เงาะโรงเรียน เงาะสีทอง การปลูกเงาะ 13 ไร่ สร้างรายได้กว่า 800,000 บาท/ปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การปลูกเงาะ บนพื้นที่ 13 ไร่

ภาคตะวันออกแน่นอนว่าขึ้นชื่อด้านไม้ผล และต้องได้เจอกับผลไม้หลากหลายชนิด เพราะที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งราชาผลไม้เมืองไทย วิถีชีวิตเศรษฐกิจของภูมิภาค ขึ้นอยู่กับเรื่อง “การเพาะปลูก” เป็นสำคัญ แต่การเลือกที่จะปลูกอะไรสักอย่างนั้นเกษตรกรเองก็ต้องทำการบ้านพอสมควร ผลไม้หลายอย่างราคาดี แต่ทำยาก แต่บางอย่างทำง่ายกว่า แต่ว่าได้ราคาถูก สิ่งเหล่านี้ คือ โจทย์ที่เกษตรกรต้องตีให้แตก

บางครั้งก็ใช้ความรู้สึกเป็นหลักในการตัดสินว่าชอบหรือรักในการปลูกผลไม้ตัวไหน เมื่อตัดสินใจได้ก็มุ่งหน้าทางนั้น เพราะไม่ว่าจะเลือกปลูกอะไรก็ตาม หากทำจริง ศึกษาอย่างเข้าใจ สิ่งที่ย้อนกลับมา คือ รายได้ และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

1.สวนเงาะ
1.สวนเงาะ

เหมือนกับที่ คุณสุนะ นิลอรรถ เกษตรกรผู้ปลูกเงาะในจังหวัดตราด แม้ว่า “เงาะ” จะไม่ใช่ผลไม้ที่เรียกได้ว่าเป็นหลักของภูมิภาค เพราะถ้าพูดชื่อตะวันออกขึ้นมาก็มีทุเรียน มังคุด มะม่วง เป็นคำตอบแรกๆ ที่คนรู้จัก แต่ถึงอย่างไรก็ดีการเลือกปลูกเงาะใช่ว่าหนทางของตลาดจะตีบตัน ทุกวันนี้ผู้บริโภคเองก็ให้ความนิยมมากพอสมควร รวมถึงชื่อเสียงเงาะตะวันออกแม้ไม่โด่งดัง แต่ก็ขึ้นชื่อลือชาอยู่ในลำดับต้นๆ ของประเทศไทยเหมือนกัน

คุณสุนะเล่าว่า “สมัยก่อนการเพาะปลูกแถบนี้ตัวใครตัวมัน ใครอยากปลูกอะไรก็ปลูก ทีนี้พืชแต่ละตัวมันก็มีความต้องการต่างกัน น้ำ อากาศ ปัจจัยเหล่านี้พืชแต่ละตัวใช้ไม่เหมือนกัน เมื่อมีความหลากหลายในการปลูกผลกระทบมันก็เลยไปถึงพืชตัวอื่นที่อยู่ใกล้เคียง ก็มีปัญหาเรื่องผลผลิตที่แน่นอน เดี๋ยวนี้การปลูกส่วนมากคนตะวันออกถ้าจะปลูกอะไรสักอย่างก็จะเลือกเอาไปเลยว่าอยากปลูกอะไร”

สำหรับที่สวนคุณสุนะเลือกที่จะปลูกเงาะ ด้วยมองว่าเป็นไม้ผลและพืชเศรษฐกิจที่สามารถเก็บผลผลิตได้รายปี แม้ราคาจะสู้พวกทุเรียน มังคุด ไม่ได้ แต่มีความต่อเนื่องมากกว่าเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว รวมถึงการดูแลบริหารจัดการก็ไม่ยุ่งยาก เรียกว่าถ้าเลือกปลูกเงาะก็จะมีเวลาที่จะไปทำกิจกรรมอย่างอื่น รวมถึงการไปรับงานเสริมอื่นได้ เพราะเงาะไม่ใช่พืชที่ต้องการให้ดูแลทุกวัน เพียงจัดสรรเวลาเข้าไปดูแลให้สม่ำเสมอก็ถือว่าใช้ได้แล้ว

