การปลูกดอกทานตะวัน การปลูก เตรียมดิน ให้ปุ๋ย เก็บเกี่ยว และโรค (แบบละเอียด)

โฆษณา
AP Chemical Thailand

กระถางต้นไม้ P&U 336x280

ถ้าพูดถึงดอกไม้สีเหลืองที่มีความสวยงาม ในประเทศคงมีหลากหลายชนิด แต่ถ้าบอกว่าเป็นดอกไม้ที่มีความทนแดด ทนฝน หรือทนต่อทุกสภาพอากาศ หลายๆ คนคงจะพูดถึงดอกทานตะวันอย่างแน่นอน ดอกไม้สีเหลืองสวยงาม บานสะพรั่งสู่สายตาคนทั่วไป เป็นดอกไม้ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงปีหลังๆ ที่ผ่านมา เพราะเป็นดอกไม้ที่ปลูกได้ง่าย และสามารถโตได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ การปลูกดอกทานตะวัน เป็นที่นิยมปลูกมากในหลายพื้นที่ รวมไปถึงมีการปลูก และทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้ถ่ายภาพกันได้อย่างหลากหลาย

ดอกทานตะวันเป็นดอกไม้ที่มีดอกขนาดใหญ่และสะดุดตาเป็นอย่างมาก ซึ่งจะนิยมปลูกเป็นแปลง เมื่อเวลาออกดอกนั้นจะบานสวยงามตามระยะเวลา ซึ่งสามารถปลูกได้ทุกฤดู และเหมาะแก่การปลูกแบบกลางแจ้งก็ได้ นอกจากนี้ตัวดอกทานตะวันยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อย่างมากมาย

ไม่ว่าจะเป็นเมล็ดทานตะวันที่สามารถนำมา บริโภคได้ ดอกทานตะวันที่สามารถนำไปสกัดเป็นน้ำมันพืชดอกทานตะวัน หรือแปรรูปเป็นน้ำมันหอมระเหยได้ อีกทั้งดอกทานตะวันเองยังมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปตามภูมิภาคต่างๆ ของเมืองไทยอีกด้วย

1.ออกดอกบานพร้อมกันและสวยงาม
1.ออกดอกบานพร้อมกันและสวยงาม

สภาพพื้นที่ของ การปลูกดอกทานตะวัน

ดอกทานตะวันถือเป็นดอกไม้อีกหนึ่งชนิดที่นิยมปลูกกันเป็นอย่างยิ่ง ถ้าปลูกในพื้นที่ที่เป็นแปลงใหญ่ๆ แล้วล่ะก็ เมื่อทานตะวันเริ่มออกดอกพร้อมๆ กัน จะทำให้บรรยากาศโดยรวมนั้นดูสวยงามและสบายตาเป็นอย่างมาก ซึ่งถ้าใครปลูกในแปลงใหญ่จะสามารถพัฒนาสวนดอกทานตะวันเป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นดีได้อย่างไม่ยากเลย ยิ่งในช่วงหน้าหนาว ดอกทานตะวันบานเต็มที่แล้ว ภาพที่ได้ออกมาจะสวยงามเป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ดอกทานตะวันเองยังถือเป็นดอกไม้ที่เป็นเศรษฐกิจสำคัญอีกชนิดหนึ่ง เพราะว่าตัวดอกนั้นมีเมล็ดที่สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อส่งออกและจำหน่ายในประเทศได้อย่างมากมาย จึงถือว่าเป็นดอกไม้อีกหนึ่งชนิดที่มีประโยชน์อย่างมาก ทั้งในเรื่องของความสวยงามและเศรษฐกิจ

