโก้
ผลโกโก้

การบริหารจัดการ ต้นเผือกหอม และต้นโกโก้

ปัจจุบันปลูกเผือกหอมจำนวน 6 ไร่ ซึ่งจะให้ผลผลิต 2 ครั้ง/ปี ประมาณ 3-5 ตัน/ไร่/รอบ วิธีการดูแลเผือกหอม ผู้ใหญ่หมิงให้ข้อมูลว่า เผือกหอมที่ปลูกจะได้ราคาดี ช่วงฤดูหนาว เผือกไซส์จัมโบ้ 48 บาท/กก. ส่วนในฤดูอื่นราคา 15-20 บาท/กก. นับตั้งแต่วันปลูกถึงวันเก็บเกี่ยว 6-7 เดือน จะเป็นระยะที่หัวเผือกเจริญเติบโตสมบูรณ์ ก็เริ่มเก็บเกี่ยวหรือขุดหัวเผือก

โดยนำชะแลงที่มีลักษณะคล้ายกับไม้กางเขนหรือเสียมแทงลงไปที่ใต้หัวเผือกแล้วงัดขึ้นมา ลอกดึงเอากาบแห้งออกให้หมด ตัดแยกลูกหัวเผือกเก็บไว้ทำพันธุ์หรือขาย นำหัวแม่เผือกเข้าโรงเรือนทำความสะอาด และคัดขนาดเตรียมนำส่งขายให้กับผู้ซื้อ พื้นที่ 1 ไร่ ได้เผือกหอม 1,500-5,000 กิโลกรัม การดูแลก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การให้น้ำ ต้องดูแลให้ต้นเผือกหอมได้รับน้ำอย่างพอเพียงสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูก จึงจะเจริญเติบโตสมบูรณ์ ได้หัวเผือกหอมมีขนาดใหญ่ ได้น้ำหนัก และคุณภาพดี

ารใส่ปุ๋ย แบ่งใส่ดังนี้ ครั้งที่ 1 นำปุ๋ยคอกแห้งหว่านรองพื้นให้ทั่วแปลง แล้วนำปุ๋ยสูตร 15-15-15 หว่านให้ทั่วแปลง 50-100 กิโลกรัม ต่อไร่ ครั้งที่ 2 เมื่อต้นเผือกหอมอายุ 2 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 25-7-7 ใส่รอบโคนต้น 50 กิโลกรัม ต่อไร่ และครั้งที่ 3 เมื่อต้นเผือกหอมอายุ 4 เดือน นำปุ๋ยสูตร 13-13-21 ใส่หว่านรอบโคนต้น 30-50 กิโลกรัม ต่อไร่ และทุกเดือนได้ฉีดพ่นฮอร์โมนทางใบ เพื่อช่วยให้ได้หัวเผือกขนาดใหญ่ และเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้นรายได้เฉลี่ยจากเผือกอยู่ที่ 100,000-200,000 บาท/ไร่/ปี

ขณะเดียวกันก็หันมาปลูกโกโก้ ของ บริษัท สยามโกโก้ฯ อีก 450 ต้น หรือประมาณ 4 ไร่ ระยะห่าง 4×4 เมตร ตอนนี้โกโก้ได้อายุ 1.6 เดือน เริ่มออกผลบ้างแล้ว

3.แปลงไผ่และโกโก้
3.แปลงไผ่และโกโก้

สภาพพื้นที่ปลูกไผ่เก้าดาว

เมื่อผู้ใหญ่หมิงได้ศึกษาไผ่เก้าดาวอย่างจริงจัง แล้วให้เหตุผลว่าไผ่เก้าดาวเป็นไผ่ที่แข็งแรง ทนทาน มีอายุอยู่ได้นานกว่า 100 ปีขึ้นไป ไผ่เก้าดาวชอบภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ในประเทศไทยสามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ทั้งในที่ราบและบนภูเขา มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม ทั้งแบบแห้งแล้ง และฝนตกชุก ได้ดี

เป็นพันธุ์ไม้ที่สามารถขยายพันธุ์ได้ง่ายจากทุกส่วนของต้น ไม่ว่าจะเป็น กิ่ง ข้อ หรือตาไม้ ทำได้ด้วยวิธีการแบ่งหรือแยกกอ แล้วนำไปปักชำในวัสดุเพาะที่มีส่วนผสมของแกลบดำ ก็จะงอกเป็นต้นใหม่ขึ้นมา หรือจะใช้วิธีการเพาะจากเมล็ดก็ได้

อีกทั้งสามารถสร้างรายได้จากการเพาะต้นพันธุ์ และตัดลำไผ่ขายได้ตลอดทั้งปี  อีกทั้งไผ่ชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดี หากลำไผ่กระจายในระยะห่างกันพอดี โดยไม่ขึ้นรวมกันแน่นเหมือนไผ่ทั่วไป จึงทำให้เติบโตได้รวดเร็ว เพราะไม่แย่งอาหารกัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ถ้าได้แสงแดดอย่างเพียงพอจะให้หน่อขนาดใหญ่และดก ไผ่เก้าดาวจะมีดอกออกมาครั้งหนึ่งเมื่อมีอายุผ่านไปประมาณ 120 ปี ส่วนเมล็ดของไผ่เก้าดาวมีสีน้ำตาล ลักษณะจะคล้ายๆ กับเมล็ดข้าว ไผ่ชนิดนี้จะเริ่มให้ผลผลิตเมื่อปลูกไปได้ประมาณ 4 ปี และเมื่อมีอายุประมาณ 6-7 ปี จะให้ผลผลิตประมาณไร่ละ 800-1,280 ลำ