2.คุณสุนะ-นิลอรรถ-เกษตรกรปลูกเงาะใน-จ.ตราด
2.คุณสุนะ-นิลอรรถ-เกษตรกรปลูกเงาะใน-จ.ตราด
3.การจัดการผลผลิตเงาะ
3.การจัดการผลผลิตเงาะ

การเก็บเกี่ยวผลผลิต เงาะโรงเรียน เงาะสีทอง

ปัจจุบันพื้นที่ การปลูกเงาะ อยู่ 13 ไร่ เริ่มต้นการปลูกในรุ่นแรกด้วยระยะห่าง 7×7 เมตร และเมื่อต้นโตขึ้นก็ตัดเอาต้นกลางออก ให้มีระยะห่างเพิ่มเป็น 14 เมตร เพื่อให้ทรงพุ่มชนกันพอดี รวมถึงเรื่องคุณภาพผลผลิตที่จะได้เงาะที่มีขนาดตรงตามความต้องการของตลาดมากขึ้น ในด้านราคาจำหน่ายนั้นเงาะเป็นผลไม้ที่มีราคาขึ้น-ลงไม่แน่นอน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ส่วนใหญ่ราคาจะดีในช่วงต้นเดือนเมษายน การทำเงาะนั้นคุณสุนะบอกว่าไม่ได้แข่งเรื่องทำนอกฤดูเหมือนผลไม้อื่น แต่เป็นการแข่งขันกันในฤดูปกติ ซึ่งถ้าใครทำเงาะออกมาได้ก่อนโอกาสได้ราคาสูงก็จะมากตามไป ช่วงเวลาที่ดีที่สุด คือ ควรจะเก็บเกี่ยวให้ได้ก่อนสงกรานต์ (เมษายน)

ถ้าหลังเทศกาลนี้ไปแล้วราคาเงาะจะเริ่มลดลงในช่วงเปิดสวนใหม่ๆ ถ้าตรงกับที่ตลาดยังไม่มีเงาะออกมามาก ราคาตอนนั้นจะสูงได้ถึง 80-100 บาท เมื่อเงาะเริ่มออกมาราคาก็จะเริ่มถูกลงมาอยู่ที่มาตรฐานประมาณ 15-16 บาท หรือถ้าแพงสุดในช่วงเงาะออกมาพร้อมๆ กันก็ประมาณ 30-35 บาท

มีรายได้จากการจำหน่ายเงาะกว่า 800,000 บาท

โดยที่สวนของคุณสุนะนั้นการเก็บผลผลิตจะจ้างคนงานประจำประมาณ 7-8 คน ราคาจ้างเหมาเป็นกิโลกรัมละ 3 บาท ค่าคัดแยกประเภทอีก 2 บาท รวมต้องมีค่าเก็บผลผลิตประมาณ 5 บาท/กก. ปริมาณการเก็บได้ในแต่ละวันประมาณ 2 ตัน เมื่อปีที่ผ่านมานั้นมีรายได้จากการจำหน่ายเงาะกว่า 800,000 บาท

เมื่อมาหักลบต้นทุนในเรื่องของค่าแรง ปุ๋ย-ยา ที่แต่ละปีใช้ทุนไม่น้อยกว่า 100,000 บาท ก็ถือว่ายังเป็นตัวเลขคงเหลือที่ค่อนข้างมาก โดยเงาะที่ปลูกเป็นหลักในเชิงเศรษฐกิจกันทุกวันนี้ก็มี “เงาะสีทอง” และ “ เงาะโรงเรียน ” เป็นหลัก