ถิ่นกำเนิดของดอกทานตะวัน

ดอกทานตะวันเป็นดอกไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบทวีปอเมริกาใต้ โดยตามความเชื่อของชาวกรีกนั้นเชื่อว่าดอกทานตะวันเป็นดอกไม้ที่มอบให้แก่เทพเจ้า ตามความเชื่อของชาวกรีกซึ่งอาจจะแปลได้ว่าเป็นดอกไม้แห่งความรักและการภักดีต่อเทพเจ้าก็ได้ อีกทั้งตัวดอกทานตะวันเองก็มีลักษณะที่ค่อนข้างโดดเด่น เพราะว่าดอกมีความใหญ่กว่าลำต้นจึงทำให้มีความโดดเด่นในด้านนี้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากนี้การที่ได้ชื่อว่า ทานตะวัน ก็มาจากการที่ช่อดอกและใบนั้นจะหันไปตามทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นทิศที่ขึ้นของดวงอาทิตย์ โดยจะหันตามดวงอาทิตย์เพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นตอนเช้าหรือช่วงเย็น และจะเริ่มหันน้อยลงเรื่อยๆ จนกระทั่งเช้าวันใหม่ก็จะหันไปทางทิศตะวันออกตามเดิม ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกมากสำหรับดอกไม้ เพราะมีเพียงแค่ดอกทานตะวันชนิดเดียวที่หันตามดวงอาทิตย์ขึ้นและลง ซึ่งต่างจากดอกไม้ชนิดอื่นๆ

ดอกทานตะวันนั้นเป็นดอกไม้ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ซึ่งในเมืองไทยเองเป็นพื้นที่เขตร้อน ทำให้เป็นดอกไม้ที่ไม่ไวต่อแสงมากจนเกินไป อีกทั้งยังออกดอกให้ผลได้กับทุกสภาพอากาศที่มีแสงได้เป็นอย่างดี และยังปลูกรวมกับพืชชนิดอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นข้าวโพด ข้าวฟ่าง เป็นต้น พอถึงช่วงที่ดอกทานตะวันสามารถตั้งตัวได้ก็จะยิ่งทนต่อสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งได้เป็นอย่างดี เมื่อฝนตกดอกทานตะวันก็จะเริ่มเติบโตขึ้น

อีกทั้งยังเป็นดอกไม้ที่ทนต่อสภาพเย็นจัดได้ดีกว่าดอกไม้อื่นๆ อีกทั้งยังสามารถปลูกได้กับดินหลากหลายประเภท แต่จะเติบโตได้ดีในดินที่มีความหนาและอุ้มความชื้นได้เป็นอย่างดี โดยดอกทานตะวันนี้สามารถทนต่อสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำได้พอสมควรเลยทีเดียว ซึ่งตัวดอกทานตะวันจะชอบสภาพอากาศที่มีความอบอุ่นในเวลากลางวัน และอากาศเย็นในช่วงเวลากลางคืน โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมกับดอกทานตะวัน คือ 18-25 องศาเซลเซียส และสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินควรจะอยู่ที่ 5.7-8 โดยประมาณ และดอกทานตะวันเองก็ไม่ชอบดินที่มีน้ำขัง และความเป็นกรดสูง

ลักษณะทั่วไปของดอกทานตะวัน

โดยลักษณะทั่วไปของดอกทานตะวันนั้นจะเป็นดอกไม้ที่มีขนาดดอกใหญ่กว่าตัวลำต้นเป็นอย่างมาก อีกทั้งตัวดอกจะหันหน้าไปทางพระอาทิตย์เพียงอย่างเดียว จะไม่มีการหันไปทิศทางอื่นโดยเด็ดขาด และจะเริ่มหันลดน้อยลงเรื่อยๆ ในกรณีที่มีการผสมเกสรไปแล้วจนกระทั่งถึงช่วงที่ดอกเริ่มแก่