การใช้ประโยชน์ในงานเกือบทุกประเภท ดูแลรักษาได้ง่าย ไม่มีโรคและแมลงรบกวน มีต้นทุนที่ต่ำ ให้ผลตอบแทนเร็ว สามารถเก็บผลผลิตได้ยาวนานกว่า 100 ปีขึ้นไป ใส่ปุ๋ยให้เพียงปีละ 2 ครั้ง ในระยะ 3 ปีแรก ก่อนให้ผลผลิต สามารถสร้างรายได้ด้วยการปลูกพืชอื่นแซมได้

4.กอไผ่เก้าดาวอายุ 2 ปี
4.กอไผ่เก้าดาวอายุ 2 ปี

ประโยชน์ของไผ่เก้าดาว

ไผ่เก้าดาว มีเนื้อไม้มีความแข็งแกร่ง ทนทาน มีเสี้ยนไม้ใหญ่ แป้งในเนื้อไม้มีไม่มากเหมือนไผ่ทั่วไป ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องมอด ปลวก และแมลง เข้าทำลาย เนื้อไม้มีความเหนียวและยืดหยุ่นได้ดี ทนทานต่อแรงแผ่นดินไหวได้ดีกว่าคอนกรีต เมื่อแห้งเนื้อไม้ก็จะไม่แตก นิยมนำมาปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ มากมาย

ต้นไผ่เก้าดาวยังมีประสิทธิภาพในการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ช่วยลดมลพิษจากชั้นบรรยากาศได้ดีมากอีกด้วย แม้หลังจากเก็บเกี่ยวมาแล้วเนื้อไม้ก็จะไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา พื้นที่บริเวณสวนไผ่มักจะมีความชุ่มชื้นเย็นสบายตลอดทั้งปี เนื่องจากต้นไผ่สามารถดูดซับน้ำไว้ได้เป็นจำนวนมาก ช่วยลดปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน และการขาดน้ำในหน้าแล้ง ช่วยลดปัญหาการพังทลายของดิน ส่วนใบที่ร่วงทับถมกันบนดินก็จะกลายเป็นอินทรียวัตถุที่ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินในระยะยาว

5.แปลงไผ่ 70 กอ
5.แปลงไผ่ 70 กอ
เหง้าไผ่เก้าดาวเพาะชำในตะกร้า
เหง้าไผ่เก้าดาวเพาะชำในตะกร้า

การบำรุงดูแลไผ่เก้าดาว

จากการตัดสินใจซื้อ ไผ่เก้าดาว เพาะเมล็ดมาจากคุณประทีป จำนวน 60 ต้น และสั่งซื้อมาเพิ่มอีก 10 ต้น เพื่อลงปลูกในระยะ 4×8 เมตร จำนวน 1 ไร่เศษ

ในช่วงแรกที่นำ ไผ่เก้าดาว มาลงปลูกนั้น ได้นำเผือกมาปลูกแซมในระหว่างร่อง ก็สามารถสร้างรายได้อีกทาง แต่ปลูกมาได้ระยะหนึ่งพบว่าไผ่โตช้า จึงตัดสินใจลงทุนระบบสายน้ำหยด 1 เส้น ให้กับไผ่ทั้ง 70 กอ สังเกตว่าไผ่เริ่มเจริญเติบโตดี จึงวางระบบสายน้ำหยดเพิ่มอีก 1 เส้น และเริ่มตัดลำไผ่ที่ไม่โตออก ไม่ให้เกิดการแย่งอาหารกัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

และได้ทดลองขุดเหง้าที่แตกใหม่มาลองเพาะและลงปลูก ปรากฏว่าไผ่โตเร็ว และลำใหญ่ ต้นไผ่ปลูกปีแรกจะแตกหน่อประมาณ 3-5 หน่อ  ถือเป็นหน่อชุดที่ 2 หน่อชุดนี้ตามลักษณะอีก 3-4 ปี ตัดได้ แต่ยังไม่ใช่โตได้ขนาดเต็มที่ 6-7 นิ้ว ต้องรอหน่อชุดที่ 4-5-6 ถึงจะได้ลำโตขนาด 6-7 นิ้ว

6.เหง้าที่เตรียมขุดมาขยายพันธุ์
6.เหง้าที่เตรียมขุดมาขยายพันธุ์

การเก็บผลผลิต ไผ่เก้าดาว

เนื่องจาก ไผ่เก้าดาว เป็นไม้ที่ดูแลรักษาได้ง่าย ไม่มีโรคและแมลงรบกวน มีต้นทุนที่ต่ำ ให้ผลตอบแทนเร็ว สามารถเก็บผลผลิตได้ยาวนานกว่า 100 ปี ผู้ใหญ่หมิงตัดสินใจที่จะเพาะขยายพันธุ์ไผ่โดยใช้เหง้าปลูกให้เต็มพื้นที่ 24 ไร่ ในแปลงลูกพันธุ์เผือก เพราะมั่นใจว่าไผ่เก้าดาวมีราคาที่ดี และได้ผลตอบแทนทุกเดือนแน่นอน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ผู้ใหญ่บุญสม เอี่ยมละออ 14 หมู่ 2 ต.ตะคำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71130

อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร ฉบับที่ 17