ผลผลิตคุณภาพที่พร้อมออกสู่ตลาด
ผลผลิต คุณภาพที่พร้อมออกสู่ตลาด
4.ผลผลิตเงาะ จาก การปลูกเงาะ เงาะโรงเรียน เงาะสีทอง
4.ผลผลิตเงาะ จาก การปลูกเงาะ เงาะโรงเรียน เงาะสีทอง

เทคนิคการปลูก เงาะโรงเรียน เงาะสีทอง ในเชิงธุรกิจ

คุณสุนะให้ข้อมูลว่า เงาะโดยทั่วๆ ไปขึ้นได้งอกงามดีในที่ดินร่วนปนทราย และในที่ดินเหนียว ที่จัดการระบายน้ำดี และควรเป็นที่ที่มีฝนตกระหว่างปีมาก เพราะเงาะต้องการที่ที่มีความชื้นในอากาศมากเป็นพิเศษ ซึ่งสามารถช่วยในเรื่องการออกดอกได้มากยิ่งกว่านี้ ความชุ่มชื้นในอากาศยังจะช่วยให้ต้นเงาะปลอดภัยจากโรคไหม้เกรียม ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเสมอๆ ในฤดูแล้ง

การปลูกเงาะ เงาะโรงเรียน เงาะสีทอง หลังจากที่มีการเตรียมดินขุดหลุมกะระยะการปลูกเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งระยะห่างที่เหมาะสมไม่ควรต่ำกว่า 16 เมตร ในเนื้อที่ 1 ไร่ จะปลูกเงาะได้ 9-16 ต้น เป็นอย่างมาก

โฆษณา
AP Chemical Thailand
  • ในระยะแรกๆ ที่ปลูกก็มีการรดน้ำตามปกติ
  • พออายุ 1 ปี จึงเริ่มใส่ปุ๋ย เริ่มจากปริมาณน้อยๆ ส่วนมากจะเน้นที่ปุ๋ยคอกไม่ควรเกินต้นละ 50 กรัม ใส่ปีละ 2 ครั้ง
  • แต่เมื่อต้นเงาะอายุมากขึ้น ปริมาณการใส่ก็เพิ่มมากตามไปด้วย เมื่อต้นโตเต็มที่ประมาณปีที่ 5 เป็นต้นไป อาจต้องใส่ไม่ต่ำกว่าต้นละ 5 กก. แบ่งใส่ 2-3 ครั้ง/ปี

การใส่ปุ๋ยต้นเงาะ เงาะโรงเรียน เงาะสีทอง

การที่จะทำสวนเงาะเพื่อให้ต้นงดงาม และมีผลดก ต้องมีการดูแลสวนอยู่เสมอๆ คือ การกำจัดหญ้าภายในสวนตามโคนต้นเงาะ เพื่อไม่ให้แย่งอาหาร อาจปล่อยให้ขึ้นได้บ้างในบริเวณรอบๆ ที่ไม่ใช่โคนต้น การบำรุงสวนนี้ หมายถึง การใส่ปุ๋ยต้นเงาะด้วย โดยให้พิจารณาสภาพพื้นที่เป็นสำคัญ ควรใส่ปีละ 2 ครั้ง เริ่มจาก

  1. เมื่อเก็บผลเงาะเสร็จ และทำการตัดแต่งกิ่งเรียบร้อย ในครั้งนี้ส่วนมากจะตรงกับฤดูฝน ก็ควรใส่เป็นหลุมๆ แล้วกลบดินให้มิด เพื่อป้องกันไม่ให้ปุ๋ยถูกน้ำพัดพาไป
  2. เมื่อต้นเงาะออกดอก ส่วนมากตอนนี้ตรงกับฤดูแล้ง สามารถหว่านลงทั่วบริเวณพุ่มของต้นเงาะได้