ซึ่งส่วนประกอบต่างๆ นั้นจะมีราก โดยจะเป็นรากแก้วที่งอกยาวลงไปประมาณ 150-270 เซนติเมตร ซึ่งเป็นรากแขนงที่มีความแข็งแรงเป็นอย่างมาก ในส่วนของการงอกด้านข้างก็จะมีความยาวประมาณ 60-150 เซนติเมตร ซึ่งตัวรากที่มีความแข็งจะช่วยในเรื่องของการค้ำลำต้นและดูดความชื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในส่วนของลำต้นนั้น ดอกทานตะวันเองก็มีหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งบางสายพันธุ์อาจจะมีการแตกแขนงออกไป บางสายพันธุ์ก็ไม่มีการแตกแขนงของลำต้น โดยความสูงเฉลี่ยนั้นจะอยู่ที่ 1-10 เซนติเมตร นอกจากนี้บางสายพันธุ์อาจจะมีความสูงมากกว่านี้ก็เช่นกัน ลักษณะของใบจะเป็นใบเดียว โดยใบอาจจะเกิดขึ้นตรงข้ามกันประมาณ 5-6 คู่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยแต่ละต้นอาจจะมีใบไม่เท่ากัน จำนวนใบบนต้นนั้นอาจจะอยู่ที่ 8-70 ใบต่อต้น และความยาวของใบนั้นอาจจะยาวได้เกิน 1 เซนติเมตร ก็ได้เช่นกัน เมื่อใบเริ่มแก่จะมีลักษณะโค้งลงมาเป็นรูปตัวยู นอกจากนี้ตัวดอกจะเป็นรูปจาน โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ที่ 6-37 เซนติเมตร ทั้งนี้อาจจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และสภาพแวดล้อมที่เติบโตด้วย ซึ่งตัวดอกจะมีลักษณะเป็นแบบช่อมีหลายดอกย่อยอยู่รวมกัน ในส่วนของเมล็ดนั้นจะมีการแบ่งออกเป็น 3 ประเภท โดยทั้ง 3 ประเภทนั้นจะมีการนำไปใช้ที่แตกต่างกัน โดยเมล็ดทานตะวันจะถูกปกคลุมด้วยเปลือกที่มีความแข็ง

2.การปลูกดอกทานตะวัน-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommons008Sunflower_oil_and_sunflower
2.การปลูกดอกทานตะวัน-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommons008Sunflower_oil_and_sunflower

สายพันธุ์ดอกทานตะวัน

ดอกทานตะวันทั่วไปนั้นจะมีอยู่ 3 สายพันธุ์ โดยจะเป็นสายพันธุ์ผสมเปิด ที่เป็นสายพันธุ์ที่นิยมนำมาปลูก แต่ผลผลิตที่ได้ยังไม่เป็นไปตามเป้าเลย มีการนำเข้าสายพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามา ได้แก่ สายพันธุ์ไฮซัน 33 และสายพันธุ์เอส 101 ซึ่งลักษณะของดอกค่อนข้างใหญ่ กลีบดอกสีเหลืองสดใส และให้ปริมาณน้ำมันสูง

นอกจากนี้สายพันธุ์สังเคราะห์ซึ่งยังไม่มีการส่งเสริมมากนักในปัจจุบัน แต่อยู่ในระหว่างการวิจัยเสียมากกว่า ซึ่งสายพันธุ์ที่มีการส่งเสริมในการปลูกของเกษตรส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสายพันธุ์ลูกผสม ซึ่งลักษณะที่ดีของลูกผสมนั้นจะสามารถผสมเกสรภายในดอกเดียวกันได้สูง

การติดเมล็ดค่อนข้างดี ทำให้การหาผึ้งหรือแมลงช่วยผสมเกสรจึงไม่จำเป็นมากนัก แต่ถ้ามีแมลงช่วยผสมก็จะมีลักษณะที่ดีขึ้น ช่วยให้ดอกสดใสมากขึ้น และได้คุณภาพและปริมาณน้ำหวานที่ดีกว่าพันธุ์ผสมเปิด อีกทั้งข้อดีของพันธุ์จะทนทานต่อการโค่นล้ม และต้านทานโรคได้ดี

เป็นที่รู้กันดีกว่าดอกทานตะวันนั้นสามารถเพาะปลูกได้แทบตลอดทั้งปี ยิ่งในช่วงฤดูฝนนั้นจะเป็นช่วงที่ดอกทานตะวันเติบโตได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว ซึ่งฤดูที่เหมาะแก่ การปลูกดอกทานตะวัน นั้นจะเป็นปลายฤดูฝน กับฤดูแล้ง เพราะดอกทานตะวันนั้นเป็นดอกไม้ที่ไม่ค่อยไวต่อแสงมากนัก จึงสามารถที่จะเติบได้ในทุกฤดูกาล แต่ 2 ฤดูกาล ที่กล่าวมานั้นเป็นช่วงที่เหมาะสมกับการปลูกมากที่สุด

3.ปลูกง่ายและเจริญเติบโตเร็ว
3.ปลูกง่ายและเจริญเติบโตเร็ว การปลูกดอกทานตะวัน การปลูกดอกทานตะวัน การปลูกดอกทานตะวัน

การปลูกและบำรุงดอกทานตะวัน

การเตรียมดินในการปลูก ควรจะไถดินให้มีความลึกประมาณ 30 เซนติเมตร หรืออาจจะลึกกว่านี้ก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ที่ให้ไถดินลึกนั้นเพราะว่าถ้าเกิดช่วงเวลาที่ฝนตก ดินจะได้รับน้ำได้มากขึ้น อีกทั้งการไถดินจะช่วยทำให้ดินนั้นมีความร่วนขึ้นที่เกิดจากการไถพรวน ทำให้น้ำสามารถที่จะซึมผ่านได้ง่ายขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

และควรกำจัดวัชพืชให้เรียบร้อย เมื่อกำจัดวัชพืชเรียบร้อยแล้วเราควรไถพรวนดิน พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยอีกครั้งเพื่อเป็นการเสริมธาตุอาหารต่างๆ ให้ดิน เพื่อที่พอเราปลูกดอกทานตะวันแล้ว ดอกทานตะวันจะสามารถดูดซึมธาตุอาหารไปใช้ได้อย่างเต็มที่

หลังจากที่เราเตรียมดินเพื่อจะปลูกเรียบร้อยแล้วนั้น ควรทำร่องในการปลูกต่อ เพื่อที่จะใช้ในการหยอดเมล็ดลง โดยในการทำร่องนั้นอาจจะให้ระยะห่างของร่องประมาณ 70-75 เซนติเมตร ต่อร่อง และควรให้หลุมปลูกนั้นห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตร หรือ 1 ฟุต ในการหยอดเมล็ดลงหลุมนั้นควรหยอดไม่เกิน 2 เมล็ดต่อหลุม และควรให้เมล็ดอยู่ลึกประมาณ 6-8 เซนติเมตร เมื่อพืชเริ่มงอกให้ถอนแยกไว้

โดยให้เหลือแต่ต้นที่มีความแข็งแรงและสมบูรณ์ที่สุดไว้เพียงต้นละ 1 หลุม เท่านั้น ในการทำการยกร่องนี้ก็เพื่อที่จะทำให้การให้น้ำในแต่ละครั้งสะดวกและง่ายยิ่งขึ้น แต่ถ้าดินมีการระบายน้ำที่ดีอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นที่จะยกร่องปลูกก็ได้ การปลูกแบบนี้อาจจะต้องใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 1 กิโลกรัมต่อไร่ โดยจะได้จำนวนต้นประมาณ 6,000-8,500 ต้นต่อไร่เลยทีเดียว

การใช้ปุ๋ย

เนื่องจากดอกทานตะวันนั้นเป็นดอกไม้ที่ช่วยในเรื่องของโปรตีนและแร่ธาตุสูง การใช้ปุ๋ยนั้นควรจะให้ในปริมาณที่พืชต้องการ และให้เหมาะสมกับสภาพของดินที่ปลูกด้วย อาจจะใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ และรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยยูเรียประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ หรืออาจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อให้ปลอดภัยในการใช้สารเคมีก็ได้เช่นกัน แต่อาจจะเป็นปุ๋ยเคมีอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมีล้วนก็ได้

เมื่ออายุของดอกทานตะวันได้ประมาณ 1 เดือน ซึ่งเป็นระยะที่เริ่มออกดอก ควรมีการตรวจวิเคราะห์สภาพดินก่อนปลูกอีกครั้ง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยได้เป็นอย่างดี ถ้าดินเป็นดินทรายและมีการขาดธาตุอาหาร ควรเพิ่มธาตุอาหารที่เหมาะสมเพื่อที่จะได้ผลผลิตและคุณภาพที่ดีของเมล็ดทานตะวันมากขึ้น