สิ่งสำคัญ อีกประการก็คือ “การบังคับน้ำ” ต้นเงาะ

อย่างไรก็ดี การปลูกเงาะ นั้นสิ่งสำคัญ อีกประการก็คือ “การบังคับน้ำ”

เนื่องจากน้ำเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งใน การปลูกเงาะ ถ้าน้ำขังในฤดูฝน หรือขาดน้ำในฤดูแล้ง ก็ล้วนแต่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต และให้ผลผลิต ของเงาะทั้งสิ้น การบังคับน้ำที่ว่านี้ควรทำตั้งแต่ระยะก่อนต้นเงาะออกดอกที่จะไม่มีการระบายน้ำเข้าพื้นที่ แต่เมื่อต้นเงาะใกล้จะออกดอกจะต้องให้น้ำทุกๆ 3-4 วัน สำหรับในฤดูแล้งจำเป็นที่ต้องรดน้ำอย่างสม่ำเสมอมากขึ้น จนกว่าจะถึงฤดูฝนใหม่อีกครั้ง

5.เกษตรกรหัวก้าวหน้าจังหวัดตราด
5.เกษตรกรหัวก้าวหน้าจังหวัดตราด

กลยุทธ์สำคัญของการ “ทำเงาะ” ให้ “เงาะติดผลดก”

คุณสุนะเสริมว่าการทำเงาะให้ดกก็คือทำอย่างไรก็ได้ให้ดอกออกเต็มต้น แล้วก็เน้นการผสมเกสร ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการทำให้เงาะดกได้นั้นจะต้องแปลงเกสรตัวเมียให้กลายเป็นตัวผู้ทั้งหมด วิธีการก็ค่อนข้างหลากหลาย

  • ไม่ว่าจะใช้การปลูกต้นเงาะตัวผู้สลับแทรกตัวเมีย เพื่อให้ต้นเงาะตัวเมียได้อาศัยเกสรตัวผู้ทำการผสม
  • หรือเกษตรกรบางคนก็นำยอดเงาะตัวผู้ 3-5 ยอด เสียบบนยอดเงาะต้นตัวเมียแบบกระจายทั่วทรงพุ่มเพื่อให้ดอกตัวเมียได้รับการผสมเกสร
  • แต่ที่คุณสุนะทำนั้น คือ การใช้ฮอร์โมน NAA ป้ายไปที่ช่อดอกโดยตรงโดยไม่จำกัดว่าเป็นช่อดอกของต้นตัวผู้ (ดอกตัวผู้) ต้นตัวเมีย (ดอกตัวเมีย) หรือต้นกระเทย (ดอกสมบูรณ์เพศ) ฮอร์โมน  เอ็นเอเอ จะช่วยเปลี่ยนเพศดอกกระเทย ทำหน้าที่ดอกตัวเมียให้เป็นดอกตัวผู้ แล้วผสมกับเกสรตัวเมียให้กลายเป็นผลต่อไป

ช่วงเวลาในการทำเช่นนี้นั้นควรทำในช่วงที่อากาศไม่ร้อนมากตั้งแต่ 06.00-9.00 น. หรือถ้าช่วงบ่ายก็ตั้งแต่ 16.00 น เป็นต้นไป จะได้ผลดีที่สุด นอกจากนี้ใน การปลูกเงาะ ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจอีกมากมาย ถ้าท่านผู้อ่านสนใจ หรืออยากเรียนรู้ให้ลึกซึ้งกว่านี้ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมกันได้ เพื่อต่อยอดความรู้ที่มีเอาไปประยุกต์ใช้ต่อไป

ขอขอบคุณ และสอบถามเพิ่มเติมด้าน การปลูกเงาะ เงาะโรงเรียน เงาะสีทอง ในเชิงธุรกิจ ติดต่อ คุณสุนะ นิลอรรถ 132/1 ม.6  ต.เทพนิมิตร อ.เขาสมิง จ.ตราด 23150 โทร.086-036-2512

โฆษณา
AP Chemical Thailand