น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อพืชทุกชนิด

น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อพืชทุกชนิด ไม่เว้นแม้แต่ดอกทานตะวัน ที่แม้จะทนต่อสภาพอากาศที่มีความแห้งแล้งได้ แต่ก็ไม่ควรปล่อยให้ขาดน้ำ เพราะถ้าดินมีความชื้นน้อยก็จะทำให้ผลผลิตที่ได้นั้นมีปริมาณลดลงอย่างเห็นได้ชัดเลยทีเดียว ซึ่งการให้น้ำในปริมาณที่พอเหมาะกับดอกทานตะวันนั้นจะช่วยให้ผลผลิตที่ได้ดีขึ้นตามไปด้วย ควรจะแบ่งการให้น้ำในดอกทานตะวันออกเป็น 5 ครั้ง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยครั้งแรกควรให้ในช่วงที่ปลูกเสร็จใหม่ๆ ในทันที แต่ถ้าฝนตกในปริมาณที่ทำให้ดินมีความชื้นพอดีก็ไม่ต้องให้น้ำ ครั้งที่ 2 นั้นควรให้ในช่วงที่ดอกเริ่มงอกได้ประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นค่อยๆ ให้ในครั้งที่ 3 ช่วงที่ดอกทานตะวันเริ่มมีตาดอกแล้วประมาณ 1 เดือน พอดอกเริ่มบานได้ประมาณ 55 วัน หรือเกือบ 2 เดือน ก็สามารถให้น้ำได้อีกครั้ง

และหลังจากที่ดอกเริ่มติดเมล็ดก็ให้น้ำอย่างเพียงพอ แค่ดินมีความชุ่ม แต่ไม่ต้องถึงขั้นให้ดินแฉะ หรือมีน้ำขัง เพราะจะทำให้ดอกทานตะวันนั้นเน่าตายได้ และก็ไม่ควรที่จะปล่อยให้ดินมีความแห้งจนเกินไป โดยเฉพาะในช่วงที่ต้นกำลังเจริญเติบโตจนถึงระยะติดเมล็ด ควรให้น้ำในปริมาณที่พอดีจะทำให้ดอกทานตะวันนั้นได้คุณภาพและมีเมล็ดที่ดี

วัชพืชเป็นตัวการที่ทำให้การดูดซับอาหารและแร่ธาตุต่างๆ ไปยังต้นหลักนั้นไม่เพียงพอ ทำให้ต้นไม้หรือดอกไม้ที่มีวัชพืชปกคลุมนั้นได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก ซึ่งดอกทานตะวันเองก็ควรมีการกำจัดวัชพืชอย่างน้อย 2 ครั้ง โดยครั้งแรกนั้นจะทำเมื่อทานตะวันเริ่มออกใบจริงประมาณ 2-4 คู่ ซึ่งการทำนั้นจะทำพร้อมกับการแยกต้นให้เหลือหลุมละ 1 ต้น ซึ่งจะเป็นวิธีที่สะดวกต่อเกษตรกรที่ทำการปลูก

และในครั้งที่ 2 นั้นควรทำพร้อมกับการใส่ปุ๋ย และพูนโคนต้นไปด้วย ถ้าในแปลงไหนที่มีวัชพืชปกคลุมอยู่มาก ควรกำจัดวัชพืชบ่อยขึ้นหน่อยก็ได้ เพราะจะช่วยป้องกันการแย่งอาหารและความชื้นในดินจากวัชพืชได้ ทั้งนี้อาจจะใช้แรงงานคน หรือสัตว์ หรือมีเครื่องช่วยในการกำจัดวัชพืช ตามความเหมาะสมได้เช่นกัน การใช้สารเคมีนั้นหากมีความจำเป็นก็ควรใช้ในปริมาณที่พอดี แต่ถ้าสามารถทำได้เองก็แนะนำว่าควรทำเองจะปลอดภัย ทั้งตัวเกษตรกรเอง และสิ่งแวดล้อมรอบข้างด้วย

4.ตัวอย่างเมล็ดทานตะวันแบบแกะเปลือกและไม่เเกะเปลือก (https.upload.wikimedia.orgwikipediacommons001Sunflower_seeds)
4.ตัวอย่างเมล็ดทานตะวันแบบแกะเปลือกและไม่เเกะเปลือก (https.upload.wikimedia.orgwikipediacommons001Sunflower_seeds)

การเก็บเกี่ยวผลผลิตดอกทานตะวัน

ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวของดอกทานตะวันนั้นอาจจะแตกต่างกันตามแต่ละสายพันธุ์ ซึ่งวิธีการที่จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้นั้นให้สังเกตจากด้านหลังของดอกที่จะเริ่มเปลี่ยนสีไป ซึ่งถ้าดอกทานตะวันเริ่มเปลี่ยนสีนั้นแสดงว่าน้ำมันที่ผลิตในดอกทานตะวันนั้นกำลังเริ่มทำการผลิตลดลง และจะหยุดสร้างน้ำมันเมื่อดอกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลก็จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้

หลังนั้นอาจจะนำไปตากแดดประมาณ 1-2 แดด และหมั่นกลับช่อดอกบ้าง เพื่อให้ดอกนั้นมีความแห้งที่สม่ำเสมอกัน แต่ถ้าเริ่มเก็บเกี่ยวในช่วงที่มีฝนตก ให้นำมาตากไว้ในที่ร่มหลายๆ วัน จนดอกนั้นเริ่มแห้งสนิท จากนั้นก็นำมานวดเพื่อเอาเมล็ดออก โดยจะใช้แรงคนหรือเครื่องนวด ก็อยู่ที่ตัวเกษตรกรเองได้เช่นกัน แล้วนำมาทำความสะอาดให้เรียบร้อย จากนั้นจึงนำไปเก็บไว้ที่ที่ปลอดภัยจากแมลงและแดดฝน เพื่อทำการรอจำหน่ายเป็นเมล็ดทานตะวันต่อไป

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การให้ผลผลิตในดอกทานตะวันนั้น ถ้าพื้นที่ไหนสามารถปลูกดอกทานตะวันได้มีความสมบูรณ์และมีการดูแลรักษาที่ดี ก็จะได้ผลผลิตที่ไม่ต่ำกว่า 300 กิโลกรัมต่อไร่อย่างแน่นอน ซึ่งโดยปกติทั่วไปนั้นอาจจะได้อยู่ที่ 200 กิโลกรัมต่อไร่ได้เลย การปลูกดอกทานตะวัน การปลูกดอกทานตะวัน การปลูกดอกทานตะวัน การปลูกดอกทานตะวัน 

โรคในดอกทานตะวัน

ในส่วนของโรคในดอกทานตะวันนั้นถึงแม้ว่าจะเป็นพืชที่ทนต่อสภาพอากาศและปรับตัวได้เป็นอย่างดีแล้วก็จริง แต่ถ้าในดินนั้นมีน้ำขังอยู่เป็นเวลานานก็อาจจะทำให้เกิดโรคโคนเน่าได้ รวมไปถึงแมลงที่เป็นศัตรูตามธรรมชาติก็จะเป็นพวกนอนกระทู้ผัก ฯลฯ หรือศัตรูตามธรรมชาติอื่นๆ เช่น นก หนู เป็นต้น ที่จะเข้ามาสร้างความเสียหายให้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะแปลงที่ปลูกดอกทานตะวันขนาดใหญ่

ซึ่งเกษตรกรเองอาจจะต้องคอยดูแลเดินดูบ่อยๆ เพื่อเป็นการป้องกันการระบาด หรือหมั่นตรวจดูแปลงดอกทานตะวันอยู่เสมอก็จะช่วยเป็นการป้องกันได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งการป้องกันนั้นอาจจะใช้วิธีวางกับดัก หรือล้อมตี หรือใช้สารอินทรีย์ชีวภาพเข้ามาช่วยในการกำจัดศัตรูพืชเหล่านี้แทนก็ได้เช่นกัน

5.เมล็ดทานตะวัน (https.upload.wikimedia.orgwikipediacommonsdd5Sunflower_seeds)
5.เมล็ดทานตะวัน (https.upload.wikimedia.orgwikipediacommonsdd5Sunflower_seeds)

ประโยชน์ของดอกทานตะวัน

ดอกทานตะวันนั้นแต่เดิมนิยมนำมาเป็นดอกไม้ประดับตกแต่งเสียส่วนใหญ่ แต่ในระยะหลังๆ มานี้มีการนำดอกทานตะวันมาแปรรูปเพิ่มมูลค่าอย่างมากมาย ซึ่งตัวดอกทานตะวันเองก็มีคุณประโยชน์เป็นอย่างมากเลยทีเดียว โดยเมล็ดของดอกทานตะวันนั้นจะมีคุณค่าทางโปรตีนที่ค่อนข้างสูง มีธาตุเหล็ก และมีไขมันดีที่สูงมาก เมื่อเทียบกับแหล่งโปรตีนที่ใกล้เคียงกัน การปลูกดอกทานตะวัน การปลูกดอกทานตะวัน การปลูกดอกทานตะวัน 

ในส่วนของลำต้นสามารถนำเยื่อมาทำเป็นกระดาษสีขาวที่มีคุณภาพดีได้ รากสามารถนำมาแปรรูปเป็นแป้งเค้ก หรือเส้นสปาเก็ตตี้ได้ ซึ่งตัวรากจะมีวิตามินบี 1 และแร่ธาตุอีกหลากหลายชนิด ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานได้เลย นอกจากนี้ยังมีการสกัดน้ำมันจากดอกทานตะวัน ซึ่งเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพและให้ประโยชน์ที่สูง มีกรดและวิตามินที่มีความจำเป็นต่อร่างกายได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในเรื่องต่างๆ ได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบำรุงผิวพรรณ  ช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องของโรคหัวใจ  บำรุงการทำงานของไทรอยด์  ช่วยในเรื่องของการบำรุงสายตา รวมไปถึงลดความเสี่ยงของการเกิดไขมันอุดตัน เพราะเมล็ดทานตะวันนั้นมีไขมันไม่อิ่มตัว จึงถือเป็นตัวช่วยอย่างดีเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องของการขับถ่าย และช่วยคลายเครียดได้อีกด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ดอกทานตะวันนั้นนอกจากจะเป็นดอกไม้ประดับแล้วยังมีการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย ซึ่งผลิตภัณฑ์ของดอกทานตะวันนั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการนำเมล็ดมาแปรรูปเป็นเมล็ดทานตะวันที่นิยมนำมาทานเล่น หรือน้ำมันจากดอกทานตะวัน ที่สามารถใช้เป็นน้ำมันในการประกอบอาหารได้ อีกทั้งตัวน้ำมันยังมีคุณประโยชน์มากมายเลยทีเดียว รวมไปถึงการสกัดน้ำมันเพื่อใช้ในวงการเวชภัณฑ์ ซึ่งในตัวของเมล็ดทานตะวันหรือน้ำมันทานตะวันจะมีส่วนช่วยในการต่อต้านสารอนุมูลอิสระอยู่สูง ช่วยปกป้องผิวได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงการนำลำต้นมาทำเป็นเยื่อกระดาษได้อีกด้วย

จะเห็นได้ว่าดอกทานตะวันนั้นเป็นดอกไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และการนำมาประดับตกแต่งได้อย่างดี อีกทั้งยังเป็นดอกไม้เศรษฐกิจที่มีการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อย่างมากมาย อีกทั้งยังเป็นดอกไม้ที่มีความทนต่อสภาพอากาศและสามารถที่จะปลูกได้ง่าย เพราะว่าเป็นดอกไม้ที่สามารถปรับตัวกับสภาพอากาศได้เป็นอย่างดี เห็นได้ชัดเลยว่าดอกทานตะวันเป็นดอกไม้อีกชนิดหนึ่งที่สามารถตกแต่งก็ได้ หรือนำมาบริโภคก็ได้เช่นกัน ถือว่าเป็นดอกไม้ที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียวที่จะเริ่มปลูกได้เป็นอย่างดีเลย

เรื่องของดอกทานตะวันนั้นเป็นการนำความรู้มาแบ่งปันกันที่ว่า ดอกทานตะวันเป็นดอกไม้หรือพืชที่น่าสนใจอีกชนิดหนึ่ง ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่นำมาเสนอเพื่อเป็นความรู้และให้ผู้ที่สนใจได้ลองนำไปพิจารณาว่าลองปลูกดีหรือไม่ หรือจะแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นก็ได้เช่นกัน ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่มีความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง

https://www.aga-agro.com/welcome/article_read/70#.XQm2KhYzaUk,https://health.kapook.com/view204800.html,https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99,https://pirun.ku.ac.th/~b5310102990/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81.html